เรือบรรทุกเครื่องบิน USS Shangri-La CV-38 .. เรือชั้น essex รุ่นนี้ ปั๊มออกมาหลายโหลมาก หาชื่อตั้งกันไม่ทันทีเดียว

 
Launch of US Aircraft Carrier USS Shangri-La CV-38, 24 February 1944. Norfolk Navy Yard, Portsmouth, Virginia.

Name:
USS Shangri-La

Builder:
Norfolk Naval Shipyard

Laid down:
15 January 1943

Nickname(s):  --  Tokyo Express

เป็นเรือชั้น     Essex-class aircraft carrier

ระวางขับน้ำ     27100   ตัน

.................

หลังสงครามโลก ถ้าไม่ใช้แล้ว  ตอนนั้นเกิดบริจาค เรือในรุ่นนี้

มาให้ไทยใช้งานบ้าง  ทัเรือ เราคงได้ลองศึกษา  ผังเรือ การวางกระดูกงู บ้างแล้วละ

ใช้เป็นเรือสนับสนุนยกพลขึ้นบกก็ได้ ด้วย.



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2 

"""" หัวทิ่ม แบบ หุ้นไทย เดือน  พค.2562  เลย

จะไป  จะรวยๆๆๆ  หวังจนรวย 1700               แปป เดียว   โดนตบมา  1600    เฉยเลยย 

หลังจบ สงครามโลกครั้งที่ 2     นำไปปรับปรุงใหม่ ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน สำหรับ เครื่องบินขับไล่ลงได้

ผ่านสงคราม เวียดนาม    มาแล้ว


Shangri-La in 1970    on her last deployment

______________________________________________ 

 แต่ถ้าเป็น คนไทย   เราจะได้ยินชื่อนี้  ในนาม  ของ โรงแรม เชงกรี - ล่า
 

กลุ่มโรงแรม  เชงกรี  ล่า

กว่าจะเป็นแชงกรี-ลาในวันนี้ เบื้องหลังคือการทำงานอย่างพิถีพิถันและกล้าทุ่ม 

นิตยสารผู้จัดการ   ( พฤษภาคม 2529)

โรงแรมแชงกรีล่ากรุงเทพเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาวที่เป็นของ Shangri-La Hotels and Resorts ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ อาคารสองชั้นของอาคารนี้ตั้งอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน

"""""

เมื่อตึกสูง 25 ชั้นริมฝั่งเจ้าพระยาเริ่มก่อรูปขึ้นในนามของโรงแรมแชงกรี-ลานั้นใครๆ ก็คอยจับตามองดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนและทีมบริหารโรงแรมแห่งนี้กันอย่างใจจดใจจ่อ
หลายคนอยากรู้ว่าแชงกรี-ลาจะมี "ไม้เด็ด" อะไรออกมาสู้ศึกซึ่งเต็มไปด้วยคู่แข่งระดับแข็งๆ ในวงการโรงแรม โดยเฉพาะความแปลกใหม่ที่จะใช้เป็นอาวุธสำคัญ จะมีอะไรบ้าง
โรงแรมแชงกรี-ลานั้นเป็นกิจการหนึ่งของตระกูล Kuok ตระกูลนักธุรกิจใหญ่ตระกูลหนึ่งของสิงคโปร์ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ ก็อาจจะเทียบได้กับตระกูลโสภณพนิชของไทยเรา ที่เมื่อพูดถึงใครๆ ก็รู้จัก
Kuok ไม่ใช่โด่งดังเฉพาะในสิงคโปร์เท่านั้น หากยังดังข้ามน้ำทะเลไปอีกหลายประเทศ โดยบรรดานักธุรกิจทั้งหลายย่อมต้องรู้จัก Kuok กันเป็นอย่างดีในนามของผู้นำกลุ่มที่ชื่อ Robert Kuok ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจโรงแรมแชงกรี-ลา โดยการทำสัญญาว่าจ้างบริษัท Westin ของชาวอเมริกันที่ชำนาญในการบริหารโรงแรมมาดำเนินการให้ และ Kuok ก็มิได้เพียงแต่ดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเสียเลยหากพยายามแทรกตัวเข้ามาเรียนรู้การดำเนินงานทั้งหมด จนในวันหนึ่งเมื่อ Kuok เริ่มเรียนรู้ที่จะบริหารโรงแรมได้ด้วยตนเองแล้ว Kuok ก็ก้าวเข้ามาแทนที่ Westin อย่างเต็มตัว และตั้งเป็น chain ของตัวเองขึ้นมา

