ที่มาของเรื่อง
ผมมีโอกาสได้เข้าอบรมหลักสูตร ขับเป็น... ขับปลอดภัย กับ สื่อสากล SKILL DRIVING EXPERIENCE จัดที่สนามปทุมธานี สปีดเวย์ ซึ่งได้รับการชักชวนจากท่านเด็กบูรพาและพี่ยะ (นามสมมติ) ครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรขับขี่ปลอดภัยกับทาง Toyota และ Honda มาก่อนรวม 3 คอร์ส เป็นการอบรมฟรี คอร์สนี้จึงเป็นคอร์สแรกที่มีค่าใช้จ่ายครับ ผมจึงพยายามเก็บภาพและคลิปวิดีโอกลับมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้นำมาแบ่งปันความรู้ดีๆที่ได้จากคอร์ส ซึ่งสำหรับผม ทุกอย่างในคอร์สนี้ล้วนมีประโยชน์มากเลยครับ..
สนามปทุมธานี สปีดเวย์นี้ ปกติจะใช้เป็นสนามแข่งดริฟท์ครับ (ขอบคุณภาพจากท่านเด็กบูรพา)
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อย ก็เริ่มเข้าเรียนภาคทฤษฎี ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ประมาณ ชม. เดียวครับ..
ภาคทฤษฎี เริ่มต้นด้วยการสอนพื้นฐานการปรับเบาะ การจับพวงมาลัย ซึ่งไม่ว่าจะเรียนคอร์สอะไร ก็มักจะเน้นสองสิ่งนี้เป็นหลักครับ เป็นการจัดท่าให้เหมาะสม พร้อมขับ พร้อมเบรค พร้อมหักพวงมาลัย ครูฝึกย้ำว่ารถจะสื่อสารกับเราผ่าน 2 สิ่งคือพวงมาลัยกับเบาะครับ ถ้าหลังไม่ชิดเบาะตลอดเวลา มือไม่ได้จับพวงมาลัย เท่ากับว่าเราขาดการติดต่อกับรถโดยสิ้นเชิง เพราะรถจะสื่อสารผ่านอาการต่างๆด้วย 2 สิ่งนี้เป็นหลัก..
การปรับเบาะและการจับพวงมาลัย
1. ความสูงของตัวเบาะ - พื้นที่ head room (ที่ว่างระหว่างหัวกับเพดาน) มีระยะห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ (แบมือนิ้วเรียงชิดกันวางตั้งไว้บนหัว) ควรมองเห็นกระโปรงหน้ารถชัดเจน (ในเคสคนตัวเล็ก ปรับให้สูงที่สุดได้แค่ไหนเอาแค่นั้น)
2. ความห่างของตัวเบาะ - หลังปรับระยะห่างแล้ว เหยียบเบรคให้เต็มแรง ช่วงขาต้องทำมุม 45 องศา (อาจต้องให้เพื่อนเล็งให้ครับ)
3. ความลาดเอียงของพนักพิง - ควรเอียงเพียงเล็กน้อย
4. ตำแหน่งพวงมาลัย - ปรับให้ตำแหน่งไหล่สูงไกล้เคียงกับตำแหน่งมือที่จับพวงมาลัย (9 โมงและบ่าย 3) ท่อนแขนต้องงอ เพื่อให้การหักหลบทำได้ง่าย
5. หมอนรองศีรษะ - ปรับความสูงให้รองตรงกลางศีรษะ ตำแหน่งความสูงประมาณดวงตา
ในปัจจุบัน มีการปรับการจับพวงมาลัยให้จับที่ตำแหน่ง 9 โมง และบ่าย 3 ครับ จากที่เมื่อหลายปีก่อนมีการแนะนำให้จับแบบ 10 โมงและบ่าย 2 มานมนาน
จบภาคทฤษฎีอย่างรวดเร็วด้วยเรื่องระบบช่วยเหลือต่างๆครับ ต่อไปเป็นภาคปฎิบัติครับ..
