ถามเกี่ยวกับ ธรรมะ > การสวดมนต์ - ฟังธรรมะ และ การปฏิบัติธรรม ?

ขออณุญาต สอบถาม เกี่ยวกับ ธรรมะ สักนิด ครับผม

ก่อนหน้านี้ ผม  > จะเป็นคนที่ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น ในการงานมาก แต่พอผมหันมา ฟังธรรมะ - สวดมนต์ - ปฏิบัติธรรมะ มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็รู้ถึงสัจธรรมความจริง ว่า ทุกสิ่งไม่เที่ยง ได้มา ก็เสียไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป อยู่เช่นนี้ ตลอดเวลา จึงทำให้ผม รู้สึกเบื่อ ไม่อยากได้ ไม่อยากเอาอะไร แทบทั้งสิ้น.  อาการของจิต ของใจ  ก็จะเป็นในลักษณะนี้ ถือว่า ถูกหลัก ถูกต้องไหมอ่ะครับในการปฏิบัติ - สวดมนต์ - ฟังธรรมะ.  

จึงรบกวน สอบถาม เพื่อ ความกระจ่าง มา ณ ที่นี้ ครับผม

ขอบคุณมาก ครับผม

ปล. การสวดมนต์ และ การฟังธรรมะ จะฟังธรรมะ และ สวดมนต์ เป็นประจำอยู่ตลอด ไม่เคยขาด. ส่วนการปฏิบัติธรรมะ จะปฏิบัติ เป็นบางครั้งบางคราว
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4

การเบื่อโลก เบื่อการเกิด ถูกต้องแล้ว (แต่เบื่อของปุถุชน จะมีอารมณ์หดหู่เข้ามาประกอบ คุณจะต้องวางอารมณ์ให้ถูก)
เพราะแต่เดิมคุณเป็นปุถุชนผู้คลุกเคล้าอยู่กับกิเลสอย่างเต็มที่ พอเริ่มมาปฏิบัติธรรม เห็นทุกข์-เห็นโทษ จากการเกิดแล้ว ไม่อยากจะทำอะไร
อาจจะทำให้ความกระตือรือล้นน้อยลง บางคนอาจจะขี้เกียจไม่อยากจะทำงานอะไรไปให้มาก เพราะคิดว่าทำไปได้มาก็จะต้องสลายตัวไปทั้งหมดทั้งสิ้น

ตรงจุดนี้จะต้องมีความเข้าใจให้ถูก และวางอารมณ์ในการปฏิบัติให้ถูก  

การปฏิบัติธรรม คุณจึงควรจะต้องตัดสินใจเลือกก่อนว่า  คุณอยากจะบรรลุธรรมในเพศฆราวาส?  หรือว่า  คุณอยากจะบรรลุธรรมในเพศบรรพชิต?  
เพราะถ้าคุณอยากจะบรรลุธรรมในเพศฆราวาส คุณจำเป็นจะต้องมีเงินทอง เพื่อเลี้ยงชีพตนเอง และรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และคนที่คุณดูแลอยู่
การหวังจะบรรลุธรรมในเพศฆราวาส จึงควรจะมีความมั่นคงในอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัวและมีเงินรักษาตัวเองได้ในตอนแก่ ไม่เป็นภาระกับลูกหลานมากไป

การไม่สะสมเงินทองเพื่อความร่ำรวย เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ในข้อวัตรปฏิบัติของเพศบรรพชิตผู้ถือบวช เช่น พระสงฆ์
(เพราะพระสงฆ์อยู่ในสถานะผู้ขอ และต้องถือศีลปฏิบัติตนเพื่อความสะอาดหมดจดของจิต จึงต้องวางอารมณ์ในการปฏิบัติในขั้นสูงสุด)    

แต่ การไม่สะสมเงินทองเพื่อความร่ำรวย เป็นความเข้าใจพลาดของนักปฏิบัติธรรมที่เป็นฆราวาส (เพราะไปเอาอารมณ์ของพระสงฆ์มาถือ)

เพราะว่า ฆราวาสนั้นยังสามารถสะสมเงินทองเพื่อความร่ำรวยได้ รวยได้ไม่อั้น โดยที่ไม่ได้ผิดศีล-ผิดธรรม ของพระโสดาบัน แต่อย่างใด
(มหาเศรษฐีในสมัยพุทธกาล เป็นทั้งคนรวย และ เป็นทั้งพระโสดาบัน) (ฆราวาสที่หวังนิพพาน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนจน หรือเป็นคนที่ไม่มีอะไรเลย)
(แถมพอเมื่อคุณร่ำรวยแล้ว คุณยังสามารถใช้ความร่ำรวยนั้นช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก เมื่อชาวบ้านสุขสบาย ย่อมมีเวลาว่างมาสนใจเรื่องธรรมะมากขึ้น)  

พระโสดาบันนั้นยังสามารถมีความร่ำรวยจากสัมมาอาชีวะ และยินดีในทรัพย์สินที่ตัวเองหามาได้โดยชอบธรรมได้ และยังมีเมียได้ มีลูกได้
จนต่อเมื่อจิตของคุณเริ่มพอใจในการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นพระอนาคามีมรรค ความสนใจใน กามฉันทะ ก็จะลดน้อยลงๆ คุณจึงวางมือเรื่องวัตถุไปเอง  

คุณจะต้องรู้ความต้องการของตนเอง ว่าคุณอยากจะบรรลุธรรมในระดับใด?  คุณก็ปฏิบัติตนไปตามเงื่อนไขของพระอริยะเจ้าในระดับนั้นๆ
ไม่ต้องยกเอาอารมณ์ของพระอริยะเจ้าที่สูงเกินกว่าที่ตัวเองจะกระทำได้มาถือ (แล้วอาจจะเกิดอารมณ์กลุ้ม แล้วจะไม่ได้อะไรเลย)

เช่น ถ้าคุณยังพอใจในการครองเรือน ยังอยากมีคู่ครอง ยังอยากมีเมีย-มีลูก ยังอยากรวย ก็ให้จับอารมณ์ของพระโสดาบันก่อนก็พอ ไม่หนักเกินไป
(ไม่ใช่ว่าจะยกเอาอารมณ์ของพระอนาคามี ที่ตัดละ กามฉันทะ และ ปฏิฆะ ได้หมดจดมาถือ ทั้งๆที่ในใจลึกๆยังพอใจในการครองเรือนอยู่ มันเกินตัวไป)

พระอริยะเจ้าไม่มีเสื่อม มีแต่ขึ้น ไม่มีลง   เพราะฉนั้นคุณจึงไม่ต้องมาคิดมากอะไร ขอแค่คุณได้เป็นพระโสดาบันเท่านั้น เดี๋ยวคุณก็จะไปถึงอรหันต์เอง


บทความที่เกี่ยวข้อง  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่