วันที่ 17 June 2019 - 08:50 น.
ผู้ผลิตรายการทีวีหืดจับ รายเล็กทยอยปิดตัวเกลื่อน หลัง 7 ช่องจอดำ ด้าน 4 ค่ายเร่งจัดทัพหารายได้เพิ่ม “ทีวี ธันเดอร์-JSL” หันผลิตรายการป้อนแพลตฟอร์มโอทีที ส่วน “กันตนา” ตั้งบริษัทอีสปอร์ตรับกระแสกีฬาคนรุ่นใหม่มาแรง ขณะที่ “เซ้นส์” พลิกโมเดลธุรกิจเน้นยืดหยุ่น ทั้งรับจ้างผลิต เช่าเวลา แบ่งรายได้กับช่อง
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตรายการรายเล็ก ๆ ทั้งกลุ่มดารา นักแสดง รวมถึงรายย่อยอื่น ๆ ที่เคยเปิดบริษัทกันอย่างคึกคักตั้งแต่ปี 2557-2558 เริ่มทยอยปิดตัวลงเป็นระยะ ๆ และอาจจะกล่าวได้ว่าแทบไม่เหลือผู้ผลิตรายย่อยเหลืออยู่เลย ทำให้ตอนนี้เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 4-5 ราย อาทิ ทีวี ธันเดอร์ กันตนา เจเอสแอล เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ และมีมิติ บริษัทในเครือแกรมมี่
ทั้งนี้ ปัจจัยหลัก ๆ ยังคงเป็นเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโต ประกอบกับการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูบ ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ความนิยมผู้ชม (เรตติ้ง) ของทีวีลดลง และกระทบต่อรายได้โฆษณาของช่องทีวี และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตรายการวาไรตี้ ละคร เกมโชว์ ที่ทำรายการป้อนให้ช่องเหล่านี้ ล่าสุด การที่ทีวี 7 ช่อง ตัดสินใจคืนใบอนุญาตก็เป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กตัดสินใจปิดกิจการลงในที่สุด
“ช่วงแรก ๆ ที่จำนวนทีวีเพิ่มขึ้นเป็น 24 ช่อง จากเดิมที่มีเพียง 4 ช่อง เมื่อ 5 ปีก่อน ทำให้มีคนตั้งบริษัทผลิตคอนเทนต์เล็ก ๆ ขึ้นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการของช่องทีวีที่เพิ่มขึ้น แต่จากการแข่งขันที่สูงบวกกับต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น หลาย ๆ ช่องจึงตัดลดต้นทุนต่าง ๆ ลง รวมถึงการผลิตคอนเทนต์ที่หันไปซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศมาออกอากาศแทน ซึ่งกระทบกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายเล็ก และเริ่มมีภาพทยอยปิดตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลังจากขาดทุนมาต่อเนื่อง”
“ทีวี ธันเดอร์” เจาะตลาดโอทีที
นายพิรัฐ เย็นสุดใจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากแนวโน้มตลาดเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมคนดูที่เปลี่ยนย้ายจากการดูรายการต่าง ๆ บนหน้าจอทีวีไปดูทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เรตติ้งรายการทีวีมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งกระทบกับเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของช่องต่าง ๆ และทำให้ผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ต้องปิดตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เหลืออยู่ก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน คือ รายได้มีแนวโน้มที่หดตัวลง ทุกค่ายจึงต้องทยอยปรับตัว ปรับโมเดลธุรกิจใหม่
สำหรับทีวี ธันเดอร์เอง ขณะนี้ได้แบ่งธุรกิจเป็น 2 ส่วน คือ การรับจ้างผลิต และแบ่งรายได้กับช่อง (time sharing) เพื่อบาลานซ์ความเสี่ยงทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็หันไปให้ความสำคัญกับการผลิตคอนเทนต์เพื่อป้อนให้แพลตฟอร์มโอทีที (OTT) หรือดูคอนเทนต์บนออนไลน์ เช่น ไลน์ทีวี เอไอเอสเพลย์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ทดลองโมเดลใหม่ ๆ อาทิ การจับมือกับดารา ผลิตรายการย่อยลงช่องยูทูบ
