เมื่อผมได้ไปร่วมงานแต่งเพื่อนชาวม้ง (ให้ทายว่าเป็นเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว)
ซึ่งนอกจากผมจะได้ไปในฐานะแขกรับเชิญแล้ว ยังรับหน้าที่เป็นช่างภาพและเขียนรีวิวแต่งงานชาวม้งด้วย
พูดถึงรีวิวแต่งงานของชนเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศไทยแล้ว
ยังถือว่าเป็น Rare Item อย่างหนึ่งของวิถีชุมชนเลยก็ว่าได้
ซึ่งในรีวิวครั้งนี้ผมขออาสาเป็นตัวแทนคนม้งมาเผยแพร่เรื่องนี้ให้คนที่สนใจได้เรียนรู้กันครับ
Insert 1 : ไปไงมาไง
ก่อนที่จะเข้าสู่สาระดี ๆ (ที่จะมีหรือเปล่าก็ไม่รู้) ป้าเขียว (นามแฝงของเจ้าสาว) ได้ขึ้นท่อนอินโทรให้ฟังว่า
ด้วยความที่เจ้าบ่าวไม่ใช่คนม้งด้วยกัน งานแต่งพี่เลยชิล ๆ ไม่เคร่งเท่าไหร่ ฮั่นแน่ ! ก็แค่โนแอลกอฮอล์เท่านั้นเอง
แต่ถ้าคนม้งแต่งกันเอง พิธีกรรมนี่มาเต็มแบบโหดสัจปลัดขอเรียกว่า
ย่ า ง ช้ ง (Zaaj tshoob) แปลว่า การขับร้องเพลงแต่งงาน
ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นการขับร้องเพลงพื้นบ้านของชาวม้ง
ความยาวก็อาจเทียบได้กับ Avengers ที่กว่าจะมาถึงบทสรุปใน Endgame ได้
ก็ลากยาวตั้งแต่เช้ายันดึกจนหมดเหล้าหมดน้ำไปไม่รู้กี่ลังแล้ว 55555
ในส่วนของพิธีแต่งงานชาวม้ง พี่ใช้เวลาเตรียมงานนานแค่ไหน ยังไงบ้าง
พี่ขอเล่าเป็นประเด็น ๆ ไปก็แล้วกันนะ คนอ่านจะได้ไม่งง
1. ฤกษ์แต่งงาน
ป้าเขียวบอกว่า เอาตามฤกษ์สะดวกเลยค่ะ ซึ่งวันที่จะจัดงานแต่งงานเป็นวันไหนก็ได้ ขอแค่เป็นวัน ข้ า ง ขึ้ น เท่านั้น
เพราะคนม้งไม่นิยมจัดงานมงคลในคืนข้างแรมนาจา
2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องมี (คนม้งกุมี !)
อันนี้ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายจะตกลงว่าต้องเตรียมงบประมาณเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ ... ฮั่นแน่ !
- ค่าสินสอด โดยทั่วไปคนม้งใช้เงินแท่งเป็นค่าสินสอด ปกติใช้เงินแท่งจำนวน 4 แท่ง ๆ ละ 8,000 - 10,000 บาท
แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไปใช้เงินสดแล้วจ้า และอนาคตอาจเปลี่ยนเป็นพร้อมเพย์ ! ก็ได้นะ 55555
เรื่องตัวเลขเป็นเรื่องระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันเลยจ้า แต่สำหรับงานนี้ ป้าเขียวเลือกใช้เงินแท่งตามธรรมเนียมแบบดั้งเดิม
- หมูและไก่ สำหรับจัดพิธีไหว้บรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน โดยในพิธีจะใช้ไก่ดำพื้นบ้าน 4 ตัว และหมูดำคุโรบูตะ 2 ตัว
ซึ่งมีน้ำหนักตัวละไม่น้อยกว่า 100 กิโลกรัม (ปัจจุบันขายโลละเท่าไหร่ก็ตีตัวเลขตรงนั้นเป็นค่าใช้จ่ายไปเลย)
โดยหลังจากใช้ประกอบพิธีเสร็จแล้ว คุณต้องรังสรรค์เมนูที่ดีที่สุดให้กับแขก VIP ที่มาร่วมงานในวันนี้ค่ะ (เลียนเสียงพี่ป๊อก)
มีคนฝากมาถามว่า ใช้เป็ดกับไก่เซ่นไหว้แทนได้ไหมครับ (คำตอบคือต้องเป็นหมูและไก่เท่านั้นจ้า)
- ผ้าห่ม 1 ผืน พร้อมเชือกที่พันผ้าห่มสำหรับแบกกลับตอนที่เสร็จงานแล้ว
- ทีมประกอบพิธีกรรมตลอดงาน 2 ทีม ประกอบด้วย
- Extra สำหรับทีมเจ้าบ่าวและทีมเจ้าสาวฝั่งละ 1 ทีม
- ผู้ประกอบพิธีกรรมนี้เรียกว่า เ ม่ ก๊ ง (Mej koob)
- เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว
เป็นใครก็ได้ที่ยังโสด (ถ้าเป็นเคสที่คนม้งแต่งกันเอง เพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาวต้องเป็นคนแซ่เดียวกันกับเจ้าบ่าว)
แต่เคสของพี่คือ เจ้าบ่าวเป็นคนไทย จึงไม่ซีเรียสเรื่องตระกูลแซ่ ขอแค่เป็นใครก็ได้ที่โสด
พี่จึงเลือกเพื่อนสนิทและแฟนของเพื่อนสนิทเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าสาว (ชาวกะเหรี่ยง)
- ทีมแม่ครัว ทำอาหารเลี้ยงแขกในงาน ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านมาช่วยกัน (ที่เขาเรียกว่าลงแขกใช่ไหมครับ)
- สถานที่ / อุปกรณ์ในการจัดงาน เช่น เต็นท์ ถ้วย ชาม เก้าอี้ โต๊ะ (ตามคอนเซ็ปต์หมู่บ้านเลยฮะ ไม่ยืมของหมู่บ้านก็ของวัดเอา)
ในส่วนของลำดับพิธีการต่าง ๆ ขอสรุปให้แบบย่อ ๆ ก่อนนาจ้า (หน้ากระดาษจะเต็มแล้วจ้า)
ซึ่งหลัก ๆ จะประกอบด้วย
- พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ (ปู้ ก๊ง เหย่อ จื๋อ : Puj koob yawn txwv)
- พิธีทำความเคารพญาติผู้ใหญ่ (เป : Pe)
- พิธีผูกข้อมือ (คลี ฮัว เป๋า : Khi hlua pauv)
- พิธีส่งตัว (ไม่มีศัพท์เฉพาะเป็นภาษาม้ง)
พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ (ไหนบรรพบุรุษ ?)
พิธีเป (คำนับญาติผู้ใหญ่)
พิธีผูกข้อมือ (เหมือนกับพิธีแต่งงานท้องถิ่นในภาคเหนือและภาคอีสานเลยครับ)
พิธีส่งตัว (เจ้าสาวจะต้องไปจากบ้านหลังเดิมที่เคยอยู่มาแล้วจ้าาาา)
ยังเล่าไม่จบนะจ๊ะ ขอย้ำ ! ยังเล่าไม่จบ
เดี๋ยวมาต่อกันแบบเต็ม ๆ ใน Chapter ต่อไปนะครับ
To be Continued
[CR] พาไปส่องพิธีแต่งงานชาวม้งแบบบ้านๆ ฉบับวัยรุ่นสร้างตัว ณ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้