เรื่องราวตำนานที่ถูกเล่าต่อๆ บางครั้งเศษเสี้ยวเหล่านั้นอาจกลายเป็นเรื่องจริงคุณอาจคิดไม่ถึง เช่นเดียวกับการค้นพบในครั้งนี้ เมื่อนักสำรวจพบ เมืองที่สาบสูญและเชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งเทพเจ้าลิง” ที่ล่มสลายเพราะโรคไวรัสกินเนื้อคน ในป่าลึกของประเทศฮอนดูรัส
เมืองสาบสูญแห่งเทพเจ้าวานร
เทือกเขาลามอสกีเตีย ในหุบเขาแห่งนี้อยู่ในภูมิภาคซึ่งเล่าลือกันมาช้านานว่าเป็นที่ตั้งของเมือง “ซิวดัดบลังกา” (Ciudad Blanca) มหานครในตำนานที่สร้างด้วยศิลาสีขาว หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า นครสาบสูญแห่งวานรเทพ
นครแห่งเทพเจ้าลิง หรือ La Ciudad Blanca (The White City) ถูกค้นพบในปี 2015 เรื่องราวการค้นพบเมืองลึกลับแห่งหนึ่งในป่าฝนลึกของฮอนดูรัสกลายเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ที่พบหลักฐานสำคัญต่างๆ ได้มากมาย นับเป็นเมืองลับเก่าแก่ที่ไม่มีร่องรอยการบุกรุกของมนุษย์หรือนักสำรวจคนไหนมาก่อนจากเครื่องสำรวจระยะไกล (LIDAR)
โดยก่อนหน้านี้ ธีโอดอร์ มอร์ด นักผจญภัยได้เขียนเรื่องราวการผจญภัยจนพบเมืองที่สาบสูญของเทพลิง เอาไว้เมือปี 1940 แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดสถานที่แห่งนี้มากนัก เนื่องจากกลัวว่าจะมีคนเข้าไปขโมยซากวัตถุโบราณเหล่านี้ไป ก่อนจะฆ่าตัวตายไปพร้อมกับความลับของเส้นทางเข้าสู่เมืองดังกล่าว จนกระทั่งปี 2015 NASA ได้ส่งเครื่องบินสำรวจเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และพบกับร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างที่ทำจากหินขาว ที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารเทพเจ้าลิงอย่างที่ธีโอดอร์เคยกล่าวอ้างไว้ โดยเมืองที่สาบสูญแห่งนี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติ
เครดิตภาพ BBC
อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งนี้กลับทำนักวิจัยและทีมงานกว่าครึ่งป่วยกะทันหันจากโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Necrotizing fasciitis) โดยมีอาการผิวหนังตามร่างกายจะเน่าและลามไปทั่วตัว และโรคลิชมานิเอซิส (Leishmaniasis) ที่เกิดจากปรสิตและโปรโตซัวอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ต้องรีบออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเข้าการรักษาป้องกันการลุกลามถึงขั้นเสียชีวิต
ด้วยสาเหตุนี้นักสำรวจจึงเชื่อว่าสาเหตุที่เมืองลิงแห่งนี้ล่มสลายอาจเป็นเพราะแบคทีเรียกินเนื้อคนแพร่ระบาด ที่คร่าคนชาวเมืองและทำให้อาณาจักรแห่งนี้ล่มสลายไปในที่สุดก็เป็นได้
ต้นปี 2017 หนึ่งในทีมสำรวจที่พบเมืองลับแห่งนี้ ดักลาส เปรสตัน ได้เขียนหนังสือเรื่องชื่อ The Lost City of the Monkey God ที่บอกถึงเรื่องราวการค้นพบและตำนานที่ผู้รุกรานอาจต้องจบชีวิตด้วยโรคร้ายแรงตามตำนานที่เกิดขึ้นของชาวเมืองซึ่งมันก็เป็นจริงซะด้วย
เรียบเรียง : SpokeDark.TV
นครแชมบาลา หรือที่รู้จักกันในชื่อของ
”แชงกรี-ลา”
เครดิตภาพจากMTHAI
คือดินแดนลับแลที่ซ่อนตัวอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย บ้างก็ว่านครแห่งนี้หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน ตามบันทึกโบราณของชาวทิเบตได้กล่าวถึงนครใต้พิภพอยู่บ่อยครั้ง โดยกล่าวว่าโลกมนุษย์ที่เรารู้จักนั้นกลวง และมีดินแดนที่มนุษย์อาศัยอยู่ภายในเปลือกโลก
