สวัสดีครับทุกๆท่าน ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมเป็นนักศึกษาที่จบมาเมื่อปีที่แล้ว (รับปริญญาตอน2561)
จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ
ผมคิดว่าอยากจะขยายช่องทางการเผยแพร่ผลงานภาพถ่าย นอกจากFacebook แล้วผมจึงมาโพสลง Pantip เพื่อให้ผลงานภาพถ่ายชุดนี้ได้มีผู้คนเห็นกว้างขวางขึ้น
ผลงานThesisชุดนี้ เป็นภาพถ่ายสารคดีชุด ชื่อเรื่องว่า ลมหายใจที่มีชีวิตของหุ่นละครเล็ก “THE BREATH OF LIFE OF THE PUPPET”
Photography By : Supakin Jitnukulsiri สุภกิณห์ จิตต์นุกุลศิริ ถ่ายภาพโดยผมเอง
ผมมีความคิดที่ว่า ในยุคปัจจุบัน ผู้คนรุ่นใหม่ๆ ต่างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย มากกว่าศิลปะไทย จนเราหลงลืมอะไรไปบ้างอย่าง
ถ้าผมถามว่า คุณรู้จัก "หุ่นละครเล็ก" ไหมครับ มีน้อยคนที่จะรู้จัก และประกอบกับที่ พอเวลามันผ่านไปเรื่อยๆ ยุคสมัยใหม่มันก็ได้เข้ามาเรื่อยๆ มีสิ่งหนึ่งที่จะล้มหายตายจากเราไปคือ "ศิลปะไทย ศิลปะที่เรียกว่าหุ่นละครเล็ก"
นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมผมอยากสร้างภาพถ่ายผลงานวิทยานิพนธ์เรื่องหุ่นละครเล็กขึ้น
-- ที่มาและความสำคัญของโครงการ --
เกิดจากความชอบในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” โดยชอบตัวเอกคือ หนุมาน และมีความหลงใหลในลวดลายไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือความสวยงาม ความละเอียดอ่อน ความประณีตวิจิตรบรรจงบนตัวหุ่น จึงได้มาพบกับการแสดงหุ่นละครเล็กที่นำตัวละครจากวรรณคดีอย่างเรื่องรามเกียรติ์ ไปแสดงจนเกิดเป็นความสนใจเรียนรู้และค้นคว้าในการทุ่มเทการฝึกซ้อมและการสร้างหุ่นของคณะหุ่นละครเล็ก
-- CONCEPT -- :ถ่ายทอดเรื่องราวการฝึกซ้อม ความมุ่งมั่น จิตวิญญาณ ความรัก ความหลงใหลและความสำเร็จที่พวกเขาตั้งใจทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และชีวิตของพวกเขาเอง ให้กับการแสดงหุ่นละครเล็ก เพื่อให้ผู้คนที่ไม่เคยได้เห็นได้มองเห็นเสน่ห์และความมุ่งมั่นของศิลปะการแสดงของไทยที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ ชีวิตพวกเขามอบให้แก่ศิลปะการแสดงของไทยที่เรียกว่า “ หุ่นละครเล็ก “
** ขอขอบคุณ 1.บ้านศิลปิน 2.คณะหุ่นละครเล็กสิปปธรรมคำนาย 3.คณะหุ่นละครเล็กโจหลุยส์
**ภาพถ่ายชุดนี้ ถูกถ่ายไว้ประมาณ 1 ปีที่แล้ว**
ก่อนจะไปชมผลงาน ผมอยากให้คนที่ได้เข้ามาอ่าน ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของ "หุ่นไทย" ก่อนนะครับ แต่ถ้าไม่อยาก ข้ามไปชมภาพได้เลยครับ ^^
ประวัติหุ่นละครเล็ก
"หุ่นละครเล็ก" หรือเรียกว่า ละครเล็ก มีขนาดเล็กกว่าหุ่นหลวง เดิมเป็นของครูแกร ศัพทวนิช คณะหนึ่ง กับของนายเปียก ประเสริฐกุล อีกคณะหนึ่ง