“TV Thunder Official” ซึ่งมีฐานสมาชิกอยู่ 4.3 ล้านราย เช่น ร่วมกับ ดีเจ.นุ้ย สร้างรายการ “นังตัวดี” หรือเบนซ์ พรชิตาและมิค บรมวุฒิ สร้างรายการ “ปริมไม่อาว” เป็นต้น และกำลังจะทยอยเพิ่มรายการในลักษณะนี้อีก 2-3 รายการ
“กันตนา” แตกไลน์รุกอีสปอร์ต
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ธุรกิจผลิตคอนเทนต์ไม่หวือหวาเหมือนช่วง 5 ปีก่อน เพราะเม็ดเงินโฆษณาลดลงเรื่อย ๆและบวกกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยน ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์หลายรายต้องปรับตัว โดยมุ่งสร้างรายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาเสริม สำหรับกันตนาเอง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการแตกไลน์ธุรกิจ ด้วยการตั้งบริษัท กันตนา สปอร์ต แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด เพื่อให้บริการธุรกิจที่เกี่ยวกับอีสปอร์ต ที่เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตและได้รับความนิยม โดยให้บริการเกี่ยวกับอีเวนต์และพัฒนาทีมอีสปอร์ตสำหรับแข่งขันระดับประเทศและระดับโลก
ส่วนธุรกิจเดิมบริษัทก็ยังเดินหน้ารับจ้างผลิตรายการละครให้แก่ช่องทีวีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ช่อง 7 พีพีทีวี ทรูโฟร์ยู เป็นต้น รวมถึงผลิตคอนเทนต์เพื่อป้อนให้แก่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะไลน์ทีวี เช่น รายการ Drag Race Thailand เป็นต้น
JSL มุ่งป้อนออนไลน์
นางจำนรรค์ ศิริตัน ประธานกรรมการ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ผู้ผลิตคอนเทนต์เกมโชว์ วาไรตี้ ละคร กล่าวก่อนหน้านี้ว่า เม็ดเงินโฆษณาและเรตติ้งมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ การหาโฆษณาของช่องและผู้ผลิตก็อยู่ยากขึ้น จึงมีผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ต้องทยอยปิดบริษัทลง สำหรับเจเอสแอลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่ม ด้วยการตั้งเป้าว่าจะเดินหน้าผลิตคอนเทนต์ป้อนให้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น รวมถึงขยายเข้าไปผลิตรายการวาไรตี้ ละครให้ช่องอื่น ๆ มากขึ้น
“ตอนนี้มีรายการออกอากาศทั้งทีวีและออนไลน์ เช่น รายการแม่เหล็ก กิ๊กดู๋สงครามเพลงเงินล้าน ออนแอร์ทางช่องพีพีทีวี พรุ่งนี้ฉันไม่มีแม่แล้ว ออนแอร์บนไลน์ทีวี ยุทธการขยับเหงือก 5.0 ออนแอร์ ช่องวัน 31 เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ด้านความเคลื่อนไหวของบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ผู้ผลิตคอนเทนต์บันเทิงอีกราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้ทยอยปรับกลยุทธ์การดำเนินงาน ด้วยการพยายามหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาต่อเนื่อง ด้วยการเปิดโมเดลกว้างขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น ทั้งรับจ้างผลิต เช่าเวลาโฆษณา และแบ่งรายได้กับช่อง รวมถึงมีการบริหารจัดการภายในใหม่ ลดต้นทุน เพื่อให้บริษัทยังโตต่อ
คลิกอ่านเพิ่มเติม… กสทช. เคาะแล้วคืนเงิน! “สปริงนิวส์” 500 ล้าน “สปริง26” 675 ล้านบาท จอดำ 16 ส.ค.
