ข้อมูลอัพเดทของสยามไทรันนัส(siamotyrannus)

ย้อนกลับไปเมื่อกลางปี 2536 วงการบรรพชีวินไทยมีข่าวใหญ่ดังทั่วประเทศเมื่อมีการขุดพบชิ้นส่วนกระดูกของเธอโรพอด(ไดโนเสาร์กินเนื้อ)ขนาดใหญ่ที่ภูประตูตีหมา จ.ขอนแก่น ซึ่งลักษณะของมันมีส่วนคล้ายคลึงกับนักล่าตระกูลไทรันโนซอร์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ยังไงก็ตาม หากใครที่เคยติดตามข้อมูลต่อ จะทราบว่า 10 ปีให้หลัง ได้มีนักชีวะฯจัดชั้นมันใหม่อยู่ในกลุ่มพวกอัลโลซอรัส
ทำให้ภาพพจน้ของมันเปลี่ยนไปจากภาพเดิมๆที่วาดออกมาเป็น T-rex รูปทรงปราดเปรียว กลายเป็นนักล่า 3 นิ้ว หน้าตาเหมือนกิ้งก่าสไตล์คาร์โนซอร์แทน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สาเหตุเป็นแบบนี้ มาจากชิ้นส่วนที่พบมามีน้อย(ซึ่งเป็นแบบนี้ส่วนใหญ่ในไทย) คือ กระดูกส่วนสันหลังบางส่วน-สะโพก-โคนหาง(ปัจจุบันยังไม่พบชิ้นส่วนเพิ่มเติม) ซึ่งมันบ่งบอกลักษณะได้ไม่ชัด เท่ากับ กระดูกส่วนมือ(ขาหน้า) หรือ กะโหลก ที่แสดงอัตลักษณ์เฉพาะพันธ์เด่นมากกว่า  ข้อสรุปจึงไม่ลงตัว

แต่กลางปี 2561 งานประชุมนานาชาติบรรพชีวินวิทยา  นักวิชาการจากบ้านเราได้เสนอ ผลการศึกษาและเปรียบเทียบตัวอย่างใหม่ ซึ่งทำให้การจัดกลุ่มสยามโมไทรันนัส เปลี่ยนมาเป็นกลุ่ม ซีลูโรซอร์(Coelurosaur) ซึ่งเป็นสายพันธ์แรกเริ่มที่เก่ากว่า ไทรันโนซอร์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่