ในปี ค.ศ.2008 ได้มีการค้นพบถ้ำแห่งหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาของประเทศทิเบต โดยนักสำรวจได้พบกับงานศิลปะของชาวทิเบตโบราณ และโครงกระดูกที่มีอายุกว่า 600 ปี
ภาพ A Map to Shamhala 2010 แผนที่จากความคิดของศิลปิน Eric Whollem
ชัมบาลา เป็นนครแห่งอุดมคติที่พุทธศาสนิกชนที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเชื่อว่ามีอยู่จริง เปรียบเทียบง่ายๆ ชัมบาลาในความคิดของพุทธฝ่ายมหายานก็คือ “ดินแดนแห่งพุทธภูมิ” นั่นเอง อารมณ์เหมือนยูโธเปียตามความเชื่อของซีกโลกตะวันตกหรือ“ดินแดนพระศรีอาริย์” แบบบ้านเรา
จริงๆ ในแถบดินแดนฝั่งทิเบตนี้มีคำอีกคำหนึ่ง ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก นั่นก็คือคำว่า
“แชงกรีลา” (ที่ไม่ใช่โรงแรม ร้านอาหาร และยี่ห้อขนมไหว้พระจันทร์) คำว่าแชงกรีลาปรากฎโฉมต่อสายตานักอ่านทั่วโลกครั้งแรก ในฐานะเมืองลึกลับจากนวนิยายที่ชื่อ
Lost Horizonของนักประพันธ์
James Hilton
ซ้ายคือนิยาย Lost Horizon ของนักประพันธ์ James Hilton และขวาคือเวอร์ชั่นภาพยนตร์
ในนวนิยายเล่มดังกล่าว ได้กล่าวถึงชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่ง ได้นั่งเครื่องบินลำเล็กลำหนึ่งผ่านมาทางเทือกเขาหิมาลัย แต่แล้วเครื่องบินเกิดขัดข้อง และได้ตกลงในพื้นที่แถบนี้ หลังอุบัติเหตุดังกล่าว พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนลึกลับกลุ่มหนึ่ง
คนเหล่านี้ได้พาพวกเขาเข้าไปยังดินแดนอันลึกลับที่ซุกซ่อนอยู่ในเทือกเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ เป็นดินแดนที่ไม่เคยติดต่อกับโลกภายนอก และไม่มีผู้คนจากโลกภายนอกคนใดเคยเข้าไปถึงมาก่อน ที่นี่เป็นเหมือนดั่งดินแดนในฝัน รายรอบด้วยภูเขาหิมะ ผู้คนต่างอยู่กันอย่างสันติสุข และปกครองดูแลโดยพระลามะระดับสูง ชื่อของเมืองนั้นคือ
“แชงกรีลา”
หลังจากนิยายเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ มันโด่งดังจนมีคนมาซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นภาพยนตร์ และประสบความสำเร็จมาก จากนั้นมาคนจำนวนไม่น้อยก็หลงใหลในความลึกลับแห่งนครอันสงบสุขที่ไม่มีอยู่บนแผนที่
และเนื่องจากพิกัดในนิยายเล่มนั้นระบุเอาไว้ว่า เมืองลึกลับอันแสนสุขนั้นอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ทำให้ประเทศแถบนั้นต่างพยายามอ้างว่า แชงกรีลาที่มีอยู่จริงนี้ อยู่ในพื้นที่เขตประเทศของตน แต่มีนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อย มองว่าเจมส์ ฮิลตัน ได้ไอเดียเมืองลึกลับแชงกรีลาในนวนิยายของเขามาจาก
“ชัมบาลา” (Shambala) จากความเชื่อของทิเบต
ชัมบาลา คืออาณาจักรในตำนานของทิเบต เป็นสังคมในอุดมคติซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมของเอเชีย ปัจจุบัน เป็นดินแดนแห่งสันติสุขและความรุ่งเรืองด้วยขนบธรรมเนียมที่ดีงามและสงบสว่างด้วยพุทธศาสนา
เครดิต/travel.trueid.net
เอลโดราโด้ นครแห่งทองคำ