หุ่นละครเล็กของครูแกร มีมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2465 นิยมเล่นเรื่องพระอภัยมณีและเรื่องอื่น ๆ บ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 30 กว่าตัว และได้รับการรักษาไว้ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้คนเชิด 3 คน เพราะใช้ส่วนขาเคลื่อนไหวด้วย แสดงทั้งตัว โดยใช้ขาประกอบการร่ายรำด้วย จึงต้องมีกลไกสายใยมาก ทำให้สามารถขยับคอ นิ้วมือ และยกขาได้ แต่ก็ไม่แนบเนียนและซับซ้อนเท่าหุ่นหลวง หุ่นละครเล็กของนายเปียก
เริ่มเล่นเมื่อ พ.ศ. 2457 เดิมนายเปียกมีโรงหุ่นกระบอกก่อน ต่อมาอีก 15 ปี จึงได้คิดสร้างหุ่นละครเล็กขึ้น โดยอาศัยแบบอย่างของหุ่นกระบอก
แต่ว่าตัวใหญ่กว่าหุ่นกระบอก จะมีแต่ลำตัว ศีรษะ แขน มือเท่านั้น ไม่มีขา ใช้คนเชิดคนเดียวและมีวิธีการเชิดเช่นเดียวกับหุ่นกระบอก
หุ่นละครเล็ก ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
โดยครูแกร ศัพทวนิช เป็นผู้ให้กำเนิด
ครูแกร ศัพทวนิช เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ในสมัยรัชกาลที่ 4เมื่อยังเล็กได้เริ่มฝึกหัดวิชานาฏศิลป์โขน ละคร อยู่กับคณะละครของพระยาเพชรฎา ตั้งแต่อายุ 9 ปี เบื้องต้นหัดเป็นตัวนางกับพ่อครูสัน (สมัยนั้นละครเป็นผู้ชายล้วน) ภายหลังจึงหัดเป็นตัวละครนายโรง และหัดเป็นตัวเงาะกับพ่อครูพ่วง
ในคณะละครของพระยาบำเรอศักดิ์ (ดิศ) ซึ่งเป็นเจ้าคุณตาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พอล่วงปี พ.ศ. 2410 ครูแกรมีอายุได้ 20 ปี จึงจัดตั้งคณะละครของตนออกแสดงตามที่ต่าง ๆ จนมีชื่อเสียง ครั้นถึง พ.ศ. 2444 จึงได้คิดสร้างหุ่นรูปร่างอย่างคน แต่งตัวเป็นละครขึ้นชุดหนึ่ง และได้นำมาแสดงให้เจ้านายในวังวรดิศทอดพระเนตร ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงไชยศรีสุรเดช ได้ทรงตั้งนามให้ว่า “ละครเล็ก” บ้างก็ว่าบรรดาเจ้านายที่ทอดพระเนตร ทรงเรียกว่า “ละครเล็ก”
ครูแกรมีภรรยาชื่อนางปลั่งและมีบุตรชายด้วยกันชื่อนายทองอยู่ ซึ่งนายทองอยู่นี้ได้สมรสกับนางหยิบ และภายหลังได้เป็นผู้ดูแลคณะหุ่นละครเล็กแทนครูแกรผู้เป็นบิดา ครูแกรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ 2472 เมื่ออายุได้ 82 ปี และได้ณาปณกิจศพที่วัดสระเกศวรวิหาร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ 2473 (หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสาคร ยังเขียวสด,2550)
ครูสาคร ยังเขียวสด
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิด เมื่อวันจันทร์ เดือนสาม ปีจอ พ.ศ. 2464 ในเรือละคร ขณะที่บิดามารดาเดินทางไปแสดงละครเล็กของคณะครูแกร ศัพทวนิช ที่วัดปากคลองบางตะไคร้ (ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าเป็นที่ใด) จังหวัดนนทบุรี คุณย่าหลั่งภรรยาพ่อครูแกรตั้งชื่อให้ว่า " สาคร " เพราะขณะนั้นหุ่นละครเล็กพ่อครูแกรกำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณีคุณย่าปลั่ง จึงนำชื่อ " สุดสาคร " ตัวละครในเรื่องพระอภัยมณีมาตั้งเป็นชื่อให้ ครูสาคร ยังเขียวสด มีชื่อเล่นเมื่อครั้งยังเด็ก ว่า " หลิว " แต่ครั้นโตขึ้นได้เข้าสู่วงการแสดง ได้เป็นเจ้าของคณะลิเก และชอบแสดงเป็นตัวตลกประจำคณะ จึงมีผู้เรียกชื่อเล่นเพี้ยนจากหลิวเป็น หลุยส์ และภายหลังมีผู้เติมสมญานามว่า โจ ให้อีก จึงกลายเป็น โจหลุยส์ ซึ่ง เป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการแสดง
และปัจจุบันได้นำชื่อ โจหลุยส์ มาตั้งเป็นชื่อของโรงละครโดยใช้ชื่อว่า
" โจหลุยส์เธียเตอร์
"
ครูสาคร ยังเขียวสด มีบิดาชื่อ นายคุ่ย ยังเขียวสด มารดาชื่อนางเชื่อม ยังเขียวสด นายสาคร เรียนสำเร็จ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดประชาระบือธรรม สมรสกับนางสมศรี มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ต่อมาได้สมรสกับนางสมพงษ์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน เป็นชาย 7 คน
หญิง 2 คน ครูสาคร ได้รับตัวหุ่นจากครอบครัวของ พ่อครูแกร ศัพทวนิช 30 ตัว จึงเป็นหุ่นละครเล็กเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในประเทศไทย เพราะได้สูญหายไปกว่า 50 ปีแล้ว จัดแสดงหุ่นละครเล็กในเทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ.ศ. 2528 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุน ได้ทำพิธีบูชาพ่อครูแกร ขออนุญาตจัดทำหุ่นเพิ่มเติม ได้แสดง ณ สวนอัมพรหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เมื่อปี พ.ศ. 2530 ครูสาคร ตั้งชื่อคณะว่า
"หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร" เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมาก เพราะมีลักษณะพิเศษที่ตัวหุ่นเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนคล้ายคนจริง เครื่องแต่งกายก็สวยงามแบบโขนละครจริง ศิลปะการเชิดก็แตกต่างจากการเชิดหุ่นกระบอกที่คุ้นเคย ยิ่งมีการพัฒนาให้หันหน้าได้ทุกตัว มีรูปทรงสัดส่วนสวยมาก เพิ่มเครื่องประดับมากขึ้น มีความประณีตในการแสดงมากขึ้น ทำให้หุ่นมีท่าทาง การเจรจาเหมือนคนจริง มีการเชิดหน้าโรง ให้เห็นลีลาท่าเต้นของผู้เล่นหุ่นทั้งสามคน มีการสาธิตวิธีการเชิดก่อนการแสดง อีกทั้งครูโจหลุยส์ยังได้ดัดแปลงให้แสดงเรื่องรามเกียรติ์โดยสมบูรณ์ มีตัวละครที่สวยสง่างามตามเรื่อง ทำให้การแสดงหุ่นละครแบบดั้งเดิมที่เคยจัดแสดง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระอภัยมณี
ยิ่งทำให้ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กโดดเด่นมีความสำคัญเต็มรูปแบบสมบูรณ์ จนได้รับการเชิดชูจากสถาบันต่าง ๆ
ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กในประเทศต่าง ๆ
ครูโจหลุยส์คือผู้ฟื้นฟูศิลปะการแสดง หุ่นละครเล็ก สืบทอดมรดกของชาติ ท่านจึงได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเล็ก) ประจำปีพุทธศักราช 2539 หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ ได้ชื่อว่าเป็นหุ่นละครเล็กเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในเมืองไทย ได้เปิดโรงละครขึ้นที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2542 สร้างหุ่นขึ้นมาอย่างมีศิลปะล้ำค่า ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ หุ่นละครที่มีอยู่ 50 ตัว ถูกเผาเกลี้ยง
