‘โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร’ ชี้ ‘กัญชา’ ไม่ใช่ยาวิเศษ ใช้ไม่ถูกอันตรายถึงชีวิต
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562,
24 พ.ค.62 ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดเผยว่า จากกรณีนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และหัวหน้าห้องฉุกเฉิน รพ.วิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พบผู้ป่วยใช้น้ำมันกัญชาโดยการหยดใต้ลิ้นเพื่อให้นอนหลับ โดยใช้เกินขนาดกว่า 40 หยดจนประสาทหลอน และต้องส่งห้องฉุกเฉินในกลางดึก พร้อมกันนี้ยังระบุว่าขณะนี้ทุกวันจะมีคนไข้หลายคนขอใบรับรองแพทย์จากหมอ เพื่อยืนยันว่าป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับและโรคอื่นๆ เพื่อไปขอรับกัญชา ถึงแม้จะไม่มีรายงานว่ากินน้ำมันกัญชาเกินขนาดทำให้ถึงตาย แต่ก็ทำให้ป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลได้ และเชื่อว่าในอนาคตจะมีคนไทยที่กินน้ำมันกัญชาเกินขนาดมาเข้าโรงพยาบาลแบบฉุกเฉินมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าถ้ากินน้ำมันกัญชาเกินขนาดอาจเกิดผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ ยังเกิดปรากฎการณ์ผู้ป่วยแห่เข้ารับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาจาก โรงพยาบาลหนองฉาง จ.อุทัยธานี โดยเชื่อว่าจะสามารถรักษาได้หลายโรคนับพันราย ตามที่มีข่าวนั้น
ดร.ภญ.ผกากรอง ระบุว่า ตอนนี้กระแสกัญชา การใช้น้ำมันกัญชา ค่อนข้างได้รับความนิยม และมีการส่งต่อข้อมูลกันอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว ประกอบกับประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ถึงแม้การใช้กัญชาจะมีระบุอยู่ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่ในการรักษา หรือการใช้ทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องมีการควบคุมและส่งเสริมประชาชนเรียนรู้เข้าใจอย่างถูกต้อง
“มีการค้นพบว่าร่างกายเราสามารถสร้างสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกัญชาได้ คือ ECS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกระบบของร่างกาย ปรับสมดุล และมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องระบบประสาทและสมอง เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องสารดังกล่าวก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติได้ จึงมีการให้สารจากพืชกัญชาเพื่อฟื้นฟู” ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าว
สำหรับขนาดการใช้ที่เหมาะสมนั้น ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า จากข้อสรุปการวิจัย เนื่องจากยากัญชาค่อนข้างมีความซับซ้อนในการใช้ และแตกต่างจากยาแผนปัจจุบันอื่นๆมาก ทำให้กำหนดขนาดตายตัวไม่ได้ ต้องปรับให้เหมาะกับแต่ละราย หลักการคือ ต้องเริ่มทีละน้อย จากนั้นจึงเพิ่มขนาดจนควบคุมอาการเจ็บป่วยได้ โดยการพิจารณาขึ้นกับสาเหตุหลักคือ 1.ชนิดของกัญชาที่นำมาใช้ สายพันธุ์ ความเข้มข้นของยาสกัด รูปแบบที่ใช้ย่อมให้ผลลัพธ์ต่างกัน 2. โรคที่ผู้ป่วยเป็น 3. การตอบสนองต่อยากัญชา ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้ยาจากกัญชาแต่ไม่ทราบขนาดที่เหมาะสม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินร่างกาย และทราบขนาดยาที่เหมาะสมของตนก่อน ไม่ควรใช้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้”
“ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเองกำลังเก็บข้อมูล และทำการศึกษาอย่างจริงจัง ถึงผลดีผลเสียและความปลอดภัย การใช้อย่างเหมาะสมของยาจากกัญชา และภายในงานวันครบรอบ 78 ปี โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เราจะจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชารวมถึงวิธีการใช้อย่างถูกต้องให้กับประชาชน เรายังคงเชื่อว่า กัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ช่วยบำบัดรักษาโรคได้จริง แต่ต้องใช้อย่างมีสติและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ หากท่านที่ต้องการปรึกษาการใช้ยาสมุนไพร หรือการใช้ยาจากกัญชา สามารถโทรปรึกษาได้ที่ ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ฯ 037-211289 ในวันเวลาราชการ หรือ เฟซบุ๊คสมุนไพรอภัยภูเบศร” ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าว
https://www.naewna.com/local/415606
