สวัสดีครับ
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มสนใจการถ่ายภาพและกำลังตัดสินใจเลือกซื้อกล้องตัวแรกสักตัว ปัญหาที่ผมว่าหลายๆคนคิดไม่ตกก็คือแล้วเราจะเอากล้องตัวไหนดีละ ตัวนี้ก็ดี ตัวนั้นก็สวย ตัวนี้มันน่าจะดีกว่าตัวนั้นนะ และอื่นๆอีกมากมาย
ผมเองก็เคยเจอปัญหาแบบนี้มากับตัวเช่นกันเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวและเทคนิคในการเลือกกล้องแบบที่ผมเห็นว่าน่าจะเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นครับ
บทความนี้จะนำเสนอวิธีการเลือกกล้องควบคู่ไปกับความรู้และการใช้งานพื้นฐานของกล้องเพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น โดยจะหลีกเลี่ยงข้อมูลเชิงลึกหรือรายละเอียดที่เป็นข้อมูลด้านเทคนิคมากเกินไปเพื่อเป็นการง่ายต่อความเข้าใจครับ
มาเริ่มกันเลยดีกว่า
ก่อนอื่น...ทำความรู้จักชนิดของกล้องกันก่อนครับ
ปัจจุบันกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่มี 2 ชนิด (ขอตัดกล้องชนิดอื่นเช่น ๆ compact หรือ action cam ต่างๆออกไปจากบทความครับ)
1. DSLR (digital single lens reflex)
2.Mirrorless
แล้วกล้อง 2 ชนิดนี้ต่างกันยังไงละ?
จุดหลักที่กล้อง 2 ชนิดนี้แตกต่างกันก็คือ dslr จะมีกระจกสะท้อนภาพ แต่ mirrorless จะไม่มี
เวลาเรามองภาพจากช่องมองภาพ (view finder) DSLR จะมีชุดกระจกสะท้อนภาพ ใช้สะท้อนภาพจากที่กล้องมองเห็นมาเข้าสู่ตาเราโดยตรง (optical viewfinder เรียกย่อๆว่า OVF) ทำให้ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพจริงๆที่เหมือนเราส่องกระจกปกติ
กล้อง dslr มองเข้าไปจะเห็นกระจกก่อนแบบนี้
แล้ว mirroless ละ? ช่องมองภาพของกล้อง mirrorless จะเป็นแบบ electronic (electronic viewfinder หรือ EVF) ภาพที่เข้ามาสู่ตาของเราจะไม่ใช่ภาพจริงๆ ตัวอย่างง่ายๆก็จะเป็นภาพที่เรามองเห็นเวลายกโทรศัพท์มาถ่ายรูปนี่ละครับ เราเห็นเวลาก่อนกดถ่ายยังไงเวลาถ่ายออกมาก็จะได้ภาพแบบนั้น
mirrorless มองเข้าไปก็จะเจอ sensor เลย
TIPS 1
mirrorless ในรุ่นเริ่มต้นส่วนใหญ่จะไม่มีช่องมองภาพมากับกล้องนะครับ เวลาถ่ายก็ดูภาพผ่านจอ LCD หลังกล้องโดยตรงเลย EVF จะเริ่มใส่มาในกล้องรุ่นกลางๆขึ้นไป
ส่วน dslr มีช่องมองภาพทุกรุ่นครับตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นใหญ่ ถ้าไม่มีก็ไม่มีช่องมองเวลาถ่ายภาพเลยละ
มาดูข้อดีข้อเสียของ OVF กับ EVF กันบ้าง
OVF
ข้อดี ภาพที่เห็นเป็นภาพจริงทำให้มองง่าย สบายตา
ข้อเสีย เนื่องจากภาพที่สะท้อนมาเป็นภาพจริงที่ไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ เวลาถ่ายถ้าเราตั้งค่าการวัดแสงไม่แม่นภาพที่ได้อาจจะมืดไปหรือสว่างไป ต้องคอยตรวจเช็คหลังถ่ายเสร็จ
