ต้องขอบอกว่าเป็นความเห็นหรือมุมมองส่วนตัวเท่านั้นครับ ใครจะมองจุดนู้นจุดนี้ต่างกันยังไงก็ตามใจชอบเลยครับ เสนอกันมาได้
เดี๋ยวนี้มีแอพที่สามารถดูซีรี่ส์ได้ คนเลยเริ่มสนใจที่จะมาย้อนดูซีรี่ส์เก่าๆที่จบไปแล้ว เห็นมีหลายๆโพสต์หลายคอมเมนต์พูดถึงกันไปหลากหลาย จำได้ว่าตอนที่ติดตามรู้สึกว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สนุกถ้าเทียบในระดับของหนังซีรีส์ ดูแล้วรู้สึกมีอะไรให้ลุ้นระทึกติดตามต่อ
ผมลองมาดูซีรีส์หลายๆเรื่องอีกรอบ เห็นว่าสองเรื่องนี้เป็นแนวเดียวกัน เลยขอเอามาสรุปเทียบ
Prison break ค่อนข้างมีความละครเยอะไปหน่อย คนเรียนเก่งคือคนดีมีคุณธรรม (เป็นไปไม่ได้ที่คนเรียนดีจบวิศวะจะมาเป็นอาชญากรนอกจากมีแผนอย่างอื่น อะไรทำนองนี้) ส่วนคนเลวก็เลวไปเลย เป็นคนบ้ากาม เป็นไบโอนิยมได้ทั้งสองเพศ ไม่พอ ต้องรสนิยมชอบเด็กด้วย (pedophilia) แต่โลกความเป็นจริงคนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเลว หรือต่อให้นิยมเด็กก็ไม่จำเป็นว่าต้องโหดร้าย ชอบฆ่าคน ขี้โกงไว้ใจไม่ได้ นี่แหละครับมันมีความละครอยู่
แต่สำหรับ
Breaking bad มันสะท้อนโลกแห่งความเป็นจริงเลยว่า ทุกคนมีความดีความชั่วในตัว ไม่ว่าจะอาชญากรหรือเจ้าหน้าที่ (ที่มือสะอาด) มันก็มีด้านเลวแล้วก็มีด้านดีอยู่ในตัว
Breaking bad สะท้อนให้เห็นอีโก้ในตัวมนุษย์แต่ละคน เน้นเรื่องอีโก้นี่ชัดเจนมาก ว่าทุกคนล้วนยึดทิฐิตัวเองเป็นใหญ่ เรื่องคุณธรรมเรื่องกฎหมายเป็นข้ออ้างเฉยๆ แล้วก็ทุกคนก็จะมีความโรคจิตในตัวไม่มากก็น้อยต่างกันไปคนละเรื่อง ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์
ทั้งสองเรื่องนี้เหมือนกันตรงที่ยกยอคนมีการศึกษา อย่าง PB ก็ดัน
สโคฟิลด์ ตัวเอกของเรื่องเป็นวิศวกรสุดอัจฉริยะ ฉลาดไปซะทุกเรื่อง ส่วน BB ก็ให้
วอลเทอร์ ไวท์ เป็นนักเคมีสุดอัจฉริยะ เก่งหลายด้านเหลือเกิน งานประดิษฐ์ก็มาด้วย ข้อนี้อาจจะเว่อร์ไปหน่อย
ทั้งสองเรื่องวางคอนเสปต์เหมือนกันอย่างคือ สื่อให้เห็นว่าอาชญากรมีทั้งแบบเลวโดยสันดาน กับแบบทำผิดกฎหมายด้วยความจำเป็นหรือสถานการณ์มันบีบ
แล้วก็ยังให้แง่คิดบางเรื่องเหมือนกันว่า บางทีคนเดินทางผิดเพราะว่าไม่ได้รับโอกาสทั้งที่เขาอยากเดินทางดี เช่น
ที-แบก ใน PB อยากกลับตัวอยากมีครอบครัวแต่ดันเจอผู้หญิงอีโก้ เจอแนวศาลเตี้ยรังเกียจอาชญากร พออยากเป็นนักธุรกิจมีชีวิตที่ดี ก็มีความซวยมาชักนำไปทางอื่น ส่วน BB
เจสซี่ พิงค์แมน ที่อยากเลิกยาไปอยู่กับครอบครัว ก็เจอพ่อแนวอีโก้ เห็นแก่หน้าตาสถานะในสังคมไม่เคยต้อนรับหรือให้โอกาสลูก แต่ทั้งหมดนี้ก็กลายมาเป็นข้ออ้างของเจ้าตัวที่แต่ละคนก็เลือกจะเดินทางผิดตามอารมณ์เหมือนกัน
มีตัวละครที่น่ารังเกียจน่ารำคาญ (ซึ่งบทวางมาให้เป็นแบบนี้ ขอชมนักแสดงว่าเล่นได้ถึงอารมณ์มาก) เรียกว่านิสัยน่ารำคาญและน่าถีบจริงๆ
คนแรกก็คือ
สกายเลอร์ เมียของตัวเอก หนังได้สะท้อนออกมาให้เห็นถึงความเป็นผู้หญิงที่เจ้าความคิด เป็นช้างเท้าหน้าไม่เคารพผัว คนนี้อีโก้แรงพุ่งทะลุออกมาชัดเจน ฉันคือความถูกต้อง ห้ามโกหกฉัน แล้วก็เป็นแนวศาลเตี้ยเกลียดอาชญากร พอรู้ว่าน้องตัวเองมีนิสัยขี้ขโมยก็รังเกียจ พอรู้ว่าผัวทำผิดกฎหมายก็รังเกียจ
ตัวที่น่ารำคาญอีกตัวคือ
มารี น้องสาวสกายเลอร์ หมอที่มีอีกด้านมืดคือโรคจิตขี้ขโมย นี่ก็อีโก้ศาลเตี้ย ทั้งที่ตัวเองก็เป็นอาชญากรระดับเล็กๆล่ะเอาจริงๆ แต่ก็ยังแสดงความรังเกียจไวท์เมื่อรู้ว่าเป็นอาชญากร แถมยังขู่บังคับให้แม่แฉพ่อให้ลูกฟัง ตรงนี้หนังต้องการสื่อว่า นี่แหละคนเรายึดอีโก้อะไรที่มันไม่มีเหตุผลเหนือกว่าความรักความหวังดีที่มีต่อหลาน แต่คนเป็นแม่เนี่ยอุตส่าห์อดทนถนอมน้ำใจลูกมานาน
อีกตัวที่ผมรู้สึกสงสารแต่ก็เกลียดขี้หน้าด้วยคือ
แฮงก์ ชเรเดอร์ นี่ก็อีโก้แรงพุ่งทะลุนอกจอ ไม่ได้ยึดกฎหมายหรือศีลธรรมอะไรหรอก ถ้ายึดกฎหมาย เมียตัวเองเป็นขโมยทำไมไม่ส่งตำรวจ แต่กลับเก็บเป็นความลับ ไอ้ที่อยากจะจับไวท์เข้าคุกนี่ก็เพราะอีโก้ที่อยากจะเอาชนะงานปปส.ของตัวเองที่ตามหาไฮเซนเบิร์กผีตัวนี้มานาน มันคือโลกความจริงที่ว่าคนเราไม่ได้มีคุณธรรมอะไรหรอก อยู่ที่ว่าอัตตามันยึดติดอะไร เพื่อความที่อยากปิดงานสำเร็จ แฮงก์หลอกใช้เจสซี่ทั้งๆที่ไม่ได้ห่วงใยอะไร มองเป็นแค่อาชญากรขี้ยา (มีในบท) นักแสดงเล่นบทได้เหมาะกับเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจริงๆ บุคลิกกร่างวางตัวเบ่งพูดจาเสียงดัง
สำหรับตัวละครที่ผมชอบคือ
กุสตาโว ฟริง บุคลิกนิ่ง เชือดนิ่มๆ แต่มีบทที่ไม่สมเหตุเล็กน้อย คือตอนแรกบอกว่าเป็นคนเก็บตัว ระวังตัวมากไม่มีใครเข้าถึง พอผ่านไปเครือข่ายขายยารู้จักกันหมด แม้แต่ลูกน้องที่ขายตามท้องถนนก็เข้าถึงโดยตรงไม่ได้หลายชั้น แต่ถือว่านักแสดงเล่นบทได้ดีมาก สุขุมแสดงออกผ่านแววตา บุคลิกต่างจากอาชญากรอื่นๆที่เราเห็นกันเยอะทั้งเรื่องนี้และเรื่องอื่น ที่ชอบวางมาดกร่างสไตล์ฝรั่งลูกทุ่ง