การเรียนการสอน
- การเรียนมีทั้งหมด 3 สถานี คือ Lane change, Oversteer, และ Brake distance+Understeer
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม วนเรียนกันไปแต่ละสถานี แต่ละกลุ่มมีรถ 3 คัน คันละ 3 คนครับ
- รถที่ใช้ในการเรียนการสอนมี Benz (ขับหน้า), BMW (ขับหลัง) และ Subaru (ขับสี่) ครับ
- ยางที่ใช้ทดสอบ เป็น DEESTONE
สถานีแรก: Lane change
สถานีนี้ใช้ Benz (ขับหน้า) ในการเรียนครับ เป็นการจำลองสถานการณ์เมื่อมีสิ่งกีดขวางตัดหน้ารถ โดยจะให้ผู้เรียนขับรถมาทางตรงแล้วทำการหักหลบสิ่งกีดขวาง รอบแรกใช้ความเร็ว 40 รอบสอง 50 และรอบที่ 3 ใช้ความเร็ว 60 โดยเริ่มจากหักหลบไปทางซ้ายก่อน 3 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไปหักหลบทางด้านขวาอีก 3 ครั้งครับ เทคนิคที่ครูสอนคือ อย่ามองที่อุปสรรค ให้มองหาช่องที่เราจะไปครับ ต้องหักหลบให้พอดีอยู่ในเลนแล้วเหยียบเบรคสุดเท้าทันที
สถานีต่อมา: Oversteer
สถานีนี้ใช้ BMW (ขับหลัง) ในการเรียนครับ สถานีจะให้ผู้เรียนฝึกแก้อาการท้ายปัด โดยการปิดระบบช่วยเหลือการทรงตัวทั้งหมด แล้วให้ผู้เรียนขับรถเป็นวงกลมซึ่งมีการรดน้ำ (ผสมสบู่หรือแชมพูผมไม่แน่ใจ) ไว้ก่อนหน้าเพื่อเพิ่มอาการลื่นไถลให้ง่ายขึ้น วิธีการทำให้ลื่นก็คือขับด้วยความเร็วต่ำเกาะโค้งไปเรื่อยๆ แล้วกระทืบคันเร่งให้มิดทำให้ท้ายปัด แล้วแก้อาการโดยกเท้าออกจากคันเร่งแล้วหักพวงมาลัยสวน หรือที่เรียกว่า counter ครับ สิ่งที่ยากสำหรับผู้เรียนคือ แค่จับจุดว่าต้องหักตอนไหนก็ยากแล้ว และความลื่นในแต่ละจุดไม่ค่อยเท่ากันครับ แต่มองอีกแง่นึงก็ดี บนถนนจริงจะลื่นตรงไหนก็ไม่ทราบได้ ถือว่าเป็นการฝึกจับความรู้สึกและรับมือกับปัญหาจริงครับ
ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนแก้อาการ Oversteer อยู่ 2 รอบ ปิดท้ายด้วยการเปิดระบบช่วยเหลือและลองเหยียบด้วยความเร็วสูงขึ้นบนถนนลื่นๆ ซึ่งพบว่าพอมีระบบช่วยเหลือแล้ว รถเกาะโค้งได้ดี มีการเสียอาการน้อยลงมาก นับว่าช้วยให้ขับรถได้ปลอดภัยขึ้นมากจริงๆครับระบบพวกนั้น..
สถานีสุดท้าย: Understeer
ในสถานีนี้จะมีสถานีย่อยคือเรื่อง Brake distance ก่อนที่จะไปเรื่อง Understeer ครับ ซึ่งในสถานีย่อยแรกนี้ครูฝึกสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับระยะเบรค รวมกับเรื่องของ reaction time (เวลาที่สมองรับรู้ และยกเท้าออกจากคันเร่ง จนถึงเริ่มแตะเบรค) ซึ่งในที่นี้ทำการทดลงเบรคจากจุดเบรคเดียวกัน โดยใช้ความเร็ว 50 60 และ 70 ลองมาดูกันครับว่าในแต่ละความเร็วที่เพิ่มขึ้นแค่ 10 ระยะเบรคจะยาวขึ้นเท่าไร คิดอีกแง่คือ การทดลองนี้ใช้ความเร็วเพียง 70 แต่ถ้าเราขับจริงด้วยความเร็ว 90-110 ระยะเบรคจริงๆจะเป็นเท่าไรและอันตรายมากขึ้นแค่ไหน น่าคิดครับ..
สถานีสุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุดของการอบรม เป็นการแก้อาการ Understeer ครับ โดยครูฝึกย้ำว่าจริงๆแล้วคนขับควรใช้ความเร็วที่เหมาะสมสำหรับโค้งนั้นๆ แต่ในกรณีถ้าเกิดอ่านโค้งพลาด เข้าโค้งด้วยความเร็วที่สูงเกินไป การแก้อาการสามารถทำได้โดยการหักพวงมาลัยกลับมาตั้งตรงแล้วกระทืบเบรค แล้วจึงทำการหักเลี้ยวพวงมาลัยไปตามโค้งเช่นเดิม ซึ่งวิธีนี้อย่างไรก็ตามจะทำให้เราเสียไลน์หรือเลนเดิมในการเข้าโค้งไปอย่างห้ามไม่ได้ ในตอนที่เราหักพวงมาลัยแล้วเบรคเราจะเข้าสู่เลนถัดมาอย่างน้อยก็เลนครึ่งเลนครับ แต่การแก้แบบนี้จะทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าที่เราจะฝืนเลี้ยวต่อไป (ควบคุมรถไม่ได้) หรือทำการแตะเบรคในโค้ง (เสี่ยงท้ายปัด)
หลังจากจบทั้ง 3 สถานีแล้ว มีการแข่งขันจิมคาน่าเล็กๆของกลุ่มผู้เรียนครับ ซึ่งแข่งจับเวลาทีละคนและค่อนข้างใช้เวลาเยอะ ครูฝึกจึงจัดสถานีแถมให้ เป็นสถานีที่ชื่อว่า Hot lab นั่นคือพาผู้เรียนไปนั่งรถเล่น 1 รอบครับ ทำให้ผมได้พบประสบการณ์เสียวพอๆกับนั่งรถไฟเหาะเลย (ผมพยายามถือมือถือถ่ายดีๆแล้ว แต่ทำให้มือนิ่งๆไม่ไหวจริงๆต้องขออภัยครับ)
สิ่งที่ผมตกใจอีกอย่างคือ ที่พวกผมฝึก Lane change กันด้วยความเร็ว 60 ก็เตะกรวยกันกระจายแล้ว ครูฝึกขับจ้วดดด ความเร็วน่าจะเกิน 100 ขับผ่าน Lane change ต่อเนื่องได้แบบสบายๆเลยครับ ฝึมือมันช่างต่างกันมากจริงๆ..
บทสรุป
ขอบคุณครูฝึกทุกท่านที่ตั้งใจและทุ่มเทในการสอนครับ ทุกท่านสอนด้วยความเป็นกันเอง สนุกมาก เอาใจใส่ดีมาก และตอบคำถามเคลียร์ทุกอย่าง ทำให้การอบรมวันนี้ลื่นไหลอย่างดีเลยครับ ผมให้เกรด A กับทุกท่านเลย ขอบคุณสตาฟ ผู้จัดงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกๆท่านที่ทำให้เกิดโครงการดีๆแบบนี้ครับ นอกจากนี้ อาหารกลางวันก็อร่อยมาก มีน้ำดื่มบริการให้ตลอด จัดงานได้ดีครบถ้วนไม่มีสะดุดเลยครับ..
สุดท้ายนี้ ขอบอกว่าผมเป็นคนธรรมดาๆคนหนึ่งที่ชอบขับรถ ไม่ได้มีความรู้ในเชิงลึก ไม่ได้ทำงานในวงการรถยนต์หรือเป็นสื่อใดๆ แต่หวังว่าประสบการณ์ที่ผมได้รับในคอร์สนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจไม่มากก็น้อยนะครับ หากมีสิ่งผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ..