เอลโดราโด้ ไม่เพียงแต่เป็นขุมความลับอันยิ่งใหญ่ แต่ยังเป็นขุมทองอันมหาศาลที่ยั่วน้ำลายนักแสวงโชคมาเนิ่นนาน แม้ว่าโลกเราในปัจจุบันจะเจริญรุดหน้าชนิดที่เดินทางค้นหาดินแดนใหม่ในจักรวาลเป็นว่าเล่น แต่ก็น่าแปลกที่วิวัฒนาการดังกล่าวไม่ได้มีส่วนช่วยในการค้นหาดินแดนในตำนานที่ว่านี้เลย
แผนที่ที่เชื่อกันว่าจะนำทางไปสู่นครแห่งทองคำ El Dorado
‘เอล โดราโด’ (El Dorado) หรือ ‘นครทองคำ’ คือชื่อของอาณาจักรลึกลับที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำอเมซอนอันอุดมสมบูรณ์แห่งทวีปอเมริกาใต้ ว่ากันว่าทุกอย่างในเมืองล้วนแต่เป็น ‘ทองคำ’ แทบทั้งสิ้น
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ‘ฟรานซิสโก ปิซาร์โร’ นักสำรวจชาวสเปนผู้พิชิตอาณาจักรอินคา ได้ขนทองคำและของมีค่าจำนวนมหาศาลกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตนเอง
เรื่องราวดังกล่าวดันไปตรงกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวพื้นเมืองที่เคยบอกกับ ‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ ผู้พิชิตชนเผ่าอินคาแห่งอเมริกาใต้ และเป็นผู้ก่อตั้งเมืองหลวงของเอกวาดอร์ในปัจจุบันว่า ‘นครทองคำแห่งนี้เต็มไปด้วยทองคำและเพชรนิลจินดาจำนวนมากมายมหาศาล มีมรกตขนาดเล็กที่สุดเท่าไข่ไก่เกลื่อนกลาดไปทั่ว กษัตริย์ของเมืองชุบตัวด้วยทองคำ และจะทำพิธีบูชาสุริยเทพโดยการโยนทองคำและของมีค่าลงไปในทะเลสาบ’ ยิ่งทำให้ ‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ เชื่อว่านครทองคำมีอยู่จริง และเขาคนนี้คือผู้ที่ตั้งชื่อให้นครทองคำแห่งนี้ว่า ‘เอล โดราโด’ นั่นเอง
‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ ตั้งใจที่จะออกค้นหานครทองคำแห่งนี้ แต่มีเหตุทำให้ต้องล้มเลิกไปเสียก่อน ต่อมาในปี ค.ศ.1536 ‘เกวซาดา’ ข้าราชการชาวสเปน ได้ออกสำรวจเพื่อค้นหานครทองคำที่ว่า โดยเดินทางลงไปทางใต้จนได้ไปพบกับชาวอินเดียนแดงเผ่าชิบช่าซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจนผิดสังเกตุ ชาวชิบช่าบอกกับเกวซาดาว่า พวกเขาได้ทองและมรกตเหล่านี้จากการค้าขายกับชนเผ่าลึกลับที่อยู่ในป่าลึก เกวซาดาจึงออกค้นหาตามคำบอกเล่าดังกล่าว จนได้พบกับทะเลสาบ ‘กัวตาติวา’ ทะเลสาบในตำนานที่เชื่อว่ากษัตริย์แห่งนครทองคำได้โยนของมีค่าทิ้งลงไป แต่ไม่พบนครทองคำที่ว่าหรือชาวพื้นเมืองใดๆ เลย เกวซาดาจึงล้มเลิกการค้นหาไป
แม้จะผ่านมานานกว่าร้อยปี เรื่องราวของขุมทองเอลโดราโด้ก็ยังคงเย้ายวนใจคนอยากรวยอยู่เสมอ การค้นพบนี้อาจจะยืนยันการมีอยู่จริงของนครเอลโดราโด้ในตำนาน แต่การค้นหาตำแหน่งที่แน่นอนของนครแห่งนี้ ก็ยังคงความลึกลับให้นักสำรวจได้มีงานทำกันต่อไป อย่างไรก็ดี การค้นหาของนักโบราณคดีและนักธรณีวิทยาในอเมริกาใต้ ก็พบสิ่งที่มีค่าไม่แพ้ทองคำเช่นกัน มันก็คือบ่อน้ำมันนั่นเอง ที่ขณะนี้มีค่าไม่ต่างจากทองเลยจริง ๆ
.goldtraders.or.th
spokedark.tv
นครแอตแลนติส อาณาจักรใต้น้ำที่หายสาบสูญ
