สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
รู้จักคำคมนี้ไหม
หาเงินได้เท่าไรไม่สำคัญเท่ามีเงินออมเท่าไร
ผมยก ตย ตัวเอง เมื่อ 40+ ปีก่อน ผมผ่อนบ้าน ดอกแพง 16% นอกจากข้าว/กับข้าว 3 มื้อ ผมไม่ทานน้ำอัดลม ไม่ซื้อน้ำขวด ดื่มน้ำก้อกกรอง ไม่ซื้อขนม ไม่ไปเที่ยว ไม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่ เป็นเวลา 8 ปีเต็มๆ จนผ่อนบ้านหมด (กำหนด 15 ปี แต่ดอกแพง เลยโป้ะ) แต่ กรรมกรไทย (สมัยก่อนกรรมกรต่างด้าวมีน้อย) ที่ทำงานก่อสร้างในหมู่บ้าน ตกเย็นกินเบียร์+กับแก้มทุกเย็นที่ผมผ่านแล้วได้เห็น
จขกข เข้าใจไหมครับ? มันไม่อยู่ที่สัญชาติคน แต่สันดานคนครับ ผมก็คนไทย กินอยู่เขียมกว่ากรรมกรเป็นเวลา 8 ปีเต็มๆ ทั้งที่รับราชการมีศักดิ์ศรีแต่อยู่แบบอดๆ หยากๆ กว่ากรรมกรต่างด้าวในปัจจุบันเสียอีกเพราะกรรมกรพม่าบางคนก็ยังกินน้ำอัดลม/M150 เป็นต้น
หาเงินได้เท่าไรไม่สำคัญเท่ามีเงินออมเท่าไร
ผมยก ตย ตัวเอง เมื่อ 40+ ปีก่อน ผมผ่อนบ้าน ดอกแพง 16% นอกจากข้าว/กับข้าว 3 มื้อ ผมไม่ทานน้ำอัดลม ไม่ซื้อน้ำขวด ดื่มน้ำก้อกกรอง ไม่ซื้อขนม ไม่ไปเที่ยว ไม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่ เป็นเวลา 8 ปีเต็มๆ จนผ่อนบ้านหมด (กำหนด 15 ปี แต่ดอกแพง เลยโป้ะ) แต่ กรรมกรไทย (สมัยก่อนกรรมกรต่างด้าวมีน้อย) ที่ทำงานก่อสร้างในหมู่บ้าน ตกเย็นกินเบียร์+กับแก้มทุกเย็นที่ผมผ่านแล้วได้เห็น
จขกข เข้าใจไหมครับ? มันไม่อยู่ที่สัญชาติคน แต่สันดานคนครับ ผมก็คนไทย กินอยู่เขียมกว่ากรรมกรเป็นเวลา 8 ปีเต็มๆ ทั้งที่รับราชการมีศักดิ์ศรีแต่อยู่แบบอดๆ หยากๆ กว่ากรรมกรต่างด้าวในปัจจุบันเสียอีกเพราะกรรมกรพม่าบางคนก็ยังกินน้ำอัดลม/M150 เป็นต้น
ความคิดเห็นที่ 27
ในฐานะที่เคยทำงานพิเศษในต่างประเทศสมัยเรียน
จะบอกว่าค่าเงินที่ต่างกันมันเป็นแรงจูงใจในการเก็บเงินที่ดีมากค่ะ
อย่างปัจจุบันเราทำงานอยู่ไทย เราใช้เงินเปลืองมาก
เชื่อมั้ยเราเคยลองประหยัดแบบสุดๆ ลองใช้ชีวิตแบบขึ้นแต่รถเมล์/เดิน ไม่ขึ้นแท็กซี่
แต่ผลลัพธ์ที่ได้มันน้อยนิดมาก เงินเก็บที่เพิ่มขึ้นมาแทบไม่มีค่าอะไรเลย เอาไปทำไรแทบไม่ได้
แลกกับความลำบากที่เราต้องอดทนเพื่อประหยัด รถเมล์โคตรร้อน โคตรแน่น
ทางเท้าห่วยๆ พื้นกระโดกกระเดก น้ำขัง มอไซค์ขึ้นมาวิ่งบนฟุตปาท ขี้หมา ฯลฯ
แต่กลับกัน สมัยเราทำงานพิเศษตอนอยู่ ตปท เรายอมลำบากแค่นิดหน่อย