ปีพ.ศ. 2544 ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใจบุญทั้งในและนอกประเทศ อุปถัมภ์การสร้างหุ่นละครเล็กขึ้นใหม่สามารถเปิดการแสดงได้ที่สวนลุมพินีไนต์บาซาร์
รวมทั้งจัดนิทรรศการว่าด้วยประวัติความเป็นมา การประดิษฐ์หุ่นละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ที่ได้มาจากรามายณะของอินเดีย
ครูสาคร ยังเขียวสด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการน้ำท่วมปอด สิริรวมอายุได้ 83 ปี
จริงๆแล้วหุ่นไทย ยังมีอีกหลายแบบเลยครับ ลองไปศึกษาดูได้ และตอนนี้ขอเชิญทุกท่าน ชมชุดภาพถ่ายสารคดี ที่ถูกถ่ายด้วยความรัก ความทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ใช้วันเวลาหลายเดือนในการสร้าง ค่อยๆเก็บข้อมูล เก็บรูปภาพ จนภาพชุดนี้ถูกกลั่นออกมาจากจิตวิญญาณของคนที่รักในศิลปะไทย และอยากให้ศิลปะไทยอยู่ไปนานๆครับ
ขอบคุณทุกท่าน ที่ชมมาจนจบนะครับ
สนใจชุดภาพถ่าย หรือต้องการนำไปจัดแสดงโชว์นิทรรศการต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ 084-524-9696 แจ๊ฟ
สามารถติดตามผลงาน ภาพถ่ายอื่นๆได้ที่
Portfolio
https://issuu.com/supakin_j/docs/portfolio2019________0f3a3107ee3b1b
FacebookFanpage www.facebook.com/stevejabphoto/
ขอบคุณครับ
ผลงานThesis ภาพถ่ายสารคดีชุด "ลมหายใจที่มีชีวิตของหุ่นละครเล็ก" “THE BREATH OF LIFE OF THE PUPPET”
จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ
ผมคิดว่าอยากจะขยายช่องทางการเผยแพร่ผลงานภาพถ่าย นอกจากFacebook แล้วผมจึงมาโพสลง Pantip เพื่อให้ผลงานภาพถ่ายชุดนี้ได้มีผู้คนเห็นกว้างขวางขึ้น
ผลงานThesisชุดนี้ เป็นภาพถ่ายสารคดีชุด ชื่อเรื่องว่า ลมหายใจที่มีชีวิตของหุ่นละครเล็ก “THE BREATH OF LIFE OF THE PUPPET”
Photography By : Supakin Jitnukulsiri สุภกิณห์ จิตต์นุกุลศิริ ถ่ายภาพโดยผมเอง
ผมมีความคิดที่ว่า ในยุคปัจจุบัน ผู้คนรุ่นใหม่ๆ ต่างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โซเชียลมีเดีย มากกว่าศิลปะไทย จนเราหลงลืมอะไรไปบ้างอย่าง
ถ้าผมถามว่า คุณรู้จัก "หุ่นละครเล็ก" ไหมครับ มีน้อยคนที่จะรู้จัก และประกอบกับที่ พอเวลามันผ่านไปเรื่อยๆ ยุคสมัยใหม่มันก็ได้เข้ามาเรื่อยๆ มีสิ่งหนึ่งที่จะล้มหายตายจากเราไปคือ "ศิลปะไทย ศิลปะที่เรียกว่าหุ่นละครเล็ก"
นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมผมอยากสร้างภาพถ่ายผลงานวิทยานิพนธ์เรื่องหุ่นละครเล็กขึ้น
-- ที่มาและความสำคัญของโครงการ --
เกิดจากความชอบในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” โดยชอบตัวเอกคือ หนุมาน และมีความหลงใหลในลวดลายไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือความสวยงาม ความละเอียดอ่อน ความประณีตวิจิตรบรรจงบนตัวหุ่น จึงได้มาพบกับการแสดงหุ่นละครเล็กที่นำตัวละครจากวรรณคดีอย่างเรื่องรามเกียรติ์ ไปแสดงจนเกิดเป็นความสนใจเรียนรู้และค้นคว้าในการทุ่มเทการฝึกซ้อมและการสร้างหุ่นของคณะหุ่นละครเล็ก
-- CONCEPT -- :ถ่ายทอดเรื่องราวการฝึกซ้อม ความมุ่งมั่น จิตวิญญาณ ความรัก ความหลงใหลและความสำเร็จที่พวกเขาตั้งใจทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และชีวิตของพวกเขาเอง ให้กับการแสดงหุ่นละครเล็ก เพื่อให้ผู้คนที่ไม่เคยได้เห็นได้มองเห็นเสน่ห์และความมุ่งมั่นของศิลปะการแสดงของไทยที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ ชีวิตพวกเขามอบให้แก่ศิลปะการแสดงของไทยที่เรียกว่า “ หุ่นละครเล็ก “
** ขอขอบคุณ 1.บ้านศิลปิน 2.คณะหุ่นละครเล็กสิปปธรรมคำนาย 3.คณะหุ่นละครเล็กโจหลุยส์
**ภาพถ่ายชุดนี้ ถูกถ่ายไว้ประมาณ 1 ปีที่แล้ว**
ก่อนจะไปชมผลงาน ผมอยากให้คนที่ได้เข้ามาอ่าน ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของ "หุ่นไทย" ก่อนนะครับ แต่ถ้าไม่อยาก ข้ามไปชมภาพได้เลยครับ ^^
ประวัติหุ่นละครเล็ก
"หุ่นละครเล็ก" หรือเรียกว่า ละครเล็ก มีขนาดเล็กกว่าหุ่นหลวง เดิมเป็นของครูแกร ศัพทวนิช คณะหนึ่ง กับของนายเปียก ประเสริฐกุล อีกคณะหนึ่ง
หุ่นละครเล็กของครูแกร มีมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2465 นิยมเล่นเรื่องพระอภัยมณีและเรื่องอื่น ๆ บ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 30 กว่าตัว และได้รับการรักษาไว้ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้คนเชิด 3 คน เพราะใช้ส่วนขาเคลื่อนไหวด้วย แสดงทั้งตัว โดยใช้ขาประกอบการร่ายรำด้วย จึงต้องมีกลไกสายใยมาก ทำให้สามารถขยับคอ นิ้วมือ และยกขาได้ แต่ก็ไม่แนบเนียนและซับซ้อนเท่าหุ่นหลวง หุ่นละครเล็กของนายเปียก
เริ่มเล่นเมื่อ พ.ศ. 2457 เดิมนายเปียกมีโรงหุ่นกระบอกก่อน ต่อมาอีก 15 ปี จึงได้คิดสร้างหุ่นละครเล็กขึ้น โดยอาศัยแบบอย่างของหุ่นกระบอก
แต่ว่าตัวใหญ่กว่าหุ่นกระบอก จะมีแต่ลำตัว ศีรษะ แขน มือเท่านั้น ไม่มีขา ใช้คนเชิดคนเดียวและมีวิธีการเชิดเช่นเดียวกับหุ่นกระบอก
หุ่นละครเล็ก ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
โดยครูแกร ศัพทวนิช เป็นผู้ให้กำเนิด
ครูแกร ศัพทวนิช เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ในสมัยรัชกาลที่ 4เมื่อยังเล็กได้เริ่มฝึกหัดวิชานาฏศิลป์โขน ละคร อยู่กับคณะละครของพระยาเพชรฎา ตั้งแต่อายุ 9 ปี เบื้องต้นหัดเป็นตัวนางกับพ่อครูสัน (สมัยนั้นละครเป็นผู้ชายล้วน) ภายหลังจึงหัดเป็นตัวละครนายโรง และหัดเป็นตัวเงาะกับพ่อครูพ่วง