EVF
ข้อดี ภาพที่เห็นจะเป็นภาพเดียวกันกับภาพที่ถ่ายเสร็จ ถ้าเราปรับตั้งค่ามืดไปหรือสว่างไปเวลามองผ่าน EVF ก็จะเห็นตามนั้นเลยทำให้สามารถปรับตั้งค่าใหม่ได้ก่อนที่จะถ่าย
ข้อเสีย ถ้า EVF ที่คุณภาพไม่ดีภาพจะดูไม่สบายตา มีอาการแลคของภาพ ภาพช้า เห็นไม่ชัด
นอกจากชุดกระจกภายในกล้องแล้วอีกสิ่งที่ทำให้ dslr แตกต่างกับ mirrorless อย่างเห็นได้ชัดก็คือขนาดของกล้อง
การมีชุดกระจกมองภาพทำให้ dslr ต้องมีขนาดใหญ่กว่า mirrorless เนื่องจาก dslr ต้องเว้นพื้นที่ระหว่าง sensor กับท้ายเลนส์ไว้สำหรับกระจก ในขณะที่ mirrorless สามารถออกแบบให้ท้ายเลนส์ติดกับ sensor ได้เลยทำให้ลดขนาดกล้องไปได้เยอะ
ต่อจากชนิดของกล้องแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมาทำความรู้จักกันคือขนาดของ sensor
sensor เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของกล้อง เป็นจุดรับแสงและประมวลผลออกมาเป็นภาพที่เราเห็นกัน ขนาดของ sensor จะผันแปรโดยตรงกับราคาของกล้อง ยิ่ง sensor มีขนาดใหญ่กล้องก็ยิ่งมีราคาสูง
ขนาดของ sensor ในกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันอยู่หลักๆมี 4 ขนาด เรียงลำดับดังนี้ (จริงๆมีมากกว่า 4 ขนาดแต่จะขอกล่าวถึงแต่ขนาดที่เป็นที่นิยมในตลาดนะครับ)
1. Medium format
2. Full frame
3. APS-C
4. Micro four-third
ในอดีตสมัยกล้องฟิล์ม มาตรฐานขนาดของฟิล์มที่ใช้กันมีขนาด 35mm เราจึงยึดขนาด 35mm มาเป็นมาตรฐานของขนาด sensor ในปัจจุบัน ซึ่ง sensor ที่มีขนาด 35mm คือ sensor full frame
Meduim format คือ sensor ที่มีขนาดใหญ่กว่า full frame ส่วน APS-C คือ sensor ที่มีขนาดเล็กกว่า full frame และ Micro four third ก็จะมีขนาด sensor เล็กลงไปกว่า APS-C อีก
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ถ้านับให้ sensor full frame มีค่าเท่ากับ 1 Medium format ก็อาจจะมี ขนาด 1.5 ส่วน APS-C และ Micro four third ก็จะมีขนาดเท่ากับ 0.7 และ 0.5 ตามลำดับ
เนื่องจาก sensor medium format เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม คนที่เล่น sensor นี้คงไม่ใช่มือใหม่แล้ว ผมก็จะขอไม่กล่าวถึงนะครับ
ทีนี้ก็จะเหลือ sensor 3 ขนาดที่เราจะมาพูดถึงกัน Full frame, APS-C และ Micro four-third
ถ้าเรานับให้ sensor ขนาด 35mm ของ Full frame เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ กล้องที่ใช้ sensor ที่เล็กกว่า Full frame เราจะเรียกว่า crop sensor หรือภาษาชาวบ้านคือกล้องตัวคูณ
ทำไมต้องกล้องตัวคูณ?
