เห็นมีการเปิดตัวน้ำมัน B20 มาซักระยะแล้วครับ ที่แรกแนะนำใช้กับรถบรรทุก(ซึ่งก็มีบางเจ้าออกมาบอกว่าใช้ไม่ได้ เอ๊ะยังไง) กลุ่มที่และนำคือ รถบรรทุกที่มีระบบไอเสีย EURO 2 ก็คือเอาเองว่าคงอาจจะกลัวมีปัญหากับระบบ EGR หรือเปล่า แต่ล่าสุดทาง toyota กับ isuzu ก็ออกมาประกาศว่ารถกระบะ และ PPV ของตัวเองใช้ B20 ได้ ที่นี้เลยเกิดข้อสงสัยครับ ว่าสรุปแล้วข้อจำกัดจริงๆของ B20 คืออะไรกันแน่
เท่าที่หาข้อมูลได้
1.ในกรณีที่ใช้ B20 จะต้องเปลี่ยนกรองโซล่าบ่อยกว่าปกติเกือบเท่าตัว ทั้งๆที่เครมว่า B20เผาไหม้สะอาดกว่าแต่ทำไมมีตะกอนเยอะ? มีบางท่านแจ้งว่ามันเกิดจากการล้างเขม่าเติมในเครื่องยนต์ออกมา ฉีด แต่ทาง toyota กลับไม่ได้แจ้งให้ปรับเปลี่ยนการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนกรองโซล่าแต่อย่างไร?(ส่วนตัวผมไม่สามารถหาข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่าจริงหรือเท็จ) ถ้าจริงมันคงลามมาถึงเรื่องการอุดตันของหัวฉีด
2. คุณภาพน้ำมันที่ผสมมา เท่าที่ทราบกระบวนการผลิต bio diesel มีหลายประภท มีคุณภาพและแตกต่างกัน เท่าที่ศึกษามาก็มี 3 แบบหลักๆ
2.1.ไบโอดีเซล (Straight Vegetable Oil)
เป็นไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันของพืช หรือไขมันจากสัตว์โดยตรง เช่น ใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมันจากไขสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เป็นต้น ป้อนลงไปในเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่ต้องผสมหรือเติมสารเคมีอื่นใด หรือปรับปรุงสมบัติของน้ำมันอีก น้ำมันพืชมีความหนืดสูงกว่าน้ำมันดีเซล ดังนั้น จะทำให้หัวฉีดน้ำมันในเครื่องยนต์ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยได้ยาก มีผลให้เกิดการสันดาปไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความยุ่งยาก เมื่อใช้น้ำมันพืชโดยตรงในเครื่องยนต์
2.2.ไบโอดีเซลแบบลูกผสม (Veggie / Kero Mix)
จากปัญหาเรื่องความหนืดของไบโอดีเซลประเภทแรก จึงมีการผสมน้ำมันพืช หรือน้ำมันจากสัตว์กับ “น้ำมันก๊าด” หรือ“น้ำมันดีเซล” เพื่อลดความหนืดของน้ำมันพืชลง เพื่อให้ได้ไบโอดีเซลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำมันดีเซล ให้มากที่สุด
2.3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์
เป็นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้มาจากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน(Transesterification process)เป็นที่ยอมรับในสากล และมีการใช้อย่างทั่วไป ผลิตได้โดยการนำน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ ไปทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ โดยมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา น้ำมันชนิดนี้ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น สหพันธรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ น้ำมันดีเซล มากที่สุดทำให้ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ ได้น้ำมันที่มีความคงตัวมากขึ้น สามารถนำไปเติมในเครื่องยนต์ดีเซลได้ทุกชนิด ทั้งเติมโดยตรงและผสมลงในน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนต่างๆ
คำถามคือ แล้วบ้านเราใช้แบบไหนล่ะ ส่วนตัวคิดว่าแบบที่ 2.2 ครับ เพราะถ้าทำแบบที่ 2.3 น้ำมันไม่น่าทำราคาได้ถูกแบบนี้แน่ๆ
3. Bio diesel จะมีปัญหากัดสาย และ ซีลยาง อันนี้ไม่มีข้อมูลเช่นกัน มีแต่คนว่ากันว่า ส่วนตัวข้อนี้ไม่เห็นด้วย เพราะการผลิต Bio diesel ต้องความคุมค่า pH อยู่แล้ว น้ำมันพืชก็ไม่น่าจะกัดยางนะ(ไม่เหมือนกับ ethanol ที่มีผลชัดเจนกว่า)
4. น้ำมันบูด หรือ การมีแบคที่เรียเติบโตในน้ำมัน อันนี้มีเอกสารพออ้างอิงได้เนื่องจากน้ำมันพืชสามารถเป็นที่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียบางชนิดได้ เลยแนะนำให้ใช้กับรถที่วิ่งตลอด ไม่ใช่รถที่จอดไว้นาน(แต่ก็ไม่ทราบว่าเอาไปผสมกับดีเซลปกติแล้วแบคทีเรียมันจะโตอยู่ไหม) แต่ประเด็นที่น่าคิดต่อ คือ แล้วน้ำมันที่อยู่ในถังตามปั๊มล่ะ อันนั้นนี่ทิ้งไว้นานเลยนะ จะดูได้ยังไงว่าน้ำมันบูดแล้ว
5. น้ำมันเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ ประเทศเราตัดทิ้ง
สรุปคือผมต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ว่าจริงๆแล้วตามหลักวิชาการ ทำไมB20 จึงไม่ได้เหมาะกับรถทุกคัน ทั้งที่ปัจจุบันเราก็ใช้น้ำมัน B5 มาตั้งนานแล้ว
คุยกันเรื่อง Diesel B20 ครับ
เท่าที่หาข้อมูลได้
1.ในกรณีที่ใช้ B20 จะต้องเปลี่ยนกรองโซล่าบ่อยกว่าปกติเกือบเท่าตัว ทั้งๆที่เครมว่า B20เผาไหม้สะอาดกว่าแต่ทำไมมีตะกอนเยอะ? มีบางท่านแจ้งว่ามันเกิดจากการล้างเขม่าเติมในเครื่องยนต์ออกมา ฉีด แต่ทาง toyota กลับไม่ได้แจ้งให้ปรับเปลี่ยนการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนกรองโซล่าแต่อย่างไร?(ส่วนตัวผมไม่สามารถหาข้อมูลวิชาการยืนยันได้ว่าจริงหรือเท็จ) ถ้าจริงมันคงลามมาถึงเรื่องการอุดตันของหัวฉีด
2. คุณภาพน้ำมันที่ผสมมา เท่าที่ทราบกระบวนการผลิต bio diesel มีหลายประภท มีคุณภาพและแตกต่างกัน เท่าที่ศึกษามาก็มี 3 แบบหลักๆ
2.1.ไบโอดีเซล (Straight Vegetable Oil)
เป็นไบโอดีเซลที่ใช้น้ำมันของพืช หรือไขมันจากสัตว์โดยตรง เช่น ใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมันจากไขสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เป็นต้น ป้อนลงไปในเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่ต้องผสมหรือเติมสารเคมีอื่นใด หรือปรับปรุงสมบัติของน้ำมันอีก น้ำมันพืชมีความหนืดสูงกว่าน้ำมันดีเซล ดังนั้น จะทำให้หัวฉีดน้ำมันในเครื่องยนต์ฉีดน้ำมันให้เป็นฝอยได้ยาก มีผลให้เกิดการสันดาปไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความยุ่งยาก เมื่อใช้น้ำมันพืชโดยตรงในเครื่องยนต์
2.2.ไบโอดีเซลแบบลูกผสม (Veggie / Kero Mix)
จากปัญหาเรื่องความหนืดของไบโอดีเซลประเภทแรก จึงมีการผสมน้ำมันพืช หรือน้ำมันจากสัตว์กับ “น้ำมันก๊าด” หรือ“น้ำมันดีเซล” เพื่อลดความหนืดของน้ำมันพืชลง เพื่อให้ได้ไบโอดีเซลที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำมันดีเซล ให้มากที่สุด
2.3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์
เป็นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้มาจากปฏิกิริยาเคมีที่เรียกว่า ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน(Transesterification process)เป็นที่ยอมรับในสากล และมีการใช้อย่างทั่วไป ผลิตได้โดยการนำน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ ไปทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ โดยมีกรดหรือเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา น้ำมันชนิดนี้ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น สหพันธรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ น้ำมันดีเซล มากที่สุดทำให้ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ ได้น้ำมันที่มีความคงตัวมากขึ้น สามารถนำไปเติมในเครื่องยนต์ดีเซลได้ทุกชนิด ทั้งเติมโดยตรงและผสมลงในน้ำมันดีเซลในอัตราส่วนต่างๆ
คำถามคือ แล้วบ้านเราใช้แบบไหนล่ะ ส่วนตัวคิดว่าแบบที่ 2.2 ครับ เพราะถ้าทำแบบที่ 2.3 น้ำมันไม่น่าทำราคาได้ถูกแบบนี้แน่ๆ
3. Bio diesel จะมีปัญหากัดสาย และ ซีลยาง อันนี้ไม่มีข้อมูลเช่นกัน มีแต่คนว่ากันว่า ส่วนตัวข้อนี้ไม่เห็นด้วย เพราะการผลิต Bio diesel ต้องความคุมค่า pH อยู่แล้ว น้ำมันพืชก็ไม่น่าจะกัดยางนะ(ไม่เหมือนกับ ethanol ที่มีผลชัดเจนกว่า)
4. น้ำมันบูด หรือ การมีแบคที่เรียเติบโตในน้ำมัน อันนี้มีเอกสารพออ้างอิงได้เนื่องจากน้ำมันพืชสามารถเป็นที่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียบางชนิดได้ เลยแนะนำให้ใช้กับรถที่วิ่งตลอด ไม่ใช่รถที่จอดไว้นาน(แต่ก็ไม่ทราบว่าเอาไปผสมกับดีเซลปกติแล้วแบคทีเรียมันจะโตอยู่ไหม) แต่ประเด็นที่น่าคิดต่อ คือ แล้วน้ำมันที่อยู่ในถังตามปั๊มล่ะ อันนั้นนี่ทิ้งไว้นานเลยนะ จะดูได้ยังไงว่าน้ำมันบูดแล้ว
5. น้ำมันเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ ประเทศเราตัดทิ้ง
สรุปคือผมต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ว่าจริงๆแล้วตามหลักวิชาการ ทำไมB20 จึงไม่ได้เหมาะกับรถทุกคัน ทั้งที่ปัจจุบันเราก็ใช้น้ำมัน B5 มาตั้งนานแล้ว