เผยแพร่วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2562
รถไฟความเร็วสูงของจีนในปัจจุบัน (ภาพจาก www.khaosod.com)
รถไฟความเร็วสูงของจีนวันนี้คือแชมป์อันดับหนึ่งของโลก สถิติล่าสุดคือเท่าไรไม่แน่ใจ แต่ความเร็วล่าสุดคงไม่ต่ำกว่า 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นแน่ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติศาสาตร์การรถไฟของจีน นี่คือประเทศที่เคยใช้ม้าลากรถไฟแทนหัวรถจักร
วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1825 ทางรถไฟสายแรกของโลกเปิดใช้งานในประเทศอังกฤษ แม้ว่าทางรถไฟสายนี้มีความยาวเพียง 27 กิโลเมตร แต่นับเป็นเหตุการณ์ที่แบ่งยุคในประวัติศาสตร์คมนาคม บ่งบอกว่ายุคของรถไฟมาถึงแล้ว หลังจากนั้นก็เริ่มมีกระแสการสร้างทางรถไฟสายแรกจากประเทศอังกฤษ แล้วค่อยกระจายไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือแพร่ไปถึงยุโรปภาคพื้นทวีป การสร้างทางรถไฟไม่เพียงเร่งให้วิธีการเดินทางเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้ เศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วย
40 ปีหลังจากรถไฟถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ก็ได้แพร่เข้าสู่ประเทศจีน แต่ชะตาชีวิตของรถไฟในประเทศจีนกับในประเทศตะวันตกกลับแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1865 พ่อค้าชาวอังกฤษนามว่าดูแรนต์ได้สร้างทางรถไฟสายหนึ่งยาว 0.5 กิโลเมตร บริเวณด้านนอกของประตูเมืองเสวียนอู่เหมินในกรุงปักกิ่ง และทดลองเดินรถไฟขนาดเล็ก ขุนนางน้อยใหญ่ในรัฐบาลราชวงศ์ชิงล้วนเห็น
“รถยนต์ขนาดเล็กขับเคลื่อนอยู่บนราง แล่นเร็วราวกับเหาะ ก็รู้สึกแปลกใจคิดว่าเป็นของประหลาด” จึงให้เหตุผลว่า
“เห็นแล้วรู้สึกตกใจหวาดผวา” จากนั้นสั่งการให้แม่ทัพทหารราบรื้อทางรถไฟสายนี้ทิ้งเสีย
หัวรถไฟของหน่วยการทางรถไฟในกรุงปักกิ่งสมัยปลายราชวงศ์ชิง (ภาพจาก หลังสิ้นบัลลังก์มังกรฯ สนพ.มติชน)
ค.ศ.1876 บริษัทจาร์ติน แมทเธอสัน ของอังกฤษสร้างทางรถไฟสายซงฮู่ ทว่าตั้งแต่เริ่มเปิดเดินรถก็มีเสียงคัดค้านไม่ขาดสาย เมื่อเปิดใช้การได้เพียงเดือนกว่าก็เกิดเหตุการณ์รถไฟวิ่งทับคนเสียชีวิต ยิ่งทําให้ผู้คนกลัวรถไฟมากขึ้น ดังนั้นหลังจากที่เปิดใช้รถไฟไปได้ครึ่งปีรัฐบาลราชวงศ์ชิงก็ใช้ก้อนเงิน 2.85 แสนตำลึงไถ่ซื้อทางรถไฟสายนี้มาเป็นของรัฐและรื้อทิ้งทั้งหมด จากนั้นก็นําหัวรถจักรและตู้รถไฟทั้งหมดไปทิ้งลงแม่น้ำ โดยอ้างเหตุผลว่ารถไฟสายนี้
