By มาร์ตี้ แม็คฟราย
ลองสมมติว่าคุณคือนักการเมืองดัง ดำรงตำแหน่งสูง ไม่ได้มีข่าวคราวเสียหาย ผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่รักของประชาชน แถมกำลังไปได้สวยในสายอาชีพด้วยการถูกสนับสนุนให้ลงชิงตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง คุณสามารถเลือกรูปแบบความรักได้ คุณจะเลือกความรักแบบไหนกัน?
สิ่งที่ผมสมมติ มาจากชีวิตของ ชาร์ล็อตต์ ฟิลด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง Long Shot
เธอเป็นแบบที่เกริ่นไว้ข้างต้นทุกประการ เธอมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน ภาพลักษณ์ดีงาม ประชาชนทุกคนรักเธอ แถมกำลังได้แรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ให้เธอลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยหน้า
ตัดภาพกลับมาที่นักข่าวสุดถ่อยผู้ไม่ยอมใคร แถมยังแต่งตัวเป็นวัยรุ่นไม่รู้จักโตอย่าง เฟรด ฟลาส์สกี เขาเป็นนักข่าวฝีปากกล้า เขียนข่าวแบบถึงลูกถึงคน ไม่กลัวใครอิทธิพลจากใครหน้าไหน เขาฉลาดเป็นกรด แต่มีนิสัยไม่ยอมใคร และตอนนี้ก็กำลังตกงาน จากนิสัยยอมหักไม่ยอมงอของตัวเอง
หากใครมองว่าตัวละครสองตัวนี้เหมาะสมกัน ก็อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ได้ใช้ตามอง ทั้งสองคนเหมือนคนสองโลกที่ไม่น่าจะบรรจบกันได้โดยสิ้นเชิง หากแต่โลกนี้มีสิ่งที่เรียกว่าความบังเอิญ ชาร์ล็อตต์ในตอนเป็นวัยรุ่นเคยเป็นพี่เลี้ยงให้เด็กอ้วนสุดฉลาดแต่ฝีปากกล้าคนหนึ่งที่ชื่อว่าเฟรด และทั้งสองรู้จักนิสัยใจคอกันดี
ความบังเอิญอีกครั้ง ก็ตอนที่ชาร์ล็อตต์ได้มาเจอเฟรดในงานการกุศลแห่งหนึ่ง (ซึ่งเฟรดแค่อยากมาเมาและฟังเพลงวง Boyz ll Men) เธอจำเขาได้ ส่วนเฟรดไม่เคยลืมเธอตั้งแต่แรก เธอจึงได้กลับไปอ่านงานเขียนข่าวแบบถึงลูกถึงคนแต่เปี่ยมด้วยอารมณ์ขันของเฟรดแล้วเกิดประทับใจ จึงติดต่อให้เฟรดมาทำงานในหน้าที่เขียนสุนทรพจน์ให้กับเธอ ในระหว่างที่เธอเดินสายไปสานสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อผลักดันนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นนโยบายที่เธอจะใช้หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในเมื่อเฟรดต้องเขียนสุนทรพจน์ให้กับเธอ เขาจึงจำเป็นต้องรู้จักเธอมากขึ้น สองคนนี้จึงต้องเดินทางไปด้วยกันตลอด โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อแสดงตัวตนกันเสมอ และแน่นอนความรักจึงเกิดขึ้น บนสถานะที่มันไม่ควรจะเกิด
ความน่าสนใจที่สุดของหนัง คือการนำแนวหนังรอมคอมมาผสมกับเรื่องราวการเมืองที่ไม่ได้เป็นแบบขอไปที หากแต่เป็นการเมืองที่จริงจังระดับหนึ่ง ซึ่งน้อยมากที่จะมีหนังรอมคอมที่นำประเด็นการเมืองเข้ามาผสมให้ตัวหนังเข้มข้นขึ้น และมีผลกระทบในเรื่องเกี่ยวกับความรัก หากให้นึกเร็ว ๆ ตอนนี้ก็มีงานโรแมนติกดราม่าคลาสสิกอย่าง Casablanca (1942) ที่เล่าเรื่องความรักแสนเจ็บปวดภายใต้ไฟสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการนำ ‘การเมือง’ มาผสมแบบโดยสถานการณ์
