“หนทางเดียวที่จะฆ่าพวกมันได้ คือ ยิงเข้าหลังหัวตอนที่มันปิดปาก หรือยิงแสกหน้าตอนที่เปิดปาก” คำให้การจากผู้เข้าร่วมสงครามท่านหนึ่ง
เมื่อไม่นานมานี้ทางออสเตรเลียได้ประกาศไล่ล่าแมวจร(feral cat)จำนวนกว่า 2ล้านตัว ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่เพราะแมวเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น(alien species) ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและไล่ฆ่าสิ่งมีชีวิตพื้นเมืองจนระบบนิเวศในออสเตรเลียกำลังเสียหาย ซึ่งผลจากมาตรการครั้งนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในบรรดากลุ่มคนรักสัตว์เป็นจำนวนมาก
แต่ในความเป็นจริงแล้วเหล่าferal catไม่ใช่สัตว์ชนิดแรกที่ถูกไล่ล้างบางราวกับหนังจอห์นวิค เพราะก่อนหน้านี้ก็มีรุ่นพี่ร่วมชะตากรรมถูกชนชาวออสซี่ไล่เชือดอยู่หลายราย ไม่ว่าจะเป็น หมาป่าดิงโก้ หรือกระต่าย แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นการบุกถล่มนกอีมู เมื่อการไล่ล่าไม่ใช่แค่การไล่ฆ่าแต่ต้องลุกลามกลายเป็นสงครามอันลือลั่นครั้งแรกบนผืนพิภพของคนกับสัตว์ สงครามครั้งเดียวที่ฝากความอัปยศไว้ให้กับกองทัพออสเตรเลียแบบแสบซึ้งถึงทรวงจนมาถึงทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของหายนะ
เมื่อปี 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง เหล่าทหารหาญก็เหมือนกับสะดุ้งเฮือกตื่นจากฝันร้ายครั้งใหญ่ของชีวิต ไม่มีเสียงปืน เสียงระเบิดให้คอยหวาดผวา ไม่มีคนตายที่ติดตาหลอกหลอนอีกต่อไป ทุกคนได้ปลดประจำการและกลับสู่อ้อมอกของมาตุภูมิอย่างมีเกียรติเพื่อมาพบความจริงที่ว่า “พวกเขาตกงาน!!”
ด้วยตอนกลางทวีปออสเตรเลียนั้นเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่เรียกว่า “outback” ทางตะวันออกเป็นจุดศูนย์รวมความเจริญและเมืองสำคัญต่าง ๆ ของออสเตรเลีย ส่วนตะวันตกของทวีปนั้นเป็นแดนกันดารซึ่งมีที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์มากมาย ทางรัฐบาลจึงได้มอบที่ดินร้างไร้นี้ให้เหล่าทหารผ่านศึกได้ไปบุกเบิกเลี้ยงสัตว์และปลูกข้าวสาลี โดยสัญญาว่าจะอุดหนุนราคาผลผลิตที่ออกมาทั้งหมด ทำให้อดีตทหารจำนวน 5,030คนยินดีออกเสี่ยงโชคในดินแดนตะวันตกโดยไม่รู้เลยว่าหายนะกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า
หลังการลงหลักปักฐานอย่างเหนื่อยยาก อนาคตอันสดใสที่เหล่าทหารปลดระวางวาดฝันไว้ก็ดับลงในพริบตา เมื่อปี1929 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (The Great Depression) ตลาดหุ้นสหรัฐพังทลายลงจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ธนาคารจำนวนมากต้องปิดตัว ผู้คนอดอยาก พืชผลทางการเกษตรขายไม่ออก เหล่าเกษตรกรสิ้นเนื้อประดาตัว หนำซ้ำยังเกิดปัญหาภัยแล้งรุนแรงสร้างความเสียหายให้พืชผลไปทั่วทุกหย่อมหญ้า เหล่าทหารผ่านศึกต่างถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยวโดยไร้วี่แววความช่วยเหลือจากรัฐบาล
ในวันที่ความสิ้นหวังบีบคั้นชีวิตจนถึงขีดสุด ทุกคนล้วนคิดว่าคงไม่มีอะไรจะเลวร้ายได้มากกว่านี้อีกแล้ว แต่พวกเขาก็รู้ตัวได้ทันทีว่าคิดผิด เมื่อหายนะระลอกที่สองได้ซัดเข้ามาเป็นกองทัพอสูรร้ายสุดหิวโหยในร่างนกยักษ์สูงเกือบ 2เมตร ราชานกแห่งท้องทุ่งออสเตรเลีย นามว่า
อีมู
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด
นกอีมูเป็นนกบินไม่ได้ขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ความสูง1.9เมตร หนัก 60-70กิโลกรัม สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 50 กม./ชม. ซึ่งปกติแล้วจะรวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ออกหากินโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับมนุษย์ แต่นั่นไม่ใช่กับกองทัพอีมูที่หิวกระหาย 20,000 ตัวในครั้งนี้
ในภาวะแล้งจัดที่เกิดขึ้น ฟาร์มของเหล่าเกษตรซึ่งอุดมไปด้วยน้ำและข้าวสาลีก็ไม่ต่างจากโรงทานที่เปิดรอเหล่านกอีมูเข้ามากินดื่มกันอย่างอิสระ ฝูงนกบุกทลายรั้วดักกระต่ายเข้าโจมตีทุ่งข้าวสาลีด้วยจำนวนมหาศาล แม้ว่าเหล่าทหารปลดระวางจะเข้ายิงต่อต้านแต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งความหิวของกองทัพนกยักษ์ไว้ได้ เหล่านกอีมูยังคงบุกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไล่กินผลผลิตของชาวนาราวกับเป็นโต๊ะบุฟเฟต์ จนน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาพินาศลงกับตา
(กระต่ายเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของชาวออสซี่ในสมัยนั้น ด้วยการขยายพันธุ์ที่รวดเร็ว กระต่ายได้ยึดครองพื้นที่ไปครึ่งในทวีปด้วยจำนวนกว่าหมื่นล้านตัว พวกมันกัดกินพืชผลของเกษตรกร ทำลายพืชพื้นเมืองจนราบเป็นหน้ากลองอย่างที่ไม่มีใครหยุดยั้งได้ จนในที่สุดต้องมีการสร้างรั้วกันกระต่ายขึ้นในระหว่างที่หาวิธีกำจัดกองกำลังหูตั้งที่มีมากจนเกินไป)
เมื่อกำลังของชาวบ้านไม่สามารถหยุดยั้งวิกฤตในครั้งนี้ได้ รัฐบาลจึงเป็นความหวังสุดท้ายที่จะช่วยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวแทนชาวบ้านได้เดินทางไปยัง Canberra เพื่อยื่นคำร้องถึงเซอร์ จอร์จ เพียร์ซ(Sir George Pearce) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ขอให้ทหารเข้ามาขับไล่นกอีมูซึ่งกำลังปาร์ตี้กันอย่างสนุกสนานในฟาร์มของพวกเขา
แต่สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีทำกลับเหนือล้ำขึ้นไปยิ่งกว่า เพราะแทนที่จะขับไล่นกออกไปเพื่อจบภารกิจ Sir George Pearce กลับลงนามประกาศสงครามล้างบางนกอีมูอย่างเป็นทางการ โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ยิงปืนจะต้องเป็นทหารของกองทัพเท่านั้น และเหล่าเกษตรกรต้องออกค่าอาหาร ที่พัก ค่ากระสุนในศึกครั้งนี้ทั้งหมด ซึ่งแม้จะเป็นเงื่อนไขที่ขมขื่นของผู้เสียสละที่ถูกชาติทอดทิ้งแต่นั่นก็คือฟางเส้นสุดท้ายที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้เช่นกัน
ในที่สุดเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้นปฐมบทแห่งสงครามระหว่างคนกับสัตว์ครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์โลก สงครามที่สร้างความอับอายให้กับกองทัพออสเตรเลียมาจนปัจจุบันนี้ก็ปะทุขึ้น
ปฐมบทสงครามแห่งความอัปยศ
ด้วยความมั่นใจในศักยภาพอันยอดเยี่ยมของกองทัพออสเตรเลียและปืนกลLewisซึ่งเคยเฉิดฉายบนเวทีสงครามโลก ช่วยทหารออสซี่ไล่ถลุงกองทัพเยอรมันจนสิ้นท่ามาแล้ว พันตรี จี.ดับเบิ้ลยู.เมอร์ดิทธ์ (G.W. Meredith)ได้นำทัพทหารปืนใหญ่ 12 นาย ปืนกลLewis 2 กระบอก และกระสุน 10,000 นัด มุ่งหน้าสู่Campion หมายใช้นกอีมูเป็นเป้าซ้อมยิงให้เหล่าทหารใหม่ และจบภารกิจไปแบบกินหมู ซึ่งกว่าพันตรีจะรู้สึกตัวว่าคิดผิดก็สายเกินไปเสียแล้ว
ปืนกลLewis
31 ตุลาคม 1932 เหล่าทหารหาญได้เดินทางมาถึงสนามรบอย่างฮึกเหิม ทุกนายพร้อมออกถล่มข้าศึกด้วยทุกสิ่งที่มีอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ราวกับลางบอกเหตุแห่งความล้มเหลวกำลังปรากฏขึ้น ฝนห่าใหญ่กระหน่ำลงประเดิมการออกปฏิบัติการของนายทหารตั้งแต่วันแรก และต้องจบวันลงไปด้วยความเงียบสงัด เมื่อไม่มีกระสุนได้ลั่นจากปลายกระบอกแม้แต่นัดเดียว
2 พฤศจิกายน 1932 The Great Emu War เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการพร้อมกับเสียงปืนกลสะเทือนไปทั่วท้องทุ่ง เหล่านายทหารปืนใหญ่ได้เริ่มปฏิบัติการซุ่มโจมตีฝูงนกยักษ์จำนวน 50 ตัว โดยมีชาวบ้านคอยต้อนนกอีมูให้เข้าสู่ทุ่งสังหารอย่างที่คิดไว้ เว้นเสียแต่สิ่งเดียวที่บรรดานักรบทั้งหลายไม่เคยคาดคิดคือศัตรูของเขาเก่งเกินไป
ทันทีที่เสียงปืนสิ้นสุดลง ไม่มีนกแม้แต่ตัวเดียวที่สิ้นใจตาย ก่อนที่กระสุนชุดที่สองจะลั่นตามมาติด ๆ แต่กลับสามารถคร่าชีวิตนกอีมูได้เพียง 3-4 ตัวเท่านั้น พวกมันถึกทายาด ไวเหมือนปรอท และฉลาดเป็นกรด เมื่อถูกต้อนจนเข้าในระยะยิงนกอีมูก็เริ่มใช้กลยุทธดาวกระจายแตกตัวออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จนเล็งเป้าไม่ได้ ก่อนจะวิ่งหายไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะแบกปืนกลหนักเกือบ 13 กก. ตามไล่ยิงได้ทัน ทำให้เหล่าทหารจบภารกิจวันแรกด้วยนกอีมู 12 ศพ กับการสูญเสียกระสุนจำนวนมาก
พวกมันได้สั่งสอนให้มนุษย์ได้รู้ว่าเพียงแค่เดินดุ่ม ๆ เข้ามาพร้อมปืนกลนั้นยังไม่พอ
ศึกชิงไหวพริบ
เมื่อสงครามไม่ใช่การไล่ถลุงฝ่ายเดียวอย่างที่มนุษย์คิดอีกต่อไป การชิงไหวชิงพริบของมนุษย์และนกจึงเกิดขึ้น 4 พฤศจิกายน 1932 หลังการวางแผนอย่างแยบยล ทหารได้ตั้งปืนกลซุ่มยิง ณ ริมสันเขื่อนซึ่งนกอีมูต้องแวะเวียนมาดื่มน้ำอย่างขาดไม่ได้
ทุ่งสังหารคราคร่ำไปด้วยนกอีมูถึง 1,000 ตัว ที่ยังสนุกสนานกับการดื่มกินโดยไม่รู้ตัวแม้แต่น้อยว่าเงาหัวกำลังจะโดนมัจจุราชเด็ดไปอีกไม่ช้า ผลจากการรัวปืน Lewis จนหมดแม็กกาซีนทำให้เจ้านกยักษ์ร่วงลงกองกับพื้นทันที 12 ตัว ส่วนที่เหลือต่างวิ่งหนีหัวซุกหัวซุนเพื่อเอาชีวิตรอด นายทหารไม่รอช้ารีบส่งกระสุนชุดต่อไปเข้ารังเพลิงอย่างรวดเร็วหวังเชิญนกจอมเจ้าเล่ห์ที่เหลือไปสู่คติตามเพื่อนที่เพิ่งสิ้นใจไป แต่ไม่รู้ว่าเพราะนกเหล่านี้ทำบุญมาดีหรือบรรดาทหารออสซี่เคยเดินเหยียบเท้าเทพีแห่งโชคมาก่อน ไกปืนที่ลั่นในครั้งที่ 2 เกิดขัดลำกล้องอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ปืนกลLewisผู้องอาจในสงครามโลกกลับกลายเป็นเหล็กทับกระดาษต่อหน้านกอีมูไปในทันที
ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นทำให้พันตรีMeredith จำเป็นต้องเปลี่ยนแผนย้ายกำลังพลลงทางใต้ซึ่งแหล่งข่าวได้แจ้งมาว่านกค่อนข้างเชื่องกว่าน่าจะยิงทิ้งได้อย่างง่ายดาย แต่สี่เท้ายังรู้พลาดแหล่งข่าวยังรู้พลั้ง นกที่ว่าเชื่องก็ยังไม่ใช่หมูให้เคี้ยวกินกันได้ง่าย ๆ ผลการล่านกอีมูทางใต้ล้มเหลวไม่เป็นท่า กระสุนมากมายปลิวว่อนถูกยอดหญ้าราวกับละครไทยหลังข่าวโดยไม่ได้ชีวิตนกอีมูแม้แต่ตัวเดียว
และก่อนที่ผลงานการรบจะย่ำแย่ลงกว่านี้ผู้พันแห่งกองกำลังกำราบนกก็เกิดไอเดียสุดบรรเจิดในการนำปืนกล Lewis มาติดตั้งไว้หลังรถบรรทุกประหนึ่งว่าเป็นรถฮัมวี่แห่งที่ราบออสเตรเลียตะวันตก ออกไล่ขยี้นกไปทั่วท้องทุ่งข้าวสาลี แต่แน่นอนว่ารถบรรทุกย่อมไม่ใช่รถฮัมวี่ เมื่อเจอความขรุขระของถนนรถฮัมวี่handmade ก็กลายเป็นรถบั๊มงานวัดไปในพริบตา
สุดท้ายยุทธการขับรถถลุงนกก็จำต้องยกเลิกไปเพราะนอกจากความสั่นสะเทือนที่ทำให้เล็งเป้าไม่ได้ และพื้นที่ถนนทำให้รถเดินทางได้จำกัดแล้ว ไอเดียที่ล้มเหลวก็อาจทำให้ชีวิตงานของพันตรีต้องลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตามสภาพถนนก็เป็นได้
สิ้นสงครามด้วยความอับอาย
5 พฤศจิกายน 1932 หลังการถูกไล่ล่าถึง 4 วันเต็ม ในที่สุดเหล่านกอีมูก็ไม่ทนอีกต่อไป มีรายงานจากทหารว่านกบางกลุ่มเริ่มรวมตัวกันและเกิดจ่าฝูงขึ้น ผู้นำฝูงจะคอยระวังภัยในระหว่างที่ตัวอื่น ๆ กำลังถล่มทุ่งข้าวสาลีอยู่สนุกสนาน และเมื่อพบทหารเข้ามาใกล้มันจะส่งสัญญาณให้ลูกฝูงหลบหนีในขณะที่ตัวเองคอยคุมสถานการณ์จนกว่าทุกตัวจะหนีไปจนหมด
หากนี่คือการกระทำของมนุษย์แล้ว คงเป็นการเสียสละที่ได้รับการเชิดชูเยี่ยงวีรบุรุษไปตราบนานเท่านาน แต่เมื่อการเสียสละนี้เกิดในนกอีมูแล้วมันคือความปวดเศียรเวียนเกล้าของเหล่าชายชาตินักรบที่มากขึ้นอีกร้อยเท่าพันทวี เพราะลำพังการไล่ยิงพวกมันก็ทำได้ยากอยู่แล้ว ยังมีหน่วยระวังภัยเพิ่มขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ความหวังในการรบริบหรี่ลงไปอีก
การปฏิบัติงานที่ล้มเหลวครั้งนี้ทำให้สื่อต่าง ๆ ที่จับตาดูอยู่พากันวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นหัวข้ออภิปรายในสภา Sir George Pearce รัฐมนตรีกลาโหม ถูกตั้งฉายาล้อเลียนว่ารัฐมนตรีสงครามปราบนกอีมู ( Minister of Emu War)โดยวุฒิสมาชิกเจมส์ ดันน์(James Dunn) จนในที่สุดก็มีมติให้ทหารถอนทัพกลับCanberraในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1932
สรุปจบสงครามยกแรกด้วยความตายของนกอีมู50 ตัว(ข่าวบางแหล่งบอกว่าฆ่าได้200-500ตัว) สูญเสียกระสุน 2,500นัด (ทหารหาญของพันตรีต้องใช้กระสุนกว่า1ใน4เพื่อสังหารนกเพียง 1%) และมนุษย์ยอมเป็นฝ่ายถอยทัพในวันที่ 6 ของสงคราม