“ช่วยเหลือข้าศึก รังควานชาวบ้าน ทําให้คนตกงาน และแย่ง ขุดเจาะหาแร่ธาตุในเดือน งานคนจีน”
แต่รถไฟก็ยังเป็นยานพาหนะที่สะดวก รวดเร็ว และมีประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจและการป้องกันประเทศที่ยากจะปฏิเสธ
ค.ศ.1874 ญี่ปุ่นบุกรุกไต้หวัน สถานการณ์ทางทะเลเข้าขั้นวิกฤต ค.ศ.1876 ติงรื่อชาง ข้าหลวงมณฑลฝูเจี้ยน ถวายฎีกาแด่จักรพรรดิ ทูลว่า ไต้หวันอยู่ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีเพียงการสร้างทางรถไฟและสายไฟฟ้าเท่านั้นถึงจะเชื่อมโยงทุกที่ถึงกัน ได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันศัตรูภายนอกและสร้างความสงบสุขให้คนในประเทศได้ มิเช่นนั้นประเทศมหาอํานาจก็จะคอยจ้องตะครุบไต้หวันอยู่ตลอดเวลา ค.ศ.1877 ราชสํานักชิงเห็นด้วยกับข้อเสนอของติงรื่อชาง แต่เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอจึงไม่ได้ลงมือดําเนินการ
ค.ศ.1880 หลิวหมิงฉวน รักษาการข้าหลวงใหญ่มณฑลจอลี่ ถวายฎีกาเรื่อง
สร้างทางรถไฟเพื่อให้ประเทศเข้มแข็ง ถึงจักรพรรดิ เขาเสนอให้สร้างทางรถไฟตามที่ต่างๆ เช่น อําเภอชิงเจียง อําเภอฮั่นโข่ว และเมืองเซิงจิง เป็นต้น เขาเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ประเทศเข้มแข็งได้ แต่ว่าทันทีที่เสนอฎีกาฉบับนี้ไปก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัวสุดขีด และถูกกลุ่มขุนนางหัวโบราณโจมตีทันควัน พวกเขาพูดชี้โทษภัยของทางรถไฟด้วยอารมณ์เคียดแค้นถึงที่สุด
อวี๋เหลียนหยวน ผู้ตรวจการหลวง กล่าวว่าทางรถไฟเป็นสิ่งที่ทําลายรถและเรือ ทําลายทุ่งนา ทําลายรากเหง้าวัฒนธรรม ทําลายขนบธรรมเนียมประเพณีและทําลาย ทรัพย์สินเงินทอง ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากการนี้ แต่ผลประโยชน์กลับไปตกอยู่ที่พวกฝรั่ง
หลิวซีหง ราชเลขาธิการชี้ว่า เมื่อสร้างทางรถไฟไปถึงภูเขาก็ต้องเจาะทะลุไป เมื่อไปเจอแม่น้ำลําธารก็ต้องสร้างสะพานข้ามไป ดังนั้นทางรถไฟถือเป็นสิ่งอัปมงคลที่รบกวนเจ้าป่าเจ้าเขาและพญามังกร การสร้างทางรถไฟจะทําให้เทพเจ้าโกรธเคืองได้ และจะนํามาซึ่งภัยพิบัติรุนแรงมหาศาล
สวีจื้อเสียง องคมนตรี กล่าวว่าการสร้างทางรถไฟถือเป็นการทําลายประเทศและทําร้ายประชาชน ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงที่สุด
ในปีเดียวกันนี้ เหมืองแร่ที่เมืองไคผิงของกลุ่มขบวนการเรียนรู้วิทยาการตะวันตกใกล้เปิดดําเนินการ แต่หากใช้วิธีการขนส่ง แบบเก่าก็จะส่งผลให้ต้นทุนสูง ทําให้ช่องทางการขายมีอุปสรรค ดังนั้นถังถึงซู ผู้จัดการเหมือง จึงเสนอให้สร้างทางรถไฟจากตัวเมืองถังซานถึงตําบลชวีเก้อจวง
ทางรถไฟสายที่จะสร้างนี้ระยะทางค่อนข้างสั้น อยู่ไกลจากเมืองหลวงกรุงปักกิ่ง ดังนั้นราชสํานักชิงจึงอนุมัติให้สร้างได้ ทางรถไฟสายถังซาน ซวีเก้อจวงเริ่มดําเนินการก่อสร้างในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนั้นเอง หลังจากที่กลุ่มขุนนางหัวโบราณในราชสํานักทราบข่าว พวกเขาก็คัดค้านเป็นเสียงเดียวกัน
“กลุ่มขุนนางเสนอฎีกาทัดทาน” ทูลขอให้องค์พระประมุข
“ทรงปฏิบัติตามกฎมนเทียรบาลของบูรพจักรพรรดิอย่างเคร่งครัด” ราชสํานักชิงจึงจําใจต้องพับเก็บคําสั่งนี้ ทางรถไฟสายถังซานซวีเก้อจวงสร้างได้เพียงฐานก็ถูกระงับโครงการ
ในเมื่อไม่อนุญาตให้สร้างทางรถไฟ หน่วยกิจการเหมืองแร่เมืองไคผิงจึงจําเป็น ต้องขุดคลองเพื่อขนส่งถ่านหิน แต่คลองสายนี้ขุดได้ถึงเพียงตําบลซวีเกอ้จวง เนื่องจากพื้นที่ตั้งแต่ช่วงตำบลซวีเก้อจวงจนถึงบริเวณเหมืองมีลักษณะสูงชันน้ำไหลขึ้นไปไม่ได้ หน่วยกิจการเหมืองแร่จึงขออนุมัติสร้างทางรถไฟอีกครั้ง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการคัดค้านของกลุ่มขุนนางหัวโบราณ
หลี่หงจางจึงชี้แจ้งในฎีกาอย่างชัดเจนว่าจะสร้างเพียง “ทางด่วนรถเร็ว” ที่ใช้ม้าลาหัวขบวน หลังจากผ่านอุปสรรคมากมาย สุดท้ายราชสำนักชิงจึงอนุมัติ จากนั้นจึงได้เริ่มวางรางทางรถไฟเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1881 ต่อมาสร้างเสร็จ และทดลองใช้งานในเดือนกันยายน
ทางรถไฟสายถังซาน-ซวีเก้อจวงนี้ใช้งบประมาณเงิน 1.1 แสนตําลึง ระยะทางยาว 9.7 กิโลเมตร เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พฤศจิกายน พิธีเปิดค่อนข้างอลังการ รถโล่งเปล่าคันหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นผู้รถไฟ โดยมีหัวรถจักรธรรมดาลากขบวนขุนนางและคหบดีท้องถิ่นที่ถูกเชิญมาร่วมพิธี ได้ก้าวขึ้นรถไฟเพื่อทดลองโดยสาร รถไฟค่อยๆ แล่นออกไปท่ามกลาง เสียงดังของประทัด เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย
หลังจากเปิดใช้ทางรถไฟได้ไม่นาน ข่าวก็แพร่ไปถึงเมืองหลวงกรุงปักกิ่ง กลุ่มขุนนางหัวโบราณก็ก่อเรื่องทันที พวกเขาบอกว่า
“เมื่อ รถจักรกลขบวนนี้แล่นผ่านก็จะทําให้บริเวณสุสานหลวงทางทิศตะวันออกของบูรพจักรพรรดิชิงต้องสั่นสะเทือน อีกทั้งหัวขบวนรถยังพ่นควันดําออกมา ทําให้พืชผลไร่นาเสียหาย”
พวกเขายังพูดโจมตี หลี่หงจางว่าปิดบังและหลอกลวงเบื้องสูง ราชสํานักชิงจึงสั่งการตรวจสอบ รถจักรไอน้ำซึ่งสร้างขึ้นมาแบบง่ายๆ ขบวนนี้จึง
