คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ทำไมภาครัฐจึงไม่พ่นหมอกควันฆ่ายุงบ่อยๆ
หลายคนสงสัยว่าทำไมภาครัฐไม่ยอมมาพ่นควันฆ่ายุงบ่อยๆ
บางคนหนักกว่านั้น ระบุไปเลยว่าเพราะคนทำงานภาครัฐขี้เกียจไม่ทำงานเชิงรุก ไม่ยอมมาพ่น
ดังนั้น ก่อนที่เราจะจิ้นจินตนาการไปที่ทฤษฎีสมคบคิดหรือการทุจริตของข้าราชการ ผมว่าเรามารู้จักการพ่นหมอกควันดีกว่าครับ
1. การพ่นควันเพื่อฆ่ายุง ต้องพ่น "ในบ้าน" และ "ข้างๆบ้าน"
เพราะยุงลาย อาศัยในบ้านเป็นหลัก การไปพ่นลงท่อ ไปพ่นรอบบ้าน ไม่มีประโยชน์ สิ้นเปลือง
และถ้าใครเคยเจอพ่น จะรู้ว่าเหม็นมาก เสื้อผ้าที่ซักไว้ตากไว้เหม็นมากจนต้องไปซักใหม่
2. สารเคมีที่ใช้ ยุงสามารถทนทานได้เพิ่มขึ้นทุกปี
ถ้าพ่นบ่อยเกิดไปจะทำให้ยุงดื้อยา (โดนควันเข้าไปแล้วสลบ พอผ่านไปชั่วโมงนึงบินต่อ)
ดังนั้นควรใช้ให้น้อยที่สุดครับ ไม่งั้นต่อไปเราจะเจอปรากฎการณ์ยุงที่พ่นไบกอนใส่แล้วไม่ตาย
3. เป้าหมายการพ่น ไม่ใช่กำจัดยุง
ยุง มีวงจรชีวิต 120 วัน
ลูกน้ำในน้ำ มีระยะจากไข่มาเป็นตัวยุง 7-14 วัน
เราพ่นวันนี้ เรากำจัดยุงได้หมดชุดนึง แต่ภายใน 7 วัน ยุงชุดใหม่ปริมาณเท่าเดิมจะกลับมาใหม่ ถ้าเราไม่กำจัดยุงในน้ำ
มีคำถามว่าแล้วถ้าพ่นทุกวันไปเดือนนึงล่ะ
คำตอบคือไม่ได้ผล
เพราะไข่ยุง สามารถอยู่ในระยะพักในที่ที่ไม่มีน้ำได้เป็นเดือนๆ
ดังนั้นพ่นฆ่าล้างบางยุงไป เดี๋ยวไข่ชุดใหม่ฟัก ยุงจากที่อื่นบินมา เดี๋ยวยุงก็มากเท่าเดิม
4. เป้าหมายการพ่น คือการฆ่ายุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก
การพ่นยา จะทำเฉพาะเมื่อมีรายงานจากโรงพยาบาลว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการเหมือนหวัดทั่วไป ตรวจเลือดก็ไม่รู้
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก1คน แปลว่าจริงๆมีคนเป็นไข้เลือดออกชนิดเบาๆอีกเป็น10คนในละแวกนั้น
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก 1 คน แปลว่ายุงในละแวกนั้นต้องมีเชื้อแน่ๆ
ดังนั้นก็จะพ่นหมอกควัน เพื่อให้ช่วง2-3วันนั้น ยุงที่มีเชื้อและบินได้ตายไปจนหมด
เป็นการรีเซ็ทให้การระบาดช้าลง
แต่ถามว่าจะป้องกันได้หมดไหม ... ยากครับ เพราะเชื้อไข้เลือดออกถ่ายทอดจากยุงตัวแม่ไปสู่ไข่ได้
ยุงที่เพิ่งขึ้นจากน้ำก็มีเชื้อได้
ดังนั้นการพ่นหมอกควัน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดครับ
ปล. เครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้พ่นยุง ไม่ใช่ของธรรมดาแบบเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงในไร่นา มีเครื่องสองแบบ คือแบบ 1 Thermal fog ใช้ความร้อนตีน้ำมันให้เป็นละอองแล้วพ่นออกมา 2 แบบULV เป็นแบบสร้างหมอกควันโดยไม่ใช้ความร้อน เครื่องพวกนี้ไม่ว่าจะแบบไหน ต่างมีราคาแพง การบำรุงรักษามาก ต้องตั้งเครื่องใหม่บ่อย(สังเกตนะครับว่าเสียงดังมากเพราะแรงสั่นเยอะ)
ปอ. ผมไม่ทราบค่าใช้จ่ายในการพ่น แต่ยาที่ใช้พ่น เคยเห็นที่ขายปลีกแล้วขวดละ 1000-2000 บาท ต้องใช้ยาราว 3-6ขวด ค่าพ่นแต่ละครั้งที่ผมกะๆเอาเอง น่าจะตกราวๆ 20000-30000 บาท รวมค่าบำรุงรักษาเครื่อง ... ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องน่าจะมาบอกตัวเลขจริงได้ครับ
https://www.facebook.com/HmxMaew/photos/a.398936216867904/488243837937141/?type=3&permPage=1
หลายคนสงสัยว่าทำไมภาครัฐไม่ยอมมาพ่นควันฆ่ายุงบ่อยๆ
บางคนหนักกว่านั้น ระบุไปเลยว่าเพราะคนทำงานภาครัฐขี้เกียจไม่ทำงานเชิงรุก ไม่ยอมมาพ่น
ดังนั้น ก่อนที่เราจะจิ้นจินตนาการไปที่ทฤษฎีสมคบคิดหรือการทุจริตของข้าราชการ ผมว่าเรามารู้จักการพ่นหมอกควันดีกว่าครับ
1. การพ่นควันเพื่อฆ่ายุง ต้องพ่น "ในบ้าน" และ "ข้างๆบ้าน"
เพราะยุงลาย อาศัยในบ้านเป็นหลัก การไปพ่นลงท่อ ไปพ่นรอบบ้าน ไม่มีประโยชน์ สิ้นเปลือง
และถ้าใครเคยเจอพ่น จะรู้ว่าเหม็นมาก เสื้อผ้าที่ซักไว้ตากไว้เหม็นมากจนต้องไปซักใหม่
2. สารเคมีที่ใช้ ยุงสามารถทนทานได้เพิ่มขึ้นทุกปี
ถ้าพ่นบ่อยเกิดไปจะทำให้ยุงดื้อยา (โดนควันเข้าไปแล้วสลบ พอผ่านไปชั่วโมงนึงบินต่อ)
ดังนั้นควรใช้ให้น้อยที่สุดครับ ไม่งั้นต่อไปเราจะเจอปรากฎการณ์ยุงที่พ่นไบกอนใส่แล้วไม่ตาย
3. เป้าหมายการพ่น ไม่ใช่กำจัดยุง
ยุง มีวงจรชีวิต 120 วัน
ลูกน้ำในน้ำ มีระยะจากไข่มาเป็นตัวยุง 7-14 วัน
เราพ่นวันนี้ เรากำจัดยุงได้หมดชุดนึง แต่ภายใน 7 วัน ยุงชุดใหม่ปริมาณเท่าเดิมจะกลับมาใหม่ ถ้าเราไม่กำจัดยุงในน้ำ
มีคำถามว่าแล้วถ้าพ่นทุกวันไปเดือนนึงล่ะ
คำตอบคือไม่ได้ผล
เพราะไข่ยุง สามารถอยู่ในระยะพักในที่ที่ไม่มีน้ำได้เป็นเดือนๆ
ดังนั้นพ่นฆ่าล้างบางยุงไป เดี๋ยวไข่ชุดใหม่ฟัก ยุงจากที่อื่นบินมา เดี๋ยวยุงก็มากเท่าเดิม
4. เป้าหมายการพ่น คือการฆ่ายุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก
การพ่นยา จะทำเฉพาะเมื่อมีรายงานจากโรงพยาบาลว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการเหมือนหวัดทั่วไป ตรวจเลือดก็ไม่รู้
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก1คน แปลว่าจริงๆมีคนเป็นไข้เลือดออกชนิดเบาๆอีกเป็น10คนในละแวกนั้น
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก 1 คน แปลว่ายุงในละแวกนั้นต้องมีเชื้อแน่ๆ
ดังนั้นก็จะพ่นหมอกควัน เพื่อให้ช่วง2-3วันนั้น ยุงที่มีเชื้อและบินได้ตายไปจนหมด
เป็นการรีเซ็ทให้การระบาดช้าลง
แต่ถามว่าจะป้องกันได้หมดไหม ... ยากครับ เพราะเชื้อไข้เลือดออกถ่ายทอดจากยุงตัวแม่ไปสู่ไข่ได้
ยุงที่เพิ่งขึ้นจากน้ำก็มีเชื้อได้
ดังนั้นการพ่นหมอกควัน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดครับ
ปล. เครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้พ่นยุง ไม่ใช่ของธรรมดาแบบเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงในไร่นา มีเครื่องสองแบบ คือแบบ 1 Thermal fog ใช้ความร้อนตีน้ำมันให้เป็นละอองแล้วพ่นออกมา 2 แบบULV เป็นแบบสร้างหมอกควันโดยไม่ใช้ความร้อน เครื่องพวกนี้ไม่ว่าจะแบบไหน ต่างมีราคาแพง การบำรุงรักษามาก ต้องตั้งเครื่องใหม่บ่อย(สังเกตนะครับว่าเสียงดังมากเพราะแรงสั่นเยอะ)
ปอ. ผมไม่ทราบค่าใช้จ่ายในการพ่น แต่ยาที่ใช้พ่น เคยเห็นที่ขายปลีกแล้วขวดละ 1000-2000 บาท ต้องใช้ยาราว 3-6ขวด ค่าพ่นแต่ละครั้งที่ผมกะๆเอาเอง น่าจะตกราวๆ 20000-30000 บาท รวมค่าบำรุงรักษาเครื่อง ... ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องน่าจะมาบอกตัวเลขจริงได้ครับ
https://www.facebook.com/HmxMaew/photos/a.398936216867904/488243837937141/?type=3&permPage=1
แสดงความคิดเห็น
อบต. ปฏิเสธ ไม่เข้ามาฉีดพ่นกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ถูกต้องไหมคะ
ดิฉันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านขนาดใหญ่ 1000 กว่าหลัง ในเขตปริมณฑล ซึ่งมีน้ำล้อมรอบจำนวนมาก
อยากเรียนสอบถามค่ะว่า อบต. สามารถปฏิเสธการเข้ามาฉีดพ่นกำจัดยุงลาย โดยแจ้งมาว่า พื้นที่เอกชนไม่ได้เข้ามาฉีดพ่นกำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน แจ้งแบบนี้ได้ด้วยหรือคะ????
ทางอบต.แจ้งว่าต้องมีคนเป็นไข้เลือดออกก่อน จึงจะทำเรื่องเข้ามาฉีดให้ หรือหมู่บ้านอื่นใกล้เคียงมีเคสคนเป็น จึงจะมาฉีดให้ในรัศมีร้อยเมตร แบบนี้วัวหายแล้วล้อมคอก หรือเปล่าคะ หรือถ้าอยากฉีด อบต.แจ้งว่าให้ยืมถัง แต่เราต้องออกค่าน้ำยาและค่าแรงเอง
เพื่อนบ้านโทรไป 1111 ทางนั้นแจ้งว่า คนไม่พอ และหมู่บ้านเรายังไม่มีใครเป็น เลยไม่เข้ามาฉีด และแนะนำให้นิติบุคคลหมู่บ้าน ซื้อเครื่องและนำยามาดำเนินการเอง
อยากทราบจากผู้รู้ค่ะว่า จริงๆแล้ว ตามกฏ จะต้องเป็นเช่นไรคะ
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