นกอีมูเป็นฝ่ายได้ชัย
THE GREAT EMU WAR สงครามสุดอัปยศของมวลมนุษยชาติ
เมื่อไม่นานมานี้ทางออสเตรเลียได้ประกาศไล่ล่าแมวจร(feral cat)จำนวนกว่า 2ล้านตัว ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่เพราะแมวเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น(alien species) ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและไล่ฆ่าสิ่งมีชีวิตพื้นเมืองจนระบบนิเวศในออสเตรเลียกำลังเสียหาย ซึ่งผลจากมาตรการครั้งนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในบรรดากลุ่มคนรักสัตว์เป็นจำนวนมาก
แต่ในความเป็นจริงแล้วเหล่าferal catไม่ใช่สัตว์ชนิดแรกที่ถูกไล่ล้างบางราวกับหนังจอห์นวิค เพราะก่อนหน้านี้ก็มีรุ่นพี่ร่วมชะตากรรมถูกชนชาวออสซี่ไล่เชือดอยู่หลายราย ไม่ว่าจะเป็น หมาป่าดิงโก้ หรือกระต่าย แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นการบุกถล่มนกอีมู เมื่อการไล่ล่าไม่ใช่แค่การไล่ฆ่าแต่ต้องลุกลามกลายเป็นสงครามอันลือลั่นครั้งแรกบนผืนพิภพของคนกับสัตว์ สงครามครั้งเดียวที่ฝากความอัปยศไว้ให้กับกองทัพออสเตรเลียแบบแสบซึ้งถึงทรวงจนมาถึงทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของหายนะ
เมื่อปี 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง เหล่าทหารหาญก็เหมือนกับสะดุ้งเฮือกตื่นจากฝันร้ายครั้งใหญ่ของชีวิต ไม่มีเสียงปืน เสียงระเบิดให้คอยหวาดผวา ไม่มีคนตายที่ติดตาหลอกหลอนอีกต่อไป ทุกคนได้ปลดประจำการและกลับสู่อ้อมอกของมาตุภูมิอย่างมีเกียรติเพื่อมาพบความจริงที่ว่า “พวกเขาตกงาน!!”
ด้วยตอนกลางทวีปออสเตรเลียนั้นเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่เรียกว่า “outback” ทางตะวันออกเป็นจุดศูนย์รวมความเจริญและเมืองสำคัญต่าง ๆ ของออสเตรเลีย ส่วนตะวันตกของทวีปนั้นเป็นแดนกันดารซึ่งมีที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์มากมาย ทางรัฐบาลจึงได้มอบที่ดินร้างไร้นี้ให้เหล่าทหารผ่านศึกได้ไปบุกเบิกเลี้ยงสัตว์และปลูกข้าวสาลี โดยสัญญาว่าจะอุดหนุนราคาผลผลิตที่ออกมาทั้งหมด ทำให้อดีตทหารจำนวน 5,030คนยินดีออกเสี่ยงโชคในดินแดนตะวันตกโดยไม่รู้เลยว่าหายนะกำลังจะมาเยือนในไม่ช้า
หลังการลงหลักปักฐานอย่างเหนื่อยยาก อนาคตอันสดใสที่เหล่าทหารปลดระวางวาดฝันไว้ก็ดับลงในพริบตา เมื่อปี1929 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (The Great Depression) ตลาดหุ้นสหรัฐพังทลายลงจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ธนาคารจำนวนมากต้องปิดตัว ผู้คนอดอยาก พืชผลทางการเกษตรขายไม่ออก เหล่าเกษตรกรสิ้นเนื้อประดาตัว หนำซ้ำยังเกิดปัญหาภัยแล้งรุนแรงสร้างความเสียหายให้พืชผลไปทั่วทุกหย่อมหญ้า เหล่าทหารผ่านศึกต่างถูกทิ้งให้เผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยวโดยไร้วี่แววความช่วยเหลือจากรัฐบาล
