ผลการเจรจามาบตาพุดเฟส 3 ระหว่าง กนอ.กับภาคเอกชน ลดค่าร่วมลงทุนจาก 720 ล้านบาทต่อปีเป็น 710 ล้านบาทต่อปี ทำให้ กนอ.ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 115 ล้านบาท รวมวงเงินร่วมลงทุนกับภาคเอกชน 2.13 หมื่นล้านบาท
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบการขอปรับปรุงหลักการของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ โดยให้มีการปรับปรุงจำนวนเงินร่วมลงทุนของรัฐในโครงการนี้ตามที่การนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้มีการเจรจาเพิ่มเติมกับภาคเอกชนผู้ชนะการประมูลในโครงการได้แก่กลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ากัลฟ์กับพีทีทีแทงค์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ โดยขั้นตอนต่อไปให้มีการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนกับภาคเอกชนและเสนอผลการเจรจาสัญญาให้กับคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และ ครม.พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
โดยสาระสำคัญคือการให้เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินร่วมลงทุนของรัฐ หักค่าให้สิทธิการร่วมลงทุนของภาคเอกชนจากเดิมที่ กนอ.ต้องจ่ายให้ภาคเอกชน 720 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 30 ปี เป็นปีละ 710 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมวงเงิน 21,300 ล้านบาท ส่งผลให้ผลตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำของ กนอ.จากการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 รวมเท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 6,721 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ กนอ.จะได้รับอยู่ที่ 6,606 ล้านบาท โดยเป็นผบตอบแทนในช่วงโครงการช่วงที่ 1 อยู่ที่ 139 ล้านบาท ส่วนผลตอบแทนโครงการช่วงที่ 2 กนอ.ได้รับ 6,582 ล้านบาท โดยการเจรจานี้เป็นการคิดตามสมมุติฐานอัตราคิดลดจากอัตราดอกเบี้ยที่ภาคเอกชนสามารถกู้ได้ที่ประมาณ 4% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าในครั้งที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2561 ซึ่งเคยใช้อัตราส่วนเงินกู้ 2.5% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เป็นการกู้ยืมระหว่างภาครัฐหรือเป็นไปตามสัดส่วนเงินกู้พันธบัตรรัฐบาล (Reference Price)
ทั้งนี้ผลตอบแทนทางการเงินของ กนอ.ตลอดโครงการคิดเป็นอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 9.21% ส่วนผลตอบแทนของภาคเอกชนที่ชนะการประมูลหลังการต่อรองลดลงจากเดิม 14,371 ล้านบาท เป็น 14,298 ล้านบาท คิดเป็น FIRR 10.73%
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
EEC - ครม.ไฟเขียวผลการเจรจามาบตาพุดเฟส 3
โดยสาระสำคัญคือการให้เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินร่วมลงทุนของรัฐ หักค่าให้สิทธิการร่วมลงทุนของภาคเอกชนจากเดิมที่ กนอ.ต้องจ่ายให้ภาคเอกชน 720 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 30 ปี เป็นปีละ 710 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมวงเงิน 21,300 ล้านบาท ส่งผลให้ผลตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำของ กนอ.จากการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 รวมเท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 6,721 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ กนอ.จะได้รับอยู่ที่ 6,606 ล้านบาท โดยเป็นผบตอบแทนในช่วงโครงการช่วงที่ 1 อยู่ที่ 139 ล้านบาท ส่วนผลตอบแทนโครงการช่วงที่ 2 กนอ.ได้รับ 6,582 ล้านบาท โดยการเจรจานี้เป็นการคิดตามสมมุติฐานอัตราคิดลดจากอัตราดอกเบี้ยที่ภาคเอกชนสามารถกู้ได้ที่ประมาณ 4% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าในครั้งที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2561 ซึ่งเคยใช้อัตราส่วนเงินกู้ 2.5% ต่อปีซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เป็นการกู้ยืมระหว่างภาครัฐหรือเป็นไปตามสัดส่วนเงินกู้พันธบัตรรัฐบาล (Reference Price)
ทั้งนี้ผลตอบแทนทางการเงินของ กนอ.ตลอดโครงการคิดเป็นอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 9.21% ส่วนผลตอบแทนของภาคเอกชนที่ชนะการประมูลหลังการต่อรองลดลงจากเดิม 14,371 ล้านบาท เป็น 14,298 ล้านบาท คิดเป็น FIRR 10.73%
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