ในคณะละครของพระยาบำเรอศักดิ์ (ดิศ) ซึ่งเป็นเจ้าคุณตาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พอล่วงปี พ.ศ. 2410 ครูแกรมีอายุได้ 20 ปี จึงจัดตั้งคณะละครของตนออกแสดงตามที่ต่าง ๆ จนมีชื่อเสียง ครั้นถึง พ.ศ. 2444 จึงได้คิดสร้างหุ่นรูปร่างอย่างคน แต่งตัวเป็นละครขึ้นชุดหนึ่ง และได้นำมาแสดงให้เจ้านายในวังวรดิศทอดพระเนตร ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงไชยศรีสุรเดช ได้ทรงตั้งนามให้ว่า “ละครเล็ก” บ้างก็ว่าบรรดาเจ้านายที่ทอดพระเนตร ทรงเรียกว่า “ละครเล็ก”
ครูแกรมีภรรยาชื่อนางปลั่งและมีบุตรชายด้วยกันชื่อนายทองอยู่ ซึ่งนายทองอยู่นี้ได้สมรสกับนางหยิบ และภายหลังได้เป็นผู้ดูแลคณะหุ่นละครเล็กแทนครูแกรผู้เป็นบิดา ครูแกรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ 2472 เมื่ออายุได้ 82 ปี และได้ณาปณกิจศพที่วัดสระเกศวรวิหาร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ 2473 (หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสาคร ยังเขียวสด,2550)
ครูสาคร ยังเขียวสด
ครูสาคร ยังเขียวสด เกิด เมื่อวันจันทร์ เดือนสาม ปีจอ พ.ศ. 2464 ในเรือละคร ขณะที่บิดามารดาเดินทางไปแสดงละครเล็กของคณะครูแกร ศัพทวนิช ที่วัดปากคลองบางตะไคร้ (ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าเป็นที่ใด) จังหวัดนนทบุรี คุณย่าหลั่งภรรยาพ่อครูแกรตั้งชื่อให้ว่า " สาคร " เพราะขณะนั้นหุ่นละครเล็กพ่อครูแกรกำลังแสดงเรื่องพระอภัยมณีคุณย่าปลั่ง จึงนำชื่อ " สุดสาคร " ตัวละครในเรื่องพระอภัยมณีมาตั้งเป็นชื่อให้ ครูสาคร ยังเขียวสด มีชื่อเล่นเมื่อครั้งยังเด็ก ว่า " หลิว " แต่ครั้นโตขึ้นได้เข้าสู่วงการแสดง ได้เป็นเจ้าของคณะลิเก และชอบแสดงเป็นตัวตลกประจำคณะ จึงมีผู้เรียกชื่อเล่นเพี้ยนจากหลิวเป็น หลุยส์ และภายหลังมีผู้เติมสมญานามว่า โจ ให้อีก จึงกลายเป็น โจหลุยส์ ซึ่ง เป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการแสดง
และปัจจุบันได้นำชื่อ โจหลุยส์ มาตั้งเป็นชื่อของโรงละครโดยใช้ชื่อว่า " โจหลุยส์เธียเตอร์ "
ครูสาคร ยังเขียวสด มีบิดาชื่อ นายคุ่ย ยังเขียวสด มารดาชื่อนางเชื่อม ยังเขียวสด นายสาคร เรียนสำเร็จ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดประชาระบือธรรม สมรสกับนางสมศรี มีบุตรด้วยกัน 1 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ ต่อมาได้สมรสกับนางสมพงษ์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน เป็นชาย 7 คน
หญิง 2 คน ครูสาคร ได้รับตัวหุ่นจากครอบครัวของ พ่อครูแกร ศัพทวนิช 30 ตัว จึงเป็นหุ่นละครเล็กเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในประเทศไทย เพราะได้สูญหายไปกว่า 50 ปีแล้ว จัดแสดงหุ่นละครเล็กในเทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ.ศ. 2528 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุน ได้ทำพิธีบูชาพ่อครูแกร ขออนุญาตจัดทำหุ่นเพิ่มเติม ได้แสดง ณ สวนอัมพรหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เมื่อปี พ.