แต่ Long Shot ไม่ได้ดำเนินเรื่องบนพื้นฐานของความเครียด ทว่ามันกลับเล่าเรื่องภาพสถานการณ์และมุกตลกเคล้าคำหยาบและเรื่องใต้สะดือด้วยอารมณ์คล้ายหนังรอมคอมช่วงยุค 90s ด้วยพล็อตที่มี Big idea ที่ ‘แข็งแรง’และ ‘เทพนิยาย’ อยู่ในตัว คล้ายกับ Notting Hill (1999) หรือ Pretty Woman (1990) ซึ่งปัญหาคือจะทำยังไงให้คนดู ‘เชื่อ’ ว่าสองตัวละครรักกันจริง บนพื้นฐานเรื่องสถานะตัวละครที่มัน ‘ไม่น่าเชื่อ’ แต่ดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาของหนังเลยแม้แต่น้อย หนังเริ่มทำให้คนดูรู้สึกถึงความรักของทั้งคู่มากขึ้น แถมเคมีการแสดงของ Seth Rogen และ Charlize Theron (ที่เธอดูสวยที่สุดในทุกบทบาทที่เคยแสดงมา) กลับเข้ากันอย่างประหลาด ทำให้ฉากที่ทั้งคู่ต้องแอบไปเต้นรำในห้องกันสองคน พร้อมกับเพลง It Must Have Been Love ของ Roxette ที่เปิดจากมือถือ กลายเป็นหนึ่งฉากโรแมนติกสุดซาบซึ้ง ที่คิดเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากความรักของทั้งสองคนที่ต้องเก็บเอาไว้ และคงเป็นฉากโรแมนติกที่น่าจดจำฉากหนึ่งในรอบหลายปี ทั้งหมดทำให้หนัง Long Shot กลายเป็นหนึ่งในหนังที่ ‘หาดูยาก’ ในสมัยนี้ไปโดยปริยาย
บางครั้งชีวิตก็เล่นตลกกับเรา ไม่ใช่ทุกคนที่จะ Lucky in game และ Lucky in love หากว่าความรักของทั้งสองคนออกสู่สาธารณะชน ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลง และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีก็อาจไม่เกิดขึ้น เพราะความไม่เหมาะสม เธอจะตัดสินใจอย่างไร ไปดูในโรงกันเอาเอง หารอบยากหน่อย แต่คุ้ม
แต่ท้ายสุด หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกและสถานะทางสังคม อาจไม่เรื่องสำคัญที่สุด ตัวตนและจิตใจต่างหากที่สำคัญที่สุด เพราะอย่างน้อย รัฐมนตรีสาวสวย กับ นักข่าวตัวอ้วนสุดถ่อย ก็รักกันกันที่ตัวตน
ความรักไม่เลือกวิธีเกิด ไม่เลือกเวลา และไม่เลือกว่าเกิดกับใคร
เพราะไม่มีใครออกแบบความรักได้
Photo Cr: Entertainment Weekly
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft
[Review] Long Shot: รัก .. ออกแบบไม่ได้
ลองสมมติว่าคุณคือนักการเมืองดัง ดำรงตำแหน่งสูง ไม่ได้มีข่าวคราวเสียหาย ผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นที่รักของประชาชน แถมกำลังไปได้สวยในสายอาชีพด้วยการถูกสนับสนุนให้ลงชิงตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง คุณสามารถเลือกรูปแบบความรักได้ คุณจะเลือกความรักแบบไหนกัน?
สิ่งที่ผมสมมติ มาจากชีวิตของ ชาร์ล็อตต์ ฟิลด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้เรื่อง Long Shot
เธอเป็นแบบที่เกริ่นไว้ข้างต้นทุกประการ เธอมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน ภาพลักษณ์ดีงาม ประชาชนทุกคนรักเธอ แถมกำลังได้แรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ให้เธอลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยหน้า
ตัดภาพกลับมาที่นักข่าวสุดถ่อยผู้ไม่ยอมใคร แถมยังแต่งตัวเป็นวัยรุ่นไม่รู้จักโตอย่าง เฟรด ฟลาส์สกี เขาเป็นนักข่าวฝีปากกล้า เขียนข่าวแบบถึงลูกถึงคน ไม่กลัวใครอิทธิพลจากใครหน้าไหน เขาฉลาดเป็นกรด แต่มีนิสัยไม่ยอมใคร และตอนนี้ก็กำลังตกงาน จากนิสัยยอมหักไม่ยอมงอของตัวเอง
หากใครมองว่าตัวละครสองตัวนี้เหมาะสมกัน ก็อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ได้ใช้ตามอง ทั้งสองคนเหมือนคนสองโลกที่ไม่น่าจะบรรจบกันได้โดยสิ้นเชิง หากแต่โลกนี้มีสิ่งที่เรียกว่าความบังเอิญ ชาร์ล็อตต์ในตอนเป็นวัยรุ่นเคยเป็นพี่เลี้ยงให้เด็กอ้วนสุดฉลาดแต่ฝีปากกล้าคนหนึ่งที่ชื่อว่าเฟรด และทั้งสองรู้จักนิสัยใจคอกันดี
ความบังเอิญอีกครั้ง ก็ตอนที่ชาร์ล็อตต์ได้มาเจอเฟรดในงานการกุศลแห่งหนึ่ง (ซึ่งเฟรดแค่อยากมาเมาและฟังเพลงวง Boyz ll Men) เธอจำเขาได้ ส่วนเฟรดไม่เคยลืมเธอตั้งแต่แรก เธอจึงได้กลับไปอ่านงานเขียนข่าวแบบถึงลูกถึงคนแต่เปี่ยมด้วยอารมณ์ขันของเฟรดแล้วเกิดประทับใจ จึงติดต่อให้เฟรดมาทำงานในหน้าที่เขียนสุนทรพจน์ให้กับเธอ ในระหว่างที่เธอเดินสายไปสานสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อผลักดันนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นนโยบายที่เธอจะใช้หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
ในเมื่อเฟรดต้องเขียนสุนทรพจน์ให้กับเธอ เขาจึงจำเป็นต้องรู้จักเธอมากขึ้น สองคนนี้จึงต้องเดินทางไปด้วยกันตลอด โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อแสดงตัวตนกันเสมอ และแน่นอนความรักจึงเกิดขึ้น บนสถานะที่มันไม่ควรจะเกิด
ความน่าสนใจที่สุดของหนัง คือการนำแนวหนังรอมคอมมาผสมกับเรื่องราวการเมืองที่ไม่ได้เป็นแบบขอไปที หากแต่เป็นการเมืองที่จริงจังระดับหนึ่ง ซึ่งน้อยมากที่จะมีหนังรอมคอมที่นำประเด็นการเมืองเข้ามาผสมให้ตัวหนังเข้มข้นขึ้น และมีผลกระทบในเรื่องเกี่ยวกับความรัก หากให้นึกเร็ว ๆ ตอนนี้ก็มีงานโรแมนติกดราม่าคลาสสิกอย่าง Casablanca (1942) ที่เล่าเรื่องความรักแสนเจ็บปวดภายใต้ไฟสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการนำ ‘การเมือง’ มาผสมแบบโดยสถานการณ์
แต่ Long Shot ไม่ได้ดำเนินเรื่องบนพื้นฐานของความเครียด ทว่ามันกลับเล่าเรื่องภาพสถานการณ์และมุกตลกเคล้าคำหยาบและเรื่องใต้สะดือด้วยอารมณ์คล้ายหนังรอมคอมช่วงยุค 90s ด้วยพล็อตที่มี Big idea ที่ ‘แข็งแรง’และ ‘เทพนิยาย’ อยู่ในตัว คล้ายกับ Notting Hill (1999) หรือ Pretty Woman (1990) ซึ่งปัญหาคือจะทำยังไงให้คนดู ‘เชื่อ’ ว่าสองตัวละครรักกันจริง บนพื้นฐานเรื่องสถานะตัวละครที่มัน ‘ไม่น่าเชื่อ’ แต่ดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาของหนังเลยแม้แต่น้อย หนังเริ่มทำให้คนดูรู้สึกถึงความรักของทั้งคู่มากขึ้น แถมเคมีการแสดงของ Seth Rogen และ Charlize Theron (ที่เธอดูสวยที่สุดในทุกบทบาทที่เคยแสดงมา) กลับเข้ากันอย่างประหลาด ทำให้ฉากที่ทั้งคู่ต้องแอบไปเต้นรำในห้องกันสองคน พร้อมกับเพลง It Must Have Been Love ของ Roxette ที่เปิดจากมือถือ กลายเป็นหนึ่งฉากโรแมนติกสุดซาบซึ้ง ที่คิดเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากความรักของทั้งสองคนที่ต้องเก็บเอาไว้ และคงเป็นฉากโรแมนติกที่น่าจดจำฉากหนึ่งในรอบหลายปี ทั้งหมดทำให้หนัง Long Shot กลายเป็นหนึ่งในหนังที่ ‘หาดูยาก’ ในสมัยนี้ไปโดยปริยาย
บางครั้งชีวิตก็เล่นตลกกับเรา ไม่ใช่ทุกคนที่จะ Lucky in game และ Lucky in love หากว่าความรักของทั้งสองคนออกสู่สาธารณะชน ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลง และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีก็อาจไม่เกิดขึ้น เพราะความไม่เหมาะสม เธอจะตัดสินใจอย่างไร ไปดูในโรงกันเอาเอง หารอบยากหน่อย แต่คุ้ม
แต่ท้ายสุด หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกและสถานะทางสังคม อาจไม่เรื่องสำคัญที่สุด ตัวตนและจิตใจต่างหากที่สำคัญที่สุด เพราะอย่างน้อย รัฐมนตรีสาวสวย กับ นักข่าวตัวอ้วนสุดถ่อย ก็รักกันกันที่ตัวตน
ความรักไม่เลือกวิธีเกิด ไม่เลือกเวลา และไม่เลือกว่าเกิดกับใคร
เพราะไม่มีใครออกแบบความรักได้
Photo Cr: Entertainment Weekly
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft