●●ระวัง!...“สมบูรณ์ คำแหง” เตือนพลพรรค “อนาคตใหม่” หวั่นอ่านเกมส์ผิดเรื่องประมง●●
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “สมบูรณ์ คำแหง” โพสต์เตือนพลพรรคสีส้ม “อนาคตใหม่”
หลังพยายามแสดงความคิดเห็นในเรื่องการประมงไทย หวั่นอ่านเกมส์ผิดอาจทำให้พรรค “ไร้อนาคต”
วันนี้ (19 มิ.ย.) จากเฟซบุ๊กของ นายสมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา
เอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ในชื่อ
“Somboon Khamhang” ได้โพสต์แสดงความห่วงใยไปถึงพลพรรคสีส้ม
หรือพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้พยายามแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องการทำการประมงในประเทศไทย โดยระบุว่า...
ถึงพลพรรคอนาคตใหม่ (เพราะรัก จึงตักเตือน)
“อ่านเกมส์ผิดเรื่องประมงไทย อาจจะทำให้ท่านไร้อนาคต”
ผมเฝ้าดูวิธีคิดที่แสดงออกเรื่องการแก้ไขปัญหาประมงของพลพรรคอนาคตใหม่ มาระยะหนึ่ง รู้สึกได้ว่า
ยิ่งดื้อดึงดันอยากแก้ไขปัญหานี้ ก็ยิ่งพันแข้งพันขาตัวเองหนักขึ้น ยังให้เกิดความสงสัยอยู่เช่นกันว่า
ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังชุดความคิดเหล่านี้ ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเสนาธิการผู้ให้ข้อมูลกับหัวหน้าพรรคอย่าง
ไม่เข้าใจปัญหา ข้อเท็จจริงเรื่องการประมงของประเทศไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน
การถูกใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ก็คือการถูกตรวจสอบพฤติการณ์ของรัฐต่อการประมงไทย ด้วยหวังว่า
จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริงมากขึ้น ทั้งนี้ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาที่เป็นอยู่จริง ตั้งแต่การใช้แรงงาน
ที่ไม่ได้อยู่ในหลักสิทธิมนุษยชน และวิธีการจับสัตว์ของประเทศไทย ที่ประเทศในภูมิภาคนี้ต่างรู้กันดีว่า
ใช้เครื่องมือประมงที่เน้นการทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อน การใช้เรือเถื่อนหรือเรือสองสัญชาติที่ไม่สามารถ
ควบคุมปริมาณได้ หรือระบบฐานข้อมูลเรือที่ไม่เคยตรวจสอบได้จริง สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ
ปัญหาทั้งหมดที่ถูกหมักหมม และมีความสลับซับซ้อนจนยากจะแก้ไข
ต่อเรื่องนี้นาย
Steve Trent ผู้บริหารของ EJF เคยกล่าวว่า ...
“ทางการไทยไม่เคยสนใจที่จะควบคุมเรือประมงของตน ทั้งที่เรือประมงเหล่านั้นมีกิจกรรมผิดกฎหมาย
หลายอย่าง ทำลายปริมาณปลา และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งเชื่อมโยงกับสภาพการทำงานที่เอารัด
เอาเปรียบมากที่สุด และโหดร้ายทารุณมากที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันไว้”
และคำกล่าวนั้นคือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในธุรกิจการประมงไทย จนทำให้อียูไม่สามารถนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ได้
สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับการเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้านมานานนับหลายปี ที่พยายามเสนอให้รัฐบาล
ผ่านทางกรมประมงเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ำทะเล และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่งอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดกฎหมายประมงด้วยการใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ซึ่งปรากฏ
ให้เห็นชัดเจนทั่วทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกัน
และปัญหาเหล่านั้นได้เป็นที่รับรู้ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และต่างรู้กันดีว่ามีเงื่อนไข
ข้อจำกัด หรือจะเรียกว่ามีผู้มิอิทธิพลในธุรกิจการประมงอยู่จริง และยังเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการเข้าไป
ควบคุมแนวนโยบายของการประมงระดับชาติ บางสมัยถึงขั้นมีการส่งตัวแทนของตนเองลงสนามการเมือง
และเข้าไปกำกับหน่วยงานในระดับกระทรวงฯ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปัญหาข้อร้องเรียนของชาวบ้านที่เป็น
ประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจะได้รับการแก้ไข แม้จะมีการนำเรียนกับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็ตามที
เรื่องการแก้ไขปัญหาการประมงที่สหภาพยุโรปบีบบังคับให้รัฐบาลไทยทำ ภายใต้เหตุผลเบื้องต้นดังที่ได้
เกริ่นไว้ จึงมีเหตุมีผลพอสมควรที่รัฐบาลใดก็แล้วแต่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดนี้ได้ และ
ในความเชื่อของชาวบ้านเองก็ไม่คิดว่าในสภาวะปกติที่ไร้การบังคับเช่นนี้ รัฐบาลเผด็จการเองก็คงไม่คิดที่จะ
เข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสสำคัญที่ทำให้รัฐต้องเข้ามาเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหา
การประมง และทรัพยากรทางทะเลของไทยอย่างจริงจัง
ในขณะที่สหภาพยุโรปเองได้มีการกำหนดมาตรการแก้ไขต่อเรื่องนี้ค่อนข้างจัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการปรับ
แก้กฎหมาย นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรประมง การคุ้มครองสิทธิแรงงาน
อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่ารัฐบาลนี้เลือกที่จะทำตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปเสียทั้งหมด ด้วยรู้ว่าองคาพยพของเรื่องนี้ทั้งหมดมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อยสองกลุ่ม คือกลุ่มประมงพาณิชย์ หรือ
ผู้ประกอบการเรือขนาดใหญ่ และประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นชาวบ้านที่กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล
ที่เสมือนเป็นคู่กรณีมาอย่างยาวนานในเรื่องการใช้ทรัพยากรทางทะเล
หลักการสำคัญของการแก้ไขปัญหาการประมงภายใต้การกำกับของสหภาพยุโรป คือการวางแผน
การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนบนศักยภาพที่แท้จริงของทะเลไทย และต้องเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของ
แรงงานประมง ถือเป็นแนวทางหลักที่ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้
ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐคือกรมประมง พยายามคิดค้นรูปแบบ หาทางออก สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ
หาทางออกต่อเรื่องนี้อย่างตั้งใจ
ในขณะที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้พยายามสร้างอำนาจการต่อรองระหว่างกันอย่างเต็มที่ เมื่อถึงที่สุดแล้ว
บทสรุปของแนวทางดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้เป็นที่พอใจของชาวประมงทั้งสองฝ่ายในบางเรื่อง อาจจะด้วย
ข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขเวลาไม่สามารถลากได้ยาวมากไปกว่านี้ จึงมีผลของการจัดการปัญหาทั้งหมด
ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ที่รัฐบาลพยายามใช้โอกาสนี้ สร้างพื้นที่ทางการสื่อสารกับสาธารณะ และสร้างประโยชน์ทางการเมืองในช่วงเวลาของการเลือกตั้ง
หากแต่ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลาย
เรื่องอย่าง เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการทะเล และการประมงไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้น มีการแก้ระเบียบ
กฎหมายให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น และความพยายามที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานประมงถูกปกป้องมากขึ้น
มีความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในหลายพื้นที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
ดังที่พบว่าในหลายพื้นที่เริ่มมีสัตว์น้ำบางชนิดที่เคยหายไปแล้วกลับคืนมา ปริมาณการจับสัตว์น้ำของประมง
พื้นบ้านที่เพิ่มมากขึ้น และที่มากไปกว่านั้น คือสถานภาพของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประชากรประมง
ที่มีมากถึง 80% ชองชาวประมงทั้งหมดได้มีตัวตนเด่นชัดขึ้น
ทั้งหมดนี้คือบางส่วนของเหตุผล ที่ผมเชื่อว่าประมงพื้นบ้านตัวจริงเสียงจริงอยากจะบอกเล่ากับพลพรรคอนาคตใหม่ ที่กำลังหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางสังคมการเมือง
เพื่อให้มีความเข้าใจว่า ชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลนี้ หรือผู้มีอำนาจคนไหนเป็นผู้เข้ามา
แก้ปัญหานี้ตามที่ใครสั่ง หรือบังคับให้ทำ
แต่เขามองว่าปัญหาที่ถูกสั่งสมมานานหลายสิบปีได้ถูกแก้ไขในระดับที่น่าพอใจ
และนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยินยอมพร้อมรับการปกครองภายใต้รัฐบาลเผด็จการแต่อย่างใด
หากแต่สิ่งเหล่านั้นคือสภาพบังคับที่ไม่ว่ารัฐบาลเช่นไรก็จำเป็นต้องทำ เพราะนี่คือรากลึกของปัญหาที่
แท้จริงของการประมงไทย
และผู้ที่จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อเรื่องนี้ คือชาวประมงผู้ยึดถือวิถีประมงที่ถูกต้องบนพื้นฐานของ
การเคารพฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการเคารพสิทธิระหว่างกัน และมากไปกว่านั้นคือประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนไทยทั้งประเทศ ที่จะได้มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ใช้กัน
ต่อไปอย่างยั่งยืนยาวนาน
ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความรู้สึกของชาวประมงพื้นบ้านจำนวนไม่น้อยที่อยากจะบอกให้หัวหน้า และ
พลพรรคอนาคตใหม่ได้รับรู้ และเข้าใจ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือการต่อยอด และแก้ไขช่องว่างของ
ปัญหาที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
หาใช่เพียงการหักล้างกันในทางการเมือง โดยการเอาทรัพยากรประมง และชาวประมงทั้งสองฝั่งมา
เป็นตัวประกัน มิเช่นนั้นแล้วความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นกับส่วนรวมอย่างไม่ควรจะเป็น และจะยังความ
เสียหายยิ่งกว่ากับพรรคอนาคตใหม่อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยนะครับ
ด้วยรัก..และห่วงใย
สมบูรณ์ คำแหง
ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
Cr. https://mgronline.com/south/detail/9620000058440
●●ระวัง!...“สมบูรณ์ คำแหง” เตือนพลพรรค “อนาคตใหม่” หวั่นอ่านเกมส์ผิดเรื่องประมง●●
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “สมบูรณ์ คำแหง” โพสต์เตือนพลพรรคสีส้ม “อนาคตใหม่”
หลังพยายามแสดงความคิดเห็นในเรื่องการประมงไทย หวั่นอ่านเกมส์ผิดอาจทำให้พรรค “ไร้อนาคต”
วันนี้ (19 มิ.ย.) จากเฟซบุ๊กของ นายสมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา
เอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ในชื่อ “Somboon Khamhang” ได้โพสต์แสดงความห่วงใยไปถึงพลพรรคสีส้ม
หรือพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้พยายามแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องการทำการประมงในประเทศไทย โดยระบุว่า...
ถึงพลพรรคอนาคตใหม่ (เพราะรัก จึงตักเตือน)
“อ่านเกมส์ผิดเรื่องประมงไทย อาจจะทำให้ท่านไร้อนาคต”
ผมเฝ้าดูวิธีคิดที่แสดงออกเรื่องการแก้ไขปัญหาประมงของพลพรรคอนาคตใหม่ มาระยะหนึ่ง รู้สึกได้ว่า
ยิ่งดื้อดึงดันอยากแก้ไขปัญหานี้ ก็ยิ่งพันแข้งพันขาตัวเองหนักขึ้น ยังให้เกิดความสงสัยอยู่เช่นกันว่า
ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังชุดความคิดเหล่านี้ ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเสนาธิการผู้ให้ข้อมูลกับหัวหน้าพรรคอย่าง
ไม่เข้าใจปัญหา ข้อเท็จจริงเรื่องการประมงของประเทศไทยที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน
การถูกใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ก็คือการถูกตรวจสอบพฤติการณ์ของรัฐต่อการประมงไทย ด้วยหวังว่า
จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้จริงมากขึ้น ทั้งนี้ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหาที่เป็นอยู่จริง ตั้งแต่การใช้แรงงาน
ที่ไม่ได้อยู่ในหลักสิทธิมนุษยชน และวิธีการจับสัตว์ของประเทศไทย ที่ประเทศในภูมิภาคนี้ต่างรู้กันดีว่า
ใช้เครื่องมือประมงที่เน้นการทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อน การใช้เรือเถื่อนหรือเรือสองสัญชาติที่ไม่สามารถ
ควบคุมปริมาณได้ หรือระบบฐานข้อมูลเรือที่ไม่เคยตรวจสอบได้จริง สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ
ปัญหาทั้งหมดที่ถูกหมักหมม และมีความสลับซับซ้อนจนยากจะแก้ไข
ต่อเรื่องนี้นาย Steve Trent ผู้บริหารของ EJF เคยกล่าวว่า ...