ศ. 2530 ครูสาคร ตั้งชื่อคณะว่า "หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร" เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมมาก เพราะมีลักษณะพิเศษที่ตัวหุ่นเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนคล้ายคนจริง เครื่องแต่งกายก็สวยงามแบบโขนละครจริง ศิลปะการเชิดก็แตกต่างจากการเชิดหุ่นกระบอกที่คุ้นเคย ยิ่งมีการพัฒนาให้หันหน้าได้ทุกตัว มีรูปทรงสัดส่วนสวยมาก เพิ่มเครื่องประดับมากขึ้น มีความประณีตในการแสดงมากขึ้น ทำให้หุ่นมีท่าทาง การเจรจาเหมือนคนจริง มีการเชิดหน้าโรง ให้เห็นลีลาท่าเต้นของผู้เล่นหุ่นทั้งสามคน มีการสาธิตวิธีการเชิดก่อนการแสดง อีกทั้งครูโจหลุยส์ยังได้ดัดแปลงให้แสดงเรื่องรามเกียรติ์โดยสมบูรณ์ มีตัวละครที่สวยสง่างามตามเรื่อง ทำให้การแสดงหุ่นละครแบบดั้งเดิมที่เคยจัดแสดง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระอภัยมณี
ยิ่งทำให้ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กโดดเด่นมีความสำคัญเต็มรูปแบบสมบูรณ์ จนได้รับการเชิดชูจากสถาบันต่าง ๆ
ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กในประเทศต่าง ๆ
ครูโจหลุยส์คือผู้ฟื้นฟูศิลปะการแสดง หุ่นละครเล็ก สืบทอดมรดกของชาติ ท่านจึงได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเล็ก) ประจำปีพุทธศักราช 2539 หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ ได้ชื่อว่าเป็นหุ่นละครเล็กเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ในเมืองไทย ได้เปิดโรงละครขึ้นที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2542 สร้างหุ่นขึ้นมาอย่างมีศิลปะล้ำค่า ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ หุ่นละครที่มีอยู่ 50 ตัว ถูกเผาเกลี้ยง
ปีพ.ศ. 2544 ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใจบุญทั้งในและนอกประเทศ อุปถัมภ์การสร้างหุ่นละครเล็กขึ้นใหม่สามารถเปิดการแสดงได้ที่สวนลุมพินีไนต์บาซาร์
รวมทั้งจัดนิทรรศการว่าด้วยประวัติความเป็นมา การประดิษฐ์หุ่นละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ที่ได้มาจากรามายณะของอินเดีย
ครูสาคร ยังเขียวสด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการน้ำท่วมปอด สิริรวมอายุได้ 83 ปี
จริงๆแล้วหุ่นไทย ยังมีอีกหลายแบบเลยครับ ลองไปศึกษาดูได้ และตอนนี้ขอเชิญทุกท่าน ชมชุดภาพถ่ายสารคดี ที่ถูกถ่ายด้วยความรัก ความทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ใช้วันเวลาหลายเดือนในการสร้าง ค่อยๆเก็บข้อมูล เก็บรูปภาพ จนภาพชุดนี้ถูกกลั่นออกมาจากจิตวิญญาณของคนที่รักในศิลปะไทย และอยากให้ศิลปะไทยอยู่ไปนานๆครับ
ขอบคุณทุกท่าน ที่ชมมาจนจบนะครับ
สนใจชุดภาพถ่าย หรือต้องการนำไปจัดแสดงโชว์นิทรรศการต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ 084-524-9696 แจ๊ฟ
สามารถติดตามผลงาน ภาพถ่ายอื่นๆได้ที่
Portfolio https://issuu.com/supakin_j/docs/portfolio2019________0f3a3107ee3b1b
FacebookFanpage www.facebook.com/stevejabphoto/
ขอบคุณครับ