‘โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร’ ชี้ ‘กัญชา’ ไม่ใช่ยาวิเศษ ใช้ไม่ถูกอันตรายถึงชีวิต
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562,
24 พ.ค.62 ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดเผยว่า จากกรณีนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และหัวหน้าห้องฉุกเฉิน รพ.วิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พบผู้ป่วยใช้น้ำมันกัญชาโดยการหยดใต้ลิ้นเพื่อให้นอนหลับ โดยใช้เกินขนาดกว่า 40 หยดจนประสาทหลอน และต้องส่งห้องฉุกเฉินในกลางดึก พร้อมกันนี้ยังระบุว่าขณะนี้ทุกวันจะมีคนไข้หลายคนขอใบรับรองแพทย์จากหมอ เพื่อยืนยันว่าป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับและโรคอื่นๆ เพื่อไปขอรับกัญชา ถึงแม้จะไม่มีรายงานว่ากินน้ำมันกัญชาเกินขนาดทำให้ถึงตาย แต่ก็ทำให้ป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลได้ และเชื่อว่าในอนาคตจะมีคนไทยที่กินน้ำมันกัญชาเกินขนาดมาเข้าโรงพยาบาลแบบฉุกเฉินมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าถ้ากินน้ำมันกัญชาเกินขนาดอาจเกิดผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ ยังเกิดปรากฎการณ์ผู้ป่วยแห่เข้ารับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชาจาก โรงพยาบาลหนองฉาง จ.อุทัยธานี โดยเชื่อว่าจะสามารถรักษาได้หลายโรคนับพันราย ตามที่มีข่าวนั้น
ดร.ภญ.ผกากรอง ระบุว่า ตอนนี้กระแสกัญชา การใช้น้ำมันกัญชา ค่อนข้างได้รับความนิยม และมีการส่งต่อข้อมูลกันอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว ประกอบกับประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ถึงแม้การใช้กัญชาจะมีระบุอยู่ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่ในการรักษา หรือการใช้ทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องมีการควบคุมและส่งเสริมประชาชนเรียนรู้เข้าใจอย่างถูกต้อง
“มีการค้นพบว่าร่างกายเราสามารถสร้างสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกัญชาได้ คือ ECS ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกระบบของร่างกาย ปรับสมดุล และมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องระบบประสาทและสมอง เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องสารดังกล่าวก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติได้ จึงมีการให้สารจากพืชกัญชาเพื่อฟื้นฟู” ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าว
สำหรับขนาดการใช้ที่เหมาะสมนั้น ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า จากข้อสรุปการวิจัย เนื่องจากยากัญชาค่อนข้างมีความซับซ้อนในการใช้ และแตกต่างจากยาแผนปัจจุบันอื่นๆมาก ทำให้กำหนดขนาดตายตัวไม่ได้ ต้องปรับให้เหมาะกับแต่ละราย หลักการคือ ต้องเริ่มทีละน้อย จากนั้นจึงเพิ่มขนาดจนควบคุมอาการเจ็บป่วยได้ โดยการพิจารณาขึ้นกับสาเหตุหลักคือ 1.ชนิดของกัญชาที่นำมาใช้ สายพันธุ์ ความเข้มข้นของยาสกัด รูปแบบที่ใช้ย่อมให้ผลลัพธ์ต่างกัน 2. โรคที่ผู้ป่วยเป็น 3. การตอบสนองต่อยากัญชา ของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความต้องการใช้ยาจากกัญชาแต่ไม่ทราบขนาดที่เหมาะสม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินร่างกาย และทราบขนาดยาที่เหมาะสมของตนก่อน ไม่ควรใช้เอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้”
“ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเองกำลังเก็บข้อมูล และทำการศึกษาอย่างจริงจัง ถึงผลดีผลเสียและความปลอดภัย การใช้อย่างเหมาะสมของยาจากกัญชา และภายในงานวันครบรอบ 78 ปี โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เราจะจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชารวมถึงวิธีการใช้อย่างถูกต้องให้กับประชาชน เรายังคงเชื่อว่า กัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์ช่วยบำบัดรักษาโรคได้จริง แต่ต้องใช้อย่างมีสติและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ หากท่านที่ต้องการปรึกษาการใช้ยาสมุนไพร หรือการใช้ยาจากกัญชา สามารถโทรปรึกษาได้ที่ ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ฯ 037-211289 ในวันเวลาราชการ หรือ เฟซบุ๊คสมุนไพรอภัยภูเบศร” ดร.ภญ.ผกากรอง กล่าว
https://www.naewna.com/local/415606