สวัสดีค่ะ คุณแม่หลายคนที่กำลังจะผ่าคลอดคงจะมีความกังวลว่า ระหว่างผ่าคลอดเราจะเป็นอย่างไรบ้าง เจ็บมั้ย?? ควรเลือกวิธีการระงับความรู้สึกแบบไหนดี
วันนี้เลยจะมาเล่าถึงข้อดี ข้อเสีย ระหว่าง บล็อคหลัง และ ดมยาสลบ ต้องบอกก่อนว่าการเข้าห้องผ่าตัดทุกครั้งมีความเสี่ยง แต่คุณหมอจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับคนไข้แต่ละคน เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
มาเริ่มกันเลยนะคะ
การดมยาสลบ
วิธีการดมยาสลบ คือ การทำให้คนไข้หมดสติไปในระหว่างผ่าตัด คนที่ดมยาสลบผ่าตัดมักจะบอกว่ามันเหมือนกับเหตุการณ์นั้นหายไปเลย พอหมอเอาหน้ากากออกซิเจนมาครอบก็ไม่รู้สึกตัวอีก มารู้ตัวอีกทีหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว
ขั้นตอนการดมยาสลบ เมื่อผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงผ่าตัด พยาบาลจะติดเครื่องวัดสัญญาณชีพต่างๆ ที่วัดความดันโลหิต คลื่นหัวใจ ออกซิเจนในเลือด เมื่อพร้อมแล้ว คุณหมอดมยาจะเอาออกซิเจนให้ผู้ป่วยดม จากนั้นจะฉีดยาเข้าทางสายน้ำเกลือ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะหมดสติไป ระหว่างดมยาสลบผู้ป่วยจะไม่สามารถหายในเองได้ คุณหมอดมยาจะใส่ท่อช่วยหายใจด้วย เป็นท่อพลาสติกใส่เข้าทางปาก ใส่ตอนที่ผู้ป่วยหลับไปแล้ว ท่อนี้จะเอาออกหลังจากผ่าตัดเสร็จและผู้ป่วยตื่นดี ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีเครื่องดมยาสลบ อุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพที่ทันสมัย ไม่ต้องกลัวที่จะตื่นระหว่างการผ่าตัด โอกาสมีน้อยมากๆ
ข้อดี ของการดมยาสลบ ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด
- หลับไปเลยไม่ต้องรับรู้ในระหว่างผ่าตัด
- ความดันโลหิตคงที่มากกว่าการบล็อคหลัง
ข้อเสีย
- อาจจะสำลักอาหาร หรือ น้ำย่อยในกระเพาะลงปอดได้ระหว่างที่หลับ
- เสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยาก เพราะในคนท้องมักจะมีการบวมของทางเดินหายใจ ทำให้ใส่ท่อช่วยหายใจยากกว่าคนปกติ ซึ่งถ้าเราหลับไปแล้ว แต่ใส่ท่อช่วยหายใจยังไม่ได้ ก็เปรียบเหมือนคนจมน้ำที่ไม่มีอากาศหายใจ ถ้านานเกินไปจะทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำเป็นอันตรายทั้งแม่และเด็ก
- ยาที่ใช้ในการดมสลบบางส่วนอาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาหายใจได้ไม่ดี
การบล็อคหลัง
การบล็อคหลัง คือ การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ทำให้ร่างกายส่วนล่างไร้ความรู้สึก สามารถผ่าตัดอวัยวะที่ต่ำกว่าสะดือลงมาได้
ขั้นตอนการบล็อคหลัง เมื่อผู้ป่วยอยู่บนเตียงผ่าตัด พยาบาลจะติดเครื่องวัดสัญญาณชีพเหมือนกับการดมยาสลบ จากนั้นจะให้ผู้ป่วยนอนตะแคง งอเข่าก้มศีรษะโก่งหลังให้มากที่สุดเพื่อให้ระหว่างกระดูกสันหลังเปิด หมอจะฉีดยาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ระหว่างฉีดยาคนไข้อาจจะมีอาการชาคล้ายเป็นเหน็บลงไปที่ขา เข็มที่ฉีดเล็กกว่าเข็มให้น้ำเกลืออีก ความเจ็บพอๆกับตอนที่ให้น้ำเกลือ หลังจากฉีดยาเสร็จจะให้คนไข้นอนหงาย ร่างกายท่อนล่างบริเวณท้องและขาจะเริ่มชามากขึ้น ขาจะขยับได้น้อยลงจนขยับไม่ได้ ยาชาจะหมดฤทธิ์หลังฉีดประมาณ 6-8 ชม.
ข้อดีของการบล็อคหลัง
- หลีกเลี่ยงข้อเสียของการดมยาสลบ เช่น การสำสักอาหาร การใส่ท่อช่วยหายใจยาก ทารกหายใจไม่ดีหลังคลอด
- คุณแม่สามารถเห็นทารกหลังจากคลอด
- ยาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลังมักจะผสมมอร์ฟีน ซึ่งจะมีฤทธิ์ระงับปวดได้ 24 ชม. ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่าการดมยาสลบ
ข้อเสีย
- จะต้องนอนตะแคงบล็อคหลัง คนที่กลัวเข็มมากๆๆๆ อาจจะทนไม่ได้ (แต่การบล็อคหลังไม่ได้เจ็บมากนะคะ เข็มเล็กกว่าเข็มน้ำเกลืออีก)
- มีความเสี่ยงที่จะความดันโลหิตต่ำมากกว่าการดมยาสลบ แต่คุณหมอก็มีวิธีรับมือด้วยการให้น้ำเกลือ และ ยากระตุ้นความดัน
- คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัด ระหว่างที่ผ่าคลอดเนื่องจากขาชาขยับไม่ได้ และ ต้องนอนบนเตียงผ่าตัดแคบๆ
- ความเสียงจากการบล็อคหลัง เช่น ปวดศีรษะ แพ้ยาชา ยาชาเกินขนาด
ในปัจจุบันสำหรับคุณแม่ที่แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวใดๆ การตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวคงต้องคุยกันอีกยาวว่าวิธีไหนเหมาะสมที่สุด)
นิยมเลือกวิธีการบล็อคหลัง เนื่องจากมีผลดีมากกว่าผลเสีย จากข้อมูลพบว่าภาวะแทรกซ้อนจากการระงับความรู้สึกในการผ่าตัดคลอดที่เกิดมากที่สุด เกิดในระหว่างการดมยาสลบ มักเกิดจากการไม่สามารถช่วยหายใจได้ในขณะที่ผู้ป่วยหลับไปแล้ว
เป็นข้อมูลคร่าวๆทั้งข้อดีและข้อเสียของการดมยาสลบ และการบล็อคหลังสำหรับการผ่าตัดคลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกัน
ติดตามข้อมูลสุขภาพอื่นๆ พูดคุยกันได้ ที่ facebook page “หมอมี เม้าท์มอย” นะคะ ^_^
https://www.facebook.com/MhomheeTalks/
ผ่าตัดคลอด บล็อคหลัง หรือ ดมยาสลบดี
วันนี้เลยจะมาเล่าถึงข้อดี ข้อเสีย ระหว่าง บล็อคหลัง และ ดมยาสลบ ต้องบอกก่อนว่าการเข้าห้องผ่าตัดทุกครั้งมีความเสี่ยง แต่คุณหมอจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับคนไข้แต่ละคน เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
มาเริ่มกันเลยนะคะ
การดมยาสลบ
วิธีการดมยาสลบ คือ การทำให้คนไข้หมดสติไปในระหว่างผ่าตัด คนที่ดมยาสลบผ่าตัดมักจะบอกว่ามันเหมือนกับเหตุการณ์นั้นหายไปเลย พอหมอเอาหน้ากากออกซิเจนมาครอบก็ไม่รู้สึกตัวอีก มารู้ตัวอีกทีหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว
ขั้นตอนการดมยาสลบ เมื่อผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงผ่าตัด พยาบาลจะติดเครื่องวัดสัญญาณชีพต่างๆ ที่วัดความดันโลหิต คลื่นหัวใจ ออกซิเจนในเลือด เมื่อพร้อมแล้ว คุณหมอดมยาจะเอาออกซิเจนให้ผู้ป่วยดม จากนั้นจะฉีดยาเข้าทางสายน้ำเกลือ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะหมดสติไป ระหว่างดมยาสลบผู้ป่วยจะไม่สามารถหายในเองได้ คุณหมอดมยาจะใส่ท่อช่วยหายใจด้วย เป็นท่อพลาสติกใส่เข้าทางปาก ใส่ตอนที่ผู้ป่วยหลับไปแล้ว ท่อนี้จะเอาออกหลังจากผ่าตัดเสร็จและผู้ป่วยตื่นดี ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีเครื่องดมยาสลบ อุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพที่ทันสมัย ไม่ต้องกลัวที่จะตื่นระหว่างการผ่าตัด โอกาสมีน้อยมากๆ
ข้อดี ของการดมยาสลบ ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอด
- หลับไปเลยไม่ต้องรับรู้ในระหว่างผ่าตัด
- ความดันโลหิตคงที่มากกว่าการบล็อคหลัง
ข้อเสีย
- อาจจะสำลักอาหาร หรือ น้ำย่อยในกระเพาะลงปอดได้ระหว่างที่หลับ
- เสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยาก เพราะในคนท้องมักจะมีการบวมของทางเดินหายใจ ทำให้ใส่ท่อช่วยหายใจยากกว่าคนปกติ ซึ่งถ้าเราหลับไปแล้ว แต่ใส่ท่อช่วยหายใจยังไม่ได้ ก็เปรียบเหมือนคนจมน้ำที่ไม่มีอากาศหายใจ ถ้านานเกินไปจะทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำเป็นอันตรายทั้งแม่และเด็ก
- ยาที่ใช้ในการดมสลบบางส่วนอาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาหายใจได้ไม่ดี
การบล็อคหลัง
การบล็อคหลัง คือ การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ทำให้ร่างกายส่วนล่างไร้ความรู้สึก สามารถผ่าตัดอวัยวะที่ต่ำกว่าสะดือลงมาได้
ขั้นตอนการบล็อคหลัง เมื่อผู้ป่วยอยู่บนเตียงผ่าตัด พยาบาลจะติดเครื่องวัดสัญญาณชีพเหมือนกับการดมยาสลบ จากนั้นจะให้ผู้ป่วยนอนตะแคง งอเข่าก้มศีรษะโก่งหลังให้มากที่สุดเพื่อให้ระหว่างกระดูกสันหลังเปิด หมอจะฉีดยาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ระหว่างฉีดยาคนไข้อาจจะมีอาการชาคล้ายเป็นเหน็บลงไปที่ขา เข็มที่ฉีดเล็กกว่าเข็มให้น้ำเกลืออีก ความเจ็บพอๆกับตอนที่ให้น้ำเกลือ หลังจากฉีดยาเสร็จจะให้คนไข้นอนหงาย ร่างกายท่อนล่างบริเวณท้องและขาจะเริ่มชามากขึ้น ขาจะขยับได้น้อยลงจนขยับไม่ได้ ยาชาจะหมดฤทธิ์หลังฉีดประมาณ 6-8 ชม.
ข้อดีของการบล็อคหลัง
- หลีกเลี่ยงข้อเสียของการดมยาสลบ เช่น การสำสักอาหาร การใส่ท่อช่วยหายใจยาก ทารกหายใจไม่ดีหลังคลอด
- คุณแม่สามารถเห็นทารกหลังจากคลอด
- ยาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลังมักจะผสมมอร์ฟีน ซึ่งจะมีฤทธิ์ระงับปวดได้ 24 ชม. ทำให้เจ็บแผลน้อยกว่าการดมยาสลบ
ข้อเสีย
- จะต้องนอนตะแคงบล็อคหลัง คนที่กลัวเข็มมากๆๆๆ อาจจะทนไม่ได้ (แต่การบล็อคหลังไม่ได้เจ็บมากนะคะ เข็มเล็กกว่าเข็มน้ำเกลืออีก)
- มีความเสี่ยงที่จะความดันโลหิตต่ำมากกว่าการดมยาสลบ แต่คุณหมอก็มีวิธีรับมือด้วยการให้น้ำเกลือ และ ยากระตุ้นความดัน
- คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัด ระหว่างที่ผ่าคลอดเนื่องจากขาชาขยับไม่ได้ และ ต้องนอนบนเตียงผ่าตัดแคบๆ
- ความเสียงจากการบล็อคหลัง เช่น ปวดศีรษะ แพ้ยาชา ยาชาเกินขนาด
ในปัจจุบันสำหรับคุณแม่ที่แข็งแรงไม่มีโรคประจำตัวใดๆ การตั้งครรภ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวคงต้องคุยกันอีกยาวว่าวิธีไหนเหมาะสมที่สุด)
นิยมเลือกวิธีการบล็อคหลัง เนื่องจากมีผลดีมากกว่าผลเสีย จากข้อมูลพบว่าภาวะแทรกซ้อนจากการระงับความรู้สึกในการผ่าตัดคลอดที่เกิดมากที่สุด เกิดในระหว่างการดมยาสลบ มักเกิดจากการไม่สามารถช่วยหายใจได้ในขณะที่ผู้ป่วยหลับไปแล้ว
เป็นข้อมูลคร่าวๆทั้งข้อดีและข้อเสียของการดมยาสลบ และการบล็อคหลังสำหรับการผ่าตัดคลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจร่วมกัน
ติดตามข้อมูลสุขภาพอื่นๆ พูดคุยกันได้ ที่ facebook page “หมอมี เม้าท์มอย” นะคะ ^_^
https://www.facebook.com/MhomheeTalks/