อีกตัวที่ชอบคือ
ทนายซอล คนดี (กูดแมน) บุคลิกไม่นิ่ง ลนลาน ตลก แต่ฉลาดอ่านสถานการณ์ออกหมดและสุดท้ายเอาตัวรอดได้
สำหรับไวท์ผมไม่ชอบตรงที่มีนิสัยงี่เง่าซะเยอะ แต่ส่วนที่ชอบคือไม่เหยียดคน ไม่เหยียดกุ๊ย ไม่เหยียดอาชญากร (ตัวเขาเองเลยชอบด้านนี้) ชอบความคิดตรงที่ไม่เป็นศาลเตี้ย รู้จักมองว่ายาเสพติดที่ต่อต้านกันมันผิดตรงไหน ก็แค่ผิดกฎหมาย ทำไมเหล้าบุหรี่ไม่ผิดกฎหมาย ทำไมคนผลิตเหล้าบุหรี่ถึงไม่นับว่าเลว ? ทั้งที่เสพติดเหมือนกัน ทำลายสุขภาพเหมือนกัน เหล้าก็เมาได้เป็นต้นเหตุของอาชญากรรมเหมือนกัน ทำลายครอบครัวก็เยอะ การพนันก็อบายมุขทำลายคน ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ? แล้วเรื่องนี้เน้นมากเรื่องสูบบุหรี่ กระดกเหล้า เล่นไพ่
ผมมองว่าหนังต้องการจะจิกกัดสังคมและจิกกัดมาตรฐานความคิดคนตรงนี้ แต่เขาทำไม่ได้แบบโจ่งแจ้งเกิน ที่จริงสามารถจบซีซั่น 4 ได้เลย แล้วจบเจ๋งด้วย ไม่ต้องไปตามเก็บค้างคาของไม่จำเป็น จบแบบซีซั่น 5 มันน้ำเน่าไปหน่อย แค่อาจกลัวจะถูกหาว่าให้ท้ายอาชญากร เลยสุดท้ายต้องให้อาชญากรตายหมดถึงปิดเรื่องได้ แล้วก็มาแจงแต่ละตัวละครเพื่อให้รู้ว่า เท็ดไม่ตายนะ ทนายหนีได้นะ ตกลงครอบครัวรู้แล้วนะ ลูกรับไม่ได้นะ แต่เงินลูกก็ได้รับอยู่โดยไม่รู้ที่มา ซึ่งบทพวกนี้ไม่จำเป็นเลย
แล้วก็บทมันหาวิธีเอาผิดไวท์ไม่ได้เลยต้องใช้ลูกน้ำเน่านิดๆ ให้เจสซี่รับไม่ได้ที่มีการฆ่าเด็ก เลยเพี้ยนเอาเงินไปโปรยตามถนน บทจะหาทางจบหนังก็มักจะทำอะไรไม่ค่อยเข้าท่าแบบนี้แหละ (อย่าง game of thrones ก็ให้แดเนอริสเผาเมืองแบบห้วนๆเลยเพื่อจะให้จอนฆ่า ทั้งที่จริงแล้วมีบทปูแต่แรกซีซั่น 6 ว่าแดเนอริสต้องถล่มเข่นฆ่าผู้คนแน่นอน แต่เอาเข้าจริงมันห้วนไปหน่อย)
ส่วน Prison break จบดีสวยงามสมเหตุทุกประการโดยตัวของมันเองคือจบไปตั้งแต่ซีซั่น 4 โดยสมบูรณ์ แต่ผ่านไปเกือบ 10 ปี เกิดนึกครึ้มอะไรก็ไม่รู้มาสร้างซีซั่น 5 เป็นซีซั่นพิเศษขึ้นมา เหมือนคิดถึงไมเคิล สโคฟิลด์ขึ้นมารึเปล่า คราวนี้ออกทะเลเลย มีอะไรไม่สมเหตุหลายอย่าง อยู่ๆขบวนการกิ๊กก๊อกก็สามารถทำให้สโคฟิลด์ไปติดคุกอยู่แดนไกล ที-แบกก็ออกมาแบบอยากให้แฟนๆเห็นหน้าอีกครั้ง ไม่มีตรรกะอะไรเลย
ถ้านับเฉพาะ 4 ซีซั่นจบสมบูรณ์ จุดดีของ PB คือดำเนินเรื่องดี มีวางแผนอะไรมาให้สนุกได้ตลอด ค่อยๆเอาฝ่ายตรงข้ามหรืออริ มารวมอยู่ในฝ่ายเดียวกันเรื่อยๆ ทำนองดราก้อนบอลอะไรแบบนั้น ส่วนจุดด้อยคือ มีสิ่งไม่เชื่อมโยงและขัดแย้งในตัวตลอดหรือเรียกว่าลืมบทตัวเอง (นี่ก็คล้ายดราก้อนบอลอีกน่ะแหละ)
