คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
จากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ
1. Air Dissector อาจจะทำให้เกิดวอลลุ่มของผิวยกตัวขึ้นได้จริงครับ แต่แรงดันไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการ Subcision ได้จริงครับ แต่จุดเด่นคือมันเกิดรอยน้อย แต่ถ้าไม่ซีเรียสกับรอยหลังทำ ผมคิดว่าใช้เข็มทำ Subcision ยังได้ผลดีกว่า Air Dissector ครับ
2. AirJet แบบไม่มีเข็ม อันนี้เป็นการยิงละอองผ่านผิวลงไปโดยตรง เพื่อทำให้เกิดบาดแผลขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมผิว วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดีครับ ผิวจะเต็มขึ้นมาทันที แต่เนื่องจากสารที่จะยิงผ่านผิวลงไปได้ จะต้องมีขนาดโมเลกุลเล็กมากๆ ถ้าจะผสมฟิลเลอร์ลงไป ก็จะเป็นชนิด Non-crosslinked และเจือจางแค่ 10% เท่านั้น หรือที่โฆษณากันว่า สเต็มเซลล์ XDNA ก็ต้องเจือจางเช่นเดียวกัน ไม่งั้นจะยิงผ่านผิวไม่ได้ และจะไม่ใช่ฟิลเลอร์แบบที่เราใช้เติมร่องบนใบหน้าครับ เพราะฉะนั้น หลุมที่เห็นเต็มๆ ก็จะยุบลงไปอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเวลาผ่านไป ร่างกายมีการซ่อมแซม หลุมก็จะตื้นขึ้นได้ครับ
3. AirJet แบบใช้เข็ม หลักการก็คล้ายๆ กับ AirJet ปกติ แต่เพื่อให้สามารถใช้ตัวยาที่มีโมเลกุลใหญ่ๆ ได้ และสามารถยิงเนื้อยาล้วนๆ โดยไม่ต้องทำให้เจือจาง ก็เลยจำเป็นต้องยิงแรงดันผ่านเข็มขนาดเล็กๆ แทน ผลลัพธ์ก็ค่อนข้างดีเหมือนกันครับ
4. ตระกูล AirJet ทั้งหลาย เรามักใช้รักษาหลุมขนาดใหญ่ หลุมที่ดูแล้วเหมือนว่าเนื้อมันหายไป คือเลือกรักษาเป็นจุดๆ ไปครับ หลุมแหลมลึก หลุมขนาดเล็ก รูขุมขนกว้าง เราก็ยังคงจำเป็นต้องใช้ Resurfacing Laser หรือวิธีรักษาอื่นๆ อยู่ดีครับ หรือแม้แต่หลุม Box Scar ขนาดใหญ่ แม้จะรักษาด้วย AirJet บางครั้งเราก็ยังใช้ Laser ร่วมด้วยครับ
1. Air Dissector อาจจะทำให้เกิดวอลลุ่มของผิวยกตัวขึ้นได้จริงครับ แต่แรงดันไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการ Subcision ได้จริงครับ แต่จุดเด่นคือมันเกิดรอยน้อย แต่ถ้าไม่ซีเรียสกับรอยหลังทำ ผมคิดว่าใช้เข็มทำ Subcision ยังได้ผลดีกว่า Air Dissector ครับ
2. AirJet แบบไม่มีเข็ม อันนี้เป็นการยิงละอองผ่านผิวลงไปโดยตรง เพื่อทำให้เกิดบาดแผลขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมผิว วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดีครับ ผิวจะเต็มขึ้นมาทันที แต่เนื่องจากสารที่จะยิงผ่านผิวลงไปได้ จะต้องมีขนาดโมเลกุลเล็กมากๆ ถ้าจะผสมฟิลเลอร์ลงไป ก็จะเป็นชนิด Non-crosslinked และเจือจางแค่ 10% เท่านั้น หรือที่โฆษณากันว่า สเต็มเซลล์ XDNA ก็ต้องเจือจางเช่นเดียวกัน ไม่งั้นจะยิงผ่านผิวไม่ได้ และจะไม่ใช่ฟิลเลอร์แบบที่เราใช้เติมร่องบนใบหน้าครับ เพราะฉะนั้น หลุมที่เห็นเต็มๆ ก็จะยุบลงไปอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเวลาผ่านไป ร่างกายมีการซ่อมแซม หลุมก็จะตื้นขึ้นได้ครับ
3. AirJet แบบใช้เข็ม หลักการก็คล้ายๆ กับ AirJet ปกติ แต่เพื่อให้สามารถใช้ตัวยาที่มีโมเลกุลใหญ่ๆ ได้ และสามารถยิงเนื้อยาล้วนๆ โดยไม่ต้องทำให้เจือจาง ก็เลยจำเป็นต้องยิงแรงดันผ่านเข็มขนาดเล็กๆ แทน ผลลัพธ์ก็ค่อนข้างดีเหมือนกันครับ
4. ตระกูล AirJet ทั้งหลาย เรามักใช้รักษาหลุมขนาดใหญ่ หลุมที่ดูแล้วเหมือนว่าเนื้อมันหายไป คือเลือกรักษาเป็นจุดๆ ไปครับ หลุมแหลมลึก หลุมขนาดเล็ก รูขุมขนกว้าง เราก็ยังคงจำเป็นต้องใช้ Resurfacing Laser หรือวิธีรักษาอื่นๆ อยู่ดีครับ หรือแม้แต่หลุม Box Scar ขนาดใหญ่ แม้จะรักษาด้วย AirJet บางครั้งเราก็ยังใช้ Laser ร่วมด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
ขอคำปรึกษาเรื่องการรักษาหลุมสิวค่ะ