เพราะประเทศเจริญ รถเมล์ดี ทางเท้าดี อากาศไม่ร้อน มันเลยไม่ต้องทรมานตัวเองมาก
แต่เงินเก็บที่เพิ่มขึ้นมันเยอะพอสมควรหากคำนวณกลับเป็นเงินไทย มันเอาไปทำอะไรที่ไทยได้มากมาย
มันเลยมีกำลังใจจะประหยัด จะเก็บออมค่ะ
และเห็นด้วยกับอีกหลายๆ ความเห็นคือถ้าตั้งเป้าจะทำงานเก็บเงิน (แค่ช่วงหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งชีวิต) ไลฟ์สไตล์มันก็จะอีกแบบ
แต่ถ้าทำงานแบบคิดว่าก็คงต้องอยู่แบบนี้ไปทั้งชีวิต ไลฟ์สไตล์มันก็จะอีกแบบ
อย่างสมัยเราอยู่ ตปท เราก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าเราแค่ไปเรียน อยู่แค่ช่วงหนึ่ง
เราก็เลยพยายามซื้อของไม่เยอะเพราะขี้เกียจขนกลับไทย
อพาร์ตเมนต์ก็เช่าแบบธรรมดาพออยู่ได้เพราะไม่ได้อยู่ยาวอยู่แล้ว
รายจ่ายมันก็เลยไม่มากเหมือนอยู่ไทย ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ
เราคิดว่าน่าจะคล้ายๆ กันแหละ
จะบอกว่าค่าเงินที่ต่างกันมันเป็นแรงจูงใจในการเก็บเงินที่ดีมากค่ะ
อย่างปัจจุบันเราทำงานอยู่ไทย เราใช้เงินเปลืองมาก
เชื่อมั้ยเราเคยลองประหยัดแบบสุดๆ ลองใช้ชีวิตแบบขึ้นแต่รถเมล์/เดิน ไม่ขึ้นแท็กซี่
แต่ผลลัพธ์ที่ได้มันน้อยนิดมาก เงินเก็บที่เพิ่มขึ้นมาแทบไม่มีค่าอะไรเลย เอาไปทำไรแทบไม่ได้
แลกกับความลำบากที่เราต้องอดทนเพื่อประหยัด รถเมล์โคตรร้อน โคตรแน่น
ทางเท้าห่วยๆ พื้นกระโดกกระเดก น้ำขัง มอไซค์ขึ้นมาวิ่งบนฟุตปาท ขี้หมา ฯลฯ
แต่กลับกัน สมัยเราทำงานพิเศษตอนอยู่ ตปท เรายอมลำบากแค่นิดหน่อย
เพราะประเทศเจริญ รถเมล์ดี ทางเท้าดี อากาศไม่ร้อน มันเลยไม่ต้องทรมานตัวเองมาก
แต่เงินเก็บที่เพิ่มขึ้นมันเยอะพอสมควรหากคำนวณกลับเป็นเงินไทย มันเอาไปทำอะไรที่ไทยได้มากมาย
มันเลยมีกำลังใจจะประหยัด จะเก็บออมค่ะ
และเห็นด้วยกับอีกหลายๆ ความเห็นคือถ้าตั้งเป้าจะทำงานเก็บเงิน (แค่ช่วงหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งชีวิต) ไลฟ์สไตล์มันก็จะอีกแบบ
แต่ถ้าทำงานแบบคิดว่าก็คงต้องอยู่แบบนี้ไปทั้งชีวิต ไลฟ์สไตล์มันก็จะอีกแบบ
อย่างสมัยเราอยู่ ตปท เราก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าเราแค่ไปเรียน อยู่แค่ช่วงหนึ่ง
เราก็เลยพยายามซื้อของไม่เยอะเพราะขี้เกียจขนกลับไทย
อพาร์ตเมนต์ก็เช่าแบบธรรมดาพออยู่ได้เพราะไม่ได้อยู่ยาวอยู่แล้ว
รายจ่ายมันก็เลยไม่มากเหมือนอยู่ไทย ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไลฟ์สไตล์ ฯลฯ
