สัญญาณความเสี่ยงลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเพิ่มขึ้น จากราคาหุ้นในตลาดวอลล์สตรีทขณะนี้ หลังจากที่ดัชนี S&P 500 พุ่งทำสถิติสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่ราคาหุ้นดังกล่าวไม่ได้ถูกสนับสนุนโดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงเนื่องจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในขณะนี้
หรือจนกว่าจะมีการประชุมระหว่าง 2 ผู้นำในการประชุมของสุดยอดกลุ่ม G-20 จะเกิดขึ้นช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้
ขณะที่โรเบิร์ต ไลท์ไธเผซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่าการประชุมของทีมเจรจาการค้าสหรัฐที่รวมถึงสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐและผู้แทนจากจีน จะมีขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G-20 ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะพบปะกัน
โดยที่มีการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถึงการที่จะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น (Fed Fund Rate) ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีความเป็นได้ที่จะมีการลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในช่วงครึ่งหลังปีนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) มีมติ 9-1 เสียงให้คงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ 2.25-2.50% ในการประชุม 2 วันเมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายนที่ผ่านมา แม้เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
แต่เสียงเรียกร้องของนักลงทุนในตลาดยังคงต้องการให้มีการลดดอกเบี้ยโดยเร็วที่สุด ขณะที่ FOMC ของเฟดได้ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ย 0.50% ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ และการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม ตลาดได้ขานรับการส่งญัญญาณลดดอกเบี้ยขดงเฟดในเดือนหน้า ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 26,753 พุ่งขึ้น 249.17 จุด หรือ 0.94% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,954 พุ่งขึ้น 27.72 จุด หรือ 0.95% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,051 เพิ่มขึ้น 64.02 จุด หรือ 0.80%
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของดัชนี S&P 500 ถือเป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยที่อัตรา P/E ratio ของตลาดปรับตัวขึ้นร้อนแรงทะลุระดับ 17.1 เท่าในขณะนี้ เทียบกับระดับ P/E ratio ที่ 16.3 ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ทั้งที่ขาดปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมาสนับสนุน รวมทั้งความเสี่ยงจากการที่ผลผระกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
นอกจากนี้ บรรยากาศซื้อขายในตลาดบอนด์รัฐบาลยังคงมีความไม่แน่นอน โดยที่ผลตอบแทนการลงทุน หรือบอนด์ยีลด์ ของบอนด์รัฐบาลสหรัฐระยะยาวอายุ 10 ปีที่เป็นอัตราอ้างอิงในตลาดการเงินนั้น ร่วงลงต่อเนื่องหลุดระดับ 2% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ลงมาแคะ 1.99% ก่อนดีดตัวขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 2.001% และล่าสุดในช่วงเช้าวันศุกร์อยู่ที่ 2.009%
ทิศทางบอนด์ยืลด์ระยะยาวของบอนด์รัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่เรียกว่า Inverted Yield ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั่นในที่นี้คือ Fed Fund Rate ซึ่งเฟดยืนไว้ที่ระดับ 2.25-2.50% ถูกคาดการณ์ว่า เฟดจะต้องปรับลดลงในเดือนหน้านี้ รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความเสี่ยงจะประสบกับภาวะถดถอยในอีกไม่นานนัก
ภาวะที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเคลื่อนไหวสวนทางกับทิศทางของบอนด์ยีลด์ระยะยาวที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นนั้น ได้ส่งผลให้นักลงทุนหันไปซื้อทองคำมากขึ้น ผลักดันให้ราคาทองทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงค่ำนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 48 ดอลลาร์ หรือ 3.6% แตะระดับ 1.396 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และยังพุ่งขึ้นต่อเนื่องในช่วงเช้าวันนี้ที่ 1,406 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับจากเดือนกันยายน 2013
ขณะเดียวกันราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้น 5.4% หรือ 2.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อคืนวันพฤหัสฯ หลังจากที่ตลาดตื่นตัวกับความร้อนแรงในตะวันออกกลางจะระอุขึ้นอีก จากท่าทีของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ขู่เตือนอิหร่านผ่านทางทวิตเตอร์ที่ระบุเมื่อวานนี้ว่า กำลังทำผิดครั้งใหญ่ที่ยิ่งเครื่องบินโดรนของสหรัฐตก
รวมทั้งส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่พุ่งขึ้น 2.63 ดอลลาร์ หรือ 4.3% แตะ 64.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตลาดมีการคาดการณ์ว่า หากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและอิหร่านได้ส่งผลให้ตะวันออกกลางร้อนระอุอีกครั้ง ก็อาจจะส่งผลต่อราคาน้ำมันพุ่งถึงแตะ 100 ดอลลาร์ แทนการปรับตัวลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยที่ตลาดตองจับตามองการประชุมของกลุ่มโอเปคในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้
https://money2know.com/%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81-14/
จับสัญญาณเสี่ยงในตลาดวอลล์สตรีท
หรือจนกว่าจะมีการประชุมระหว่าง 2 ผู้นำในการประชุมของสุดยอดกลุ่ม G-20 จะเกิดขึ้นช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้
ขณะที่โรเบิร์ต ไลท์ไธเผซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่าการประชุมของทีมเจรจาการค้าสหรัฐที่รวมถึงสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐและผู้แทนจากจีน จะมีขึ้นในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G-20 ก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะพบปะกัน
โดยที่มีการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ถึงการที่จะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น (Fed Fund Rate) ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีความเป็นได้ที่จะมีการลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในช่วงครึ่งหลังปีนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) มีมติ 9-1 เสียงให้คงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ 2.25-2.50% ในการประชุม 2 วันเมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายนที่ผ่านมา แม้เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
แต่เสียงเรียกร้องของนักลงทุนในตลาดยังคงต้องการให้มีการลดดอกเบี้ยโดยเร็วที่สุด ขณะที่ FOMC ของเฟดได้ส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ย 0.50% ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ และการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม ตลาดได้ขานรับการส่งญัญญาณลดดอกเบี้ยขดงเฟดในเดือนหน้า ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 26,753 พุ่งขึ้น 249.17 จุด หรือ 0.94% ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,954 พุ่งขึ้น 27.72 จุด หรือ 0.95% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,051 เพิ่มขึ้น 64.02 จุด หรือ 0.80%
ทั้งนี้ การพุ่งขึ้นของดัชนี S&P 500 ถือเป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยที่อัตรา P/E ratio ของตลาดปรับตัวขึ้นร้อนแรงทะลุระดับ 17.1 เท่าในขณะนี้ เทียบกับระดับ P/E ratio ที่ 16.3 ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ทั้งที่ขาดปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมาสนับสนุน รวมทั้งความเสี่ยงจากการที่ผลผระกอบการของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
นอกจากนี้ บรรยากาศซื้อขายในตลาดบอนด์รัฐบาลยังคงมีความไม่แน่นอน โดยที่ผลตอบแทนการลงทุน หรือบอนด์ยีลด์ ของบอนด์รัฐบาลสหรัฐระยะยาวอายุ 10 ปีที่เป็นอัตราอ้างอิงในตลาดการเงินนั้น ร่วงลงต่อเนื่องหลุดระดับ 2% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ลงมาแคะ 1.99% ก่อนดีดตัวขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 2.001% และล่าสุดในช่วงเช้าวันศุกร์อยู่ที่ 2.009%
ทิศทางบอนด์ยืลด์ระยะยาวของบอนด์รัฐบาลสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่เรียกว่า Inverted Yield ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะยาวอยู่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั่นในที่นี้คือ Fed Fund Rate ซึ่งเฟดยืนไว้ที่ระดับ 2.25-2.50% ถูกคาดการณ์ว่า เฟดจะต้องปรับลดลงในเดือนหน้านี้ รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐที่มีความเสี่ยงจะประสบกับภาวะถดถอยในอีกไม่นานนัก
ภาวะที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเคลื่อนไหวสวนทางกับทิศทางของบอนด์ยีลด์ระยะยาวที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นนั้น ได้ส่งผลให้นักลงทุนหันไปซื้อทองคำมากขึ้น ผลักดันให้ราคาทองทะยานขึ้นอย่างร้อนแรงในช่วงค่ำนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 48 ดอลลาร์ หรือ 3.6% แตะระดับ 1.396 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และยังพุ่งขึ้นต่อเนื่องในช่วงเช้าวันนี้ที่ 1,406 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับจากเดือนกันยายน 2013
ขณะเดียวกันราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้น 5.4% หรือ 2.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อคืนวันพฤหัสฯ หลังจากที่ตลาดตื่นตัวกับความร้อนแรงในตะวันออกกลางจะระอุขึ้นอีก จากท่าทีของประธานาธิบดีทรัมป์ที่ขู่เตือนอิหร่านผ่านทางทวิตเตอร์ที่ระบุเมื่อวานนี้ว่า กำลังทำผิดครั้งใหญ่ที่ยิ่งเครื่องบินโดรนของสหรัฐตก
รวมทั้งส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่พุ่งขึ้น 2.63 ดอลลาร์ หรือ 4.3% แตะ 64.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตลาดมีการคาดการณ์ว่า หากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและอิหร่านได้ส่งผลให้ตะวันออกกลางร้อนระอุอีกครั้ง ก็อาจจะส่งผลต่อราคาน้ำมันพุ่งถึงแตะ 100 ดอลลาร์ แทนการปรับตัวลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยที่ตลาดตองจับตามองการประชุมของกลุ่มโอเปคในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ https://money2know.com/%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81-14/