https://www.prachachat.net/marketing/news-339171
ปิด7ช่องดิจิทัล ผู้ผลิตรายการหนีตาย ดิ้นหาที่ลงใหม่-กันตนาซบ ”อีสปอร์ต”
ผู้ผลิตรายการทีวีหืดจับ รายเล็กทยอยปิดตัวเกลื่อน หลัง 7 ช่องจอดำ ด้าน 4 ค่ายเร่งจัดทัพหารายได้เพิ่ม “ทีวี ธันเดอร์-JSL” หันผลิตรายการป้อนแพลตฟอร์มโอทีที ส่วน “กันตนา” ตั้งบริษัทอีสปอร์ตรับกระแสกีฬาคนรุ่นใหม่มาแรง ขณะที่ “เซ้นส์” พลิกโมเดลธุรกิจเน้นยืดหยุ่น ทั้งรับจ้างผลิต เช่าเวลา แบ่งรายได้กับช่อง
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตรายการรายเล็ก ๆ ทั้งกลุ่มดารา นักแสดง รวมถึงรายย่อยอื่น ๆ ที่เคยเปิดบริษัทกันอย่างคึกคักตั้งแต่ปี 2557-2558 เริ่มทยอยปิดตัวลงเป็นระยะ ๆ และอาจจะกล่าวได้ว่าแทบไม่เหลือผู้ผลิตรายย่อยเหลืออยู่เลย ทำให้ตอนนี้เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 4-5 ราย อาทิ ทีวี ธันเดอร์ กันตนา เจเอสแอล เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ และมีมิติ บริษัทในเครือแกรมมี่
ทั้งนี้ ปัจจัยหลัก ๆ ยังคงเป็นเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโต ประกอบกับการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก ยูทูบ ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ความนิยมผู้ชม (เรตติ้ง) ของทีวีลดลง และกระทบต่อรายได้โฆษณาของช่องทีวี และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตรายการวาไรตี้ ละคร เกมโชว์ ที่ทำรายการป้อนให้ช่องเหล่านี้ ล่าสุด การที่ทีวี 7 ช่อง ตัดสินใจคืนใบอนุญาตก็เป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กตัดสินใจปิดกิจการลงในที่สุด
“ช่วงแรก ๆ ที่จำนวนทีวีเพิ่มขึ้นเป็น 24 ช่อง จากเดิมที่มีเพียง 4 ช่อง เมื่อ 5 ปีก่อน ทำให้มีคนตั้งบริษัทผลิตคอนเทนต์เล็ก ๆ ขึ้นจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการของช่องทีวีที่เพิ่มขึ้น แต่จากการแข่งขันที่สูงบวกกับต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น หลาย ๆ ช่องจึงตัดลดต้นทุนต่าง ๆ ลง รวมถึงการผลิตคอนเทนต์ที่หันไปซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศมาออกอากาศแทน ซึ่งกระทบกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายเล็ก และเริ่มมีภาพทยอยปิดตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลังจากขาดทุนมาต่อเนื่อง”
“ทีวี ธันเดอร์” เจาะตลาดโอทีที
นายพิรัฐ เย็นสุดใจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากแนวโน้มตลาดเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรมคนดูที่เปลี่ยนย้ายจากการดูรายการต่าง ๆ บนหน้าจอทีวีไปดูทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เรตติ้งรายการทีวีมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งกระทบกับเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของช่องต่าง ๆ และทำให้ผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ต้องปิดตัวลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เหลืออยู่ก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน คือ รายได้มีแนวโน้มที่หดตัวลง ทุกค่ายจึงต้องทยอยปรับตัว ปรับโมเดลธุรกิจใหม่