แอตแลนติส เป็นอาณาจักรโบราณ เมืองแห่งอารยธรรมที่หายไปในห้วงทะเลลึกแถบไซปรัส ซึ่งแอตแลนติสได้ชื่อว่าเมืองลึกลับที่อยู่ในความทรงจำของคนทั้งโลก รวมถึงยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่า นครแอตแลนติสที่สาบสูญ มีอยู่จริงหรือเป็นแค่เรื่องเล่าในตำนาน โดยผู้ที่สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับแอตแลนติสขึ้นมาคนแรกก็คือ เพลโต นักปรัชญาชื่อดังของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนเรื่องราวของแอตแลนติสไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี ในหนังสือชื่อ ทิเมอุส และ ครีทีแอซ พร้อมอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง หลายคนจึงเชื่อว่าอารยธรรมโบราณหลายแห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ , เมโสโปเตเมีย , ชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็น สโตนเฮ้นจ์ หรือ ปิรามิด ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น
นักวิชาการหลายคนก็มองความเป็นไปได้ว่า แอตแลนติสอาจอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งนักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้น , แถวหมู่เกาะเวสต์อินดส์ , ชายฝั่งตะวันตกของทีวีปแอฟริกา และในมหาสมุทรแปซิฟิค แอตแลนติก อาร์คติก หรือ อินเดีย
นอกจากนั้นทีมวิจัยทางอากาศผ่านภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า มีโลหะที่มีรัศมีเป็นวงกลมและมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆล้อมรอบจุดที่คาดว่าเป็นทวีปแอตแลนติส โดยคิดว่ามันเป็นสิ่งก่อสร้าง 2 อย่างคือ วิหารทองคำที่ชาวแอนแลนตีสสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพโพเซดอน และวิหารเงินเพื่อบูชาพระนางไคลโต อันเป็นผู้ถือกำเนิดกษัตริย์ที่ปกครองนครแอตแลนตีส ซึ่งหลังจากการเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมออกไป ก็ยังไม่มีใครได้ลองดำลึกลงไปขุดพิสูจน์พื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด
แน่นอนว่าเรื่องราวของ แอตแลนติส จะยังคงถูกตั้งข้อสงสัยต่อไปเรื่อยๆในอีกหลายปี ตราบใดที่ยังไม่มีใครพบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเป็นที่ตั้งของนครลับแลแห่งนี้
.doonee.com
ตำนานนครลึกลับเมืองที่สาปสูญ
เมืองสาบสูญแห่งเทพเจ้าวานร
นครแห่งเทพเจ้าลิง หรือ La Ciudad Blanca (The White City) ถูกค้นพบในปี 2015 เรื่องราวการค้นพบเมืองลึกลับแห่งหนึ่งในป่าฝนลึกของฮอนดูรัสกลายเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ที่พบหลักฐานสำคัญต่างๆ ได้มากมาย นับเป็นเมืองลับเก่าแก่ที่ไม่มีร่องรอยการบุกรุกของมนุษย์หรือนักสำรวจคนไหนมาก่อนจากเครื่องสำรวจระยะไกล (LIDAR)
โดยก่อนหน้านี้ ธีโอดอร์ มอร์ด นักผจญภัยได้เขียนเรื่องราวการผจญภัยจนพบเมืองที่สาบสูญของเทพลิง เอาไว้เมือปี 1940 แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดสถานที่แห่งนี้มากนัก เนื่องจากกลัวว่าจะมีคนเข้าไปขโมยซากวัตถุโบราณเหล่านี้ไป ก่อนจะฆ่าตัวตายไปพร้อมกับความลับของเส้นทางเข้าสู่เมืองดังกล่าว จนกระทั่งปี 2015 NASA ได้ส่งเครื่องบินสำรวจเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และพบกับร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างที่ทำจากหินขาว ที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารเทพเจ้าลิงอย่างที่ธีโอดอร์เคยกล่าวอ้างไว้ โดยเมืองที่สาบสูญแห่งนี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติ
เครดิตภาพ BBC
