●●จำคุก 50 ปี “จุฑามาศ” อดีตผู้ว่าฯ ททท.รับสินบนนักธุรกิจสหรัฐฯ จัดงานบางกอกฟิล์ม
ส่วนลูกสาวถูกตัดสิน 40 ปี●●
ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 11 กระทง 50 ปี “จุฑามาศ” อดีตผู้ว่าการ ททท.รับสินบนข้ามชาตินักธุรกิจอเมริกา จัดงานบางกอกฟิล์ม ขณะที่ลูกสาวได้ลดโทษเหลือ 10 กระทง เหลือจำคุก 40 ปี นอกจากนี้
ศาลอุทธรณ์ยังยกเลิกคำสั่งริบเงินทำผิด 62 ล้านบาท ชี้อัยการโจทก์ไม่ได้ขอท้ายฟ้อง โดยช่วงที่
ทำการฟ้องยังใช้กฎหมายเก่า
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ห้องพิจารณา 8 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี เวลา 10.15 น.
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีสินบนข้ามยเลขดำที่ อท.14/2558, อท.46/2559 ที่ อัยการ
คดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางจุฑามาศ ศิริวรรณ อายุ 72 ปี อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) และ น.ส.จิตติโสภา ศิริวรรณ อายุ 45 ปี บุตรสาว เป็นจำเลยที่ 1-2
ในความผิดฐานเป็นพนักงาน เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อการกระทำอย่างใดในหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่,
เป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต,
เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อ
เอื้อแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิตามสัญญาแก่หน่วยของรัฐ
และเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. 2502 มาตรา 6 , 11
และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนรอราคาหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 มาตรา 12
จากกรณีรับเงินตอบแทน สามี-ภรรยาชาวสหรัฐอเมริกา นักธุรกิจภาพยนตร์ เพื่อให้ได้สิทธิในการจัดงาน
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2002-2007 (หรือปี พ.ศ. 2545-2550) มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท
โดยอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 60 เห็นว่า การจัดจ้างโครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ มีการกำหนดเงื่อนไขโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2538
โดยเฉพาะโครงการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2546 ไม่เป็นการจ้างบริษัทที่เป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ที่เคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถผลงานมาแล้ว
โดยนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 คบคิดกับนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน นักธุรกิจในสหรัฐฯ จัดตั้งบริษัท
เข้ามาเป็นคู่สัญญากับ ททท. และยังเรียกรับเงินสินบนจากนายเจอรัลด์ โดยโอนเงินไปยัง น.ส.จิตติโสภา
จำเลยที่ 2 กับเพื่อน 59 รายการเป็นเงิน 1,822,294 เหรียญสหรัฐ
พฤติการณ์ของนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็น
ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และผิดฐาน
เรียกรับทรัพย์สินฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6, 12
ให้จำคุกนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 รวม 11 กระทงๆ ละ 6 ปี เป็นจำคุกทั้งสิ้น 66 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทง
ตามกฎหมายแล้ว ให้จำคุกสูงสุดเป็นเวลา 50 ปี
และจำคุก น.ส.จิตติโสภา จำเลยที่ 2 รวม 11 กระทงเช่นกัน กระทงละ 4 ปีโดยจำคุกทั้งสิ้น 44 ปี ขณะที่ศาล
มีคำสั่งให้ริบเงินกระทำผิด 1,822,494 เหรียญสหรัฐ และดอกผลที่เกิดขึ้นให้ตกเป็นของแผ่นดินด้วย โดยเงินนั้น
เป็นทรัพย์ที่ฝากอยู่ในธนาคารต่างประเทศ ศาลจึงได้กำหนดมูลค่าทรัพย์ที่สั่งริบนั้น เป็นมูลค่าทั้งสิ้น
62,724,776 บาท
โดยหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วระหว่างอุทธรณ์ นางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. และ น.ส.จิตติโสภา บุตรสาว จำเลยที่ 1-2 ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง เนื่องจากไม่ได้รับการประกันตัว วันนี้ศาลได้เบิกตัวจำเลยทั้งสองมาจากเรือนจำ ทั้งสองยังคงมีผิวพรรณที่สดใสไม่หม่นหมอง ขณะที่วันนี้ก็มีผู้มาให้กำลังใจด้วย
5-6 คน
ขณะที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาและพิเคราะห์พยาน
หลักฐานโจทก์แล้ว มีคำแปลคำให้การของเจ้าหน้าที่ FBI สหรัฐอเมริกา ที่ทำการสืบสวนสอบสวน ดำเนินคดี
กับสามี-ภรรยาตระกูลกรีน ซึ่งได้มาตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535
โดยเมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นตามหลักการพิจารณาคดีอาญาแล้ว ก็รับฟังได้ว่า
นางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 ได้สมคบโดยให้คำแนะนำกับสามี-ภรรยาตระกูลกรีนในการเข้ามาร่วมจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในลักษณะของการฮั้วประมูลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
แต่ในส่วนของ น.ส.จิตติโสภา บุตรสาว จำเลยที่ 2 นั้นในการฟ้องของอัยการโจทก์ ไม่ได้ระบุและนำสืบชัดเจน
ในการที่จะร่วมสนับสนุนกระทำผิดต่อการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ปี 2550 และส่วนที่จำเลยที่ 2
อ้างว่าเงินที่โอนเข้าบัญชีในต่างประเทศ นั้นเป็นเงินที่ได้จากการเป็นที่ปรึกษาของนายเจอรัลด์ กรีน ช่วงปี 2545
นั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากปรากฏว่าเป็นการโอนเงินหลังจากที่นายเจอรัลด์ได้ทำสัญญาการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแล้ว 2 สัปดาห์ และก็ไม่เคยปรากฏว่าเมื่อจำเลยจบการศึกษาปริญญาตรีจนกระทั่งมีการศึกษาต่อ
ปริญญาโทนั้นจำเลยที่ 2 ได้ประกอบธุรกิจหรือมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวมาก่อน จนจะ
ได้รับค่าปรึกษาจากนายเจอรับด์กรีนคิดเป็นเงินไทยกว่า 60 ล้านบาทนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ฯ จึงเห็นควรพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก น.ส.จิตติโสภา จำเลยที่ 2 รวม 10 กระทงจากที่
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 11 กระทงๆ ละ 4 ปี รวมจำคุกทั้งสิ้น 40 ปี
ส่วนนางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. จำเลยที่ 1 คงจำคุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น 11 กระทงๆ ละ 6 ปี
จำคุกทั้งสิ้น 66 ปีแต่เมื่อรวมโทษตามกฎหมายแล้วให้จำคุกสูงสุดเป็นเวลา 50 ปี
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งริบทรัพย์ของศาลชั้นต้นที่ให้ริบเงินที่เป็นการกระทำผิดซึ่งเป็นเงินใน
บัญชีต่างประเทศกว่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ เพราะคดีนี้อัยการโจทก์