ความยาวโฟกัส (focal length) ของเลนส์ในตลาดที่เราเห็นกันยกตัวอย่างเช่น เลนส์ระยะ 16-35mm 24-70mm หรือ 50mm เป็นระยะที่อ้างอิงกับขนาดของ sensor full frame พูดง่ายๆก็คือถ้าเอาเลนส์อะไรก็แล้วแต่ไปประกบกับกล้อง full frame ความยาวโฟกัสที่ได้ก็จะได้ตามที่เลนส์นั้นระบุเลย ไม่ต้อง บวก ลบ คูณ หาร ทางยาวโฟกัสให้ปวดหัว
แต่ถ้าเอาเลนส์ไปประกบกับกล้องตัวคูณละ? ความยาวโฟกัสมันจะไม่ได้เป็นไปตามที่ระบุตรงหน้าเลนส์นะสิ ดังนั้น เนื่อจาก sensor มีขนาดเล็กกว่า full frame (APS-C เล็กกว่า1.5-1.6 ส่วน Micro four-third เล็กกว่า 2 ส่วน)
เวลาที่เรามองผ่านเลนส์ที่ความยาวโฟกัสเดียวกันกับ full frame ผ่านกล้องตัวคูณ จะไม่ได้มุมมองที่เท่ากันกับ full frame ดังนั้นจึงได้มีการกำหนด crop factor ขึ้นมาเพื่อเป็นการระบุว่า sensor ชนิดต่างๆของคูณด้วย crop factor เท่าใด จึงจะได้มุมมองเดียวกับ full frame
จะเห็นว่าทางยาวโฟกัสทั้งหมดจะถูกแปลงค่าไปเพื่อให้เทียบกับ sensor full frame เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
สรุปง่ายๆใน 1 บรรทัดก็คือ ถ้าเอาเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากันมาติดกับกล้อง full frame และกล้องตัวคูณ กล้องตัวคูณจะได้มุมมองที่แคบกว่า ถ้าอยากได้มุมมองที่เท่ากับ full frame ก็ต้องถอยหลังเอา
อย่างนี้ full frame ก็ต้องดีกว่านะสิ ภาพที่ได้กว้างกว่า? ก็จริงแต่ก็ไม่ทั้งหมด งานบางชนิดช่างภาพอาจจะชอบที่จะถ่ายด้วยกล้องตัวคูณมากกว่าก็ได้เช่น ตากล้องสายส่องสัตว์บางคนอาจจะชอบใช้กล้องตัวคูณมากกว่าเนื่องจากได้มุมมองที่แคบกว่า
บางคนอาจจะมีคำถามอีกว่า พี่ ถ้าผมจะเอาไปถ่าย landscape แล้วอยากได้เลนส์ช่วงกว้างๆ ผมจำเป็นต้องเล่น full frame เท่านั้นเหรอ? คำตอบคือไม่จำเป็นครับ กล้อง APS-C และ Micro four third จะมีเลนส์ที่ออกแบบออกมาเฉพาะเพื่อกล้องระบบนั้นๆโดยตรง
เมื่อคูณกลับไปเป็นทางยาวโฟกัสเดียวกับกล้อง full frame จะได้มุมกว้างที่เท่ากัน เช่น เลนส์ 10-24mm บนกล้อง APS-C เมื่อคูณ 1.5 กลับเข้าไปแล้วจะได้ทางยาวโฟกัสเท่ากับ 15-36mm เทียบกับ sensor full frame ซึ่งก็จะเป็นเลนส์มุมกว้างเช่นกัน
อีกอย่าง full frame ก็ต้องแลกมากับบอดี้ที่หนักและราคาที่แพงกว่าซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความต้องการหรืองบประมาณของแต่ละคน
ขนาดของ sensor แต่ละชนิด เมื่อเทียบกันโดยยืนจุดเดียวกัน ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน
TIPS 2
Sensor APS-C ของ Canon จะมีขนาดเล็กกว่า Nikon, Sony และ Fuji
เอาละ...หลังจากที่รู้จัก ชนิดของกล้องกับขนาดของ sensor กันแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาเลือกกล้องกันละ
ถ้าเราเอาชนิดของกล้องและขนาดของ sensor มาบวกกันเราก็จะได้ กล้องและยี่ห้อดังต่อไปนี้
1.DSLR Full frame - Nikon, Canon
2.Mirrorless Full frame - Nikon, Canon, Sony, Panasonic
3.DSLR APS-C - Nikon, canon
4.Mirrorless APS-C - Fuji, Sony, Canon
5.Mirrorless Micro four-third - Olympus, Panasonic
กล้องที่จะเลือกกันก็ต้องเลือกจากกล้อง 5 แบบนี้ละ (DSLR Micor four-third ไม่มีในตลาดนะครับ)
7 คำถามก่อนเลือกกล้องตัวแรก
1. จะเอาไปถ่ายอะไร?
