( ต่อจากตอน 2)
วันที่ สาม (..ฝัน..ฝัน..ไป.)
หลังจากกินข้าวเช้าที่โรงแรม The Room @ Mae Sai เรียบร้อยแล้ว (...กระหยิ่ม..มีความสุข วันนี้หวยออก..เย็นนี้รู้กัน..) เดินออกทางจุดหมายแรกคือไร่ชาฉุยฟง (ไร่ชาฉุยฟง ห่างจากอ.แม่สาย 34 km ใช้เวลาเดิน 40 นาที ) เส้นทางไต่เลาะริมเขาไปเรื่อย ๆ การขับรถขึ้นไปไม่ลำบาก ยิ่งตอนนี้สบายมากเลย ( เพราะไม่มีรถสวน หรือ แซง เลย หรือเพราะเราไปเช้า...) ไร่ชาฉุยฟง (บริษัท ฉุยฟงที จำกัด) ตั้งอยู่ใน อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่อยู่บนไหล่ภูเขา สูงกว่า 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บรรยากาศโดยรอบสีเขียวชะอุ่ม ล้อมรอบด้วยทิวเขาที่สวยงาม นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ทุกคนได้เข้ามาสัมผัสกับธรรมชาติของไร่ชา แล้วยังเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดของเชียงราย ที่มีประสบการณ์การปลูกชามานานกว่า 40 ปี ตอนนี้ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แถมยังมีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ไว้บริการ เมนูยอดนิยม เช่น หมั่นโถวชาเขียว ชาเขียวเย็น เค้กชาเขียว ฯ
เมื่อไปถึงเรามองเห็นการเปลี่ยนของไร่ชาคือต้นชาจะไม่เขียวสด ชูยอดเขียวเหี่ยวบางที่ดูเกรียม ๆ อาจเป็นเพราะอากาศร้อนจัด อีกอย่างคืออาคารที่จำหน่ายสินค้าและพื้นที่นั่งจิบชา ถูกปรับปรุงใหม่ (..สวยหรอก.. เราชอบแบบเดิม โล่ง ๆ ไม่แข็งเป็นตึกแบบนี้..) พวกเราไม่ได้ชิมชา เพราะเพิ่งอิ่มจากห้องอาหารมา นางแบบปฏิบัติหน้าที่ ..ค่ะ
ดูท่าทางคนเก็บใบชา น่าจะเก็บได้ไม่เกินวันละ 1 Kg แล้วเจ้าของไร่จะจ่ายค่าแรงไม่ถูกละมั้ง...(..ทำไมแม้ว..ตัวดำจัง..แดดร้อนมาก..รึ) หมดเวลาแล้วไร่ฉุยฟง...เดินทางต่อไปสวนส้มธนาธร ต.ท่าตอน อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากไร่ชา ประมาณ 118 km คาดว่าจะใช้เวลาในการเดินทาง 2 h แต่แล้วเมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่เงียบเหงา ก็มีเจ้าดอกนกยูงแสนสวย 2 ข้างทาง เหล่านางแบบทนไม่ไหวลงไปปฏิบัติหน้าที่ เล่นเอาพลขับจอดรถไม่ทันเลย
เมื่อถ่ายรูปเรียบร้อยเดินทางต่อ 2 ข้างทางมีลิ้นจี่ กำลังสุกแดงเต็มต้น แต่ไม่มีเจ้าของเลยไม่ได้ซื้อ เมื่อผ่านหมู่บ้านจะมีกระท่อม ( ห้างเล็ก ๆ )ติดป้ายว่ารับซื้อลิ้นจี่มากอยู่ ปีนี้ชาวสวนลิ้นจี่คงจะได้รับเงินมากเพียงพอกับการลงทุนนะ ..ภาวนาอย่าให้เหมือนสัญญาซื้อลำไยของชาวลำพูนเลย การเอาเปรียบทางกฎหมายกับเกษตรกรถือว่าเป็นการหลอกลวงที่โหดเหี้ยมมาก ( ..เศร้า...บ่นยาว ความจริงอยากพูดมากกว่านี้ เดี๋ยวไม่สนุก..)