สำหรับทีวี ธันเดอร์เอง ขณะนี้ได้แบ่งธุรกิจเป็น 2 ส่วน คือ การรับจ้างผลิต และแบ่งรายได้กับช่อง (time sharing) เพื่อบาลานซ์ความเสี่ยงทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็หันไปให้ความสำคัญกับการผลิตคอนเทนต์เพื่อป้อนให้แพลตฟอร์มโอทีที (OTT) หรือดูคอนเทนต์บนออนไลน์ เช่น ไลน์ทีวี เอไอเอสเพลย์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ทดลองโมเดลใหม่ ๆ อาทิ การจับมือกับดารา ผลิตรายการย่อยลงช่องยูทูบ
“TV Thunder Official” ซึ่งมีฐานสมาชิกอยู่ 4.3 ล้านราย เช่น ร่วมกับ ดีเจ.นุ้ย สร้างรายการ “นังตัวดี” หรือเบนซ์ พรชิตาและมิค บรมวุฒิ สร้างรายการ “ปริมไม่อาว” เป็นต้น และกำลังจะทยอยเพิ่มรายการในลักษณะนี้อีก 2-3 รายการ
“กันตนา” แตกไลน์รุกอีสปอร์ต
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ธุรกิจผลิตคอนเทนต์ไม่หวือหวาเหมือนช่วง 5 ปีก่อน เพราะเม็ดเงินโฆษณาลดลงเรื่อย ๆและบวกกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยน ทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์หลายรายต้องปรับตัว โดยมุ่งสร้างรายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาเสริม สำหรับกันตนาเอง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการแตกไลน์ธุรกิจ ด้วยการตั้งบริษัท กันตนา สปอร์ต แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด เพื่อให้บริการธุรกิจที่เกี่ยวกับอีสปอร์ต ที่เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตและได้รับความนิยม โดยให้บริการเกี่ยวกับอีเวนต์และพัฒนาทีมอีสปอร์ตสำหรับแข่งขันระดับประเทศและระดับโลก
ส่วนธุรกิจเดิมบริษัทก็ยังเดินหน้ารับจ้างผลิตรายการละครให้แก่ช่องทีวีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ช่อง 7 พีพีทีวี ทรูโฟร์ยู เป็นต้น รวมถึงผลิตคอนเทนต์เพื่อป้อนให้แก่แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะไลน์ทีวี เช่น รายการ Drag Race Thailand เป็นต้น
JSL มุ่งป้อนออนไลน์
นางจำนรรค์ ศิริตัน ประธานกรรมการ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ผู้ผลิตคอนเทนต์เกมโชว์ วาไรตี้ ละคร กล่าวก่อนหน้านี้ว่า เม็ดเงินโฆษณาและเรตติ้งมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ การหาโฆษณาของช่องและผู้ผลิตก็อยู่ยากขึ้น จึงมีผู้ผลิตรายเล็ก ๆ ต้องทยอยปิดบริษัทลง สำหรับเจเอสแอลก็ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่ม ด้วยการตั้งเป้าว่าจะเดินหน้าผลิตคอนเทนต์ป้อนให้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น รวมถึงขยายเข้าไปผลิตรายการวาไรตี้ ละครให้ช่องอื่น ๆ มากขึ้น
“ตอนนี้มีรายการออกอากาศทั้งทีวีและออนไลน์ เช่น รายการแม่เหล็ก กิ๊กดู๋สงครามเพลงเงินล้าน ออนแอร์ทางช่องพีพีทีวี พรุ่งนี้ฉันไม่มีแม่แล้ว ออนแอร์บนไลน์ทีวี ยุทธการขยับเหงือก 5.0 ออนแอร์ ช่องวัน 31 เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ด้านความเคลื่อนไหวของบริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ผู้ผลิตคอนเทนต์บันเทิงอีกราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้ทยอยปรับกลยุทธ์การดำเนินงาน ด้วยการพยายามหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ เข้ามาต่อเนื่อง ด้วยการเปิดโมเดลกว้างขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น ทั้งรับจ้างผลิต เช่าเวลาโฆษณา และแบ่งรายได้กับช่อง รวมถึงมีการบริหารจัดการภายในใหม่ ลดต้นทุน เพื่อให้บริษัทยังโตต่อ
คลิกอ่านเพิ่มเติม… กสทช. เคาะแล้วคืนเงิน! “สปริงนิวส์” 500 ล้าน “สปริง26” 675 ล้านบาท จอดำ 16 ส.ค.
https://www.prachachat.net/marketing/news-339171