รัฐบาลญี่ปุ่นจะเลิกใช้นิยาม “โสดตลอดชีพ” กับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีที่ไม่สมรสในการสำรวจต่าง ๆ ของทางการ หลังจากมีเสียงวิจารณ์ว่านานว่านิยามดังกล่าวไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน
ในรายงานด้านสถิติของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เมื่อราว 30 ปีก่อน ได้กำหนดนิยามนิยาม “โสดตลอดชีพ” กับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีที่ไม่สมรส เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ของสตรีจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังอายุ 50 ปี หรือก็คือผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานเมื่ออายุ 50 ปีก็แทบจะไม่มีโอกาสมีบุตรอีก
นิยามเช่นนี้ถูกวิจารณ์มาตลอดว่าเชื่อมโยงการสมรสกับการมีบุตร และสื่อว่าถ้าไม่แต่งงานก่อนอายุ 50 ปีก็ถือว่าเป็นโสดตลอดชีวิต
รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิของบุคคลและลักษณะครอบครัวยุคใหม่ จะยกเลิกการใช้คำว่า “โสดตลอดชีพ” ในรายงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม จะยังคงมีการเก็บสถิติเหมือนเดิม โดยเปลี่ยนไปใช้คำว่า “ผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี”
ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่โดยกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานด้านสำมะโนประชากร ที่สำรวจทุก 5 ปี แต่จำนวนของ “ผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี” จะไม่รวมผู้ที่หย่าร้างหรือเป็นม่าย
จำนวนคนกลุ่มนี้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ในปี 2528 มีชาวญี่ปุ่นราวร้อยละ 5 อยู่ในกลุ่มผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี แต่ในปี 2543 ผู้ชายที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 และการสำรวจในปี 2558 กลุ่มผู้ชายที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23.37 หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ และกลุ่มผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.06
ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นที่แต่งงานก็เพิ่มขึ้น โดยผู้ชายอยู่ที่ 31.1 ปี และผู้หญิงอยู่ที่ 29.4 ปี
บริษัทจัดหาคู่ในญี่ปุ่นระบุว่า แนวคิดว่าการแต่งงานเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาวได้ล้าสมัยแล้ว โดยจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี และต้องการหาคู่ครองได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคนในวัย 50 ปีไม่มีความกังวลเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจ ขณะที่การจ้างงานในญี่ปุ่นทุกวันนี้เป็นการจ้างแบบชั่วคราวจำนวนมาก ทำให้หนุ่มสาวแต่งงานช้าลง เพราะกังวลว่าจะไม่สามารถดูแลครอบครัวได้
มีการประเมินว่า ในปี 2578 จำนวนผู้ชายที่ไม่แต่งงานเมื่ออายุ 50 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29 และผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29
รัฐบาลญี่ปุ่นเคยนิยามว่า จำนวนผู้ที่“โสดตลอดชีพ” ส่งผลต่อโครงสร้างประชากรที่ลดลงของญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเผชิญกับสภาพสังคมผู้สูงอายุ, จำนวนเด็กลดลง, การแต่งงานที่ล่าช้า,ไม่แต่งงาน หรือไม่มีบุตร ทำให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก.
ข่าวจาก : MGR Online
ญี่ปุ่นเลิกตีตรา“โสดตลอดชีพ” กับคนอายุ 50 ปีที่ไม่แต่งงาน
ในรายงานด้านสถิติของรัฐบาลญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นตั้งแต่เมื่อราว 30 ปีก่อน ได้กำหนดนิยามนิยาม “โสดตลอดชีพ” กับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีที่ไม่สมรส เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ของสตรีจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังอายุ 50 ปี หรือก็คือผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานเมื่ออายุ 50 ปีก็แทบจะไม่มีโอกาสมีบุตรอีก
นิยามเช่นนี้ถูกวิจารณ์มาตลอดว่าเชื่อมโยงการสมรสกับการมีบุตร และสื่อว่าถ้าไม่แต่งงานก่อนอายุ 50 ปีก็ถือว่าเป็นโสดตลอดชีวิต
รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิของบุคคลและลักษณะครอบครัวยุคใหม่ จะยกเลิกการใช้คำว่า “โสดตลอดชีพ” ในรายงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม จะยังคงมีการเก็บสถิติเหมือนเดิม โดยเปลี่ยนไปใช้คำว่า “ผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี”
ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่โดยกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานด้านสำมะโนประชากร ที่สำรวจทุก 5 ปี แต่จำนวนของ “ผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี” จะไม่รวมผู้ที่หย่าร้างหรือเป็นม่าย
จำนวนคนกลุ่มนี้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ในปี 2528 มีชาวญี่ปุ่นราวร้อยละ 5 อยู่ในกลุ่มผู้ที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปี แต่ในปี 2543 ผู้ชายที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 และการสำรวจในปี 2558 กลุ่มผู้ชายที่ไม่สมรสเมื่ออายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23.37 หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ และกลุ่มผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.06
ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นที่แต่งงานก็เพิ่มขึ้น โดยผู้ชายอยู่ที่ 31.1 ปี และผู้หญิงอยู่ที่ 29.4 ปี
บริษัทจัดหาคู่ในญี่ปุ่นระบุว่า แนวคิดว่าการแต่งงานเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาวได้ล้าสมัยแล้ว โดยจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี และต้องการหาคู่ครองได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคนในวัย 50 ปีไม่มีความกังวลเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจ ขณะที่การจ้างงานในญี่ปุ่นทุกวันนี้เป็นการจ้างแบบชั่วคราวจำนวนมาก ทำให้หนุ่มสาวแต่งงานช้าลง เพราะกังวลว่าจะไม่สามารถดูแลครอบครัวได้
มีการประเมินว่า ในปี 2578 จำนวนผู้ชายที่ไม่แต่งงานเมื่ออายุ 50 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29 และผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29
รัฐบาลญี่ปุ่นเคยนิยามว่า จำนวนผู้ที่“โสดตลอดชีพ” ส่งผลต่อโครงสร้างประชากรที่ลดลงของญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเผชิญกับสภาพสังคมผู้สูงอายุ, จำนวนเด็กลดลง, การแต่งงานที่ล่าช้า,ไม่แต่งงาน หรือไม่มีบุตร ทำให้ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก.