บทความตามใจฉัน “ปตท จากปั้มน้ำมันสู่อะไร” Part1

กระทู้สนทนา
ปตท. หรือ ptt เมื่อก่อนคือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบวงจร

แต่สำหรับผู้บริโภครายย่อยแล้ว ปตท. ก็คือปั้มน้ำมันเจ้าหนึ่ง

ในสมัยนั้น ปตท. เป็นปั้มน้ำมันที่พบได้บ่อย ๆ แต่น้อยคนที่อยากจะเข้าปั้มของ ปตท.

ในคราวนี้ผู้เขียนจะเล่าถึงปั้ม ปตท.จากมุมมองของผู้บริโภคคนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่อดีตช่วงราว ๆ  2530

จนช่วงที่เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของปั้ม ปตท.และกลายมาเป็นปั้มน้ำมันที่มีสาขามากที่สุดในประเทศไทย

ปั้มน้ำมันที่ตอนนี้ใคร ๆ ก็อยากเข้า

รวมถึงทิศทางของปั้มน้ำมัน ปตท. ที่ผู้คาดว่ากำลังจะไปในอนาคตจากการพบเห็นของผู้เขียนเอง


ปั้มน้ำมันสู่จุดพักรถ

อย่างที่เกริ่นนำไปในตอนต้น ปั้ม ปตท.

สมัยก่อนแม้จะหาได้ง่ายแต่สำหรับผู้เขียนในสมัยนั้นที่มันต้องเดินทางไกลบ่อย ๆ แล้วมันไม่น่าเข้าเอาเสียเลย

ปั้มสกปรกโทรม ๆ , จะกินจะดื่มก็ไม่มีของขาย, ห้องน้ำก็สกปรกสันฟาย

ยิ่งตอนกลางคืนไฟในปั้มก็สว่างแบบขอไปที ไฟห้องน้ำนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึง

สมัยนั้นผู้เขียนจำได้กับประสบการณ์ไม่มีวันลืมกับห้องน้ำปั้ม ปตท.ครั้งหนึ่ง

อี้ใต้แสงเทียน โรแมนติดสลัด ๆ

ถ้าจะถามว่าไฟปั้มสว่างแค่ไหนก็ประมาณตามรูปประกอบ แค่ไม่มีซอมบี้

ทำให้ในตอนนั้นปั้มที่ผู้เขียนเลือกเข้าบ่อย ๆ ก็คือ Shell และ Esso เพราะห้องน้ำดีพอใช้และมีร้าน

Mini Mart ให้ซื้อของกินแก้หิวถึงแม้ว่ามีเฉพาะปั้มใหญ่ ๆ แต่ก็ยังดีกว่า ปตท. ที่ตอนนั้น

เท่าที่จำได้คือไม่มีปั้มไหนมีร้านค้าเลย ต่อมาในปี 2541 รัฐบาลสมัยนั้นก็มีมติแปรรูป

ปตท. เป็นบริษัทมหาชน ปตท.เข้าตลาดหุ้นราว ๆ ปี 2544 และเปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อหุ้นได้

 
ปั้มน้ำมัน JET

ย้อนกลับไปราว ๆ ช่วง 2535 – 2540 มีอยู่วันหนึ่งระหว่างเดินทางกำลังมองหาปั้มเพื่อเข้าห้องน้ำผู้เขียนก็ได้เห็นปั้มที่ทั้งสะดุดตาและแปลกตาอย่างมาก ปั้มเกิดไฟสว่างจ้าแบบที่ไม่มีปั้มไหนสมัยนั้นทำ

อาคารขนาดใหญ่รูปทรงแบบฝรั่ง ป้ายตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้นสีเหลืองนั้นดูเด่นมาก

ชื่อปั้มเขียนไว้ว่า JET

พอเลี้ยวเข้าไปก็รู้สึกถึงพลังงานบางอย่างได้ทันที ปั้มนี้กว้างมากแต่ก็สะอาด

มีร้านค้าที่ใหญ่จนเด่นเป็นสง่า มีพื้นที่และโต๊ะเก้าอี้ให้คนนั่งพักชิว ๆ

บางคนก็ซื้อของจากร้านค้ามานั่งกินตรงนี้


กลยุทธห้องน้ำสะอาด

ในไทยนั้นมีสำนวนอยู่ว่า “มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน” ok ความหมายมันไปในทางที่ไม่ดีแต่ผู้เขียนคิดว่าไม่มีสำนวนไหนที่อธิบายความรู้สึกแรกที่

ได้เข้าห้องน้ำปั้ม JET ได้ดีกว่านี้อีกแล้ว

เพราะลูกสาวของ JET สวยและดีงามพอที่จะเอามาไว้หน้าบ้านได้เลย ในปัจจุบันห้องน้ำของ

ปตท. นั้นอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรมากแต่ในสมัยก่อนห้องน้ำแบบนั้นมันเป็นอะไรที่ WOW มาก

