ปืนกระบอกที่เป็นสาเหตุแห่งการเกิดสงครามโลก //////////

ปืนพกสั้น แบบ FN M1910, หมายเลขประจำปืนคือ 19074, ขนาด .380 ACP กระบอกนี้คือ ปืนของนาย Gavrilo Princip นักศึกษาเชื้อสาย Bosnian Serb อายุ 19 ปี ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่ม Serbian nationalist secret society หรือ Black Hand ลอบเป็น ผู้ลอบปลงพระชนม์ อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และ โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์กพระชายา
เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ เมืองซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอยู่ ในวันที่ 28 มิถุนายน ในปี 1914 ( พ.ศ. 2457 ) ซึ่งก่อนหน้านี้นาย Nedeljko Čabrinović พยายามปาระเบิดมือใส่รถพระที่นั่งแต่พลาดไปทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก
ซึ่งเหตุการณ์นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินกลยุทธ์ทางการทูตระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศสและอังกฤษ เรียกว่า “วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม” หรือ “July Crisis” โดยต้องการยุติการเข้าแทรกแซงของเซอร์เบียในบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดเดือนกรกฎาคมแก่เซอร์เบีย ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องสิบประการซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้ และเจตนาจุดชนวนสงครามกับเซอร์เบีย เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียงแปดจากสิบข้อ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และเป็นต้นเหตุให้คนอีกหลาย10ล้านคนต้องจบชีวิตลงในสงครามโลกครั้งที่ 1 
หลังการถูกจับกุมพร้อมพวก เขาพยายามจะฆ่าตัวตายหลายครั้ง(บางแหล่งอ้างถูกหลอกให้กินยาพิษ ) แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ในคุก ภายใน้ปอมปราการ Terezín ( ประเทศ เช็คเกียร ปัจจุบัน ) เพราะมีอายุน้อยเกินกว่าจะได้รับโทษประหารตามกฎหมายของ ฮับส์บูร์ก ( Habsburg Law.) และเสียชีวิตลงด้วยโรค วัณโรค.จากสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย ในวันที่ 28 เมษายน ปี1918
ปัจจุบันปืนพกสั้น แบบ FN M1910, หมายเลขประจำปืนคือ 19074กระบอกนี้ถูกจัดแสดงเอาไว้ที่ Vienna Museum of Military History / Heeresgeschichtliches Museum กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ในประเทศบอสเนีย โดยเฉพาะ Bosnian Serb ถือว่า Gavrilo Princip คือวีระบุรุษ เพราะชาวเซิร์บนั้นมีความคับแค้นใจที่ จักรวรรดิ ออสเตรีย-ฮังการี่ เข้ามายึดครองดินแดนของตน ซึ่งได้มีการสร้างรู)ปั้นของเขาในปี 2014 ที่เมืองซาราเยโว ในวาระครบรอบ 100 ปีการลอบสังหารในครั้งนั้น
.....
เครดิต ที่มา เฟสบุคกลุ่มผู้ศึกษาสงคราม...
หากมีข้อใดที่ไม่ตรงความเป็นจริง แจ้งมานะครับ
ผมจะทำการแก้ไข
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่