ในวันที่ความสิ้นหวังบีบคั้นชีวิตจนถึงขีดสุด ทุกคนล้วนคิดว่าคงไม่มีอะไรจะเลวร้ายได้มากกว่านี้อีกแล้ว แต่พวกเขาก็รู้ตัวได้ทันทีว่าคิดผิด เมื่อหายนะระลอกที่สองได้ซัดเข้ามาเป็นกองทัพอสูรร้ายสุดหิวโหยในร่างนกยักษ์สูงเกือบ 2เมตร ราชานกแห่งท้องทุ่งออสเตรเลีย นามว่า
อีมู
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด
นกอีมูเป็นนกบินไม่ได้ขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ความสูง1.9เมตร หนัก 60-70กิโลกรัม สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 50 กม./ชม. ซึ่งปกติแล้วจะรวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ออกหากินโดยไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับมนุษย์ แต่นั่นไม่ใช่กับกองทัพอีมูที่หิวกระหาย 20,000 ตัวในครั้งนี้
ในภาวะแล้งจัดที่เกิดขึ้น ฟาร์มของเหล่าเกษตรซึ่งอุดมไปด้วยน้ำและข้าวสาลีก็ไม่ต่างจากโรงทานที่เปิดรอเหล่านกอีมูเข้ามากินดื่มกันอย่างอิสระ ฝูงนกบุกทลายรั้วดักกระต่ายเข้าโจมตีทุ่งข้าวสาลีด้วยจำนวนมหาศาล แม้ว่าเหล่าทหารปลดระวางจะเข้ายิงต่อต้านแต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งความหิวของกองทัพนกยักษ์ไว้ได้ เหล่านกอีมูยังคงบุกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไล่กินผลผลิตของชาวนาราวกับเป็นโต๊ะบุฟเฟต์ จนน้ำพักน้ำแรงของพวกเขาพินาศลงกับตา
(กระต่ายเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของชาวออสซี่ในสมัยนั้น ด้วยการขยายพันธุ์ที่รวดเร็ว กระต่ายได้ยึดครองพื้นที่ไปครึ่งในทวีปด้วยจำนวนกว่าหมื่นล้านตัว พวกมันกัดกินพืชผลของเกษตรกร ทำลายพืชพื้นเมืองจนราบเป็นหน้ากลองอย่างที่ไม่มีใครหยุดยั้งได้ จนในที่สุดต้องมีการสร้างรั้วกันกระต่ายขึ้นในระหว่างที่หาวิธีกำจัดกองกำลังหูตั้งที่มีมากจนเกินไป)
เมื่อกำลังของชาวบ้านไม่สามารถหยุดยั้งวิกฤตในครั้งนี้ได้ รัฐบาลจึงเป็นความหวังสุดท้ายที่จะช่วยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวแทนชาวบ้านได้เดินทางไปยัง Canberra เพื่อยื่นคำร้องถึงเซอร์ จอร์จ เพียร์ซ(Sir George Pearce) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ขอให้ทหารเข้ามาขับไล่นกอีมูซึ่งกำลังปาร์ตี้กันอย่างสนุกสนานในฟาร์มของพวกเขา
แต่สิ่งที่ท่านรัฐมนตรีทำกลับเหนือล้ำขึ้นไปยิ่งกว่า เพราะแทนที่จะขับไล่นกออกไปเพื่อจบภารกิจ Sir George Pearce กลับลงนามประกาศสงครามล้างบางนกอีมูอย่างเป็นทางการ โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ยิงปืนจะต้องเป็นทหารของกองทัพเท่านั้น และเหล่าเกษตรกรต้องออกค่าอาหาร ที่พัก ค่ากระสุนในศึกครั้งนี้ทั้งหมด ซึ่งแม้จะเป็นเงื่อนไขที่ขมขื่นของผู้เสียสละที่ถูกชาติทอดทิ้งแต่นั่นก็คือฟางเส้นสุดท้ายที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้เช่นกัน
ในที่สุดเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้นปฐมบทแห่งสงครามระหว่างคนกับสัตว์ครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์โลก สงครามที่สร้างความอับอายให้กับกองทัพออสเตรเลียมาจนปัจจุบันนี้ก็ปะทุขึ้น
ปฐมบทสงครามแห่งความอัปยศ
ด้วยความมั่นใจในศักยภาพอันยอดเยี่ยมของกองทัพออสเตรเลียและปืนกลLewisซึ่งเคยเฉิดฉายบนเวทีสงครามโลก ช่วยทหารออสซี่ไล่ถลุงกองทัพเยอรมันจนสิ้นท่ามาแล้ว พันตรี จี.ดับเบิ้ลยู.เมอร์ดิทธ์ (G.W. Meredith)ได้นำทัพทหารปืนใหญ่ 12 นาย ปืนกลLewis 2 กระบอก และกระสุน 10,000 นัด มุ่งหน้าสู่Campion หมายใช้นกอีมูเป็นเป้าซ้อมยิงให้เหล่าทหารใหม่ และจบภารกิจไปแบบกินหมู ซึ่งกว่าพันตรีจะรู้สึกตัวว่าคิดผิดก็สายเกินไปเสียแล้ว
ปืนกลLewis
31 ตุลาคม 1932 เหล่าทหารหาญได้เดินทางมาถึงสนามรบอย่างฮึกเหิม ทุกนายพร้อมออกถล่มข้าศึกด้วยทุกสิ่งที่มีอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ราวกับลางบอกเหตุแห่งความล้มเหลวกำลังปรากฏขึ้น ฝนห่าใหญ่กระหน่ำลงประเดิมการออกปฏิบัติการของนายทหารตั้งแต่วันแรก และต้องจบวันลงไปด้วยความเงียบสงัด เมื่อไม่มีกระสุนได้ลั่นจากปลายกระบอกแม้แต่นัดเดียว
2 พฤศจิกายน 1932 The Great Emu War เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการพร้อมกับเสียงปืนกลสะเทือนไปทั่วท้องทุ่ง เหล่านายทหารปืนใหญ่ได้เริ่มปฏิบัติการซุ่มโจมตีฝูงนกยักษ์จำนวน 50 ตัว โดยมีชาวบ้านคอยต้อนนกอีมูให้เข้าสู่ทุ่งสังหารอย่างที่คิดไว้ เว้นเสียแต่สิ่งเดียวที่บรรดานักรบทั้งหลายไม่เคยคาดคิดคือศัตรูของเขาเก่งเกินไป
ทันทีที่เสียงปืนสิ้นสุดลง ไม่มีนกแม้แต่ตัวเดียวที่สิ้นใจตาย ก่อนที่กระสุนชุดที่สองจะลั่นตามมาติด ๆ แต่กลับสามารถคร่าชีวิตนกอีมูได้เพียง 3-4 ตัวเท่านั้น พวกมันถึกทายาด ไวเหมือนปรอท และฉลาดเป็นกรด เมื่อถูกต้อนจนเข้าในระยะยิงนกอีมูก็เริ่มใช้กลยุทธดาวกระจายแตกตัวออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จนเล็งเป้าไม่ได้ ก่อนจะวิ่งหายไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ใครจะแบกปืนกลหนักเกือบ 13 กก. ตามไล่ยิงได้ทัน ทำให้เหล่าทหารจบภารกิจวันแรกด้วยนกอีมู 12 ศพ กับการสูญเสียกระสุนจำนวนมาก
พวกมันได้สั่งสอนให้มนุษย์ได้รู้ว่าเพียงแค่เดินดุ่ม ๆ เข้ามาพร้อมปืนกลนั้นยังไม่พอ
ศึกชิงไหวพริบ
เมื่อสงครามไม่ใช่การไล่ถลุงฝ่ายเดียวอย่างที่มนุษย์คิดอีกต่อไป การชิงไหวชิงพริบของมนุษย์และนกจึงเกิดขึ้น 4 พฤศจิกายน 1932 หลังการวางแผนอย่างแยบยล ทหารได้ตั้งปืนกลซุ่มยิง ณ ริมสันเขื่อนซึ่งนกอีมูต้องแวะเวียนมาดื่มน้ำอย่างขาดไม่ได้
ทุ่งสังหารคราคร่ำไปด้วยนกอีมูถึง 1,000 ตัว ที่ยังสนุกสนานกับการดื่มกินโดยไม่รู้ตัวแม้แต่น้อยว่าเงาหัวกำลังจะโดนมัจจุราชเด็ดไปอีกไม่ช้า ผลจากการรัวปืน Lewis จนหมดแม็กกาซีนทำให้เจ้านกยักษ์ร่วงลงกองกับพื้นทันที 12 ตัว ส่วนที่เหลือต่างวิ่งหนีหัวซุกหัวซุนเพื่อเอาชีวิตรอด นายทหารไม่รอช้ารีบส่งกระสุนชุดต่อไปเข้ารังเพลิงอย่างรวดเร็วหวังเชิญนกจอมเจ้าเล่ห์ที่เหลือไปสู่คติตามเพื่อนที่เพิ่งสิ้นใจไป แต่ไม่รู้ว่าเพราะนกเหล่านี้ทำบุญมาดีหรือบรรดาทหารออสซี่เคยเดินเหยียบเท้าเทพีแห่งโชคมาก่อน ไกปืนที่ลั่นในครั้งที่ 2 เกิดขัดลำกล้องอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ปืนกลLewisผู้องอาจในสงครามโลกกลับกลายเป็นเหล็กทับกระดาษต่อหน้านกอีมูไปในทันที
ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นทำให้พันตรีMeredith จำเป็นต้องเปลี่ยนแผนย้ายกำลังพลลงทางใต้ซึ่งแหล่งข่าวได้แจ้งมาว่านกค่อนข้างเชื่องกว่าน่าจะยิงทิ้งได้อย่างง่ายดาย แต่สี่เท้ายังรู้พลาดแหล่งข่าวยังรู้พลั้ง นกที่ว่าเชื่องก็ยังไม่ใช่หมูให้เคี้ยวกินกันได้ง่าย ๆ ผลการล่านกอีมูทางใต้ล้มเหลวไม่เป็นท่า กระสุนมากมายปลิวว่อนถูกยอดหญ้าราวกับละครไทยหลังข่าวโดยไม่ได้ชีวิตนกอีมูแม้แต่ตัวเดียว
และก่อนที่ผลงานการรบจะย่ำแย่ลงกว่านี้ผู้พันแห่งกองกำลังกำราบนกก็เกิดไอเดียสุดบรรเจิดในการนำปืนกล Lewis มาติดตั้งไว้หลังรถบรรทุกประหนึ่งว่าเป็นรถฮัมวี่แห่งที่ราบออสเตรเลียตะวันตก ออกไล่ขยี้นกไปทั่วท้องทุ่งข้าวสาลี แต่แน่นอนว่ารถบรรทุกย่อมไม่ใช่รถฮัมวี่ เมื่อเจอความขรุขระของถนนรถฮัมวี่handmade ก็กลายเป็นรถบั๊มงานวัดไปในพริบตา
สุดท้ายยุทธการขับรถถลุงนกก็จำต้องยกเลิกไปเพราะนอกจากความสั่นสะเทือนที่ทำให้เล็งเป้าไม่ได้ และพื้นที่ถนนทำให้รถเดินทางได้จำกัดแล้ว ไอเดียที่ล้มเหลวก็อาจทำให้ชีวิตงานของพันตรีต้องลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตามสภาพถนนก็เป็นได้
สิ้นสงครามด้วยความอับอาย
5 พฤศจิกายน 1932 หลังการถูกไล่ล่าถึง 4 วันเต็ม ในที่สุดเหล่านกอีมูก็ไม่ทนอีกต่อไป มีรายงานจากทหารว่านกบางกลุ่มเริ่มรวมตัวกันและเกิดจ่าฝูงขึ้น ผู้นำฝูงจะคอยระวังภัยในระหว่างที่ตัวอื่น ๆ กำลังถล่มทุ่งข้าวสาลีอยู่สนุกสนาน และเมื่อพบทหารเข้ามาใกล้มันจะส่งสัญญาณให้ลูกฝูงหลบหนีในขณะที่ตัวเองคอยคุมสถานการณ์จนกว่าทุกตัวจะหนีไปจนหมด
หากนี่คือการกระทำของมนุษย์แล้ว คงเป็นการเสียสละที่ได้รับการเชิดชูเยี่ยงวีรบุรุษไปตราบนานเท่านาน แต่เมื่อการเสียสละนี้เกิดในนกอีมูแล้วมันคือความปวดเศียรเวียนเกล้าของเหล่าชายชาตินักรบที่มากขึ้นอีกร้อยเท่าพันทวี เพราะลำพังการไล่ยิงพวกมันก็ทำได้ยากอยู่แล้ว ยังมีหน่วยระวังภัยเพิ่มขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ความหวังในการรบริบหรี่ลงไปอีก
การปฏิบัติงานที่ล้มเหลวครั้งนี้ทำให้สื่อต่าง ๆ ที่จับตาดูอยู่พากันวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นหัวข้ออภิปรายในสภา Sir George Pearce รัฐมนตรีกลาโหม ถูกตั้งฉายาล้อเลียนว่ารัฐมนตรีสงครามปราบนกอีมู ( Minister of Emu War)โดยวุฒิสมาชิกเจมส์ ดันน์(James Dunn) จนในที่สุดก็มีมติให้ทหารถอนทัพกลับCanberraในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1932
สรุปจบสงครามยกแรกด้วยความตายของนกอีมู50 ตัว(ข่าวบางแหล่งบอกว่าฆ่าได้200-500ตัว) สูญเสียกระสุน 2,500นัด (ทหารหาญของพันตรีต้องใช้กระสุนกว่า1ใน4เพื่อสังหารนกเพียง 1%) และมนุษย์ยอมเป็นฝ่ายถอยทัพในวันที่ 6 ของสงคราม
นกอีมูเป็นฝ่ายได้ชัย