ให้เช่าอาคาร มิเตอร์ไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้ให้เช่า
A คือ ผู้เช่ารายเก่า
B คือ ผู้เช่ารายใหม่
การจ่ายค่าไฟฟ้าแต่ละเดือนจะมีกระบวนการตามนี้ครับ คือ
การไฟฟ้าจดมิเตอร์ประมาณทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน มีใบแจ้งค่าไฟฟ้าออกมาวันที่ 16 ของทุกเดือน เสียบไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ที่อาคารปล่อยเช่า
พอผู้เช่าได้ใบแจ้งค่าไฟฟ้า ผู้เช่าก็ไปจ่ายค่าไฟฟ้าเอง (ผู้ให้เช่าได้แค่ตรวจสอบจากเว็บว่าผู้เช่าจ่ายหรือยัง)
ประเด็น คือ
ถ้า A ไม่เช่าต่อ ขอออกวันสิ้นเดือน
โดยต้นเดือนหน้า B เข้ามาอยู่ต่อทันที
คิดค่าไฟฟ้า กับ ผู้เช่า A และ B อย่างไรครับให้ดูยุติธรรมกับ A และ B
ในสมัยก่อน ก่อนที่ผมจะเข้ามาดูแล (สมัยพ่อแม่ดูแล)
เค้าใช้วิธี หารเฉลี่ย จากเดือนก่อนครับ แล้ว คูณจำนวนวันครับ
สมมุติให้เข้าใจง่ายนะครับ เช่น เดือนก่อนที่ผู้เช่าจะออก ค่าไฟ 6,000 บาท ก็หาร 30 จะเฉลี่ยแล้ววันละ 200 บาท
จากนั้นคูณจำนวน 14 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่ 17-30 จะได้ค่าไฟ 2,800 บาท (200 x 14 = 2800)
แต่ปัญหาที่เจอบ่อย (เกือบทุกครั้ง) คือ ผู้เช่ารู้ว่าผู้ให้เช่าคิดค่าไฟฟ้าวิธีนี้ เดือนสุดท้ายผู้เช่าจึงจงใจใช้ไฟฟ้าเยอะครับ เดาว่าเปิดแอร์ตลอดเวลา ทำให้ค่าไฟฟ้าเดือนสุดท้ายพุ่งกระฉูดเป็นหมื่นกว่าบาท ซึ่งส่วนที่เกินนี้ที่ทางผู้ให้เช่าเป็นคนจ่าย
ซึ่งในมุมมองที่บ้านผมเค้าก็รู้ครับ แต่เค้าจะมองในมุมที่ว่า ถือว่าถัวเฉลี่ยกันไป ยกประโยชน์ให้ผู้เช่าไป อะไรทำนองนี้
พอมายุคผม ผมไม่อยากใช้วิธีนี้ครับ ผมรู้สึกว่า ทำไมต้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องเสีย มันควรจะยุติธรรมกว่านี้ (หรือใกล้เคียง)
วิธีนี้ดีไหมครับ
ก็จดมิเตอร์วันที่ A ออก (สิ้นเดือน) แล้วรอใบแจ้งค่าไฟฟ้าวันที่ 16 ในเดือนถัดไป แล้วมาดูว่า A ใช้ไฟกี่หน่วย B ใช้ไฟกี่หน่วย แล้วก็เฉลี่ยหักลบกันไป
แต่มันก็จะมีปัญหาตรงถ้า A หรือ B ใช้ปริมาณไฟแตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยมันก็จะแพงขึ้น ก็จะไม่แฟร์กับคนใดคนหนึ่ง หรือก็ช่างมันครับ
และที่สำคัญ คือ ผู้ให้เช่าต้องเก็บเงินประกันเอาไว้ก่อน (ยังไม่คืน A) ก็จะทำให้ A ต้องรอคืนเงินประกัน ไปอย่างน้อย 16 วัน (จนกว่าใบแจ้งค่าไฟฟ้าออกมา)
หรือมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้พอจะแนะนำไหมครับ
ขอบคุณครับ