ไม่ได้มีคำขอให้ริบของกลางหรือเงินใดๆ ไว้ท้ายฟ้อง และบทเฉพาะกาลตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาทุจริต
และประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 52 บัญญัติ ให้บรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน
วันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับนั้น ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อน
ดังนั้นคดีนี้จึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายคดีอาญาสามัญ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่นำมาตรการริบทรัพย์สินใน
คดีทุจริตไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 31 (2) , มาตรา 32 (2) และมาตรา 33 วรรคหนึ่งนั้น
มาใช้กับคดีนี้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
ด้านนายสุชาติ ชมกุล ทนายความจำเลยกล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจำเลยจะยื่นฎีกาหรือไม่ เนื่องจากเรา
ต้องรอคัดคำพิพากษาฉบับเต็มและกลับไปปรึกษากับคณะทำงานทนายความคดีนี้ซึ่งมีหลายคน เพื่อช่วยกัน
ตรวจดูคำพิพากษาอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่พนักงานอัยการซึ่งรับมอบหมายมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันนี้ ก็กล่าวเพียงว่า คดีนี้ ยังสามารถที่
จะใช้สิทธิ์ยื่นฎีกาได้แต่ทั้งนี้คงต้องไปศึกษา ข้อกฎหมายก่อนว่า หลักการฎีกาจะเป็นไปตามกฎหมายเก่าหรือกฎหมายใหม่ ซึ่งระบบจะแตกต่างกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้วซึ่งยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองให้จำคุกนั้น
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็ได้ควบคุมตัวทั้งสองกลับไปคุมขังยังทัณฑสถานหญิงกลาง ซึ่งระหว่างที่ยืนฟังคำพิพากษา
เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษนั้นจำเลยทั้งสอง ก็คงมีสีหน้าเรียบเฉย
ขณะที่คดีศาลได้แสวงหาข้อเท็จจริงไต่สวนพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสร็จเมื่อเดือน ธ.ค. 2559
ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาพิจารณาคดีเสร็จสิ้นใน 1 ปี นับจากวันที่อัยการยื่นฟ้องคดีเมื่อปี 2558 ซึ่งฝ่าย
นางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. และบุตรสาว นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนต่อมาศาลกว่า 10 ปาก และตัว
นางจุฑามาศและบุตรสาวก็เข้าไต่สวนฐานะจำเลยด้วย และยังมีชาวต่างชาติ 3 ราย ซึ่งเป็นทนายความ
สามีภรรยานักธุรกิจภาพยนตร์สัญชาติอเมริกันในชั้นศาลอุทธรณ์ในต่างประเทศ และผู้ร่วมงานกับ
สามีภรรยาชาวอเมริกันร่วมเป็นพยานไต่สวนด้วย
Cr.
https://mgronline.com/crime/detail/9620000044040
●●จำคุก 50 ปี “จุฑามาศ” อดีตผู้ว่าฯ ททท.รับสินบนนักธุรกิจสหรัฐฯ จัดงานบางกอกฟิล์ม ส่วนลูกสาวถูกตัดสิน 40 ปี●●
ส่วนลูกสาวถูกตัดสิน 40 ปี●●
ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 11 กระทง 50 ปี “จุฑามาศ” อดีตผู้ว่าการ ททท.รับสินบนข้ามชาตินักธุรกิจอเมริกา จัดงานบางกอกฟิล์ม ขณะที่ลูกสาวได้ลดโทษเหลือ 10 กระทง เหลือจำคุก 40 ปี นอกจากนี้
ศาลอุทธรณ์ยังยกเลิกคำสั่งริบเงินทำผิด 62 ล้านบาท ชี้อัยการโจทก์ไม่ได้ขอท้ายฟ้อง โดยช่วงที่
ทำการฟ้องยังใช้กฎหมายเก่า
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ห้องพิจารณา 8 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถ.นครไชยศรี เวลา 10.15 น.
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีสินบนข้ามยเลขดำที่ อท.14/2558, อท.46/2559 ที่ อัยการ
คดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางจุฑามาศ ศิริวรรณ อายุ 72 ปี อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) และ น.ส.จิตติโสภา ศิริวรรณ อายุ 45 ปี บุตรสาว เป็นจำเลยที่ 1-2
ในความผิดฐานเป็นพนักงาน เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อการกระทำอย่างใดในหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่,
เป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต,
เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใดๆ โดยมุ่งหมายไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อ
เอื้อแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิตามสัญญาแก่หน่วยของรัฐ
และเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. 2502 มาตรา 6 , 11
และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนรอราคาหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 มาตรา 12
จากกรณีรับเงินตอบแทน สามี-ภรรยาชาวสหรัฐอเมริกา นักธุรกิจภาพยนตร์ เพื่อให้ได้สิทธิในการจัดงาน
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2002-2007 (หรือปี พ.ศ. 2545-2550) มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท
โดยอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 60 เห็นว่า การจัดจ้างโครงการเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ มีการกำหนดเงื่อนไขโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ไม่เหมาะสม ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2538
โดยเฉพาะโครงการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ปี 2546 ไม่เป็นการจ้างบริษัทที่เป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ที่เคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถผลงานมาแล้ว
โดยนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 คบคิดกับนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน นักธุรกิจในสหรัฐฯ จัดตั้งบริษัท
เข้ามาเป็นคู่สัญญากับ ททท. และยังเรียกรับเงินสินบนจากนายเจอรัลด์ โดยโอนเงินไปยัง น.ส.จิตติโสภา
จำเลยที่ 2 กับเพื่อน 59 รายการเป็นเงิน 1,822,294 เหรียญสหรัฐ
พฤติการณ์ของนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อันเป็น
ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และผิดฐาน
เรียกรับทรัพย์สินฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 6, 12
ให้จำคุกนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 รวม 11 กระทงๆ ละ 6 ปี เป็นจำคุกทั้งสิ้น 66 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทง
ตามกฎหมายแล้ว ให้จำคุกสูงสุดเป็นเวลา 50 ปี
และจำคุก น.ส.จิตติโสภา จำเลยที่ 2 รวม 11 กระทงเช่นกัน กระทงละ 4 ปีโดยจำคุกทั้งสิ้น 44 ปี ขณะที่ศาล
มีคำสั่งให้ริบเงินกระทำผิด 1,822,494 เหรียญสหรัฐ และดอกผลที่เกิดขึ้นให้ตกเป็นของแผ่นดินด้วย โดยเงินนั้น
เป็นทรัพย์ที่ฝากอยู่ในธนาคารต่างประเทศ ศาลจึงได้กำหนดมูลค่าทรัพย์ที่สั่งริบนั้น เป็นมูลค่าทั้งสิ้น
62,724,776 บาท
โดยหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วระหว่างอุทธรณ์ นางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. และ น.ส.จิตติโสภา บุตรสาว จำเลยที่ 1-2 ถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง เนื่องจากไม่ได้รับการประกันตัว วันนี้ศาลได้เบิกตัวจำเลยทั้งสองมาจากเรือนจำ ทั้งสองยังคงมีผิวพรรณที่สดใสไม่หม่นหมอง ขณะที่วันนี้ก็มีผู้มาให้กำลังใจด้วย
5-6 คน
ขณะที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาและพิเคราะห์พยาน
หลักฐานโจทก์แล้ว มีคำแปลคำให้การของเจ้าหน้าที่ FBI สหรัฐอเมริกา ที่ทำการสืบสวนสอบสวน ดำเนินคดี
กับสามี-ภรรยาตระกูลกรีน ซึ่งได้มาตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535
โดยเมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นตามหลักการพิจารณาคดีอาญาแล้ว ก็รับฟังได้ว่า
นางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 ได้สมคบโดยให้คำแนะนำกับสามี-ภรรยาตระกูลกรีนในการเข้ามาร่วมจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในลักษณะของการฮั้วประมูลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
แต่ในส่วนของ น.ส.จิตติโสภา บุตรสาว จำเลยที่ 2 นั้นในการฟ้องของอัยการโจทก์ ไม่ได้ระบุและนำสืบชัดเจน
ในการที่จะร่วมสนับสนุนกระทำผิดต่อการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ปี 2550 และส่วนที่จำเลยที่ 2
อ้างว่าเงินที่โอนเข้าบัญชีในต่างประเทศ นั้นเป็นเงินที่ได้จากการเป็นที่ปรึกษาของนายเจอรัลด์ กรีน ช่วงปี 2545
นั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากปรากฏว่าเป็นการโอนเงินหลังจากที่นายเจอรัลด์ได้ทำสัญญาการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแล้ว 2 สัปดาห์ และก็ไม่เคยปรากฏว่าเมื่อจำเลยจบการศึกษาปริญญาตรีจนกระทั่งมีการศึกษาต่อ
ปริญญาโทนั้นจำเลยที่ 2 ได้ประกอบธุรกิจหรือมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวมาก่อน จนจะ
ได้รับค่าปรึกษาจากนายเจอรับด์กรีนคิดเป็นเงินไทยกว่า 60 ล้านบาทนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ฯ จึงเห็นควรพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก น.ส.จิตติโสภา จำเลยที่ 2 รวม 10 กระทงจากที่
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 11 กระทงๆ ละ 4 ปี รวมจำคุกทั้งสิ้น 40 ปี
ส่วนนางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. จำเลยที่ 1 คงจำคุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น 11 กระทงๆ ละ 6 ปี
จำคุกทั้งสิ้น 66 ปีแต่เมื่อรวมโทษตามกฎหมายแล้วให้จำคุกสูงสุดเป็นเวลา 50 ปี
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งริบทรัพย์ของศาลชั้นต้นที่ให้ริบเงินที่เป็นการกระทำผิดซึ่งเป็นเงินใน
บัญชีต่างประเทศกว่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ เพราะคดีนี้อัยการโจทก์
ไม่ได้มีคำขอให้ริบของกลางหรือเงินใดๆ ไว้ท้ายฟ้อง และบทเฉพาะกาลตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาทุจริต
และประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 52 บัญญัติ ให้บรรดาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อน
วันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับนั้น ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อน
ดังนั้นคดีนี้จึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายคดีอาญาสามัญ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่นำมาตรการริบทรัพย์สินใน
คดีทุจริตไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 31 (2) , มาตรา 32 (2) และมาตรา 33 วรรคหนึ่งนั้น
มาใช้กับคดีนี้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
ด้านนายสุชาติ ชมกุล ทนายความจำเลยกล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจำเลยจะยื่นฎีกาหรือไม่ เนื่องจากเรา
ต้องรอคัดคำพิพากษาฉบับเต็มและกลับไปปรึกษากับคณะทำงานทนายความคดีนี้ซึ่งมีหลายคน เพื่อช่วยกัน
ตรวจดูคำพิพากษาอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่พนักงานอัยการซึ่งรับมอบหมายมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันนี้ ก็กล่าวเพียงว่า คดีนี้ ยังสามารถที่
จะใช้สิทธิ์ยื่นฎีกาได้แต่ทั้งนี้คงต้องไปศึกษา ข้อกฎหมายก่อนว่า หลักการฎีกาจะเป็นไปตามกฎหมายเก่าหรือกฎหมายใหม่ ซึ่งระบบจะแตกต่างกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้วซึ่งยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองให้จำคุกนั้น
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็ได้ควบคุมตัวทั้งสองกลับไปคุมขังยังทัณฑสถานหญิงกลาง ซึ่งระหว่างที่ยืนฟังคำพิพากษา
เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษนั้นจำเลยทั้งสอง ก็คงมีสีหน้าเรียบเฉย
ขณะที่คดีศาลได้แสวงหาข้อเท็จจริงไต่สวนพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยเสร็จเมื่อเดือน ธ.ค. 2559
ที่ผ่านมา รวมระยะเวลาพิจารณาคดีเสร็จสิ้นใน 1 ปี นับจากวันที่อัยการยื่นฟ้องคดีเมื่อปี 2558 ซึ่งฝ่าย
นางจุฑามาศ อดีตผู้ว่าการ ททท. และบุตรสาว นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนต่อมาศาลกว่า 10 ปาก และตัว
นางจุฑามาศและบุตรสาวก็เข้าไต่สวนฐานะจำเลยด้วย และยังมีชาวต่างชาติ 3 ราย ซึ่งเป็นทนายความ
สามีภรรยานักธุรกิจภาพยนตร์สัญชาติอเมริกันในชั้นศาลอุทธรณ์ในต่างประเทศ และผู้ร่วมงานกับ
สามีภรรยาชาวอเมริกันร่วมเป็นพยานไต่สวนด้วย
Cr. https://mgronline.com/crime/detail/9620000044040