“ถูกระงับโครงการ” จากนั้นภาพเหตุการณ์อันน่าตลกขบขันยิ่งก็ปรากฏขึ้น คือ มีม้า 3-4 ตัวลากรถไฟขนถ่านหินขบวนยาวอยู่บนทางรถไฟด้วยความยากลําบากเพราะแรงไม่พอ และนี่ก็คือเรื่องราวของ
“ม้าลากรถไฟ” ซึ่ง โด่งดังไปทั่วในขณะนั้น
แต่ว่าสุดท้ายแล้วการใช้ม้าลากรถไฟนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หลังจากนั้นไม่นานช่างเทคนิคของโรงซ่อมทางรถไฟซวีเก้อจวง ได้ลงมือออกแบบเอง เขากล้าดัดแปลงหม้อและเตาที่ทิ้งแล้วผลิตออก มาเป็นเครื่องจักรไอน้ำรถไฟ พวกคนงานช่วยกันสลักรูปมังกรหนึ่งตัวไว้บนหัวขบวนรถไฟ แล้วเรียกรถไฟขบวนนี้ว่ารถไฟ “มังกร”เพื่อปิดปากกลุ่มขุนนางหัวโบราณ
เดือนมิถุนายน ค.ศ.1882 ถังถึงซูและคนอื่นส่งเทียบเชิญขุนนางจํานวนหนึ่งมาทดลองโดยสารรถไฟ“มังกร” ขบวนนี้ รถไฟนําขุนนางเหล่านี้แล่นไปได้ระยะทาง 20 ไมล์โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ขุนนางเหล่านี้รู้สึกว่ารถไฟมีความสะดวกสบาย ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นไม่นานจึงได้นําระบบเครื่องจักรกลลากรถไฟกลับมาใช้ใหม่
ข้อมูลจาก
เส้าหย่ง, หวังไท่เผิง เขียน, กำพล ปิยะศิริกุล แปล, หลังสิ้นบัลลังก์มังกร ประวัติศาสตร์จีนยุคเปลี่ยนผ่าน, สำนักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2560
silpa-mag.com
จีนประเทศที่มีรถไฟวิ่งเร็วที่สุดในโลก แต่ในยุคบุกเบิกเมันคือของประหลาดอัปมงคล?!?
รถไฟความเร็วสูงของจีนในปัจจุบัน (ภาพจาก www.khaosod.com)
รถไฟความเร็วสูงของจีนวันนี้คือแชมป์อันดับหนึ่งของโลก สถิติล่าสุดคือเท่าไรไม่แน่ใจ แต่ความเร็วล่าสุดคงไม่ต่ำกว่า 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นแน่ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติศาสาตร์การรถไฟของจีน นี่คือประเทศที่เคยใช้ม้าลากรถไฟแทนหัวรถจักร
วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1825 ทางรถไฟสายแรกของโลกเปิดใช้งานในประเทศอังกฤษ แม้ว่าทางรถไฟสายนี้มีความยาวเพียง 27 กิโลเมตร แต่นับเป็นเหตุการณ์ที่แบ่งยุคในประวัติศาสตร์คมนาคม บ่งบอกว่ายุคของรถไฟมาถึงแล้ว หลังจากนั้นก็เริ่มมีกระแสการสร้างทางรถไฟสายแรกจากประเทศอังกฤษ แล้วค่อยกระจายไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือแพร่ไปถึงยุโรปภาคพื้นทวีป การสร้างทางรถไฟไม่เพียงเร่งให้วิธีการเดินทางเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้ เศรษฐกิจพัฒนาไปอย่างรวดเร็วด้วย
40 ปีหลังจากรถไฟถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ก็ได้แพร่เข้าสู่ประเทศจีน แต่ชะตาชีวิตของรถไฟในประเทศจีนกับในประเทศตะวันตกกลับแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1865 พ่อค้าชาวอังกฤษนามว่าดูแรนต์ได้สร้างทางรถไฟสายหนึ่งยาว 0.5 กิโลเมตร บริเวณด้านนอกของประตูเมืองเสวียนอู่เหมินในกรุงปักกิ่ง และทดลองเดินรถไฟขนาดเล็ก ขุนนางน้อยใหญ่ในรัฐบาลราชวงศ์ชิงล้วนเห็น “รถยนต์ขนาดเล็กขับเคลื่อนอยู่บนราง แล่นเร็วราวกับเหาะ ก็รู้สึกแปลกใจคิดว่าเป็นของประหลาด” จึงให้เหตุผลว่า “เห็นแล้วรู้สึกตกใจหวาดผวา” จากนั้นสั่งการให้แม่ทัพทหารราบรื้อทางรถไฟสายนี้ทิ้งเสีย
หัวรถไฟของหน่วยการทางรถไฟในกรุงปักกิ่งสมัยปลายราชวงศ์ชิง (ภาพจาก หลังสิ้นบัลลังก์มังกรฯ สนพ.มติชน)
ค.ศ.1876 บริษัทจาร์ติน แมทเธอสัน ของอังกฤษสร้างทางรถไฟสายซงฮู่ ทว่าตั้งแต่เริ่มเปิดเดินรถก็มีเสียงคัดค้านไม่ขาดสาย เมื่อเปิดใช้การได้เพียงเดือนกว่าก็เกิดเหตุการณ์รถไฟวิ่งทับคนเสียชีวิต ยิ่งทําให้ผู้คนกลัวรถไฟมากขึ้น ดังนั้นหลังจากที่เปิดใช้รถไฟไปได้ครึ่งปีรัฐบาลราชวงศ์ชิงก็ใช้ก้อนเงิน 2.85 แสนตำลึงไถ่ซื้อทางรถไฟสายนี้มาเป็นของรัฐและรื้อทิ้งทั้งหมด จากนั้นก็นําหัวรถจักรและตู้รถไฟทั้งหมดไปทิ้งลงแม่น้ำ โดยอ้างเหตุผลว่ารถไฟสายนี้ “ช่วยเหลือข้าศึก รังควานชาวบ้าน ทําให้คนตกงาน และแย่ง ขุดเจาะหาแร่ธาตุในเดือน งานคนจีน”
แต่รถไฟก็ยังเป็นยานพาหนะที่สะดวก รวดเร็ว และมีประโยชน์มหาศาลต่อเศรษฐกิจและการป้องกันประเทศที่ยากจะปฏิเสธ
ค.ศ.1874 ญี่ปุ่นบุกรุกไต้หวัน สถานการณ์ทางทะเลเข้าขั้นวิกฤต ค.ศ.1876 ติงรื่อชาง ข้าหลวงมณฑลฝูเจี้ยน ถวายฎีกาแด่จักรพรรดิ ทูลว่า ไต้หวันอยู่ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่ มีเพียงการสร้างทางรถไฟและสายไฟฟ้าเท่านั้นถึงจะเชื่อมโยงทุกที่ถึงกัน ได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันศัตรูภายนอกและสร้างความสงบสุขให้คนในประเทศได้ มิเช่นนั้นประเทศมหาอํานาจก็จะคอยจ้องตะครุบไต้หวันอยู่ตลอดเวลา ค.ศ.1877 ราชสํานักชิงเห็นด้วยกับข้อเสนอของติงรื่อชาง แต่เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอจึงไม่ได้ลงมือดําเนินการ
ค.ศ.1880 หลิวหมิงฉวน รักษาการข้าหลวงใหญ่มณฑลจอลี่ ถวายฎีกาเรื่อง สร้างทางรถไฟเพื่อให้ประเทศเข้มแข็ง ถึงจักรพรรดิ เขาเสนอให้สร้างทางรถไฟตามที่ต่างๆ เช่น อําเภอชิงเจียง อําเภอฮั่นโข่ว และเมืองเซิงจิง เป็นต้น เขาเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ประเทศเข้มแข็งได้ แต่ว่าทันทีที่เสนอฎีกาฉบับนี้ไปก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัวสุดขีด และถูกกลุ่มขุนนางหัวโบราณโจมตีทันควัน พวกเขาพูดชี้โทษภัยของทางรถไฟด้วยอารมณ์เคียดแค้นถึงที่สุด
อวี๋เหลียนหยวน ผู้ตรวจการหลวง กล่าวว่าทางรถไฟเป็นสิ่งที่ทําลายรถและเรือ ทําลายทุ่งนา ทําลายรากเหง้าวัฒนธรรม ทําลายขนบธรรมเนียมประเพณีและทําลาย ทรัพย์สินเงินทอง ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์จากการนี้ แต่ผลประโยชน์กลับไปตกอยู่ที่พวกฝรั่ง
หลิวซีหง ราชเลขาธิการชี้ว่า เมื่อสร้างทางรถไฟไปถึงภูเขาก็ต้องเจาะทะลุไป เมื่อไปเจอแม่น้ำลําธารก็ต้องสร้างสะพานข้ามไป ดังนั้นทางรถไฟถือเป็นสิ่งอัปมงคลที่รบกวนเจ้าป่าเจ้าเขาและพญามังกร การสร้างทางรถไฟจะทําให้เทพเจ้าโกรธเคืองได้ และจะนํามาซึ่งภัยพิบัติรุนแรงมหาศาล
สวีจื้อเสียง องคมนตรี กล่าวว่าการสร้างทางรถไฟถือเป็นการทําลายประเทศและทําร้ายประชาชน ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงที่สุด
ในปีเดียวกันนี้ เหมืองแร่ที่เมืองไคผิงของกลุ่มขบวนการเรียนรู้วิทยาการตะวันตกใกล้เปิดดําเนินการ แต่หากใช้วิธีการขนส่ง แบบเก่าก็จะส่งผลให้ต้นทุนสูง ทําให้ช่องทางการขายมีอุปสรรค ดังนั้นถังถึงซู ผู้จัดการเหมือง จึงเสนอให้สร้างทางรถไฟจากตัวเมืองถังซานถึงตําบลชวีเก้อจวง
ทางรถไฟสายที่จะสร้างนี้ระยะทางค่อนข้างสั้น อยู่ไกลจากเมืองหลวงกรุงปักกิ่ง ดังนั้นราชสํานักชิงจึงอนุมัติให้สร้างได้ ทางรถไฟสายถังซาน ซวีเก้อจวงเริ่มดําเนินการก่อสร้างในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนั้นเอง หลังจากที่กลุ่มขุนนางหัวโบราณในราชสํานักทราบข่าว พวกเขาก็คัดค้านเป็นเสียงเดียวกัน “กลุ่มขุนนางเสนอฎีกาทัดทาน” ทูลขอให้องค์พระประมุข “ทรงปฏิบัติตามกฎมนเทียรบาลของบูรพจักรพรรดิอย่างเคร่งครัด” ราชสํานักชิงจึงจําใจต้องพับเก็บคําสั่งนี้ ทางรถไฟสายถังซานซวีเก้อจวงสร้างได้เพียงฐานก็ถูกระงับโครงการ
ในเมื่อไม่อนุญาตให้สร้างทางรถไฟ หน่วยกิจการเหมืองแร่เมืองไคผิงจึงจําเป็น ต้องขุดคลองเพื่อขนส่งถ่านหิน แต่คลองสายนี้ขุดได้ถึงเพียงตําบลซวีเกอ้จวง เนื่องจากพื้นที่ตั้งแต่ช่วงตำบลซวีเก้อจวงจนถึงบริเวณเหมืองมีลักษณะสูงชันน้ำไหลขึ้นไปไม่ได้ หน่วยกิจการเหมืองแร่จึงขออนุมัติสร้างทางรถไฟอีกครั้ง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการคัดค้านของกลุ่มขุนนางหัวโบราณ
