สภากาชาดไทยแถลงเสียใจ ย้ำ 'ผู้บริจาคโลหิต' ต้องให้ข้อมูลอย่างซื่อตรง
May 11, 2019
สภากาชาดไทย แถลงเสียใจกรณีผู้ป่วยรักษาโรคลูคีเมียติดเชื้อเอชไอวีจากเลือดผู้บริจาค ย้ำผู้บริจาคโลหิตต้องช่วยคัดกรองเลือดของตนว่าปลอดภัย เนื่องจากโรคบางชนิดมีระยะเริ่มต้นไม่เท่ากัน น้ำยาในห้องปฏิบัติการอาจตรวจไม่พบ
ผศ.พญ.จารุพร พรหมวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พร้อมด้วยนายเกรียงศักดิ์ ไชยวงค์ ผู้เชี่ยวชาญนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้าฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิต ร่วมแถลงข่าวกรณีหนุ่มลูกครึ่งญี่ปุ่น ไปรักษาอาการป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และได้รับเชื้อเอชไอวีระหว่างการให้เลือด ซึ่งต่อมาโรงพยาบาลดังกล่าวออกแถลงการณ์ว่าได้รับเลือดจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ทั้งนี้ สภากาชาดไทยขอแสดงความเสียใจต่อกรณีดังกล่าว โดยสภากาชาดไทยมีความพยายามทำให้เลือดที่ได้รับบริจาคมีความปลอดภัยสูงสุด ในขั้นตอนการบริจาคโลหิตนั้น ก่อนอื่นผู้บริจาคเลือดจะต้องคัดกรองตัวเองว่ามีความเสี่ยงของเลือด ในการให้เลือดต่อผู้อื่นหรือไม่ ต้องทำการคัดกรองผ่านการตอบแบบสอบถาม ต่อมาพยาบาลจะทำการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองอีกครั้งว่าผู้บริจาคเลือดมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อให้กับผู้ป่วยหรือไม่
จากนั้นจะนำเลือดที่ได้รับบริจาคไปตรวจภายในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา จะมีการตรวจน้ำเหลืองว่ามีภูมิต่อเชื้อหรือไม่ การตรวจดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) เพื่อหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับเอกเสบซี และบี โดยกระบวนการตรวจเลือดนั้น สภากาชาดไทยมีความมั่นใจว่าเลือดที่ได้รับจากการบริจาคมีความปลอดภัยและมาตรฐานระดับสากล
แม้เลือดที่มีความปลอดภัยและมาตรฐานระดับสากล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากจะมีระยะที่ผู้บริจาคโลหิตจะมีความเสี่ยงเช่นกัน เช่น การฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือด การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ก็จะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะเริ่มต้นที่มีเชื้ออยู่ในเลือด เรียกว่า วินโดว์พีเรียด (Window Period) ระบบการตรวจในห้องปฏิบัติการจะยังไม่พบเชื้อดังกล่าว เป็นข้อจำกัดทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีที่ไหนสามารถตรวจได้ เนื่องจากเชื้ออาจอยู่ในเนื้อเยื่อหรืออยู่ในเลือดปริมาณที่น้อยมาก
ดังนั้น ผู้บริจาคโลหิตจะต้องมั่นใจว่าไม่ได้อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อและตรวจเชื้อไม่เจอ ที่ผ่านมา สภากาชาดไทยพยายามรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองว่าในการบริจาคเลือดทุกครั้งต้องมีความมั่นใจว่าเลือดที่จะบริจาคปลอดภัย
อีกทั้ง ระยะเริ่มต้นในแต่ละโรคไม่เท่ากัน เชื้อเอชไอวีจะใช้เวลา 5-7 วัน หากไปรับความเสี่ยงมาอาจจะเป็นช่วงที่เชื้อเข้าไปสู่ร่างกาย แต่น้ำยาในห้องปฏิบัติการอาจยังตรวจไม่พบ ส่วนไวรัสตับอักเสบบี ประมาน 24-27 วัน สามารถติดเชื้อได้ทั่วไป ในประเทศไทย สถานการณ์ยังคงระบาด ส่วนไวรัสตับอักเสบซี 3-5 วัน จะรับเชื้อผ่านการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ร่วมผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับเอกเสบบีและซีและเชื้อเอชไอวี
ดังนั้น จึงขอเรียนว่าส่วนใหญ่ผู้บริจาคจะช่วยคัดกรองตัวเองเพื่อให้เลือดมีความปลอดภัย แต่บางส่วนพบว่าผู้บริจาคมีเชื้อที่สามารถตรวจเจอได้ชัดเจน ไม่ได้อยู่ในระยะวินโดว์พีเรียส ทำให้ตรวจพบได้
