ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่คนในสังคมปัจจุบันให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ นั้น ถูกผูกกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เป็นประเด็นที่ถูกถกกันบ่อยในแวดวงนานาชาติ
ในประเทศเกาหลีใต้นั้น เป็นประเทศหนึ่งที่ตกเป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ เพราะคำกล่าวของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ปี ค.ศ. 2015 ที่ห้ามไม่ให้จัดขบวนพาเหรดเกย์ ส่งผลให้หลายคนมองว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ยังไม่ยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากเท่าใดนัก แต่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ รวมถึงเพลง ก็ยังมีการสอดแทรกประเด็นความหลากหลายทางเพศให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง
อุตสาหกรรมดนตรีของเกาหลีใต้ หรือ เคพอป มีการกล่าวถึงประเด็นความหลากหลายทางเพศอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเหล่าศิลปินที่ให้การสนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างเปิดเผย หรือแม้กระทั่งเนื้อเพลงในบางเพลงที่สอดแทรกประเด็นเหล่านี้ไว้
แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนที่สุด ก็คงจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านภาพอย่างมิวสิกวิดีโอของเพลงต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเคพอปที่เล่าถึงประเด็นความหลากหลายทางเพศ ทั้งที่เปิดเผยชัดเจน หรือแม้กระทั่งการสอดแทรกไว้อย่างแยบยลให้ผู้ชมวิเคราะห์ด้วยตนเอง
ดังเช่นมิวสิกวิดีโอที่กล่าวถึงประเด็นชายรักชายไว้ ทั้งที่ชัดเจนบ้าง หรืออาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดออกมา แล้วผู้ชมต้องวิเคราะห์ต่อด้วยตัวเอง ว่าเนื้อหาเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับชายรักชายหรือไม่บ้าง รวมถึงการใช้ประเด็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหามิวสิกวิดีโอ อาทิ Kevin Oh – Lover , Beezino – How Do I Look , Min Kyunghoon & Heechul – Sweet Dream , 10cm – Help , BUMKEY – Bad Girl , BESTie – Excuse Me , K.Will – Please Don’t , Planet Shiver – Rainbow , NELL – The Day Before และอื่น ๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้etc.
นอกจากเนื้อหามิวสิกวิดีโอที่กล่าวถึงชายรักชายแล้ว ก็ยังมีวงไอดอลที่ใช้คอนเซ็ปต์เกย์ในการโปรโมต คือ วง N.O.M (Nature of Man) ซึ่งเดบิวต์ด้วยเพลง A Guys ที่การแต่งกายและท่าเต้นนั้น บ่งบอกถึงรสนิยมทางเพศอย่างชัดเจน รวมถึงผลงานเพลงต่อ ๆ ไป ที่ยังคงคอนเซ็ปต์นี้ไว้เหมือนเดิม และยังมีศิลปินเดี่ยวอย่าง Holland ที่เปิดตัวว่าเป็นเกย์อย่างเปิดเผย พร้อมเดบิวต์ด้วยเพลง Neverland ที่มีเนื้อหามิวสิกวิดีโอเกี่ยวกับชายรักชายที่ชัดเจน รวมถึงเพลงถัดไปอย่าง I'm Not Afraid และ Nar_C ที่ยังคงเนื้อหามิวสิกวิดีโอเกี่ยวกับชายรักชายเอาไว้เช่นเดิม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากเกย์แล้ว ยังมีเพศทางเลือก อย่างสาวประเภทสองโลดแล่นอยู่ในวงการเคพอปเช่นกัน เริ่มจากเนื้อหาเพียงเล็กน้อยของมิวสิกวิดีโอ Park Jungmin - Not Alone ที่มีชายแต่งหญิงอยู่ในมิวสิกวิดีโอ รวมถึงวงไอดอลที่มีสมาชิกเป็นสาวประเภทสองร่วมอยู่ในวงด้วย อย่างวง Lady ที่มีผลงานเพลง Attention และวง Mercury เจ้าของเพลง Don’t Stop อีกทั้งยังมีศิลปินเดี่ยวที่เป็นหญิงข้ามเพศอย่าง Harisu ที่มีผลงานเพลงหลากหลาย อาทิ Liar, Foxy Lady, Shopping Girl เป็นต้น และ Harisu ยังได้ร่วมร้องเพลงและเล่นมิวสิกวิดีโอเพลง History ของ Turbo อีกด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้etc.
ประเด็นหญิงรักหญิง ก็ปรากฏในเนื้อหามิวสิกวิดีโอของเพลงเกาหลีใต้เช่นเดียวกัน ทั้งที่ชัดเจนบ้าง หรืออาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดออกมา แล้วผู้ชมต้องวิเคราะห์ต่อด้วยตัวเอง ว่าเนื้อหาเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับหญิงรักหญิงหรือไม่บ้าง รวมถึงการใช้ประเด็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเนื้อหามิวสิกวิดีโอด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง Kriesha Chu - Like Paradise , Tenny – 159cm , San E – Story of Someone I Know , Suran – Sad Pain , Sweet Boy – I Love Her , BabySoul & Yoojia - She's Flirt , TaeYeon & MeloMance – Page 0 , Sistar – One More Day , KHAN – I’m Your Girl , Sweet Revenge – Cry , 4L – Move , Kreatures – Some Say , Chaness – SeSeSe , MAMAN - Obvious Story เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้etc.
ทั้งนี้ความหลากหลายทางเพศที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ ของเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ หรือละครโทรทัศน์ ล้วนทำให้ผู้ชมมองเห็นว่า ยังมีผู้คนในประเทศเกาหลีใต้ที่สนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ รวมถึงเหล่าแฟนคลับหรือผู้เสพผลงานที่ชื่นชอบก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามีคนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุน LGBTQ ให้มีความสำคัญ และยอมรับในความหลากหลายทางเพศของมนุษย์ทุกคน
ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในอุตสาหกรรมเพลงเกาหลีใต้