สติจำปราถรณา
คือ ในกาลใดวิปัสสนาจิตหดหู่ ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้ง
ในโพชฌงค์มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์.
ก็ในกาลใดจิตฟุ้งซ่าน ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้งในธรรมคือโพชฌงค์
อันหาโทษมิได้เป็นกุศล
ได้แก่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
แต่สติสัมโพชฌงค์พึงปรารถนาในทุกๆ กาลทีเดียว
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถกํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่าสติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงถึงความเพียรเป็นเครื่องตื่นด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐานแล้ว
จึงทรงประกาศธรรมอันมีการประกอบความเป็นเครื่องตื่นสมบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงวาระแห่งการพิจารณา
พร้อมด้วยอุปการกธรรม (ธรรมเกื้อหนุนกัน)
ของภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาโดยสังเขปแล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความไม่ดูแคลน
ต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า ชาครสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ดังนี้.
การยึดถือสติสัมปชัญญะในการประกอบความเพียรนั้น
นำมาซึ่งความบันเทิงและความเลื่อมใส
อันจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
การถือเอาห้องแห่งวิปัสสนาอันถึงความแก่กล้าแล้ว
ชื่อว่าวิปัสสนาสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้น
เมื่อวิปัสสนาญาณกล้าแข็งดำเนินไปตามวิถี
พ้นจากอุปกิเลสแล้วนำไปอยู่
ความปราโมทย์ยิ่งและความเลื่อมใสของพระโยคี
ย่อมมีในที่ใกล้แห่งการบรรลุธรรมวิเศษ
ด้วยความปราโมทย์และความเลื่อมใสนั้น.
สติจำปรารถณา
คือ ในกาลใดวิปัสสนาจิตหดหู่ ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้ง
ในโพชฌงค์มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์.
ก็ในกาลใดจิตฟุ้งซ่าน ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้งในธรรมคือโพชฌงค์
อันหาโทษมิได้เป็นกุศล
ได้แก่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้.
แต่สติสัมโพชฌงค์พึงปรารถนาในทุกๆ กาลทีเดียว
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถกํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่าสติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังนี้.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงถึงความเพียรเป็นเครื่องตื่นด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐานแล้ว
จึงทรงประกาศธรรมอันมีการประกอบความเป็นเครื่องตื่นสมบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงวาระแห่งการพิจารณา
พร้อมด้วยอุปการกธรรม (ธรรมเกื้อหนุนกัน)
ของภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาโดยสังเขปแล้ว.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความไม่ดูแคลน
ต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า ชาครสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ดังนี้.
การยึดถือสติสัมปชัญญะในการประกอบความเพียรนั้น
นำมาซึ่งความบันเทิงและความเลื่อมใส
อันจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
การถือเอาห้องแห่งวิปัสสนาอันถึงความแก่กล้าแล้ว
ชื่อว่าวิปัสสนาสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้น
เมื่อวิปัสสนาญาณกล้าแข็งดำเนินไปตามวิถี
พ้นจากอุปกิเลสแล้วนำไปอยู่
ความปราโมทย์ยิ่งและความเลื่อมใสของพระโยคี
ย่อมมีในที่ใกล้แห่งการบรรลุธรรมวิเศษ
ด้วยความปราโมทย์และความเลื่อมใสนั้น.