ฝากกดไลค์เป็นกำลังใจ และติดตามผลงานได้ที่เพจ Need For Slow ครับ (ไม่ใช่เพจขายของ):
https://www.facebook.com/Needforslow247/
แชร์ประสบการณ์ หลังเข้าอบรมหลักสูตร Skill Driving Experience 2019
สนามปทุมธานี สปีดเวย์นี้ ปกติจะใช้เป็นสนามแข่งดริฟท์ครับ (ขอบคุณภาพจากท่านเด็กบูรพา)
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อย ก็เริ่มเข้าเรียนภาคทฤษฎี ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ประมาณ ชม. เดียวครับ..
ภาคทฤษฎี เริ่มต้นด้วยการสอนพื้นฐานการปรับเบาะ การจับพวงมาลัย ซึ่งไม่ว่าจะเรียนคอร์สอะไร ก็มักจะเน้นสองสิ่งนี้เป็นหลักครับ เป็นการจัดท่าให้เหมาะสม พร้อมขับ พร้อมเบรค พร้อมหักพวงมาลัย ครูฝึกย้ำว่ารถจะสื่อสารกับเราผ่าน 2 สิ่งคือพวงมาลัยกับเบาะครับ ถ้าหลังไม่ชิดเบาะตลอดเวลา มือไม่ได้จับพวงมาลัย เท่ากับว่าเราขาดการติดต่อกับรถโดยสิ้นเชิง เพราะรถจะสื่อสารผ่านอาการต่างๆด้วย 2 สิ่งนี้เป็นหลัก..
การปรับเบาะและการจับพวงมาลัย
1. ความสูงของตัวเบาะ - พื้นที่ head room (ที่ว่างระหว่างหัวกับเพดาน) มีระยะห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ (แบมือนิ้วเรียงชิดกันวางตั้งไว้บนหัว) ควรมองเห็นกระโปรงหน้ารถชัดเจน (ในเคสคนตัวเล็ก ปรับให้สูงที่สุดได้แค่ไหนเอาแค่นั้น)
2. ความห่างของตัวเบาะ - หลังปรับระยะห่างแล้ว เหยียบเบรคให้เต็มแรง ช่วงขาต้องทำมุม 45 องศา (อาจต้องให้เพื่อนเล็งให้ครับ)
3. ความลาดเอียงของพนักพิง - ควรเอียงเพียงเล็กน้อย
4. ตำแหน่งพวงมาลัย - ปรับให้ตำแหน่งไหล่สูงไกล้เคียงกับตำแหน่งมือที่จับพวงมาลัย (9 โมงและบ่าย 3) ท่อนแขนต้องงอ เพื่อให้การหักหลบทำได้ง่าย
5. หมอนรองศีรษะ - ปรับความสูงให้รองตรงกลางศีรษะ ตำแหน่งความสูงประมาณดวงตา
ในปัจจุบัน มีการปรับการจับพวงมาลัยให้จับที่ตำแหน่ง 9 โมง และบ่าย 3 ครับ จากที่เมื่อหลายปีก่อนมีการแนะนำให้จับแบบ 10 โมงและบ่าย 2 มานมนาน
จบภาคทฤษฎีอย่างรวดเร็วด้วยเรื่องระบบช่วยเหลือต่างๆครับ ต่อไปเป็นภาคปฎิบัติครับ..
การเรียนการสอน
- การเรียนมีทั้งหมด 3 สถานี คือ Lane change, Oversteer, และ Brake distance+Understeer
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม วนเรียนกันไปแต่ละสถานี แต่ละกลุ่มมีรถ 3 คัน คันละ 3 คนครับ
- รถที่ใช้ในการเรียนการสอนมี Benz (ขับหน้า), BMW (ขับหลัง) และ Subaru (ขับสี่) ครับ
- ยางที่ใช้ทดสอบ เป็น DEESTONE
สถานีแรก: Lane change
สถานีนี้ใช้ Benz (ขับหน้า) ในการเรียนครับ เป็นการจำลองสถานการณ์เมื่อมีสิ่งกีดขวางตัดหน้ารถ โดยจะให้ผู้เรียนขับรถมาทางตรงแล้วทำการหักหลบสิ่งกีดขวาง รอบแรกใช้ความเร็ว 40 รอบสอง 50 และรอบที่ 3 ใช้ความเร็ว 60 โดยเริ่มจากหักหลบไปทางซ้ายก่อน 3 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไปหักหลบทางด้านขวาอีก 3 ครั้งครับ เทคนิคที่ครูสอนคือ อย่ามองที่อุปสรรค ให้มองหาช่องที่เราจะไปครับ ต้องหักหลบให้พอดีอยู่ในเลนแล้วเหยียบเบรคสุดเท้าทันที
สถานีต่อมา: Oversteer
สถานีนี้ใช้ BMW (ขับหลัง) ในการเรียนครับ สถานีจะให้ผู้เรียนฝึกแก้อาการท้ายปัด โดยการปิดระบบช่วยเหลือการทรงตัวทั้งหมด แล้วให้ผู้เรียนขับรถเป็นวงกลมซึ่งมีการรดน้ำ (ผสมสบู่หรือแชมพูผมไม่แน่ใจ) ไว้ก่อนหน้าเพื่อเพิ่มอาการลื่นไถลให้ง่ายขึ้น วิธีการทำให้ลื่นก็คือขับด้วยความเร็วต่ำเกาะโค้งไปเรื่อยๆ แล้วกระทืบคันเร่งให้มิดทำให้ท้ายปัด แล้วแก้อาการโดยกเท้าออกจากคันเร่งแล้วหักพวงมาลัยสวน หรือที่เรียกว่า counter ครับ สิ่งที่ยากสำหรับผู้เรียนคือ แค่จับจุดว่าต้องหักตอนไหนก็ยากแล้ว และความลื่นในแต่ละจุดไม่ค่อยเท่ากันครับ แต่มองอีกแง่นึงก็ดี บนถนนจริงจะลื่นตรงไหนก็ไม่ทราบได้ ถือว่าเป็นการฝึกจับความรู้สึกและรับมือกับปัญหาจริงครับ
ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนแก้อาการ Oversteer อยู่ 2 รอบ ปิดท้ายด้วยการเปิดระบบช่วยเหลือและลองเหยียบด้วยความเร็วสูงขึ้นบนถนนลื่นๆ ซึ่งพบว่าพอมีระบบช่วยเหลือแล้ว รถเกาะโค้งได้ดี มีการเสียอาการน้อยลงมาก นับว่าช้วยให้ขับรถได้ปลอดภัยขึ้นมากจริงๆครับระบบพวกนั้น..
สถานีสุดท้าย: Understeer
ในสถานีนี้จะมีสถานีย่อยคือเรื่อง Brake distance ก่อนที่จะไปเรื่อง Understeer ครับ ซึ่งในสถานีย่อยแรกนี้ครูฝึกสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับระยะเบรค รวมกับเรื่องของ reaction time (เวลาที่สมองรับรู้ และยกเท้าออกจากคันเร่ง จนถึงเริ่มแตะเบรค) ซึ่งในที่นี้ทำการทดลงเบรคจากจุดเบรคเดียวกัน โดยใช้ความเร็ว 50 60 และ 70 ลองมาดูกันครับว่าในแต่ละความเร็วที่เพิ่มขึ้นแค่ 10 ระยะเบรคจะยาวขึ้นเท่าไร คิดอีกแง่คือ การทดลองนี้ใช้ความเร็วเพียง 70 แต่ถ้าเราขับจริงด้วยความเร็ว 90-110 ระยะเบรคจริงๆจะเป็นเท่าไรและอันตรายมากขึ้นแค่ไหน น่าคิดครับ..
สถานีสุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุดของการอบรม เป็นการแก้อาการ Understeer ครับ โดยครูฝึกย้ำว่าจริงๆแล้วคนขับควรใช้ความเร็วที่เหมาะสมสำหรับโค้งนั้นๆ แต่ในกรณีถ้าเกิดอ่านโค้งพลาด เข้าโค้งด้วยความเร็วที่สูงเกินไป การแก้อาการสามารถทำได้โดยการหักพวงมาลัยกลับมาตั้งตรงแล้วกระทืบเบรค แล้วจึงทำการหักเลี้ยวพวงมาลัยไปตามโค้งเช่นเดิม ซึ่งวิธีนี้อย่างไรก็ตามจะทำให้เราเสียไลน์หรือเลนเดิมในการเข้าโค้งไปอย่างห้ามไม่ได้ ในตอนที่เราหักพวงมาลัยแล้วเบรคเราจะเข้าสู่เลนถัดมาอย่างน้อยก็เลนครึ่งเลนครับ แต่การแก้แบบนี้จะทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าที่เราจะฝืนเลี้ยวต่อไป (ควบคุมรถไม่ได้) หรือทำการแตะเบรคในโค้ง (เสี่ยงท้ายปัด)
หลังจากจบทั้ง 3 สถานีแล้ว มีการแข่งขันจิมคาน่าเล็กๆของกลุ่มผู้เรียนครับ ซึ่งแข่งจับเวลาทีละคนและค่อนข้างใช้เวลาเยอะ ครูฝึกจึงจัดสถานีแถมให้ เป็นสถานีที่ชื่อว่า Hot lab นั่นคือพาผู้เรียนไปนั่งรถเล่น 1 รอบครับ ทำให้ผมได้พบประสบการณ์เสียวพอๆกับนั่งรถไฟเหาะเลย (ผมพยายามถือมือถือถ่ายดีๆแล้ว แต่ทำให้มือนิ่งๆไม่ไหวจริงๆต้องขออภัยครับ)
สิ่งที่ผมตกใจอีกอย่างคือ ที่พวกผมฝึก Lane change กันด้วยความเร็ว 60 ก็เตะกรวยกันกระจายแล้ว ครูฝึกขับจ้วดดด ความเร็วน่าจะเกิน 100 ขับผ่าน Lane change ต่อเนื่องได้แบบสบายๆเลยครับ ฝึมือมันช่างต่างกันมากจริงๆ..
บทสรุป
ขอบคุณครูฝึกทุกท่านที่ตั้งใจและทุ่มเทในการสอนครับ ทุกท่านสอนด้วยความเป็นกันเอง สนุกมาก เอาใจใส่ดีมาก และตอบคำถามเคลียร์ทุกอย่าง ทำให้การอบรมวันนี้ลื่นไหลอย่างดีเลยครับ ผมให้เกรด A กับทุกท่านเลย ขอบคุณสตาฟ ผู้จัดงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกๆท่านที่ทำให้เกิดโครงการดีๆแบบนี้ครับ นอกจากนี้ อาหารกลางวันก็อร่อยมาก มีน้ำดื่มบริการให้ตลอด จัดงานได้ดีครบถ้วนไม่มีสะดุดเลยครับ..
สุดท้ายนี้ ขอบอกว่าผมเป็นคนธรรมดาๆคนหนึ่งที่ชอบขับรถ ไม่ได้มีความรู้ในเชิงลึก ไม่ได้ทำงานในวงการรถยนต์หรือเป็นสื่อใดๆ แต่หวังว่าประสบการณ์ที่ผมได้รับในคอร์สนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจไม่มากก็น้อยนะครับ หากมีสิ่งผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ..
ฝากกดไลค์เป็นกำลังใจ และติดตามผลงานได้ที่เพจ Need For Slow ครับ (ไม่ใช่เพจขายของ):
https://www.facebook.com/Needforslow247/