ภายใต้การดำเนินการโดย Shangri-La International Hotel Company
แชงกรี-ลา เริ่มเกิดที่ฮ่องกงเป็นแห่งแรก โดยการบริหารของ Westin หลังจากนั้นจึงเปิดแชง-กรีลาที่สิงคโปร์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมที่เยี่ยมที่สุดโรงแรมหนึ่งในโลก เคยติดอันดับ Top-ten ของการคัดเลือกโรงแรมเยี่ยมยอดมาแล้ว (คราวเดียวกับที่โอเรียนเต็ลได้อันดับ 1) นับว่า Westin ประสบความสำเร็จในการบริหารแชงกรี-ลาที่สิงคโปร์นี้มากที่สุด แต่ในปัจจุบันนี้ได้หมดสัญญาการว่าจ้าง Westin แล้ว Kuok ภายใต้ชื่อ Shangri-La International Hotel Company ก็เข้ามาบริหารงานแทนรวมถึงแชงกรี-ลาในกรุงเทพฯ และ chain อื่นๆ ซึ่งเปิดในย่านเอเชีย มีที่จีน มาเลเซีย หมู่เกาะฟิจิ และล่าสุดหลังกรุงเทพฯ คือที่ปักกิ่ง ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างและจะเปิดในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า คงมีแต่แชงกรี-ลาที่ฮ่องกงเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ Westin ยังบริหารอยู่ตั้งแต่เริ่มจนถึงทุกวันนี้
ครั้งที่ Robert Kuok คิดจะมาตั้งแชงกรี-ลาขึ้นที่กรุงเทพฯ นั้นเขาได้ชักชวนผู้ร่วมหุ้นหลายราย ซึ่งรายที่นับเป็นหุ้นใหญ่คนไทยก็คือกลุ่มไทยรุ่งเรืองของ สุรีย์ อัษฎาธร หรือ "เถ้าแก่หลิ่น" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการค้าน้ำตาล
ไทยรุ่งเรืองนั้นตัดสินใจตกลงที่จะร่วมทุนท่ามกลางความฉงนสนเท่ห์ใจของหลายๆ คน เพราะแต่ไหนแต่ไรมาก็เห็นกันว่าเคยทำแต่น้ำตาล ทำไมจึงหันเหฉีกแนวออกมาทำโรงแรมกับเขาบ้าง

"ไทยรุ่งเรืองมีความสัมพันธ์กับ Kuok มานานแล้วเป็นส่วนตัว เนื่องจากติดต่อซื้อขายน้ำตาลกันมา เมื่อ Robert Kuok คิดจะมาตั้งแชงกรี-ลาในกรุงเทพฯ ก็ชักชวนเถ้าแก่หลิ่นมาถือหุ้นด้วย เถ้าแก่หลิ่นเห็นว่าแต่เดิมมาไทยรุ่งเรืองก็จับแต่อุตสาหกรรมหนักมาทั้งนั้น เป็นต้นว่าโรงกลึง โรงหล่อ โรงเลื่อย ถ้าจะมาลองทำโรงแรมบ้างคงไม่เหนือบ่ากว่าแรงกระไรนัก" แหล่งข่าวในแชงกรี-ลาพูดถึงจุดเริ่มต้นของไทยรุ่งเรืองในธุรกิจโรงแรมให้ฟัง
หรือพูดอีกอย่างก็น่าจะช่วยสะท้อนได้ว่า กลุ่มไทยรุ่งเรืองมีความมั่นใจในฝีมือของกลุ่ม Kuok อย่างมากๆ จึงได้ตัดสินใจก้าวเข้ามาร่วมทุนในธุรกิจที่กลุ่มไทยรุ่งเรืองไม่เคยจับมาก่อนเช่นนี้
แชงกรี-ลาเป็นโรงแรมระดับ deluxe โรงแรมหนึ่งในจำนวนไม่กี่โรงของกรุงเทพฯ ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่แชงกรี-ลาซึ่งเป็นโรงแรมใหม่ล่าสุดในขณะนี้จะต้องมีในสิ่งที่ทัดเทียมหรือพิเศษยิ่งกว่าโรงแรมระดับ deluxe ด้วยกันเอง เพราะตราบใดที่คิดว่าจะต้องยืนก็ต้องยืนอยู่ให้ได้และให้ดีกว่าเขาอื่นด้วย การตระเตรียม project เด็ดๆ ของแชงกรี-ลา ก็เลยอาจเรียกได้ว่าเป็น "หนึ่งเดียวโรงแรมนี้" ได้อย่างเต็มปาก

