**************************************************เปิดเผยเนื้อหาสำคัญจ้า*************************************************************
SKY Castle: บทบาทของ “ผู้หญิง” ในสังคมทุนนิยม
ซีรีส์เล่าถึง 5 ครอบครัวผู้มีอันจะกินที่อาศัยอยู่ใน Sky Castle ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกลุ่มคนอัจฉริยะในสายอาชีพแพทย์ อัยการ และทนาย ผู้ที่หน้ามีตาในสังคม ทุกครอบครัวต่างหมกมุ่นอย่างหนักกับการศึกษาของลูกๆ การสอบติดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโซล คือ เป้าหมายที่ทุกครอบครัวต้องการ “แม่” ต้องรับบทบาทสำคัญในฐานะผู้ผลักดันสนับสนุนลูก ตัวตนของแม่ถูกยึดโยงอยู่กับความสำเร็จของของลูก พวกเธอต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกถึงฝั่งฝันโดยไม่สนว่าจะต้องแลกมาด้วยวิธีการใด
SKY Castle กลายเป็นโลกจำลองสังคมทุนนิยม ที่ทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้า ไม่เว้นแม้แต่กิจกรรมปกติของมนุษย์อย่าง “การศึกษา” ทุกคนในเรื่องกำลังแข่งขันขับเคี่ยวกันเพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งชนชั้นทางสังคมที่สูงขึ้นผ่านเครือข่ายการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพ เพราะยิ่งชนชั้นทางสังคมสูงเท่าไหร่ย่อมมีอำนาจที่จะเข้าถึงและครอบครองทรัพยากรมากขึ้นเท่านั้น ทั้ง 5 ครอบครัว คือ กลุ่มคนที่พยายามข้ามขีดจำกัดทางชนชั้นของตัวเองผ่านสายงานวิชาชีพที่มีเกียรติทางสังคมอย่างแพทย์ หรือศาสตราจารย์ด้านกฏหมาย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งที่ใกล้จุดสูงสุดของยอดพีระมิด
ใน
SKY Castle ผู้หญิงถูกให้ความสำคัญในฐานะ
“แม่” พวกเธอได้รับภาระอันใหญ่หลวงให้มีหน้าที่เคี่ยวเข็ญดูแลกำกับทั้งชีวิตของลูก จนตัวตนในฐานะปัจเจกหรือผู้หญิงหายไป พวกเธอต่างยึดโยงอัตลักษณ์ของตัวเองในฐานะ “แม่” (ของใคร) และ “เมีย” (ของใคร) งานของพวกเธอมีเพียงหนึ่งเดียว (ในตอนนี้) คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกสอบติดคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด และไม่ใช่แค่อันดับใดก็ได้แต่ต้องเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนสูงสุดเท่านั้น ดังเช่นแม่ของหมอคัง แม้ลูกชายตนเองจะประสบความสำเร็จสอบเข้าแพทย์ได้คะแนนอันดับหนึ่งของประเทศและทำงานมีตำแหน่งมั่นคงเป็นฝั่งเป็นฝาจนมีหลานแล้ว แม่หมอคังยังคงผลักดันใช้เส้นสายให้หมอคังเลื่อนตำแหน่งเป็น ผอ. สะท้อนความขื่นขมที่ว่า ตลอดชีวิตของ “แม่” ไม่สามารถมีความฝันหรืองานอื่นใดนอกจากส่งเสริมลูกหรือสามีให้ขึ้นไปยังจุดสูงสุด ทั้งๆ จุดสูงสุดนั้นไม่มีจริง
ฉากที่สะท้อนความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้หญิงและผู้ชายในเรื่องที่ชัดเจนคือ ฉากแม่ซึงฮเยที่ร้องไห้อย่างผิดหวังเมื่อรู้ว่าลูกสาวที่ครอบครัวภูมิใจโกหกว่าเรียนฮาร์วาร์ดแม่ซึงฮเยผู้ซึ่งจบปริญญาเอกวรรณคดีฝรั่งเศสหลั่งน้ำตาและพูดว่า
“ถึงแม้ฉันจะจบปริญญาเอกมา ฉันคิดว่าการทุ่มเทชีวิตเพื่อเลี้ยงลูกเป็นสิ่งสำคัญกว่า ฉันยอมทิ้งความฝันทุกอย่างเพื่อลูกๆ ชีวิตของฉันเหมือนว่างเปล่า รู้สึกไร้ประโยชน์…ฉันขอตายและหายไปเสียยังดีกว่า”
และฉากก็ตัดไปที่ภาพของกลุ่มพ่อที่กำลังสังสรรค์กับ ผอ. โรงพยาบาลผู้ที่พยายามผลักดันตัวเองเข้าสู่แวดวงการเมืองบทสนทนาในวงพ่อคือ