กรณีดังกล่าวข้อผิดพลาดอยู่ในขั้นตอนใดนั้น ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 โดยปีนั้น สภากาชาดไทยยังไม่มีการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (Nucleic Acid Testing : NAT) ตรวจดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอโดยสมบูรณ์ เนื่องจากเพิ่งมีการนำวิทยาการดังกล่าวมาใช้ในปี 2549 ช่วงดังกล่าวยังไม่ได้มีการตรวจเลือดสมบูรณ์ร้อยละ 100 เพราะน้ำยาตรวจเพิ่งถูกผลิตขึ้น และนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยช่วงปีดังกล่าว จึงอยู่ระหว่างการนำวิทยาการดังกล่าวมาใช้
ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่าเลือดทุกยูนิตในช่วงปีดังกล่าวจะถูกตรวจด้วย NAT ผู้ที่ได้รับเลือดปีดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงบ้าง แต่ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริจาคโลหิต ถามว่ามีโอกาสหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้บริจาค การทดสอบเลือดอาจช่วยได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้บริจาคต้องพูดความจริง สภากาชาดไทยไม่สามารถทำให้เลือดนั้นปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ผู้บริจาคโลหิตไม่ได้ให้ความร่วมมือ
แต่ในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตได้ลงทุนนำเทคโนโลยีการตรวจเลือดเพื่อให้เลือดปลอดภัยสูงสุด โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิตตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) การตรวจหาเชื้อโรคที่ถ่ายทอดทางการให้เลือด ทั้งด้านน้ำเหลืองวิทยา (Serologic Testing) และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (NAT) ยึดตามนโยบายบริการโลหิตแห่งชาติ และมาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะมีการพูดคุยในระดับผู้บริหารต่อไป
https://www.voicetv.co.th/read/czaXKhJla
สภากาชาดไทยแถลงเสียใจ ย้ำ 'ผู้บริจาคโลหิต' ต้องให้ข้อมูลอย่างซื่อตรง
May 11, 2019
สภากาชาดไทย แถลงเสียใจกรณีผู้ป่วยรักษาโรคลูคีเมียติดเชื้อเอชไอวีจากเลือดผู้บริจาค ย้ำผู้บริจาคโลหิตต้องช่วยคัดกรองเลือดของตนว่าปลอดภัย เนื่องจากโรคบางชนิดมีระยะเริ่มต้นไม่เท่ากัน น้ำยาในห้องปฏิบัติการอาจตรวจไม่พบ
ผศ.พญ.จารุพร พรหมวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พร้อมด้วยนายเกรียงศักดิ์ ไชยวงค์ ผู้เชี่ยวชาญนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้าฝ่ายตรวจคัดกรองโลหิต ร่วมแถลงข่าวกรณีหนุ่มลูกครึ่งญี่ปุ่น ไปรักษาอาการป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และได้รับเชื้อเอชไอวีระหว่างการให้เลือด ซึ่งต่อมาโรงพยาบาลดังกล่าวออกแถลงการณ์ว่าได้รับเลือดจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ทั้งนี้ สภากาชาดไทยขอแสดงความเสียใจต่อกรณีดังกล่าว โดยสภากาชาดไทยมีความพยายามทำให้เลือดที่ได้รับบริจาคมีความปลอดภัยสูงสุด ในขั้นตอนการบริจาคโลหิตนั้น ก่อนอื่นผู้บริจาคเลือดจะต้องคัดกรองตัวเองว่ามีความเสี่ยงของเลือด ในการให้เลือดต่อผู้อื่นหรือไม่ ต้องทำการคัดกรองผ่านการตอบแบบสอบถาม ต่อมาพยาบาลจะทำการสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองอีกครั้งว่าผู้บริจาคเลือดมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อให้กับผู้ป่วยหรือไม่
จากนั้นจะนำเลือดที่ได้รับบริจาคไปตรวจภายในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสากลเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา จะมีการตรวจน้ำเหลืองว่ามีภูมิต่อเชื้อหรือไม่ การตรวจดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) เพื่อหาเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับเอกเสบซี และบี โดยกระบวนการตรวจเลือดนั้น สภากาชาดไทยมีความมั่นใจว่าเลือดที่ได้รับจากการบริจาคมีความปลอดภัยและมาตรฐานระดับสากล
แม้เลือดที่มีความปลอดภัยและมาตรฐานระดับสากล แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากจะมีระยะที่ผู้บริจาคโลหิตจะมีความเสี่ยงเช่นกัน เช่น การฉีดยาเสพติดเข้าเส้นเลือด การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ก็จะได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะเริ่มต้นที่มีเชื้ออยู่ในเลือด เรียกว่า วินโดว์พีเรียด (Window Period) ระบบการตรวจในห้องปฏิบัติการจะยังไม่พบเชื้อดังกล่าว เป็นข้อจำกัดทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีที่ไหนสามารถตรวจได้ เนื่องจากเชื้ออาจอยู่ในเนื้อเยื่อหรืออยู่ในเลือดปริมาณที่น้อยมาก
ดังนั้น ผู้บริจาคโลหิตจะต้องมั่นใจว่าไม่ได้อยู่ในระยะที่แพร่เชื้อและตรวจเชื้อไม่เจอ ที่ผ่านมา สภากาชาดไทยพยายามรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองว่าในการบริจาคเลือดทุกครั้งต้องมีความมั่นใจว่าเลือดที่จะบริจาคปลอดภัย
อีกทั้ง ระยะเริ่มต้นในแต่ละโรคไม่เท่ากัน เชื้อเอชไอวีจะใช้เวลา 5-7 วัน หากไปรับความเสี่ยงมาอาจจะเป็นช่วงที่เชื้อเข้าไปสู่ร่างกาย แต่น้ำยาในห้องปฏิบัติการอาจยังตรวจไม่พบ ส่วนไวรัสตับอักเสบบี ประมาน 24-27 วัน สามารถติดเชื้อได้ทั่วไป ในประเทศไทย สถานการณ์ยังคงระบาด ส่วนไวรัสตับอักเสบซี 3-5 วัน จะรับเชื้อผ่านการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น ร่วมผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับเอกเสบบีและซีและเชื้อเอชไอวี
ดังนั้น จึงขอเรียนว่าส่วนใหญ่ผู้บริจาคจะช่วยคัดกรองตัวเองเพื่อให้เลือดมีความปลอดภัย แต่บางส่วนพบว่าผู้บริจาคมีเชื้อที่สามารถตรวจเจอได้ชัดเจน ไม่ได้อยู่ในระยะวินโดว์พีเรียส ทำให้ตรวจพบได้
กรณีดังกล่าวข้อผิดพลาดอยู่ในขั้นตอนใดนั้น ทราบว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 โดยปีนั้น สภากาชาดไทยยังไม่มีการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (Nucleic Acid Testing : NAT) ตรวจดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอโดยสมบูรณ์ เนื่องจากเพิ่งมีการนำวิทยาการดังกล่าวมาใช้ในปี 2549 ช่วงดังกล่าวยังไม่ได้มีการตรวจเลือดสมบูรณ์ร้อยละ 100 เพราะน้ำยาตรวจเพิ่งถูกผลิตขึ้น และนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยช่วงปีดังกล่าว จึงอยู่ระหว่างการนำวิทยาการดังกล่าวมาใช้
ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่าเลือดทุกยูนิตในช่วงปีดังกล่าวจะถูกตรวจด้วย NAT ผู้ที่ได้รับเลือดปีดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงบ้าง แต่ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริจาคโลหิต ถามว่ามีโอกาสหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้บริจาค การทดสอบเลือดอาจช่วยได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้บริจาคต้องพูดความจริง สภากาชาดไทยไม่สามารถทำให้เลือดนั้นปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ผู้บริจาคโลหิตไม่ได้ให้ความร่วมมือ
แต่ในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตได้ลงทุนนำเทคโนโลยีการตรวจเลือดเพื่อให้เลือดปลอดภัยสูงสุด โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิตตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) การตรวจหาเชื้อโรคที่ถ่ายทอดทางการให้เลือด ทั้งด้านน้ำเหลืองวิทยา (Serologic Testing) และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (NAT) ยึดตามนโยบายบริการโลหิตแห่งชาติ และมาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะมีการพูดคุยในระดับผู้บริหารต่อไป
https://www.voicetv.co.th/read/czaXKhJla