วัดป่าโนนจิก(สวนจำปางาม)สาขาที่ 191 วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
ไม่ได้มีพิธีรีตรอง ไม่ต้องกรอกใบสมัคร ไม่ต้องจองวันที่จะเข้าปฏิบัติ อะไรใดๆทั้งสิ้น
เพียงแค่เตรียมชุดขาว เตรียมของใช้ส่วนตัวติดไปด้วยก็พอ
บรรยากาศบริเวณวัดสัมผัสถึงธรรมชาติ
บริเวณลานเดินไปยังศาลา ที่ปฏิบัติในทุกวันพระ
ลานปฏิบัติในทุกวันพระ
บรรยากาศยามค่ำคืนในวันที่มิใช่วันพระ เราต้องอยู่กับตัวเองและไฟฉาย
ปฏิบัติเองตามธรรมชาติ ในวันธรรมดา (แต่หากในวันพระ จะมีญาติธรรมมาปฏิบัติร่วมกัน)
อันนี้อยู่ที่ใจล้วนๆ วินัยของตนล้วนๆ เรา จะมาเพื่อทำอะไร และเราจะได้อะไรไม่ได้อะไร ขึ้นอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น แต่ที่แน่ๆ นอกจากได้สวดมนต์ ได้นั่งสมาธิ อีกอย่างที่ได้คือ ได้อยู่กับตัวเอง
ตีสามตื่นทำวัตรเช้า และ หนึ่งทุ่มทำวัตรเย็น ตลอดทั้งวันและทั้งคืนมีอะไรๆทำมากมาย นอนให้น้อย กินให้น้อย ปฏิบัติให้มาก
-อาหาร 1 มื้อ ต่อวัน รับได้เท่าไหร่รับ กินได้เท่าไหร่กิน ! ส่วนเวลาหลังเที่ยงขึ้นไป รับไม่ได้แล้ว จนกว่าจะรุ่งเช้า อีกวัน กินอาหารหลังจากพระรับเสร็จ
-จัดดอกไม้ขึ้นบูชา
-กวาดลานวัด ทำความสะอาด
ทางเดินสำหรับคนและรถเข็น
ปกติที่วัดจะไม่มีดอกไม้บูชาพระ หรือถ้ามีก็จะเป็นดาวเรืองตามรั้วบ้านที่ญาติโยมเก๋บมาถวายในวันพระ แต่วันปกติจะไม่มี ส่วนในภาพนี้ เราประสงค์จัดถวายเอง
-ทำน้ำปานะ (น้ำผลไม้ที่ไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม และผลไม้ไร้กากไร้เมล็ด)ถวายพระหลังเวลา เที่ยง
พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
[พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๘๖]
ให้แล้วเสร็จก่อนบ่ายโมง เพราะ 13.00 น.สวดมนต์ฏิบัติช่วงกลางวัน
สวดมนต์ นั้งสมาธิ หรือเดินจงกรม แล้วแต่เราจะสะดวก
จนเวลาบ่ายสามโมง พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมตัวทำวัตรเย็น เป็นเช่นนี้ทุกวันๆ เว้นแต่วันสำคัญทางศาสนาอาจจะมีกิจกรรมอื่นเพิ่มขึ้น
เป็นอีก 1 สถานที่ที่แนะนำ เพราะได้ไปสัมผัสมาด้วยตัวเอง
ถามว่า ได้อะไรในการมาปฏิบัติธรรมครั้งนี้
ตอบว่า ก็ไม่ได้เอาอะไรออกมานะ
แต่ที่ระลึกถึงได้คือความทรงจำในการไปปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง ได้อยู่กับตัวกับใจของตัวเองอย่างมีสมาธิ มีสติมากขึ้น รู้พื้นฐานของสมาธิคือการดูลมหายใจนั้นสำคัญ (ลมหายใจก็อยู่กับเราทุกที่ แต่ตัวเราไม่เคยสนใจมันมาก่อนจนมานั่งอยู่ที่นี่ ท่านบอกให้ดูลมหายใจทุกขณะ อันนี้สำคัญจริง) ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น ขยันเพิ่มมากขึ้น ปล่อยวางมากขึ้น บ่นน้อยลง ความอยากมีอยากได้น้อยลง ความกลัวน้อยลง ความกังวลกับอนาคตน้อยลง ความกลัวตายน้อยลง บวกลบแล้วคือไม่ได้เอาอะไรออกมาเลยก็ถูกแล้ว และ นี่คงเป็นคำตอบของคำถามกระมัง !