ผู้เขียนกล้าบอกว่าในยุคนั้นไม่มีปั้มที่ไหนที่อี้ได้อย่างสบายใจเหมือน JET


กลยุทธ์ Super convenient store

เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จแล้วก็แวะร้านค้าดูสักหน่อย

ในสมัยนั้นร้านค้าในปั้มมักจะเป็นร้านที่ผู้บริหารปั้มตั้งขึ้นมาเอง ดังนั้นของขายก็จะไม่ค่อยหลากหลายโดยมักเน้นไปที่ขนมของขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม

ร้านค้าในปั้มที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการของปั้มที่จำได้คือมีของ ESSO ที่ทำแต่ก็ไม่ได้ประทับใจอะไรมากนัก

แต่สำหรับ JET ที่มีร้านค้าในปั้มชื่อว่าจิฟฟี่นั้นในสมัยนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ WOW

ขนาดของร้านที่ใหญ่มากและความหลากหลายของสินค้าทำให้นึกอยากกินอะไรก็หาได้จากที่นี่

แต่ที่เด่นที่สุดคือ Third party store

ด้วยที่ร้านใหญ่มากจึงมีพื้นที่ในร้านเหลือพอที่จะปล่อยให้ร้านอื่น ๆ มาเช่า

จำได้ว่าเคยเห็น A&W และ Black Canyonมาเปิดร้านในจิฟฟี่ด้วย (สมัยนั้น Black Canyon เป็นร้านหรู อย่างน้อยในมุมมองของผู้เขียน ปัจจุบันยังพอมี Black Canyon ที่ตั้งในจิฟฟี่อยู่บ้าง)

แต่ที่ดังที่สุดและกลายมาเป็นต้นแบบของร้านกาแฟตามปั้มในปัจจุบันก็คือ “บ้านไร่กาแฟ”

ในความทรงจำของผู้เขียนนี่คือร้านแฟรนไชส์กาแฟสดในปั้มเจ้าแรกที่พบและเจ้าแรกในชีวิตที่ได้ลองกินกาแฟสดโดยมี

Iconic คือการเสริฟกาแฟมาในถ้วยดินเผาแต่ราคาก็แพงหูดับตับไหม้

(พ่อผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของร้านเลยรู้ว่าแพงเพราะค่าถ้วย)


เพียงครั้งเดียวผู้เขียนและครอบครัวก็กลายเป็นสาวกของปั้ม JET ไป

ออกเดินทางคราวไหนถ้าเจอปั้ม JET ถึงจะไม่เข้าห้องน้ำก็จะแวะเพื่อพักซื้อของกินและดื่มกาแฟสด

จากมุมมองของผู้บริโภคคนหนึ่งในตอนนั้นเห็นว่ากิจการของปั้ม JET

น่าจะไปได้สวยเพราะคนเริ่มเข้ากันแต่ปั้ม JET เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปั้มน้ำมันเจ้าอื่นเห็นความสำเร็จของ

JET ก็พยายามจะเอาอย่างบ้างแต่ก็ไม่สำเร็จเท่าที่ JET ทำได้

แต่ดูเหมือนว่าเรื่องจะไม่สวยงามตามมุมมองของผู้มาใช้บริการเพราะ ปี 2550 ปั้ม

JET ก็ประกาศขายกิจการด้วยสาเหตุว่าค่าการตลาดไม่คุ้มค่าการลงทุน

ในตอนนั้นปั้ม JET มีสาขาทั้งสิ้น 147 สาขาใน 22 จังหวัด

สาเหตุคาดว่าเพราะ JET ไม่มีแหล่งผลิตสินค้าของตนเองทั้งสินค้าในร้านค้าและสินค้าประเภทน้ำมันจึงต้องซื้อสินค้าจาก

บริษัทอื่น ๆ มาขายต่อทำให้ต้องแบกรับต้นทุนค่าสินค้าโดยเฉพาะน้ำมันที่สูงกว่าปั้มอื่น ๆ

ยิ่งถ้าบวกกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าพนักงาน,

ค่าดูแลรักษาปั้มและร้านค้าขนาดใหญ่เข้าไปอีกคงทำให้มีต้นทุนในการดำเนินกิจการที่สูงกว่าจนไม่คุ้มที่จะลงทุนในที่สุด

ซึ่งในการประมูลนั้น ปตท. เป็นผู้ชนะการประมูลซื้อ JET ไปได้ด้วยราคาประมาณ 275 ล้าน USD หรือเป็นเงินไทยประมาณ

9900 ล้านบาท (ค่าเงินในสมัย 2550 1 US ประมาณ 36 บาท ไม่รวมเงินเฟ้อ) ปิดฉากปั้ม JET ที่ดำเนินมาราวๆ 14 ปีในที่สุด


To be continue in Part 2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่