ตัวละครหลายตัวเปิดตัวมาแบบอย่างเข้ม แล้วก็ค่อยๆหลุดลืมบทตัวเอง อย่าง
นายพลแครนตซ์ นี่เปิดตัวอย่างขรึม ไม่พูดไม่จา เขียนอย่างเดียว อยู่ในอเมริกานี่พูดไม่ได้เลยกลัวการดักฟัง จะพูดทีต้องนั่งเรือออกชายฝั่ง แต่ตอนหลังพูดปร๋อเลยสงสัยลืมเรื่องถูกดักฟังไปแล้ว
FBI มาโฮน นี่ก็ติดยา ขาดไม่ได้จะลงแดงตัวสั่น ขึ้นศาลพูดจาไม่รู้เรื่อง แต่ตอนหลังพอมารวมทีมแล้วหายเลย ลืมบทไปว่าติดยา
คุกปานามานี่เข้าไปทีแรกอย่างกับนรก เหมือนกองขยะในส้วมเน่า นักโทษโซซัดโซเซรอวันตาย มานอนกองรวมกันหมดตามทาง พอผ่านไปไม่นาน กลายเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจรุ่งเรือง มีการพนัน มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนของเถื่อน ยาที่ลักลอบไปขายนี่ 5 พันดอลฯ หมื่นดอลฯ แต่ละคนแต่งตัวดี ไอ้ที่โทรมๆเสื้อผ้ารุ่งริ่งรอวันตายไม่มีละ บรรยากาศเหมือนชุมชนอพาร์ทเมนต์
สำหรับบทบู๊ PB ก็มีความ Fast and furious อยู่มาก คือเว่อร์เกินจริงแบบเว่อร์มาก แบบคนเราจะบู๊เก่งไปทุกด้านทั้งขับรถเก่ง ต่อสู้เก่ง ยิงปืนแม่น เก่งกว่าตำรวจ เก่งกว่าขบวนการตัวร้าย อย่าง
ลินคอล์น เบอร์โรวส์ นี่บู๊ครบเครื่องเป็นพวก Fast เลย
ทั้ง PB และ BB สองเรื่องเหมือนกันในเรื่องเหยียดลาตินอเมริกา เหมือนๆกับฮอลลีวูดทั่วไป ไปสร้างภาพลักษณ์ว่าลาตินอเมริกานี่คือแหล่งอาชญากร แหล่งพ่อค้ายามาเฟียร์ (แต่โลกความจริงคือ นักธุรกิจอเมริกัน และนายทุนยิวอเมริกันระดับบิ๊กๆทั้งนั้นเบื้องหลังอบายมุขต่างๆ และอาชญากรเยอะกว่าด้วยซ้ำไป)
อย่าง PB สภาพของคุกปานามา อันนี้ดูถูกบ้านเมืองเขามาก หรืออย่างซีซั่น 5 ซีซั่นพิเศษก็มีการเหยียดอาหรับ ตามสไตล์ฮอลลีวูดเลย ดูถูกคุกและบ้านเมืองของเขา จริงๆบ้านเมืองเขาก็มีระเบียบมีขื่อมีแป ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน
Prison break สำหรับผมคิดว่า ใครยังไม่ได้ดูก็พลาดได้ไม่เสียหาย ส่วน Breaking bad อันนี้ไม่ควรพลาด
Prison break คะแนนผมให้ 7
ถ้านับรวมซีซั่นพิเศษด้วย ให้ 6.5
Breaking bad ให้ 8.5
(เทียบกับซีรีส์ชั้นนำเรื่องอื่นในมุมมองของผม)
Lost ให้ 8
Game of thrones ให้ 9
Spartacus ให้ 7
West world ให้ 8.5
*ผมดูจากความละเอียด ภาพ บท เทคนิค ซาวน์ประกอบ เป็นมุมมองส่วนตัวเท่านั้นครับ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ*
จุดดีจุดด้อย Breaking bad กับ Prison break ซีรีส์ที่ไม่ควรมี ss.5
เดี๋ยวนี้มีแอพที่สามารถดูซีรี่ส์ได้ คนเลยเริ่มสนใจที่จะมาย้อนดูซีรี่ส์เก่าๆที่จบไปแล้ว เห็นมีหลายๆโพสต์หลายคอมเมนต์พูดถึงกันไปหลากหลาย จำได้ว่าตอนที่ติดตามรู้สึกว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สนุกถ้าเทียบในระดับของหนังซีรีส์ ดูแล้วรู้สึกมีอะไรให้ลุ้นระทึกติดตามต่อ
ผมลองมาดูซีรีส์หลายๆเรื่องอีกรอบ เห็นว่าสองเรื่องนี้เป็นแนวเดียวกัน เลยขอเอามาสรุปเทียบ
Prison break ค่อนข้างมีความละครเยอะไปหน่อย คนเรียนเก่งคือคนดีมีคุณธรรม (เป็นไปไม่ได้ที่คนเรียนดีจบวิศวะจะมาเป็นอาชญากรนอกจากมีแผนอย่างอื่น อะไรทำนองนี้) ส่วนคนเลวก็เลวไปเลย เป็นคนบ้ากาม เป็นไบโอนิยมได้ทั้งสองเพศ ไม่พอ ต้องรสนิยมชอบเด็กด้วย (pedophilia) แต่โลกความเป็นจริงคนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องเลว หรือต่อให้นิยมเด็กก็ไม่จำเป็นว่าต้องโหดร้าย ชอบฆ่าคน ขี้โกงไว้ใจไม่ได้ นี่แหละครับมันมีความละครอยู่
แต่สำหรับ Breaking bad มันสะท้อนโลกแห่งความเป็นจริงเลยว่า ทุกคนมีความดีความชั่วในตัว ไม่ว่าจะอาชญากรหรือเจ้าหน้าที่ (ที่มือสะอาด) มันก็มีด้านเลวแล้วก็มีด้านดีอยู่ในตัว
Breaking bad สะท้อนให้เห็นอีโก้ในตัวมนุษย์แต่ละคน เน้นเรื่องอีโก้นี่ชัดเจนมาก ว่าทุกคนล้วนยึดทิฐิตัวเองเป็นใหญ่ เรื่องคุณธรรมเรื่องกฎหมายเป็นข้ออ้างเฉยๆ แล้วก็ทุกคนก็จะมีความโรคจิตในตัวไม่มากก็น้อยต่างกันไปคนละเรื่อง ซึ่งเป็นความจริงของมนุษย์
ทั้งสองเรื่องนี้เหมือนกันตรงที่ยกยอคนมีการศึกษา อย่าง PB ก็ดันสโคฟิลด์ ตัวเอกของเรื่องเป็นวิศวกรสุดอัจฉริยะ ฉลาดไปซะทุกเรื่อง ส่วน BB ก็ให้วอลเทอร์ ไวท์ เป็นนักเคมีสุดอัจฉริยะ เก่งหลายด้านเหลือเกิน งานประดิษฐ์ก็มาด้วย ข้อนี้อาจจะเว่อร์ไปหน่อย
ทั้งสองเรื่องวางคอนเสปต์เหมือนกันอย่างคือ สื่อให้เห็นว่าอาชญากรมีทั้งแบบเลวโดยสันดาน กับแบบทำผิดกฎหมายด้วยความจำเป็นหรือสถานการณ์มันบีบ
แล้วก็ยังให้แง่คิดบางเรื่องเหมือนกันว่า บางทีคนเดินทางผิดเพราะว่าไม่ได้รับโอกาสทั้งที่เขาอยากเดินทางดี เช่น ที-แบก ใน PB อยากกลับตัวอยากมีครอบครัวแต่ดันเจอผู้หญิงอีโก้ เจอแนวศาลเตี้ยรังเกียจอาชญากร พออยากเป็นนักธุรกิจมีชีวิตที่ดี ก็มีความซวยมาชักนำไปทางอื่น ส่วน BB เจสซี่ พิงค์แมน ที่อยากเลิกยาไปอยู่กับครอบครัว ก็เจอพ่อแนวอีโก้ เห็นแก่หน้าตาสถานะในสังคมไม่เคยต้อนรับหรือให้โอกาสลูก แต่ทั้งหมดนี้ก็กลายมาเป็นข้ออ้างของเจ้าตัวที่แต่ละคนก็เลือกจะเดินทางผิดตามอารมณ์เหมือนกัน
มีตัวละครที่น่ารังเกียจน่ารำคาญ (ซึ่งบทวางมาให้เป็นแบบนี้ ขอชมนักแสดงว่าเล่นได้ถึงอารมณ์มาก) เรียกว่านิสัยน่ารำคาญและน่าถีบจริงๆ
คนแรกก็คือสกายเลอร์ เมียของตัวเอก หนังได้สะท้อนออกมาให้เห็นถึงความเป็นผู้หญิงที่เจ้าความคิด เป็นช้างเท้าหน้าไม่เคารพผัว คนนี้อีโก้แรงพุ่งทะลุออกมาชัดเจน ฉันคือความถูกต้อง ห้ามโกหกฉัน แล้วก็เป็นแนวศาลเตี้ยเกลียดอาชญากร พอรู้ว่าน้องตัวเองมีนิสัยขี้ขโมยก็รังเกียจ พอรู้ว่าผัวทำผิดกฎหมายก็รังเกียจ
ตัวที่น่ารำคาญอีกตัวคือมารี น้องสาวสกายเลอร์ หมอที่มีอีกด้านมืดคือโรคจิตขี้ขโมย นี่ก็อีโก้ศาลเตี้ย ทั้งที่ตัวเองก็เป็นอาชญากรระดับเล็กๆล่ะเอาจริงๆ แต่ก็ยังแสดงความรังเกียจไวท์เมื่อรู้ว่าเป็นอาชญากร แถมยังขู่บังคับให้แม่แฉพ่อให้ลูกฟัง ตรงนี้หนังต้องการสื่อว่า นี่แหละคนเรายึดอีโก้อะไรที่มันไม่มีเหตุผลเหนือกว่าความรักความหวังดีที่มีต่อหลาน แต่คนเป็นแม่เนี่ยอุตส่าห์อดทนถนอมน้ำใจลูกมานาน
อีกตัวที่ผมรู้สึกสงสารแต่ก็เกลียดขี้หน้าด้วยคือ แฮงก์ ชเรเดอร์ นี่ก็อีโก้แรงพุ่งทะลุนอกจอ ไม่ได้ยึดกฎหมายหรือศีลธรรมอะไรหรอก ถ้ายึดกฎหมาย เมียตัวเองเป็นขโมยทำไมไม่ส่งตำรวจ แต่กลับเก็บเป็นความลับ ไอ้ที่อยากจะจับไวท์เข้าคุกนี่ก็เพราะอีโก้ที่อยากจะเอาชนะงานปปส.ของตัวเองที่ตามหาไฮเซนเบิร์กผีตัวนี้มานาน มันคือโลกความจริงที่ว่าคนเราไม่ได้มีคุณธรรมอะไรหรอก อยู่ที่ว่าอัตตามันยึดติดอะไร เพื่อความที่อยากปิดงานสำเร็จ แฮงก์หลอกใช้เจสซี่ทั้งๆที่ไม่ได้ห่วงใยอะไร มองเป็นแค่อาชญากรขี้ยา (มีในบท) นักแสดงเล่นบทได้เหมาะกับเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจริงๆ บุคลิกกร่างวางตัวเบ่งพูดจาเสียงดัง
สำหรับตัวละครที่ผมชอบคือ กุสตาโว ฟริง บุคลิกนิ่ง เชือดนิ่มๆ แต่มีบทที่ไม่สมเหตุเล็กน้อย คือตอนแรกบอกว่าเป็นคนเก็บตัว ระวังตัวมากไม่มีใครเข้าถึง พอผ่านไปเครือข่ายขายยารู้จักกันหมด แม้แต่ลูกน้องที่ขายตามท้องถนนก็เข้าถึงโดยตรงไม่ได้หลายชั้น แต่ถือว่านักแสดงเล่นบทได้ดีมาก สุขุมแสดงออกผ่านแววตา บุคลิกต่างจากอาชญากรอื่นๆที่เราเห็นกันเยอะทั้งเรื่องนี้และเรื่องอื่น ที่ชอบวางมาดกร่างสไตล์ฝรั่งลูกทุ่ง
อีกตัวที่ชอบคือ ทนายซอล คนดี (กูดแมน) บุคลิกไม่นิ่ง ลนลาน ตลก แต่ฉลาดอ่านสถานการณ์ออกหมดและสุดท้ายเอาตัวรอดได้
สำหรับไวท์ผมไม่ชอบตรงที่มีนิสัยงี่เง่าซะเยอะ แต่ส่วนที่ชอบคือไม่เหยียดคน ไม่เหยียดกุ๊ย ไม่เหยียดอาชญากร (ตัวเขาเองเลยชอบด้านนี้) ชอบความคิดตรงที่ไม่เป็นศาลเตี้ย รู้จักมองว่ายาเสพติดที่ต่อต้านกันมันผิดตรงไหน ก็แค่ผิดกฎหมาย ทำไมเหล้าบุหรี่ไม่ผิดกฎหมาย ทำไมคนผลิตเหล้าบุหรี่ถึงไม่นับว่าเลว ? ทั้งที่เสพติดเหมือนกัน ทำลายสุขภาพเหมือนกัน เหล้าก็เมาได้เป็นต้นเหตุของอาชญากรรมเหมือนกัน ทำลายครอบครัวก็เยอะ การพนันก็อบายมุขทำลายคน ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ? แล้วเรื่องนี้เน้นมากเรื่องสูบบุหรี่ กระดกเหล้า เล่นไพ่
ผมมองว่าหนังต้องการจะจิกกัดสังคมและจิกกัดมาตรฐานความคิดคนตรงนี้ แต่เขาทำไม่ได้แบบโจ่งแจ้งเกิน ที่จริงสามารถจบซีซั่น 4 ได้เลย แล้วจบเจ๋งด้วย ไม่ต้องไปตามเก็บค้างคาของไม่จำเป็น จบแบบซีซั่น 5 มันน้ำเน่าไปหน่อย แค่อาจกลัวจะถูกหาว่าให้ท้ายอาชญากร เลยสุดท้ายต้องให้อาชญากรตายหมดถึงปิดเรื่องได้ แล้วก็มาแจงแต่ละตัวละครเพื่อให้รู้ว่า เท็ดไม่ตายนะ ทนายหนีได้นะ ตกลงครอบครัวรู้แล้วนะ ลูกรับไม่ได้นะ แต่เงินลูกก็ได้รับอยู่โดยไม่รู้ที่มา ซึ่งบทพวกนี้ไม่จำเป็นเลย
แล้วก็บทมันหาวิธีเอาผิดไวท์ไม่ได้เลยต้องใช้ลูกน้ำเน่านิดๆ ให้เจสซี่รับไม่ได้ที่มีการฆ่าเด็ก เลยเพี้ยนเอาเงินไปโปรยตามถนน บทจะหาทางจบหนังก็มักจะทำอะไรไม่ค่อยเข้าท่าแบบนี้แหละ (อย่าง game of thrones ก็ให้แดเนอริสเผาเมืองแบบห้วนๆเลยเพื่อจะให้จอนฆ่า ทั้งที่จริงแล้วมีบทปูแต่แรกซีซั่น 6 ว่าแดเนอริสต้องถล่มเข่นฆ่าผู้คนแน่นอน แต่เอาเข้าจริงมันห้วนไปหน่อย)
ส่วน Prison break จบดีสวยงามสมเหตุทุกประการโดยตัวของมันเองคือจบไปตั้งแต่ซีซั่น 4 โดยสมบูรณ์ แต่ผ่านไปเกือบ 10 ปี เกิดนึกครึ้มอะไรก็ไม่รู้มาสร้างซีซั่น 5 เป็นซีซั่นพิเศษขึ้นมา เหมือนคิดถึงไมเคิล สโคฟิลด์ขึ้นมารึเปล่า คราวนี้ออกทะเลเลย มีอะไรไม่สมเหตุหลายอย่าง อยู่ๆขบวนการกิ๊กก๊อกก็สามารถทำให้สโคฟิลด์ไปติดคุกอยู่แดนไกล ที-แบกก็ออกมาแบบอยากให้แฟนๆเห็นหน้าอีกครั้ง ไม่มีตรรกะอะไรเลย
ถ้านับเฉพาะ 4 ซีซั่นจบสมบูรณ์ จุดดีของ PB คือดำเนินเรื่องดี มีวางแผนอะไรมาให้สนุกได้ตลอด ค่อยๆเอาฝ่ายตรงข้ามหรืออริ มารวมอยู่ในฝ่ายเดียวกันเรื่อยๆ ทำนองดราก้อนบอลอะไรแบบนั้น ส่วนจุดด้อยคือ มีสิ่งไม่เชื่อมโยงและขัดแย้งในตัวตลอดหรือเรียกว่าลืมบทตัวเอง (นี่ก็คล้ายดราก้อนบอลอีกน่ะแหละ)