คำถามสำคัญ เพราะถ้าซื้อกล้องมาไม่ตรงกับความต้องการที่จะนำไปถ่ายนี่เผลอๆจะขี้เกียจพกกล้องออกไปถ่ายเอา
ถ้าจะเอาไปถ่ายแฟน ถ่ายรูปลูก หรือขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้วอยากมีกล้องถ่ายรูปเก็บไว้
ถ้าแบบนี้กล้องอะไรก็ได้ครับเรื่องขนาดคงไม่มีผลเท่าไร เลือกตามเงื่อนไขข้อถัดๆไปได้เลย
แต่ถ้าบอกว่า จะเอาไปเข้าป่า trekking ไกลๆ เดินนานๆ หรือเป็นคนที่ไม่ชอบพกอะไรหนักๆ เดินเล่นไป หยิบกล้องขึ้นมาถ่ายไปแบบนี้ไป mirrorless เถอะครับ อย่าแบก DSLR ไปให้หนักเลย
2.งบประมาณ
จะซื้อกล้องควรต้องมีงบประมาณไว้ส่วนนึง ผมว่าควรเริ่มที่สักประมาณ 20,000-25,000 บาท จะได้กล้องที่คุณภาพดีและราคากำลังเหมาะ เหลือเงินซื้ออุปกรณ์เสริมได้อีกนิดหน่อย
ถ้าจะถูกกว่านั้นก็ได้ แต่อาจจะเป็นกล้องที่ออกมานานแล้วหรือกล้องมืองสอง สำหรับคนที่เริ่มใหม่ ถ้าไม่มีความรู้อะไรเลยอย่าเลือกกล้องมือสองเลยครับ ยกเว้นจะมีคนที่รู้จักกล้องดีไปช่วยเลือกให้
3.ระบบเลนส์ที่จะเอาไปใช้งาน
ดูว่าชนิดของกล้องและยี่ห้อที่เราจะซื้อมีเลนส์ช่วงที่เราต้องการในราคาที่รับได้ไหม เช่นถ้าจะเอาไปถ่ายคอนเสิร์ตศิลปินที่ชอบก็อาจจะอยากได้เลนส์ที่ซูมได้ไกลๆ ก็ลองเลือกดูเลนส์ก่อนว่ายี่ห้อนั้นๆมีเลนส์ที่ตรงความต้องการเราไหม
ถ้าเป็นสาย landscape อยากได้เลนส์มุมกว้างๆ ก็เลือกดูเลนส์มุมกว้างที่ราคารับได้
4.การจับถือ
ข้อนี้สำคัญที่สุดในความเห็นผม ไปลองจับของจริงดูครับว่าจับถนัดมือไหม บางคนบอกอยากได้กล้อง mirrorless เบาๆ ถือง่ายๆ แต่เวลาใช้จริงอาจจะบอกผมจับไม่ถนัดเลยพี่ มันเล็กไป
เลือกกล้องที่รู้สึกว่าเราหยิบขึ้นมาถ่ายแล้วโอเคกับมัน ไม่หนักไปไม่เบาไป จับแล้วถนัดมือ จะทำให้เราหยิบออกไปถ่ายบ่อยๆ ช่วงเริ่มต้นการออกไปถ่ายให้เยอะที่สุดเป็นสิ่งสำคัญครับ ยิ่งถ่ายเยอะก็ยิ่งพัฒนาฝีมือได้เร็ว
5. Lens kit
กล้องทุกตัวจะมีเลนส์ที่ติดมากับกล้อง เป็นเลนส์ที่ทางผู้ผลิตคิดไว้แล้วว่าเลนส์ตัวนี้เหมาะกับกล้องตัวนี้ กล้องยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นกันเลนส์ที่มากับกล้องก็อาจจะต่างกัน แต่ก็ถือเป็น เลนส์ kit เหมือนกัน
เลนส์ kit โดยส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์ zoom (เลนส์ที่สามารถปรับซูมระยะทางยาวโฟกัสได้) ที่มีทางยาวโฟกัสกว้างสุดที่ประมาณ 24-28mm เและยาวสุดปรมาณ 70-80mm เมื่อเทียบบน sensor full frame
เลนส์ kit จริงๆก้อเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปแล้ว ถ้าเลนส์ kit ที่ดีหน่อยก็ใช้ตัวเดียวเที่ยวทั่วไทยได้เลย ลองดูเลนส์ kit ของกล้องที่เราสนใจไว้ด้วยครับว่าเหมาะกับการใช้งานไหม