หลี่หงจางจึงชี้แจ้งในฎีกาอย่างชัดเจนว่าจะสร้างเพียง “ทางด่วนรถเร็ว” ที่ใช้ม้าลาหัวขบวน หลังจากผ่านอุปสรรคมากมาย สุดท้ายราชสำนักชิงจึงอนุมัติ จากนั้นจึงได้เริ่มวางรางทางรถไฟเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1881 ต่อมาสร้างเสร็จ และทดลองใช้งานในเดือนกันยายน
ทางรถไฟสายถังซาน-ซวีเก้อจวงนี้ใช้งบประมาณเงิน 1.1 แสนตําลึง ระยะทางยาว 9.7 กิโลเมตร เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พฤศจิกายน พิธีเปิดค่อนข้างอลังการ รถโล่งเปล่าคันหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นผู้รถไฟ โดยมีหัวรถจักรธรรมดาลากขบวนขุนนางและคหบดีท้องถิ่นที่ถูกเชิญมาร่วมพิธี ได้ก้าวขึ้นรถไฟเพื่อทดลองโดยสาร รถไฟค่อยๆ แล่นออกไปท่ามกลาง เสียงดังของประทัด เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย
หลังจากเปิดใช้ทางรถไฟได้ไม่นาน ข่าวก็แพร่ไปถึงเมืองหลวงกรุงปักกิ่ง กลุ่มขุนนางหัวโบราณก็ก่อเรื่องทันที พวกเขาบอกว่า “เมื่อ รถจักรกลขบวนนี้แล่นผ่านก็จะทําให้บริเวณสุสานหลวงทางทิศตะวันออกของบูรพจักรพรรดิชิงต้องสั่นสะเทือน อีกทั้งหัวขบวนรถยังพ่นควันดําออกมา ทําให้พืชผลไร่นาเสียหาย”
พวกเขายังพูดโจมตี หลี่หงจางว่าปิดบังและหลอกลวงเบื้องสูง ราชสํานักชิงจึงสั่งการตรวจสอบ รถจักรไอน้ำซึ่งสร้างขึ้นมาแบบง่ายๆ ขบวนนี้จึง “ถูกระงับโครงการ” จากนั้นภาพเหตุการณ์อันน่าตลกขบขันยิ่งก็ปรากฏขึ้น คือ มีม้า 3-4 ตัวลากรถไฟขนถ่านหินขบวนยาวอยู่บนทางรถไฟด้วยความยากลําบากเพราะแรงไม่พอ และนี่ก็คือเรื่องราวของ “ม้าลากรถไฟ” ซึ่ง โด่งดังไปทั่วในขณะนั้น
แต่ว่าสุดท้ายแล้วการใช้ม้าลากรถไฟนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หลังจากนั้นไม่นานช่างเทคนิคของโรงซ่อมทางรถไฟซวีเก้อจวง ได้ลงมือออกแบบเอง เขากล้าดัดแปลงหม้อและเตาที่ทิ้งแล้วผลิตออก มาเป็นเครื่องจักรไอน้ำรถไฟ พวกคนงานช่วยกันสลักรูปมังกรหนึ่งตัวไว้บนหัวขบวนรถไฟ แล้วเรียกรถไฟขบวนนี้ว่ารถไฟ “มังกร”เพื่อปิดปากกลุ่มขุนนางหัวโบราณ
เดือนมิถุนายน ค.ศ.1882 ถังถึงซูและคนอื่นส่งเทียบเชิญขุนนางจํานวนหนึ่งมาทดลองโดยสารรถไฟ“มังกร” ขบวนนี้ รถไฟนําขุนนางเหล่านี้แล่นไปได้ระยะทาง 20 ไมล์โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ขุนนางเหล่านี้รู้สึกว่ารถไฟมีความสะดวกสบาย ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ หลังจากนั้นไม่นานจึงได้นําระบบเครื่องจักรกลลากรถไฟกลับมาใช้ใหม่
ข้อมูลจาก
เส้าหย่ง, หวังไท่เผิง เขียน, กำพล ปิยะศิริกุล แปล, หลังสิ้นบัลลังก์มังกร ประวัติศาสตร์จีนยุคเปลี่ยนผ่าน, สำนักพิมพ์มติชน, ตุลาคม 2560
silpa-mag.com