กรุงเทพฯ ติดอันดับ 40 ของโลก เมืองค่าครองชีพสูง ประจำปี 2562 พุ่งขึ้น 12 อันดับ ฮ่องกง ครองอันดับ 1
วันที่ 25 มิถุนายน 2562 เมอเซอร์ บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เผยผลการสำรวจค่าครองชีพประจำปี 2562 สำหรับเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 ฮ่องกง
อันดับ 2 โตเกียว (ญี่ปุ่น)
อันดับ 3 สิงคโปร์
อันดับ 4 โซล (เกาหลีใต้)
อันดับ 5 ซูริก (สวิตเซอร์แลนด์)
อันดับ 6 เซี่ยงไฮ้ (จีน)
อันดับ 7 อาชกาบัต (เติร์กเมนิสถาน)
อันดับ 8 ปักกิ่ง (จีน)
อันดับ 9 นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)
อันดับที่ 10 เซินเจิ้น (จีน)
ขณะที่ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงติดอันดับที่ 40 ของโลก ซึ่งเป็นการเพิ่มอันดับที่สูงขึ้นถึง 12 อันดับ จากปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 52 สะท้อนให้เห็นถึงการย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยจากเมืองอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และเป็นผลจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจที่ลดลง ขณะที่การผันผวนของค่าเงินและภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย
สำหรับการจัดอันดับอัตราค่าครองชีพของเมอร์เซอร์ในปีนี้ เป็นการเก็บข้อมูลจาก 20 เมือง ใน 5 ทวีปทั่วโลก โดยวัดจากการเปรียบเทียบราคาของ 200 รายการในแต่ละเมือง ภายใต้หมวดหมู่ที่อยู่อาศัย การเดินทาง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ในบ้าน และความบันเทิง
ผลการสำรวจยังพบว่า ในเมืองใหญ่ทั่วโลก ราคาของตั๋วภาพยนตร์ กาแฟ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในฮ่องกง มีราคาแพงที่สุดในโลก ในขณะที่นมในกรุงปักกิ่ง มีราคาสูงที่สุดในโลกถึง 4.45 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับราคาของนมในกรุงนิวยอร์ก ที่ 1.21 ดอลลาร์สหรัฐ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
mercer.com
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
“กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 40 เมืองค่าครองชีพสูงสุดในโลก ปี 2562 พุ่งจากปีก่อน 12 อันดับ
วันที่ 25 มิถุนายน 2562 เมอเซอร์ บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เผยผลการสำรวจค่าครองชีพประจำปี 2562 สำหรับเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 ฮ่องกง
อันดับ 2 โตเกียว (ญี่ปุ่น)
อันดับ 3 สิงคโปร์
อันดับ 4 โซล (เกาหลีใต้)
อันดับ 5 ซูริก (สวิตเซอร์แลนด์)
อันดับ 6 เซี่ยงไฮ้ (จีน)
อันดับ 7 อาชกาบัต (เติร์กเมนิสถาน)
อันดับ 8 ปักกิ่ง (จีน)
อันดับ 9 นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)
อันดับที่ 10 เซินเจิ้น (จีน)
ขณะที่ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงติดอันดับที่ 40 ของโลก ซึ่งเป็นการเพิ่มอันดับที่สูงขึ้นถึง 12 อันดับ จากปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 52 สะท้อนให้เห็นถึงการย้ายถิ่นฐานของผู้อยู่อาศัยจากเมืองอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และเป็นผลจากการเติบโตด้านเศรษฐกิจที่ลดลง ขณะที่การผันผวนของค่าเงินและภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย
สำหรับการจัดอันดับอัตราค่าครองชีพของเมอร์เซอร์ในปีนี้ เป็นการเก็บข้อมูลจาก 20 เมือง ใน 5 ทวีปทั่วโลก โดยวัดจากการเปรียบเทียบราคาของ 200 รายการในแต่ละเมือง ภายใต้หมวดหมู่ที่อยู่อาศัย การเดินทาง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ในบ้าน และความบันเทิง
ผลการสำรวจยังพบว่า ในเมืองใหญ่ทั่วโลก ราคาของตั๋วภาพยนตร์ กาแฟ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในฮ่องกง มีราคาแพงที่สุดในโลก ในขณะที่นมในกรุงปักกิ่ง มีราคาสูงที่สุดในโลกถึง 4.45 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับราคาของนมในกรุงนิวยอร์ก ที่ 1.21 ดอลลาร์สหรัฐ
mercer.com