เราคิดว่าน่าจะคล้ายๆ กันแหละ
ความคิดเห็นที่ 11
ตอบในมุมมองตัวผมเอง ผมมาทำงานที่ญี่ปุ่นข้าวจานนึงในร้านอาหารระดับกลางๆประมาณ1พันเยน
ตีเป็นเงินบาทก็เกือบ300 ผมก็ซื้อไม่ค่อยลงแล้วครับมันแพงเกินไป
ไม่ว่าะซื้ออะไรก็จะตีเป็นเงินไทยเสมอ ก็เลยเหมือนจะมีตัวเบรคไม่ให้ใช้เงิน
ในกรณีต่างชาติมาทำงานที่ไทย ผมเดาว่าก็คงกรณีเดียวกัน เขายึดอัตตราส่วนจากสกุลเงินประเทศเขา
ตีเป็นเงินบาทก็เกือบ300 ผมก็ซื้อไม่ค่อยลงแล้วครับมันแพงเกินไป
ไม่ว่าะซื้ออะไรก็จะตีเป็นเงินไทยเสมอ ก็เลยเหมือนจะมีตัวเบรคไม่ให้ใช้เงิน
ในกรณีต่างชาติมาทำงานที่ไทย ผมเดาว่าก็คงกรณีเดียวกัน เขายึดอัตตราส่วนจากสกุลเงินประเทศเขา
ความคิดเห็นที่ 18
เป็นคำถามที่ดีครับ ประเด็นสำคัญคือส่วนต่างค่าเงินครับ
เรื่องประหยัดอดออมเป็นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเอาเรื่องรายได้เป็นที่ตั้ง
รายได้เท่ากัน คนไทยเอาเงินไปสร้างบ้านในเมืองไทยได้ยากคนต่างด้าวส่งเงินกลับไปสร้างบ้านที่ประเทศเขา
ดูได้จากคนรอบตัว ญาติผมเองเป็นผู้หญิงได้แฟนไปแต่งงานกับชาวสวีเดน ไปทำงานอยู่ที่นั่นเป็นแม่บ้านในโรงแรม
ซึ่งถือว่าเป็นงานที่คนทางนั้นไม่ค่อยอยากทำ แต่เธอทำงานเก็บเงินส่งกลับมาเมืองไทย สร้าวบ้าน ซื้อรถยนต์ได้
ทั้งที่แฟนฝรั่งก็เป็นพนักงานบริษัทธรรมดาเช่าอพาร์ทเมนท์ธรรมดาอยู่
กับอีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิงชาวพม่าได้สามีไทยพากันกรีดยางอยู่ภาคอีสาน เธอส่งเงินกลับไปพม่าสร้างบ้านปูนสองชั้น
เป็นที่ฮือฮาในหมู่บ้านของเธอ ต่างกับคนรับจ้างกรีดยางคนไทยที่ยังอยู่กระต๊อบกลางสวนยาง
บางคนรู้จักเก็บเงินหน่อยก็สร้างบ้านหลังเล็กๆพออยู่อาศัย
เรื่องค่าเงินนี่สำคัญครับ ฝรั่งสูงอายุหลายๆคนถึงได้มาใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองไทยโดยอาศัยเงินบำนาญจากรัฐบาลบ้านเขา
เรื่องประหยัดอดออมเป็นส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเอาเรื่องรายได้เป็นที่ตั้ง
รายได้เท่ากัน คนไทยเอาเงินไปสร้างบ้านในเมืองไทยได้ยากคนต่างด้าวส่งเงินกลับไปสร้างบ้านที่ประเทศเขา
ดูได้จากคนรอบตัว ญาติผมเองเป็นผู้หญิงได้แฟนไปแต่งงานกับชาวสวีเดน ไปทำงานอยู่ที่นั่นเป็นแม่บ้านในโรงแรม
ซึ่งถือว่าเป็นงานที่คนทางนั้นไม่ค่อยอยากทำ แต่เธอทำงานเก็บเงินส่งกลับมาเมืองไทย สร้าวบ้าน ซื้อรถยนต์ได้
ทั้งที่แฟนฝรั่งก็เป็นพนักงานบริษัทธรรมดาเช่าอพาร์ทเมนท์ธรรมดาอยู่
กับอีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิงชาวพม่าได้สามีไทยพากันกรีดยางอยู่ภาคอีสาน เธอส่งเงินกลับไปพม่าสร้างบ้านปูนสองชั้น
เป็นที่ฮือฮาในหมู่บ้านของเธอ ต่างกับคนรับจ้างกรีดยางคนไทยที่ยังอยู่กระต๊อบกลางสวนยาง
บางคนรู้จักเก็บเงินหน่อยก็สร้างบ้านหลังเล็กๆพออยู่อาศัย
เรื่องค่าเงินนี่สำคัญครับ ฝรั่งสูงอายุหลายๆคนถึงได้มาใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองไทยโดยอาศัยเงินบำนาญจากรัฐบาลบ้านเขา
แสดงความคิดเห็น
ทำไมงานระดับล่างคนพื้นที่บอกว่าค่าแรงน้อยเก็บเงินไม่ได้เลยไม่ทำ แต่แรงงานต่างด้าวมาทำเก็บเงินจนตั้งตัวได้ครับ?
ปรากฎการณ์อย่างหนึ่งในโลกของเราคือ เมื่อประเทศมีความเจริญก้าวหน้า งานที่สังคมมองว่าเป็น "งานระดับล่าง" คนท้องถิ่นมักจะไม่ทำโดยให้เหตุผลว่างานหนักแต่เงินน้อย เมื่อดูค่าครองชีพแล้วไม่สามารถเก็บออมได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนต่างด้าวที่เข้าไปเป็นแรงงาน ( ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย ) กลับพบว่าสามารถทำงานเหล่านั้นภายใต้ค่าแรงและค่าครองชีพแบบเดียวกับคนท้องถิ่น ( ส่วนใหญ่งานประเภทนี้มักได้แค่ค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายของประเทศนั้นๆ กำหนด หรือบางทีก็ได้น้อยกว่าหากเป็นแรงงานเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ) แล้วยังเก็บเงินส่งกลับไปให้ญาติที่ประเทศบ้านเกิดได้ด้วย
เช่น ในประเทศไทย งานที่คนไทยเมินก็พวกก่อสร้าง ประมง ลูกจ้างในร้านอาหาร คนทำความสะอาด เด็กปั๊ม คนรับใช้ในบ้าน พนักงานทำความสะอาดตามสถานที่ต่างๆ คนงานในภาคเกษตร ผู้ประกอบการจึงต้องจ้างคนต่างด้าว 3 ชาติ ( เมียนมา ลาว กัมพูชา ) มาทดแทน แต่ก็พบว่างานที่คนไทยเมินบอกงานหนักเงินน้อยนี้เอง คนต่างด้าว 3 ชาติที่ว่าสามารถเก็บเงินส่งไปปลูกบ้าน ไปซื้อรถยนต์ที่ประเทศบ้านเกิดได้
ในทางกลับกัน ประเทศที่เจริญกว่าไทยทั้งตะวันตกและตะวันออก งานระดับล่างๆ ในสังคมเขา คนท้องถิ่นก็ไม่นิยมทำ ก็ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ก็เห็นคนไทยและคนจากชาติโลกที่ 3 อื่นๆ เข้าไปทำแล้วก็เก็บเงินส่งกลับบ้านได้เป็นกอบเป็นกำ
สงสัยว่าทำไมงานอย่างเดียวกัน ค่าจ้างได้เท่ากัน คนท้องถิ่นเก็บเงินไม่ได้ แต่ต่างด้าวเก็ยเงินได้ครับ?
TonyMao_NK51 ( ใช้แทนอมยิ้มที่ถูกแบน )