แนะนำสถานปฏิบัติธรรมใกล้ธรรมชาติ
ไม่ได้มีพิธีรีตรอง ไม่ต้องกรอกใบสมัคร ไม่ต้องจองวันที่จะเข้าปฏิบัติ อะไรใดๆทั้งสิ้น
เพียงแค่เตรียมชุดขาว เตรียมของใช้ส่วนตัวติดไปด้วยก็พอ
บรรยากาศบริเวณวัดสัมผัสถึงธรรมชาติ
บริเวณลานเดินไปยังศาลา ที่ปฏิบัติในทุกวันพระ
ลานปฏิบัติในทุกวันพระ
บรรยากาศยามค่ำคืนในวันที่มิใช่วันพระ เราต้องอยู่กับตัวเองและไฟฉาย
ปฏิบัติเองตามธรรมชาติ ในวันธรรมดา (แต่หากในวันพระ จะมีญาติธรรมมาปฏิบัติร่วมกัน)
อันนี้อยู่ที่ใจล้วนๆ วินัยของตนล้วนๆ เรา จะมาเพื่อทำอะไร และเราจะได้อะไรไม่ได้อะไร ขึ้นอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น แต่ที่แน่ๆ นอกจากได้สวดมนต์ ได้นั่งสมาธิ อีกอย่างที่ได้คือ ได้อยู่กับตัวเอง
ตีสามตื่นทำวัตรเช้า และ หนึ่งทุ่มทำวัตรเย็น ตลอดทั้งวันและทั้งคืนมีอะไรๆทำมากมาย นอนให้น้อย กินให้น้อย ปฏิบัติให้มาก
-อาหาร 1 มื้อ ต่อวัน รับได้เท่าไหร่รับ กินได้เท่าไหร่กิน ! ส่วนเวลาหลังเที่ยงขึ้นไป รับไม่ได้แล้ว จนกว่าจะรุ่งเช้า อีกวัน กินอาหารหลังจากพระรับเสร็จ
-จัดดอกไม้ขึ้นบูชา
-กวาดลานวัด ทำความสะอาด
ทางเดินสำหรับคนและรถเข็น
ปกติที่วัดจะไม่มีดอกไม้บูชาพระ หรือถ้ามีก็จะเป็นดาวเรืองตามรั้วบ้านที่ญาติโยมเก๋บมาถวายในวันพระ แต่วันปกติจะไม่มี ส่วนในภาพนี้ เราประสงค์จัดถวายเอง
-ทำน้ำปานะ (น้ำผลไม้ที่ไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม และผลไม้ไร้กากไร้เมล็ด)ถวายพระหลังเวลา เที่ยง
พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑ .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
[พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๕
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๙๘ หัวข้อที่ ๘๖]
ให้แล้วเสร็จก่อนบ่ายโมง เพราะ 13.00 น.สวดมนต์ฏิบัติช่วงกลางวัน
สวดมนต์ นั้งสมาธิ หรือเดินจงกรม แล้วแต่เราจะสะดวก
จนเวลาบ่ายสามโมง พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมตัวทำวัตรเย็น เป็นเช่นนี้ทุกวันๆ เว้นแต่วันสำคัญทางศาสนาอาจจะมีกิจกรรมอื่นเพิ่มขึ้น
เป็นอีก 1 สถานที่ที่แนะนำ เพราะได้ไปสัมผัสมาด้วยตัวเอง
ถามว่า ได้อะไรในการมาปฏิบัติธรรมครั้งนี้
ตอบว่า ก็ไม่ได้เอาอะไรออกมานะ
แต่ที่ระลึกถึงได้คือความทรงจำในการไปปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง ได้อยู่กับตัวกับใจของตัวเองอย่างมีสมาธิ มีสติมากขึ้น รู้พื้นฐานของสมาธิคือการดูลมหายใจนั้นสำคัญ (ลมหายใจก็อยู่กับเราทุกที่ แต่ตัวเราไม่เคยสนใจมันมาก่อนจนมานั่งอยู่ที่นี่ ท่านบอกให้ดูลมหายใจทุกขณะ อันนี้สำคัญจริง) ควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น ขยันเพิ่มมากขึ้น ปล่อยวางมากขึ้น บ่นน้อยลง ความอยากมีอยากได้น้อยลง ความกลัวน้อยลง ความกังวลกับอนาคตน้อยลง ความกลัวตายน้อยลง บวกลบแล้วคือไม่ได้เอาอะไรออกมาเลยก็ถูกแล้ว และ นี่คงเป็นคำตอบของคำถามกระมัง !