“ขนาดอายุ 60 แล้วคุณยังมีฝันที่ยิ่งใหญ่อยู่เลย” “ไม่มีใครแก่เกินที่จะฝัน” “ความฝันไม่เคยจำกัดอายุ” ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงสังคมทุนนิยมชายเป็นใหญ่อย่างเกาหลี จำกัด “ความฝัน” ไว้ให้ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงมีหน้าที่แค่ทำความฝันของคนในครอบครัวให้เป็นจริง
โค้ชคิม
ที่ปรึกษาด้านการศึกษามือหนึ่งของประเทศค่าจ้างระดับพันล้านวอนที่ทุกครอบครัวยินดีที่จะจ่าย เพราะการที่ลูกสอบติดแพทย์มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดนั้นย่อมเป็นใบเบิกทางการันตีความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายและตำแหน่งแห่งที่ในสังคมทุนนิยมเพื่อคงความเป็นผู้ชนะในระบบ โค้ชคิมภายนอกดูเป็นผู้หญิงสวยสง่าน่าเกรงขาม แต่แท้จริงแล้วเธอคือ คนป่วยโรคจิตผู้บงการฆ่าผู้อื่น เธอเป็นตัวแทนของ “แม่ที่เป็นผู้แพ้” ในโลกทุนนิยม ครอบครัวล่มสลาย ลูกสาวอัจฉริยะกลายเป็นเด็กพิการเนื่องจากอุบัติเหตุ สามีเสียชีวิต เธอผิดหวังอย่างหนักเพราะไม่อาจยึดโยงสถานภาพของตนเองกับลูกหรือสามีได้อีกต่อไป เธอจึงกลับมาแก้แค้นระบบ โดยทำลายทุกครอบครัวที่หมกมุ่นอยากให้ลูกประสบความสำเร็จ ทุกคนต้องตกนรกทั้งเป็นไม่ต่างจากเธอ ตัวละครโรคจิตอย่างโค้ชคิมคือสิ่งสะท้อนความไม่ปกติของโลกทุนนิยม การแข่งขันที่รุนแรงและผู้แพ้ที่ถูกทอดทิ้ง ความป่วย ความวิกลจริต ความโกรธแค้น ที่คอยหลอกหลอนบรรดาแม่ๆ ที่ยังต้องอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
********************************************************
ซีรีส์สนุกมากเลย แนะนำให้ดูค่ะ
[CR] SKY Castle: บทบาทของ “ผู้หญิง” ในสังคมทุนนิยม
SKY Castle: บทบาทของ “ผู้หญิง” ในสังคมทุนนิยม
ซีรีส์เล่าถึง 5 ครอบครัวผู้มีอันจะกินที่อาศัยอยู่ใน Sky Castle ซึ่งเป็นหมู่บ้านของกลุ่มคนอัจฉริยะในสายอาชีพแพทย์ อัยการ และทนาย ผู้ที่หน้ามีตาในสังคม ทุกครอบครัวต่างหมกมุ่นอย่างหนักกับการศึกษาของลูกๆ การสอบติดคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโซล คือ เป้าหมายที่ทุกครอบครัวต้องการ “แม่” ต้องรับบทบาทสำคัญในฐานะผู้ผลักดันสนับสนุนลูก ตัวตนของแม่ถูกยึดโยงอยู่กับความสำเร็จของของลูก พวกเธอต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกถึงฝั่งฝันโดยไม่สนว่าจะต้องแลกมาด้วยวิธีการใด
SKY Castle กลายเป็นโลกจำลองสังคมทุนนิยม ที่ทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้า ไม่เว้นแม้แต่กิจกรรมปกติของมนุษย์อย่าง “การศึกษา” ทุกคนในเรื่องกำลังแข่งขันขับเคี่ยวกันเพื่อเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งชนชั้นทางสังคมที่สูงขึ้นผ่านเครือข่ายการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพ เพราะยิ่งชนชั้นทางสังคมสูงเท่าไหร่ย่อมมีอำนาจที่จะเข้าถึงและครอบครองทรัพยากรมากขึ้นเท่านั้น ทั้ง 5 ครอบครัว คือ กลุ่มคนที่พยายามข้ามขีดจำกัดทางชนชั้นของตัวเองผ่านสายงานวิชาชีพที่มีเกียรติทางสังคมอย่างแพทย์ หรือศาสตราจารย์ด้านกฏหมาย เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งที่ใกล้จุดสูงสุดของยอดพีระมิด