อย่างไรก็ตามการสำรวจครั้งนี้กลับทำนักวิจัยและทีมงานกว่าครึ่งป่วยกะทันหันจากโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Necrotizing fasciitis) โดยมีอาการผิวหนังตามร่างกายจะเน่าและลามไปทั่วตัว และโรคลิชมานิเอซิส (Leishmaniasis) ที่เกิดจากปรสิตและโปรโตซัวอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ต้องรีบออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเข้าการรักษาป้องกันการลุกลามถึงขั้นเสียชีวิต
ด้วยสาเหตุนี้นักสำรวจจึงเชื่อว่าสาเหตุที่เมืองลิงแห่งนี้ล่มสลายอาจเป็นเพราะแบคทีเรียกินเนื้อคนแพร่ระบาด ที่คร่าคนชาวเมืองและทำให้อาณาจักรแห่งนี้ล่มสลายไปในที่สุดก็เป็นได้
ต้นปี 2017 หนึ่งในทีมสำรวจที่พบเมืองลับแห่งนี้ ดักลาส เปรสตัน ได้เขียนหนังสือเรื่องชื่อ The Lost City of the Monkey God ที่บอกถึงเรื่องราวการค้นพบและตำนานที่ผู้รุกรานอาจต้องจบชีวิตด้วยโรคร้ายแรงตามตำนานที่เกิดขึ้นของชาวเมืองซึ่งมันก็เป็นจริงซะด้วย
เรียบเรียง : SpokeDark.TV
นครแชมบาลา หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ”แชงกรี-ลา”
เครดิตภาพจากMTHAI
คือดินแดนลับแลที่ซ่อนตัวอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย บ้างก็ว่านครแห่งนี้หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน ตามบันทึกโบราณของชาวทิเบตได้กล่าวถึงนครใต้พิภพอยู่บ่อยครั้ง โดยกล่าวว่าโลกมนุษย์ที่เรารู้จักนั้นกลวง และมีดินแดนที่มนุษย์อาศัยอยู่ภายในเปลือกโลก
ในปี ค.ศ.2008 ได้มีการค้นพบถ้ำแห่งหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาของประเทศทิเบต โดยนักสำรวจได้พบกับงานศิลปะของชาวทิเบตโบราณ และโครงกระดูกที่มีอายุกว่า 600 ปี
ภาพ A Map to Shamhala 2010 แผนที่จากความคิดของศิลปิน Eric Whollem
ชัมบาลา เป็นนครแห่งอุดมคติที่พุทธศาสนิกชนที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเชื่อว่ามีอยู่จริง เปรียบเทียบง่ายๆ ชัมบาลาในความคิดของพุทธฝ่ายมหายานก็คือ “ดินแดนแห่งพุทธภูมิ” นั่นเอง อารมณ์เหมือนยูโธเปียตามความเชื่อของซีกโลกตะวันตกหรือ“ดินแดนพระศรีอาริย์” แบบบ้านเรา
จริงๆ ในแถบดินแดนฝั่งทิเบตนี้มีคำอีกคำหนึ่ง ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก นั่นก็คือคำว่า “แชงกรีลา” (ที่ไม่ใช่โรงแรม ร้านอาหาร และยี่ห้อขนมไหว้พระจันทร์) คำว่าแชงกรีลาปรากฎโฉมต่อสายตานักอ่านทั่วโลกครั้งแรก ในฐานะเมืองลึกลับจากนวนิยายที่ชื่อ Lost Horizonของนักประพันธ์ James Hilton
ซ้ายคือนิยาย Lost Horizon ของนักประพันธ์ James Hilton และขวาคือเวอร์ชั่นภาพยนตร์
ในนวนิยายเล่มดังกล่าว ได้กล่าวถึงชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่ง ได้นั่งเครื่องบินลำเล็กลำหนึ่งผ่านมาทางเทือกเขาหิมาลัย แต่แล้วเครื่องบินเกิดขัดข้อง และได้ตกลงในพื้นที่แถบนี้ หลังอุบัติเหตุดังกล่าว พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนลึกลับกลุ่มหนึ่ง
คนเหล่านี้ได้พาพวกเขาเข้าไปยังดินแดนอันลึกลับที่ซุกซ่อนอยู่ในเทือกเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ เป็นดินแดนที่ไม่เคยติดต่อกับโลกภายนอก และไม่มีผู้คนจากโลกภายนอกคนใดเคยเข้าไปถึงมาก่อน ที่นี่เป็นเหมือนดั่งดินแดนในฝัน รายรอบด้วยภูเขาหิมะ ผู้คนต่างอยู่กันอย่างสันติสุข และปกครองดูแลโดยพระลามะระดับสูง ชื่อของเมืองนั้นคือ “แชงกรีลา”
หลังจากนิยายเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ มันโด่งดังจนมีคนมาซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นภาพยนตร์ และประสบความสำเร็จมาก จากนั้นมาคนจำนวนไม่น้อยก็หลงใหลในความลึกลับแห่งนครอันสงบสุขที่ไม่มีอยู่บนแผนที่
และเนื่องจากพิกัดในนิยายเล่มนั้นระบุเอาไว้ว่า เมืองลึกลับอันแสนสุขนั้นอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ทำให้ประเทศแถบนั้นต่างพยายามอ้างว่า แชงกรีลาที่มีอยู่จริงนี้ อยู่ในพื้นที่เขตประเทศของตน แต่มีนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อย มองว่าเจมส์ ฮิลตัน ได้ไอเดียเมืองลึกลับแชงกรีลาในนวนิยายของเขามาจาก “ชัมบาลา” (Shambala) จากความเชื่อของทิเบต
ชัมบาลา คืออาณาจักรในตำนานของทิเบต เป็นสังคมในอุดมคติซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมของเอเชีย ปัจจุบัน เป็นดินแดนแห่งสันติสุขและความรุ่งเรืองด้วยขนบธรรมเนียมที่ดีงามและสงบสว่างด้วยพุทธศาสนา
เครดิต/travel.trueid.net
เอลโดราโด้ นครแห่งทองคำ
เอลโดราโด้ ไม่เพียงแต่เป็นขุมความลับอันยิ่งใหญ่ แต่ยังเป็นขุมทองอันมหาศาลที่ยั่วน้ำลายนักแสวงโชคมาเนิ่นนาน แม้ว่าโลกเราในปัจจุบันจะเจริญรุดหน้าชนิดที่เดินทางค้นหาดินแดนใหม่ในจักรวาลเป็นว่าเล่น แต่ก็น่าแปลกที่วิวัฒนาการดังกล่าวไม่ได้มีส่วนช่วยในการค้นหาดินแดนในตำนานที่ว่านี้เลย
แผนที่ที่เชื่อกันว่าจะนำทางไปสู่นครแห่งทองคำ El Dorado
‘เอล โดราโด’ (El Dorado) หรือ ‘นครทองคำ’ คือชื่อของอาณาจักรลึกลับที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำอเมซอนอันอุดมสมบูรณ์แห่งทวีปอเมริกาใต้ ว่ากันว่าทุกอย่างในเมืองล้วนแต่เป็น ‘ทองคำ’ แทบทั้งสิ้น
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ‘ฟรานซิสโก ปิซาร์โร’ นักสำรวจชาวสเปนผู้พิชิตอาณาจักรอินคา ได้ขนทองคำและของมีค่าจำนวนมหาศาลกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตนเอง
เรื่องราวดังกล่าวดันไปตรงกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวพื้นเมืองที่เคยบอกกับ ‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ ผู้พิชิตชนเผ่าอินคาแห่งอเมริกาใต้ และเป็นผู้ก่อตั้งเมืองหลวงของเอกวาดอร์ในปัจจุบันว่า ‘นครทองคำแห่งนี้เต็มไปด้วยทองคำและเพชรนิลจินดาจำนวนมากมายมหาศาล มีมรกตขนาดเล็กที่สุดเท่าไข่ไก่เกลื่อนกลาดไปทั่ว กษัตริย์ของเมืองชุบตัวด้วยทองคำ และจะทำพิธีบูชาสุริยเทพโดยการโยนทองคำและของมีค่าลงไปในทะเลสาบ’ ยิ่งทำให้ ‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ เชื่อว่านครทองคำมีอยู่จริง และเขาคนนี้คือผู้ที่ตั้งชื่อให้นครทองคำแห่งนี้ว่า ‘เอล โดราโด’ นั่นเอง
‘เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์’ ตั้งใจที่จะออกค้นหานครทองคำแห่งนี้ แต่มีเหตุทำให้ต้องล้มเลิกไปเสียก่อน ต่อมาในปี ค.ศ.1536 ‘เกวซาดา’ ข้าราชการชาวสเปน ได้ออกสำรวจเพื่อค้นหานครทองคำที่ว่า โดยเดินทางลงไปทางใต้จนได้ไปพบกับชาวอินเดียนแดงเผ่าชิบช่าซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจนผิดสังเกตุ ชาวชิบช่าบอกกับเกวซาดาว่า พวกเขาได้ทองและมรกตเหล่านี้จากการค้าขายกับชนเผ่าลึกลับที่อยู่ในป่าลึก เกวซาดาจึงออกค้นหาตามคำบอกเล่าดังกล่าว จนได้พบกับทะเลสาบ ‘กัวตาติวา’ ทะเลสาบในตำนานที่เชื่อว่ากษัตริย์แห่งนครทองคำได้โยนของมีค่าทิ้งลงไป แต่ไม่พบนครทองคำที่ว่าหรือชาวพื้นเมืองใดๆ เลย เกวซาดาจึงล้มเลิกการค้นหาไป
