ทางออกของ HUAWEI กรณีโดน ARM แบนไปด้วย HUAWEI จะทำยังไงต่อ?

กระทู้ข่าว
ตามข่าว #Huawei มาตลอด ยังเฉยๆ กับการที่ #Google แบน


แต่ข่าว #ARM แบนด้วยเนี่ย เรื่องใหญ่มากครับ ถามว่าเพราะอะไร . . ก็เพราะสถาปัตยกรรมของ CPU ในโลกเราเนี่ย หลักๆ Architecture มันมีแค่สองแบบครับ (อาจจะมีมากกว่า แต่ไม่ได้รับความนิยมแล้ว)

- ซึ่งแบบแรกก็คือ x86-32 หรือ IA-32 นั่นเองซึ่งมาจากกชื่อเรียกของไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกๆ จะลงท้ายด้วยตัวเลข 86 ได้แก่ 8086, 80186, 80286, 386 และ 486 แต่มาตอนหลังทาง Intel ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น Pentium เพราะมันจดทะเบียนการค้าไม่ได้ . . .ซึ่งนั่นก็คือ Architecture ใน CPU ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ โน๊ตบุ๊ก ทั้งหลายทั้งปวงแหละครับในยุคแรกแหละครับ แต่พอระยะเวลาผ่านไป RAM และ หน่วยความจำในเครื่องที่มากขึ้น ทำให้ตัว CPU เองมองไม่เห็น เพราะตัว CPU เดิมทำงานด้วยคำสั่งแบบ 32bits


- จึงทำให้เกิด CPU x86-64 ขึ้นมาโดยบริษัท AMD นี่เองโดยใช้คำสั่งแบบใหม่แบบ 64bits และต่อมา Intel ก็พัฒนาต่อและนำสถาปัตยกรรมนี้ไปใช้ใต้ชื่อการค้าว่า Intel 64 หรือ EM64T หรือ ที่เราเรียกกันว่า x64 นี่แหละครับ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล่าสุด ณ ตอนนี้


- กลับมาถึง ARM บ้าง ARM คือบริษัทอะไร? ARM คือบริษัทที่คิด Instruction Set และ Architecture แบบเดียวกับ Intel และ AMD แหละครับ แต่จะมี Instruction Set แบบ Reduced Instruction Set Computer (RISC) ทีมีคำสั่งไม่ซับซ้อน และมีราคาถูกกว่า x86/x64 มาก เพราะใช้ปริมาณ transistors ที่น้อยกว่า ทำให้กินไฟน้อยกว่า ประหยัดกว่า และมีการพัฒนากันมาเรื่อยๆ จริงๆ ชื่อบริษัท ARM เดิม คือ Advanced RISC Machine ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็น Acorn RISC Machine นะครับ (เพราะคงกลัวไปเหมือน AMD) คือตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนา CPU แบบ RISC โดยเฉพาะเลย


- ต่อมาในปี 1980 บริษัท Apple , VLSI (ผู้ผลิตไมโครชิพ) และ ARM ได้ร่วมกันพัฒนา ARM core ใหม่ และเสร็จสมบูรณ์ในปี 1990 และนำมาใช้จริงในปี 1992 ที่เราเรียกกัน ARM6 ครับ โดยตอนนั้น iPhone ยังไม่เกิด แต่ Apple นำไปใช้ สำหรับ Device ที่มีชื่อว่า Apple Newton PDA และออกขายจริงๆ ในปี 1993 ครับ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม CPU ของ Apple ถึงแรงกว่า Android มาก เพราะ ARM เป็นพันธมิตรอันเหนียวแน่นของ Apple มาอย่างยาวนาน และมีพันธสัญญาร่วมกันว่า หาก ARM พัฒนา Core & Instruction Set ของตัวเองเสร็จ Apple จะต้องได้ใช้ก่อนคนแรกครับ . . .


- กลับมาหัวเว่ย . . .ทำไมเดือดร้อนหนัก ก็เพราะตอนนี้ 99% ในตลาด Handheld Devices รวมถึง CPU ใน Router ต่างๆ จะใช้ Instuction Set ของ ARM ทั้งหมดครับ มีการซื้อ License มาผลิต CPU ของตัวเองในชื่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Exynos , Snapdragon หรือ แม้แต่ MediaTek และ Kirin เองก็ใช้ชุดคำสั่งนี้ . . . ถามว่าทำไมเลือกใช้ของเจ้าอื่นไม่ได้หรือ? คำตอบคือได้ครับ มีมือถือแบรนด์ ASUS เคยทำตลาดร่วมกันกับ Intel พัฒนามือถือ Android ที่ใช้ Instuction Set ในแบบบ x86_64 แต่ก็ไปไม่รอดครับ หยุดพัฒนาต่อไปแล้ว เพราะ 3rd Party App ไม่ค่อย Support ชุดคำสั่งแบบนี้นั่นเอง . . .


- แล้วหัวเว่ย . . . มีทางออกอะไรบ้างหละ ? หรือจะไปใช้ x86_64 มาพัฒนา Kirin?

- - -> คำตอบคือ = คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะทั้ง AMD และ Intel เองก็เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกาครับ และได้รับผลกระทบจากคำสั่งของโดนัลด์ทรัมป์ ไปด้วย . . .

- - - > ทางเลือก มีสองทาง คือ 1. หาทางเจรจาให้สงครามการค้านี้ยุติให้ได้ 2.พัฒนา Instruction Set ของ CPU เอง ซึ่งอันนี้เป็นไปได้ยากมากๆ และ ใช้งบประมาณมหาศาลมากๆ เพราะแน่นอน จะต้องพัฒนาให้เทคโนโลยี ไม่ไปซ้ำกับ ARM และ x86_x64 เพราะอาจจะโดน Patent (สิทธิบัตร) ของทั้ง ARM รวมไปถึง Intel และ AMD กลับมาเล่นงานได้ว่าละเมิดสิทธิบัตร ครับ

งานนี้ขอให้ Huawei พบทางออกไวไว นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่