แชงกรี-ลาใช้ระบบ Building Automation System ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายในอาคารด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งแรกในเมืองไทย สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มาก และช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆ เรื่อง เช่น การเปิด-ปิดไฟได้เองโดยอัตโนมัติ การควบคุมการทำงานของลิฟต์ ฯลฯ อันดับต่อมาก็เป็นระบบ Stair pressurize เป็นระบบอัดอากาศเข้าไปในห้องโดยอัตโนมัติยามเกิดไฟไหม้เพื่อป้องกันการสำลักควัน นอกจากนี้ยังนำเอา Pneumatic tube คือท่อส่งระบบสุญญากาศไว้ใช้ส่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (เช่นส่งบิล) เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน และมีการใช้ Ultraviolet light ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในห้องพักทุกห้องจะมีเครื่องกรองน้ำจากก๊อกเพื่อทำน้ำประปาให้บริสุทธิ์ รวมทั้งมีเครื่องต้มน้ำร้อนพร้อมชุดกาแฟดื่มเองได้ทุกเวลานับเป็นสิ่งพิเศษที่แชงกรี-ลาเตรียมการไว้อย่างพรักพร้อมเพื่อสร้างความต่างให้เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร เพื่อสร้าง image ที่ดีให้กับโรงแรมโดยเฉพาะ
โครงการที่ต้องลงทุนสูงถึง 2,000 ล้านบาทของแชงกรี-ลาที่กรุงเทพฯ นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งผู้บริหารคาดการณ์เอาไว้ว่าเมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้าง ในเวลานั้นจะเกิดสถานการณ์ขาดแคลนจำนวนห้องพักของโรงแรม เนื่องจากจะเป็นช่วง boom ของการท่องเที่ยว แชงกรี-ลาก็จะเปิดตัวรองรับสภาพขาดแคลนได้ทันท่วงที แต่เหตุการณ์จริงๆ กลับไม่เป็นดังหวัง เนื่องจากสภาพการณ์ในปัจจุบันดูเหมือนจะขาดแคลนแขกที่มาพักมากกว่า ดังจะเห็นได้ว่าทุกโรงแรมพยายามดึงแขกด้านการจัดเลี้ยงซึ่งในลักษณะนี้ถือว่าแทบจะเป็นหัวใจของโรงแรมไปแล้วเพราะทำรายได้สูงถึง 70% นอกจากรายรับจะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วยังเป็นการ promote โรงแรมในตัวอีกด้วยนับเป็นผลพลอยได้ที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง

กว่าจะเสร็จสมบูรณ์แชงกรี-ลา เปิดตัวเองมาถึง 3 ครั้ง 3 ครา

ครั้งแรกเป็น Top-ping-off เมื่อสร้างตัวตึกภายนอกเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เป็นการเปิดตัวภายในเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน หลังจากนั้นเมื่อสร้างเสร็จตกแต่งเรียบร้อยเพียง 3 ชั้นก็เป็นการเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการให้แขกเข้าพักได้เมื่อ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา ถัดมาอีกประมาณครึ่งเดือน ในวันที่ 18 มี.ค. จึงทำการเปิดตัวต่อสื่อมวลชนและบุคคลภายนอก แต่ก็ยังไม่นับเป็นการเปิดอย่างเต็มตัว การเปิดเป็น Grand Openning จะทำกันในช่วงปลายเดือนสิงหาคมเรียกว่ากว่าจะเป็นแชงกรี-ลาได้ในวันนี้ก็ต้องผ่านกรองการดำเนินงานมาหลายขั้นตอนเต็มทีซึ่งกาลข้างหน้าคงพิสูจน์ได้ว่าแชงกรี-ลาจะผงาดขึ้นริมฝั่งเจ้าพระยาอย่างที่เรียกว่า สู้เขาได้...สบายมาก...หรือมิใช่...

..............................

http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=9669
""""""" 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่