การไฟฟ้าจดมิเตอร์ทุกวันที่ 16 ของเดือน ถ้าผู้เช่าออกวันสิ้นเดือน มีรายใหม่มาเช่าต่อ คิดค่าไฟผู้เช่าอย่างไรครับ
A คือ ผู้เช่ารายเก่า
B คือ ผู้เช่ารายใหม่
การจ่ายค่าไฟฟ้าแต่ละเดือนจะมีกระบวนการตามนี้ครับ คือ
การไฟฟ้าจดมิเตอร์ประมาณทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน มีใบแจ้งค่าไฟฟ้าออกมาวันที่ 16 ของทุกเดือน เสียบไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ที่อาคารปล่อยเช่า
พอผู้เช่าได้ใบแจ้งค่าไฟฟ้า ผู้เช่าก็ไปจ่ายค่าไฟฟ้าเอง (ผู้ให้เช่าได้แค่ตรวจสอบจากเว็บว่าผู้เช่าจ่ายหรือยัง)
ประเด็น คือ
ถ้า A ไม่เช่าต่อ ขอออกวันสิ้นเดือน
โดยต้นเดือนหน้า B เข้ามาอยู่ต่อทันที
คิดค่าไฟฟ้า กับ ผู้เช่า A และ B อย่างไรครับให้ดูยุติธรรมกับ A และ B
ในสมัยก่อน ก่อนที่ผมจะเข้ามาดูแล (สมัยพ่อแม่ดูแล)
เค้าใช้วิธี หารเฉลี่ย จากเดือนก่อนครับ แล้ว คูณจำนวนวันครับ
สมมุติให้เข้าใจง่ายนะครับ เช่น เดือนก่อนที่ผู้เช่าจะออก ค่าไฟ 6,000 บาท ก็หาร 30 จะเฉลี่ยแล้ววันละ 200 บาท
จากนั้นคูณจำนวน 14 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่ 17-30 จะได้ค่าไฟ 2,800 บาท (200 x 14 = 2800)
แต่ปัญหาที่เจอบ่อย (เกือบทุกครั้ง) คือ ผู้เช่ารู้ว่าผู้ให้เช่าคิดค่าไฟฟ้าวิธีนี้ เดือนสุดท้ายผู้เช่าจึงจงใจใช้ไฟฟ้าเยอะครับ เดาว่าเปิดแอร์ตลอดเวลา ทำให้ค่าไฟฟ้าเดือนสุดท้ายพุ่งกระฉูดเป็นหมื่นกว่าบาท ซึ่งส่วนที่เกินนี้ที่ทางผู้ให้เช่าเป็นคนจ่าย
ซึ่งในมุมมองที่บ้านผมเค้าก็รู้ครับ แต่เค้าจะมองในมุมที่ว่า ถือว่าถัวเฉลี่ยกันไป ยกประโยชน์ให้ผู้เช่าไป อะไรทำนองนี้
พอมายุคผม ผมไม่อยากใช้วิธีนี้ครับ ผมรู้สึกว่า ทำไมต้องเสียโดยไม่จำเป็นต้องเสีย มันควรจะยุติธรรมกว่านี้ (หรือใกล้เคียง)
วิธีนี้ดีไหมครับ
ก็จดมิเตอร์วันที่ A ออก (สิ้นเดือน) แล้วรอใบแจ้งค่าไฟฟ้าวันที่ 16 ในเดือนถัดไป แล้วมาดูว่า A ใช้ไฟกี่หน่วย B ใช้ไฟกี่หน่วย แล้วก็เฉลี่ยหักลบกันไป
แต่มันก็จะมีปัญหาตรงถ้า A หรือ B ใช้ปริมาณไฟแตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยมันก็จะแพงขึ้น ก็จะไม่แฟร์กับคนใดคนหนึ่ง หรือก็ช่างมันครับ
และที่สำคัญ คือ ผู้ให้เช่าต้องเก็บเงินประกันเอาไว้ก่อน (ยังไม่คืน A) ก็จะทำให้ A ต้องรอคืนเงินประกัน ไปอย่างน้อย 16 วัน (จนกว่าใบแจ้งค่าไฟฟ้าออกมา)
หรือมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้พอจะแนะนำไหมครับ
ขอบคุณครับ