แม้จะผ่านมานานกว่าร้อยปี เรื่องราวของขุมทองเอลโดราโด้ก็ยังคงเย้ายวนใจคนอยากรวยอยู่เสมอ การค้นพบนี้อาจจะยืนยันการมีอยู่จริงของนครเอลโดราโด้ในตำนาน แต่การค้นหาตำแหน่งที่แน่นอนของนครแห่งนี้ ก็ยังคงความลึกลับให้นักสำรวจได้มีงานทำกันต่อไป อย่างไรก็ดี การค้นหาของนักโบราณคดีและนักธรณีวิทยาในอเมริกาใต้ ก็พบสิ่งที่มีค่าไม่แพ้ทองคำเช่นกัน มันก็คือบ่อน้ำมันนั่นเอง ที่ขณะนี้มีค่าไม่ต่างจากทองเลยจริง ๆ
.goldtraders.or.th
spokedark.tv
นครแอตแลนติส อาณาจักรใต้น้ำที่หายสาบสูญ
แอตแลนติส เป็นอาณาจักรโบราณ เมืองแห่งอารยธรรมที่หายไปในห้วงทะเลลึกแถบไซปรัส ซึ่งแอตแลนติสได้ชื่อว่าเมืองลึกลับที่อยู่ในความทรงจำของคนทั้งโลก รวมถึงยังเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่า นครแอตแลนติสที่สาบสูญ มีอยู่จริงหรือเป็นแค่เรื่องเล่าในตำนาน โดยผู้ที่สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับแอตแลนติสขึ้นมาคนแรกก็คือ เพลโต นักปรัชญาชื่อดังของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนเรื่องราวของแอตแลนติสไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี ในหนังสือชื่อ ทิเมอุส และ ครีทีแอซ พร้อมอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง หลายคนจึงเชื่อว่าอารยธรรมโบราณหลายแห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ , เมโสโปเตเมีย , ชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็น สโตนเฮ้นจ์ หรือ ปิรามิด ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น
นักวิชาการหลายคนก็มองความเป็นไปได้ว่า แอตแลนติสอาจอยู่ใต้ทะเล ไม่ว่าจะเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งนักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้น , แถวหมู่เกาะเวสต์อินดส์ , ชายฝั่งตะวันตกของทีวีปแอฟริกา และในมหาสมุทรแปซิฟิค แอตแลนติก อาร์คติก หรือ อินเดีย
นอกจากนั้นทีมวิจัยทางอากาศผ่านภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า มีโลหะที่มีรัศมีเป็นวงกลมและมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆล้อมรอบจุดที่คาดว่าเป็นทวีปแอตแลนติส โดยคิดว่ามันเป็นสิ่งก่อสร้าง 2 อย่างคือ วิหารทองคำที่ชาวแอนแลนตีสสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพโพเซดอน และวิหารเงินเพื่อบูชาพระนางไคลโต อันเป็นผู้ถือกำเนิดกษัตริย์ที่ปกครองนครแอตแลนตีส ซึ่งหลังจากการเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมออกไป ก็ยังไม่มีใครได้ลองดำลึกลงไปขุดพิสูจน์พื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด
แน่นอนว่าเรื่องราวของ แอตแลนติส จะยังคงถูกตั้งข้อสงสัยต่อไปเรื่อยๆในอีกหลายปี ตราบใดที่ยังไม่มีใครพบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเป็นที่ตั้งของนครลับแลแห่งนี้
.doonee.com