สวนส้มธนาธรตั้งอยู่ที่ อ.ฝาง เป็นสวนส้มขนาดใหญ่มีพื้นที่ปลูกส้ม 2000 ไร่ พัฒนาและทดลองปลูกส้มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ในปัจจุบันมีพันธุ์ส้มทั้งหมดเกือบ 40 สายพันธุ์ที่อยู่ในระหว่างการทดลอง วิจัย และพัฒนาพันธุ์ที่ได้มาจาก อิสราเอล ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมทั้งมีบางส่วนที่เพาะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์
ส้มธนาธรเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของคุณภาพมีรสหวานอร่อยกลีบใหญ่ กุ้งใหญ่ เส้นใยน้อยแกะเปลือกง่าย มีหลายขนาด เป็นต้นกำเนิดของส้มสายน้ำผึ้ง ขณะนี้ได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งสวนส้มธนาธร 2 (บ้านลาน) และ สวนธนาธร 8 (สวนท่าตอน) ความสวยงามของผลส้มในเวลาส้มติดผลออกสีส้มแสดสวยงามตัดกับใบสีเขียว แซมสลับด้วยสีดอกไม้นานาพันธุ์ จึงทำให้บริเวณสวนส้มสวยงาม...ชื่นใจ..
พอถึงไร่ส้ม เรารีบไปติดต่อ ขอชมสวน (เสียตังค์..) มีรถไฟฟ้าพาชมสวน ..แต่เหมือนกันทุกที่ยิ่งตอนนี้ไม่ใช่ฤดูของผลผลิตส้มด้วย ไม่มีคนเลยเงียบเหงามาก มีกลุ่มเรากลุ่มเดียว ผลสุดท้าย..รอ..ร้อ..รอ...พี่เฝ้าแต่รอ... (ร้องเพลง รอไปเถอะ..) รถก็ไม่มารับไปชมสวนซะที่...ยกเลิกการชมสวนส้ม .(..คืนตั๋ว..).จริงแล้วคงไม่มีอะไรให้ดู ....แต่กลุ่มนางแบบก็ยังถ่ายรูปกันอย่างสนุก
ชูตั๋วไว้...ว่าเดี๋ยวได้ชมสวน...
ตอนนี้เริ่มหิ้ว พูดถึงข้าวกลางวันกันแล้ว ต้ารีบขับรถไปน้ำพุร้อนฝาง (..อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก หรือ ดอยผ้าห่มปก...งง...) เพื่อไปกินข้าวกลางวัน ที่ร้านอาหารอุทยาน ระยะทางระหว่างสวนส้มธนาธร ไปน้ำพุร้อนฝาง 40 km ใช้เวลา 45 นาที เมื่อไปถึงน้ำพุร้อนฝางจริง ๆ มีร้านอาหารอยู่ร้านเดียว ไม่มีนักท่องเที่ยวเลย พวกเราคงเป็นพวกเหมือนพวก First Immigrant ( ..เป็นพวกอพยพ ไปที่ไหนก็ไม่มีคน..) เลย สั่งอาหารประเภทข้าวเหนียว ส้มตำ แต่แล้วต้องผจญกับฝูงแมลงวัน แต่ก็ผ่านไปได้ เสร็จแล้วไปสำรวจน้ำพุร้อนและถ่ายรูป
“น้ำพุร้อนฝาง” ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาก บ่อน้ำพุร้อนมีมากกว่า 50 บ่อ กระจายไปทั่วพื้นที่ และมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไป อุณหภูมิสูงประมาณ 40 -90 องศาเซลเซียส บ่อน้ำร้อนฝางหรือโป่งน้ำร้อนฝางนั้นเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ทางอุทยานยังมีที่พัก และห้องสำหรับแช่น้ำพุร้อนด้วย ( แต่พวกเราไม่ได้แช่...เสียดาย onsen...)
ออกจากน้ำพุร้อนเดินทางไปดอยอ่างขาง สถานีเกษตรโครงการหลวงระยะทาง 42 km ใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมง เพราะต้องขับรถเลาะริมเขา เส้นทางขับรถไม่ลำบาก ที่สำคัญคือเราเป็นรถคันเดียวที่แล่นไปยังดอยนี้ เมื่อไปถึง ดอยอ่างข่างเป็นของกลุ่มเราเพราะไม่มีนักท่องเที่ยวเลย ถ่ายรูป...
ดอยอ่างขาง อยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือ หมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อมรอบ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร ในพื้นที่ 16,577 ไร่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ปัจจุบันดอยอ่างขางได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขาหัวโล้นมาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลกว่า 12 ชนิด ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด สภาพอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
เหลือบเห็นสโมสรบ้านมิตรานุสรณ์ เราเดินเข้าไปในสโมสรครั้งนี้ ( เคยเข้าไปครั้งก่อน..ต้องแย่งชิง..คนแน่น..) มีความรู้สึกเหมือนแน่นหน้าอก หายใจขัดๆ ทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า โต๊ะเก้าอี้ วางไว้อย่างไร้การใช้งาน ดูเงียบเหงาอ้างว้าง มองดูคนงานหญิง 2 คนนั่งคู้เงียบ ๆ อยู่ที่มุมของบ้าน หน้าตาไร้ความรู้สึก เดินคนอยู่เดียว ดูรูปพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แล้วเดินไปเศร้าไปแทบร้องไห้ ทำไมพระองค์ทรงพระกรุณามากมายไม่คำนึงถึงความยากลำบาก ทั้งนี้ก็เพื่อพสกนิกรได้มีอาชีพสุจริต มีรายได้มากกว่าการปลูกฝิ่น (ชาวเขา..) ขอกราบพระองค์ด้วยความเคารพยิ่ง มองเห็นมีแผ่นป้ายจารึกข้อความเป็นภาษาจีน มีคำแปล อธิบายที่มาชื่อ “มิตรานุสรณ์” อันเป็นชื่อของอาคารสโมสรดอยอ่างขางแห่งนี้ว่า... “...อุ้ยเตอะ ปุกู ปี้อิ๋วหลิน...(ขงจื๊อ) ผู้บำเพ็ญธรรม ย่อมไม่โดดเดี่ยว ต้องมีกัลยาณมิตรเกื้อกูลเสมอ...” เป็นภาษาจีน
ขยายความอีกว่า... “ช่วงปี 2515 คณะกรรมาธิการส่งเสริมอาชีพทหารนอกประจำการแห่งสาธารณรัฐจีน ได้รับมอบหมายจัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรมาถึงไทย เพื่อถวายความร่วมมือแด่กษัตริย์ภูมิพล ในการก่อตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่ทรงมีพระราชดำรัสให้มีขึ้น เพื่อยกระดับการมีอาชีพ และส่งเสริมสัมมาชีพทางการเกษตรกรรม แด่พสกนิกรของพระองค์ในภาคเหนือ
ในการนี้ คณะเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจีนได้เริ่มดำเนินการโดยบุกเบิกป่าพง ตลอดจนทดลองปลูกพันธุ์ไม้พืชไร่ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปีเต็ม โครงการจึงบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายสมบูรณ์ บัดนี้ บรรดาพันธุ์พืชไม้ผลที่ทดลองปลูกมาด้วยความยากลำบาก มีลูกท้อ ลูกพลับ สาลี่ แอปเปิล เห็ดหอม และผักสดนานาพันธุ์ ต่างเจริญงอกงามบานสะพรั่งเป็นพุ่มพวง เป็นที่น่าเจริญตาเจริญใจยิ่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความร่วมมืออันน่าภาคภูมิใจนี้ จึงได้สร้างสโมสรนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนแก่เจ้าหน้าที่ของสถานี และอาคันตุกะผู้มาเยือน โดยใช้ชื่อเป็นสำเนียงจีนว่า ‘บ้านเตอะหลิน’ ซึ่งเป็นคำย่อมาจากสุภาษิตของท่านขงจื๊อที่ได้กล่าวไว้เมื่อ 2,000 ปีก่อนว่า...อุ้ยเตอะ ปุกู ปี้อิ๋วหลิน...ผู้บำเพ็ญธรรมย่อมไม่โดดเดี่ยว ต้องมีกัลยาณมิตรเกื้อกูลเสมอ และตั้งชื่อเป็นไทยว่า ‘บ้านมิตรานุสรณ์’ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่มิตรภาพที่กล่าวนี้ชั่วกาลนาน
ลงชื่อ...ดร.จ้าว จู่ยู่ ประธานคณะกรรมาธิการส่งเสริมอาชีพทหารนอกประจำการสาธารณรัฐจีน 21 กุมภาพันธ์ 2523”
เดินลอย..อยู่บนความเศร้า เลยไม่ได้ถ่ายรูปบ้านและภายใน (..ขอโทษ..)
ดูท่านั่ง...เหมือนนั่ง..ปลงอนิจจัง...
หลังจากผ่านความเศร้าโศรก (..เศร้า คนเดียว ) ไปแล้ว ลงจากดอยขับรถมาดูสินค้าด้านหน้าทางเข้า ไม่มีคนเหมือนเดิมมีร้านหนึ่งขายลูกท้อสด (..เห็นแล้วท้อแท้มาก...) ลูกนิดเดียวกิโลละ 40 บาท..เข้าสู่โหมดความจริง นึกได้วันนี้หวยออก ลุ้น ลุ้น..ถูกไหม...จะได้ไปเที่ยวรอบโลก ( ..ฝันยาว..)
และแล้วความเศร้าก็มาเยือนอีกครั้ง (..เหมือนทุกครั้ง..) เฉียดยังไม่เฉียดเลย ..เจ้าค่ะ..(.เจ้าแม่กวนอิมราคา 200 ) ต่อ ตอน 4
ไป ไปเถอะ ไปแอ่ว จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ (ตอน 3 )
วันที่ สาม (..ฝัน..ฝัน..ไป.)
หลังจากกินข้าวเช้าที่โรงแรม The Room @ Mae Sai เรียบร้อยแล้ว (...กระหยิ่ม..มีความสุข วันนี้หวยออก..เย็นนี้รู้กัน..) เดินออกทางจุดหมายแรกคือไร่ชาฉุยฟง (ไร่ชาฉุยฟง ห่างจากอ.แม่สาย 34 km ใช้เวลาเดิน 40 นาที ) เส้นทางไต่เลาะริมเขาไปเรื่อย ๆ การขับรถขึ้นไปไม่ลำบาก ยิ่งตอนนี้สบายมากเลย ( เพราะไม่มีรถสวน หรือ แซง เลย หรือเพราะเราไปเช้า...) ไร่ชาฉุยฟง (บริษัท ฉุยฟงที จำกัด) ตั้งอยู่ใน อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่อยู่บนไหล่ภูเขา สูงกว่า 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บรรยากาศโดยรอบสีเขียวชะอุ่ม ล้อมรอบด้วยทิวเขาที่สวยงาม นอกจากจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ทุกคนได้เข้ามาสัมผัสกับธรรมชาติของไร่ชา แล้วยังเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ที่สุดของเชียงราย ที่มีประสบการณ์การปลูกชามานานกว่า 40 ปี ตอนนี้ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แถมยังมีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ไว้บริการ เมนูยอดนิยม เช่น หมั่นโถวชาเขียว ชาเขียวเย็น เค้กชาเขียว ฯ
เมื่อไปถึงเรามองเห็นการเปลี่ยนของไร่ชาคือต้นชาจะไม่เขียวสด ชูยอดเขียวเหี่ยวบางที่ดูเกรียม ๆ อาจเป็นเพราะอากาศร้อนจัด อีกอย่างคืออาคารที่จำหน่ายสินค้าและพื้นที่นั่งจิบชา ถูกปรับปรุงใหม่ (..สวยหรอก.. เราชอบแบบเดิม โล่ง ๆ ไม่แข็งเป็นตึกแบบนี้..) พวกเราไม่ได้ชิมชา เพราะเพิ่งอิ่มจากห้องอาหารมา นางแบบปฏิบัติหน้าที่ ..ค่ะ