“ทางการไทยไม่เคยสนใจที่จะควบคุมเรือประมงของตน ทั้งที่เรือประมงเหล่านั้นมีกิจกรรมผิดกฎหมาย
หลายอย่าง ทำลายปริมาณปลา และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งเชื่อมโยงกับสภาพการทำงานที่เอารัด
เอาเปรียบมากที่สุด และโหดร้ายทารุณมากที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันไว้”
และคำกล่าวนั้นคือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในธุรกิจการประมงไทย จนทำให้อียูไม่สามารถนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ได้
สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับการเรียกร้องของชาวประมงพื้นบ้านมานานนับหลายปี ที่พยายามเสนอให้รัฐบาล
ผ่านทางกรมประมงเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ำทะเล และการจัดการทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่งอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดกฎหมายประมงด้วยการใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ซึ่งปรากฏ
ให้เห็นชัดเจนทั่วทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทย ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกัน
และปัญหาเหล่านั้นได้เป็นที่รับรู้ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี และต่างรู้กันดีว่ามีเงื่อนไข
ข้อจำกัด หรือจะเรียกว่ามีผู้มิอิทธิพลในธุรกิจการประมงอยู่จริง และยังเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการเข้าไป
ควบคุมแนวนโยบายของการประมงระดับชาติ บางสมัยถึงขั้นมีการส่งตัวแทนของตนเองลงสนามการเมือง
และเข้าไปกำกับหน่วยงานในระดับกระทรวงฯ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ปัญหาข้อร้องเรียนของชาวบ้านที่เป็น
ประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจะได้รับการแก้ไข แม้จะมีการนำเรียนกับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็ตามที
เรื่องการแก้ไขปัญหาการประมงที่สหภาพยุโรปบีบบังคับให้รัฐบาลไทยทำ ภายใต้เหตุผลเบื้องต้นดังที่ได้
เกริ่นไว้ จึงมีเหตุมีผลพอสมควรที่รัฐบาลใดก็แล้วแต่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดนี้ได้ และ
ในความเชื่อของชาวบ้านเองก็ไม่คิดว่าในสภาวะปกติที่ไร้การบังคับเช่นนี้ รัฐบาลเผด็จการเองก็คงไม่คิดที่จะ
เข้ามาแก้ไขปัญหา เพราะฉะนั้นนี่คือโอกาสสำคัญที่ทำให้รัฐต้องเข้ามาเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหา
การประมง และทรัพยากรทางทะเลของไทยอย่างจริงจัง
ในขณะที่สหภาพยุโรปเองได้มีการกำหนดมาตรการแก้ไขต่อเรื่องนี้ค่อนข้างจัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการปรับ
แก้กฎหมาย นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรประมง การคุ้มครองสิทธิแรงงาน
อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่ารัฐบาลนี้เลือกที่จะทำตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปเสียทั้งหมด ด้วยรู้ว่าองคาพยพของเรื่องนี้ทั้งหมดมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อยสองกลุ่ม คือกลุ่มประมงพาณิชย์ หรือ
ผู้ประกอบการเรือขนาดใหญ่ และประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นชาวบ้านที่กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล
ที่เสมือนเป็นคู่กรณีมาอย่างยาวนานในเรื่องการใช้ทรัพยากรทางทะเล
หลักการสำคัญของการแก้ไขปัญหาการประมงภายใต้การกำกับของสหภาพยุโรป คือการวางแผน
การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนบนศักยภาพที่แท้จริงของทะเลไทย และต้องเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของ
แรงงานประมง ถือเป็นแนวทางหลักที่ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมานี้
ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐคือกรมประมง พยายามคิดค้นรูปแบบ หาทางออก สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ
หาทางออกต่อเรื่องนี้อย่างตั้งใจ
ในขณะที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้พยายามสร้างอำนาจการต่อรองระหว่างกันอย่างเต็มที่ เมื่อถึงที่สุดแล้ว
บทสรุปของแนวทางดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้เป็นที่พอใจของชาวประมงทั้งสองฝ่ายในบางเรื่อง อาจจะด้วย
ข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขเวลาไม่สามารถลากได้ยาวมากไปกว่านี้ จึงมีผลของการจัดการปัญหาทั้งหมด
ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ที่รัฐบาลพยายามใช้โอกาสนี้ สร้างพื้นที่ทางการสื่อสารกับสาธารณะ และสร้างประโยชน์ทางการเมืองในช่วงเวลาของการเลือกตั้ง
หากแต่ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลาย
เรื่องอย่าง เช่น มาตรฐานการบริหารจัดการทะเล และการประมงไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้น มีการแก้ระเบียบ
กฎหมายให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น และความพยายามที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานประมงถูกปกป้องมากขึ้น
มีความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในหลายพื้นที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
ดังที่พบว่าในหลายพื้นที่เริ่มมีสัตว์น้ำบางชนิดที่เคยหายไปแล้วกลับคืนมา ปริมาณการจับสัตว์น้ำของประมง
พื้นบ้านที่เพิ่มมากขึ้น และที่มากไปกว่านั้น คือสถานภาพของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประชากรประมง
ที่มีมากถึง 80% ชองชาวประมงทั้งหมดได้มีตัวตนเด่นชัดขึ้น
ทั้งหมดนี้คือบางส่วนของเหตุผล ที่ผมเชื่อว่าประมงพื้นบ้านตัวจริงเสียงจริงอยากจะบอกเล่ากับพลพรรคอนาคตใหม่ ที่กำลังหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางสังคมการเมือง
เพื่อให้มีความเข้าใจว่า ชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลนี้ หรือผู้มีอำนาจคนไหนเป็นผู้เข้ามา
แก้ปัญหานี้ตามที่ใครสั่ง หรือบังคับให้ทำ
แต่เขามองว่าปัญหาที่ถูกสั่งสมมานานหลายสิบปีได้ถูกแก้ไขในระดับที่น่าพอใจ
และนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยินยอมพร้อมรับการปกครองภายใต้รัฐบาลเผด็จการแต่อย่างใด
หากแต่สิ่งเหล่านั้นคือสภาพบังคับที่ไม่ว่ารัฐบาลเช่นไรก็จำเป็นต้องทำ เพราะนี่คือรากลึกของปัญหาที่
แท้จริงของการประมงไทย
และผู้ที่จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อเรื่องนี้ คือชาวประมงผู้ยึดถือวิถีประมงที่ถูกต้องบนพื้นฐานของ
การเคารพฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการเคารพสิทธิระหว่างกัน และมากไปกว่านั้นคือประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนไทยทั้งประเทศ ที่จะได้มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ใช้กัน
ต่อไปอย่างยั่งยืนยาวนาน
ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความรู้สึกของชาวประมงพื้นบ้านจำนวนไม่น้อยที่อยากจะบอกให้หัวหน้า และ
พลพรรคอนาคตใหม่ได้รับรู้ และเข้าใจ ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือการต่อยอด และแก้ไขช่องว่างของ
ปัญหาที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
หาใช่เพียงการหักล้างกันในทางการเมือง โดยการเอาทรัพยากรประมง และชาวประมงทั้งสองฝั่งมา
เป็นตัวประกัน มิเช่นนั้นแล้วความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นกับส่วนรวมอย่างไม่ควรจะเป็น และจะยังความ
เสียหายยิ่งกว่ากับพรรคอนาคตใหม่อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยนะครับ
ด้วยรัก..และห่วงใย
สมบูรณ์ คำแหง
ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
Cr. https://mgronline.com/south/detail/9620000058440