ตัวละครหลายตัวเปิดตัวมาแบบอย่างเข้ม แล้วก็ค่อยๆหลุดลืมบทตัวเอง อย่างนายพลแครนตซ์ นี่เปิดตัวอย่างขรึม ไม่พูดไม่จา เขียนอย่างเดียว อยู่ในอเมริกานี่พูดไม่ได้เลยกลัวการดักฟัง จะพูดทีต้องนั่งเรือออกชายฝั่ง แต่ตอนหลังพูดปร๋อเลยสงสัยลืมเรื่องถูกดักฟังไปแล้ว
FBI มาโฮน นี่ก็ติดยา ขาดไม่ได้จะลงแดงตัวสั่น ขึ้นศาลพูดจาไม่รู้เรื่อง แต่ตอนหลังพอมารวมทีมแล้วหายเลย ลืมบทไปว่าติดยา
คุกปานามานี่เข้าไปทีแรกอย่างกับนรก เหมือนกองขยะในส้วมเน่า นักโทษโซซัดโซเซรอวันตาย มานอนกองรวมกันหมดตามทาง พอผ่านไปไม่นาน กลายเป็นศูนย์การค้า ธุรกิจรุ่งเรือง มีการพนัน มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนของเถื่อน ยาที่ลักลอบไปขายนี่ 5 พันดอลฯ หมื่นดอลฯ แต่ละคนแต่งตัวดี ไอ้ที่โทรมๆเสื้อผ้ารุ่งริ่งรอวันตายไม่มีละ บรรยากาศเหมือนชุมชนอพาร์ทเมนต์
สำหรับบทบู๊ PB ก็มีความ Fast and furious อยู่มาก คือเว่อร์เกินจริงแบบเว่อร์มาก แบบคนเราจะบู๊เก่งไปทุกด้านทั้งขับรถเก่ง ต่อสู้เก่ง ยิงปืนแม่น เก่งกว่าตำรวจ เก่งกว่าขบวนการตัวร้าย อย่างลินคอล์น เบอร์โรวส์ นี่บู๊ครบเครื่องเป็นพวก Fast เลย
ทั้ง PB และ BB สองเรื่องเหมือนกันในเรื่องเหยียดลาตินอเมริกา เหมือนๆกับฮอลลีวูดทั่วไป ไปสร้างภาพลักษณ์ว่าลาตินอเมริกานี่คือแหล่งอาชญากร แหล่งพ่อค้ายามาเฟียร์ (แต่โลกความจริงคือ นักธุรกิจอเมริกัน และนายทุนยิวอเมริกันระดับบิ๊กๆทั้งนั้นเบื้องหลังอบายมุขต่างๆ และอาชญากรเยอะกว่าด้วยซ้ำไป)
อย่าง PB สภาพของคุกปานามา อันนี้ดูถูกบ้านเมืองเขามาก หรืออย่างซีซั่น 5 ซีซั่นพิเศษก็มีการเหยียดอาหรับ ตามสไตล์ฮอลลีวูดเลย ดูถูกคุกและบ้านเมืองของเขา จริงๆบ้านเมืองเขาก็มีระเบียบมีขื่อมีแป ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน
Prison break สำหรับผมคิดว่า ใครยังไม่ได้ดูก็พลาดได้ไม่เสียหาย ส่วน Breaking bad อันนี้ไม่ควรพลาด
Prison break คะแนนผมให้ 7
ถ้านับรวมซีซั่นพิเศษด้วย ให้ 6.5
Breaking bad ให้ 8.5
(เทียบกับซีรีส์ชั้นนำเรื่องอื่นในมุมมองของผม)
Lost ให้ 8
Game of thrones ให้ 9
Spartacus ให้ 7
West world ให้ 8.5
*ผมดูจากความละเอียด ภาพ บท เทคนิค ซาวน์ประกอบ เป็นมุมมองส่วนตัวเท่านั้นครับ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ*