เอาผงชูรสมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย เพิ่มผลผลิตได้เท่าตัว

อ๊ะ จริงหรือ ผงชูรสที่เรากินอยู่ทุกวันนี่นะ เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยได้ ?
จริงครับ แต่เป็นผงชูรสที่เปลี่ยนเสื้อ-แปรรูป เปลี่ยนโครงสร้างใหม่แล้ว และมิใช่นำมาใช้งานด้านการเกษตรอย่างเดียว แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง  เวชภัณฑ์ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆอีกมากมายหลายด้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วยนะ สิบอกไห่
ผงชูรสที่เราเติมลงในอาหารเป็นกำๆไม่บันยะบันยัง ไม่ยั้งมือเลยนั้น ด้วยเข้าใจว่ายิ่งใส่มากยิ่งอร่อยนั้น นับว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ผงชูรสนั้น เติมนิดหน่อยก็ออกฤทธิ์กระตุ้นให้อร่อยลิ้นได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่เป็นกำๆดอก  ใส่มากไปมันกลับทำให้เอียนเสียอีก กินมากๆอาจทำให้ประสาทเสื่อมเสียได้
ผงชูรสนั้นมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า (โมโน)โซเดียมกลูตาเมต (Mono) Sodium glutamate เรียกย่อว่า MSG (เกลือโซเดียมของกรด กลูตามิก) สูตรโครงสร้างเป็นดั่งนี้ 
ส่วน กรดกลูตาเมต นั้นมีสูตรโครงสร้างดังนี้ (เขียนย่อว่า γ-PGA)
A. Gamma Polyglutamic acid
B. γ-PGA (L)
C. γ-PGA (D)

โดยโครงสร้างของมันจะเชื่อมต่อกันเป็นเส้นยาวเหยียดที่มีบางบริษัทหยิบยกมาอ้างอิงโฆษณาดูให้ขลังว่า เป๊ปไทด์ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด เป็นแค่หลักการ – วิธีการ เรียกชื่อโปรตีนทางเคมีเท่านั้นเอง) เรียกว่า (กรด) โพลี่กลูตามิก แอซิด ค้นพบครั้งแรกในอาหารถั่วหมักของ ชาวญี่ปุ่นที่เรียกว่า แนทโต (natto) ปัจจุบันผลิตโดยใช้เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bacillus subtilis เป็นตัวย่อย glutamic acid ให้กลายเป็น กรดโพลี่กลูตาเมตในเชิงการค้า ปัจจุบันได้มีการวิจัยนำไปใช้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร- การกิน  สุขภาพ - ความงาม เภสัช สภาพแวดล้อม และกระทั่งในภาคการเกษตร (เพาะปลูก ปศุสัตว์ และประมง) ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำมาใช้ในการเพาะปลูก (เพราะเราทำกิจกรรมด้านนี้) ส่วนด้านอื่นๆนั้นก็ไปค้นหาเอาเองนะครับ ข้อดีของสารเจ้าตัวนี้ก็คือ เป็นสารธรรมชาติที่กินได้ ไม่มีพิษ ในส่วนของภาคการเกษตรนั้น นำไปผสมกับปุ๋ย ปรับปรุงสภาพพื้นดิน รักษาความชื้นในดิน เติมลงในยากำจัดศัตรูพืช สารไล่แมลง และ ฯลฯ
รูปที่นำมาให้ดูต่อไปนี้นี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หลังจากได้มีการนำเอา แกรมม่า โพลี่กลูตาเมตมาใช้ร่วมกับปุ๋ย (คงไม่ต้องอธิบายบ่งชี้ว่า อันไหนใช้ อันไหนไม่ได้ใช้นะครับ ดูเอาจากสายตาก็คงประเมินได้ถูกต้อง) พิจารณาตัวเลขผลลัพธ์การทดสอบแล้ว สามารถลดการใช้ปุ๋ยลงได้ในอัตราสูง แต่ผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนเป็นเท่าๆตัว
ที่มาhttp://www.eco-agrotech.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่