การแก้ไขความยาวเสาเหล็ก ด้วยการเชื่อม ควรทำอย่างไรครับ

เนื่องจากที่บ้านทำโรงรถ
โดยมีลักษณะเป็น
- หลังคาโรงรถ กว้าง 3.5 เมตร ยาว 5 เมตร + หลังคาส่วนหน้าประตูเข้าบ้าน กว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร
- หลังคาเมทัลชีท + ตีฝ้าระแนงซีเมนต์
- ใช้เสาเหล็กแบบกล่อง 4 ต้น
- โดย 2 ต้นหน้า จะมีการลงเสาเข็ม หลุมละ 2 ต้น ลึก 4 เมตร และจะมีเสาประดับอีก 3 เสา เป็นเสาขนาดเล็ก 2 +เสาขนาดกลาง 1 ต้น
ทั้งนี้เสาหลักติดตั้งบน Plate ขนาดดังรูป แล้วยึดไว้ แต่ไม่ได้ทำฐานปูนสูงขึ้นมาจากพื้นครับ 
- ส่วนเสาหลัง 2 ต้น ขนาดเท่ากัน แต่วางบนพื้นปูนเดิมของโรงรถ ยึดด้วย Plate ขนาดเดียวกันครับ
- ปัญหาเกิดที่ว่า ช่างตัดเสาผิดพลาด เสาหน้าเตี้ยไป จึงได้เพิ่มความสูงของเสาหน้า อีก 12 ซม. โดยการเชื่อมเสาดังรูป เชื่อมจากส่สนล่าง ขึ้นมา 12 ซม.

ประเด็นคือ มีความกังวลว่าความแข็งแรงของเสาจะเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเสาที่ไม่ได้ตัดเชื่อม (มาพบตอนช่างแก้ปัญหาเสร็จแล้ว ขึ้นโครงหลังคาหมดแล้ว จึงไม่สามารถเปลี่ยนเสาใหม่ได้)
ทางผู้รับเหมา แจ้งว่า จะใช้วิธีการก่อปูนหุ้มรอบเสาขึ้นมาเลยจุดเชื่อม เพื่อเสริมความแข็งแรงอีกทีหนึ่ง

ผมจึงอยากสอบถามว่า
การแก้ไขดังกล่าวมีความเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิศกรรมหรือไม่ครับ
หรือที่ถูกต้องควรแก้ไขอย่างไรครับ
แล้วถ้าเราจะก่อปูนหุ้มเสาเหล็กที่เราเชื่อม เราก่อหุ้มเสาประดับไปหมดเลยทีเดียวจะดีไหมครับ

ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่