ใน SKY Castle ผู้หญิงถูกให้ความสำคัญในฐานะ “แม่” พวกเธอได้รับภาระอันใหญ่หลวงให้มีหน้าที่เคี่ยวเข็ญดูแลกำกับทั้งชีวิตของลูก จนตัวตนในฐานะปัจเจกหรือผู้หญิงหายไป พวกเธอต่างยึดโยงอัตลักษณ์ของตัวเองในฐานะ “แม่” (ของใคร) และ “เมีย” (ของใคร) งานของพวกเธอมีเพียงหนึ่งเดียว (ในตอนนี้) คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกสอบติดคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด และไม่ใช่แค่อันดับใดก็ได้แต่ต้องเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนสูงสุดเท่านั้น ดังเช่นแม่ของหมอคัง แม้ลูกชายตนเองจะประสบความสำเร็จสอบเข้าแพทย์ได้คะแนนอันดับหนึ่งของประเทศและทำงานมีตำแหน่งมั่นคงเป็นฝั่งเป็นฝาจนมีหลานแล้ว แม่หมอคังยังคงผลักดันใช้เส้นสายให้หมอคังเลื่อนตำแหน่งเป็น ผอ. สะท้อนความขื่นขมที่ว่า ตลอดชีวิตของ “แม่” ไม่สามารถมีความฝันหรืองานอื่นใดนอกจากส่งเสริมลูกหรือสามีให้ขึ้นไปยังจุดสูงสุด ทั้งๆ จุดสูงสุดนั้นไม่มีจริง
ฉากที่สะท้อนความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้หญิงและผู้ชายในเรื่องที่ชัดเจนคือ ฉากแม่ซึงฮเยที่ร้องไห้อย่างผิดหวังเมื่อรู้ว่าลูกสาวที่ครอบครัวภูมิใจโกหกว่าเรียนฮาร์วาร์ดแม่ซึงฮเยผู้ซึ่งจบปริญญาเอกวรรณคดีฝรั่งเศสหลั่งน้ำตาและพูดว่า
“ถึงแม้ฉันจะจบปริญญาเอกมา ฉันคิดว่าการทุ่มเทชีวิตเพื่อเลี้ยงลูกเป็นสิ่งสำคัญกว่า ฉันยอมทิ้งความฝันทุกอย่างเพื่อลูกๆ ชีวิตของฉันเหมือนว่างเปล่า รู้สึกไร้ประโยชน์…ฉันขอตายและหายไปเสียยังดีกว่า”
และฉากก็ตัดไปที่ภาพของกลุ่มพ่อที่กำลังสังสรรค์กับ ผอ. โรงพยาบาลผู้ที่พยายามผลักดันตัวเองเข้าสู่แวดวงการเมืองบทสนทนาในวงพ่อคือ “ขนาดอายุ 60 แล้วคุณยังมีฝันที่ยิ่งใหญ่อยู่เลย” “ไม่มีใครแก่เกินที่จะฝัน” “ความฝันไม่เคยจำกัดอายุ” ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงสังคมทุนนิยมชายเป็นใหญ่อย่างเกาหลี จำกัด “ความฝัน” ไว้ให้ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงมีหน้าที่แค่ทำความฝันของคนในครอบครัวให้เป็นจริง
โค้ชคิม
ที่ปรึกษาด้านการศึกษามือหนึ่งของประเทศค่าจ้างระดับพันล้านวอนที่ทุกครอบครัวยินดีที่จะจ่าย เพราะการที่ลูกสอบติดแพทย์มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดนั้นย่อมเป็นใบเบิกทางการันตีความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายและตำแหน่งแห่งที่ในสังคมทุนนิยมเพื่อคงความเป็นผู้ชนะในระบบ โค้ชคิมภายนอกดูเป็นผู้หญิงสวยสง่าน่าเกรงขาม แต่แท้จริงแล้วเธอคือ คนป่วยโรคจิตผู้บงการฆ่าผู้อื่น เธอเป็นตัวแทนของ “แม่ที่เป็นผู้แพ้” ในโลกทุนนิยม ครอบครัวล่มสลาย ลูกสาวอัจฉริยะกลายเป็นเด็กพิการเนื่องจากอุบัติเหตุ สามีเสียชีวิต เธอผิดหวังอย่างหนักเพราะไม่อาจยึดโยงสถานภาพของตนเองกับลูกหรือสามีได้อีกต่อไป เธอจึงกลับมาแก้แค้นระบบ โดยทำลายทุกครอบครัวที่หมกมุ่นอยากให้ลูกประสบความสำเร็จ ทุกคนต้องตกนรกทั้งเป็นไม่ต่างจากเธอ ตัวละครโรคจิตอย่างโค้ชคิมคือสิ่งสะท้อนความไม่ปกติของโลกทุนนิยม การแข่งขันที่รุนแรงและผู้แพ้ที่ถูกทอดทิ้ง ความป่วย ความวิกลจริต ความโกรธแค้น ที่คอยหลอกหลอนบรรดาแม่ๆ ที่ยังต้องอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
********************************************************
ซีรีส์สนุกมากเลย แนะนำให้ดูค่ะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้