เริ่มต้นใหม่แนะนำว่าลองใช้เลนส์ kit ไปสักพักก่อนจะได้รู้ว่าเลนส์ kit ตอบโจทย์การใช้งานของเราได้ไหม ถ้าไม่ได้ ไม่ได้ตรงจุดไหน รูรับแสงแคบไปทำให้ถ่ายในที่มืดยากหรือ ช่วงซูมสั้นไป อยากได้ช่วงซูมที่ยาวกว่านี้
ถ้าเรารู้ขีดจำกัดของเลนส์ kit ที่ให้เราไม่ได้แล้วจะได้รู้ว่าเลนส์ตัวต่อไปที่จะซื้อเพื่อตอบโจทย์การใช้งานคือเลนส์อะไร
คู่มือ มือใหม่ซื้อกล้อง 2019
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มสนใจการถ่ายภาพและกำลังตัดสินใจเลือกซื้อกล้องตัวแรกสักตัว ปัญหาที่ผมว่าหลายๆคนคิดไม่ตกก็คือแล้วเราจะเอากล้องตัวไหนดีละ ตัวนี้ก็ดี ตัวนั้นก็สวย ตัวนี้มันน่าจะดีกว่าตัวนั้นนะ และอื่นๆอีกมากมาย
ผมเองก็เคยเจอปัญหาแบบนี้มากับตัวเช่นกันเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวและเทคนิคในการเลือกกล้องแบบที่ผมเห็นว่าน่าจะเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นครับ
บทความนี้จะนำเสนอวิธีการเลือกกล้องควบคู่ไปกับความรู้และการใช้งานพื้นฐานของกล้องเพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น โดยจะหลีกเลี่ยงข้อมูลเชิงลึกหรือรายละเอียดที่เป็นข้อมูลด้านเทคนิคมากเกินไปเพื่อเป็นการง่ายต่อความเข้าใจครับ
มาเริ่มกันเลยดีกว่า
ก่อนอื่น...ทำความรู้จักชนิดของกล้องกันก่อนครับ
ปัจจุบันกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่มี 2 ชนิด (ขอตัดกล้องชนิดอื่นเช่น ๆ compact หรือ action cam ต่างๆออกไปจากบทความครับ)
1. DSLR (digital single lens reflex)
2.Mirrorless
แล้วกล้อง 2 ชนิดนี้ต่างกันยังไงละ?
จุดหลักที่กล้อง 2 ชนิดนี้แตกต่างกันก็คือ dslr จะมีกระจกสะท้อนภาพ แต่ mirrorless จะไม่มี
เวลาเรามองภาพจากช่องมองภาพ (view finder) DSLR จะมีชุดกระจกสะท้อนภาพ ใช้สะท้อนภาพจากที่กล้องมองเห็นมาเข้าสู่ตาเราโดยตรง (optical viewfinder เรียกย่อๆว่า OVF) ทำให้ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพจริงๆที่เหมือนเราส่องกระจกปกติ
mirrorless มองเข้าไปก็จะเจอ sensor เลย
TIPS 1
mirrorless ในรุ่นเริ่มต้นส่วนใหญ่จะไม่มีช่องมองภาพมากับกล้องนะครับ เวลาถ่ายก็ดูภาพผ่านจอ LCD หลังกล้องโดยตรงเลย EVF จะเริ่มใส่มาในกล้องรุ่นกลางๆขึ้นไป
ส่วน dslr มีช่องมองภาพทุกรุ่นครับตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นใหญ่ ถ้าไม่มีก็ไม่มีช่องมองเวลาถ่ายภาพเลยละ
มาดูข้อดีข้อเสียของ OVF กับ EVF กันบ้าง
OVF
ข้อดี ภาพที่เห็นเป็นภาพจริงทำให้มองง่าย สบายตา
ข้อเสีย เนื่องจากภาพที่สะท้อนมาเป็นภาพจริงที่ไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ เวลาถ่ายถ้าเราตั้งค่าการวัดแสงไม่แม่นภาพที่ได้อาจจะมืดไปหรือสว่างไป ต้องคอยตรวจเช็คหลังถ่ายเสร็จ
EVF
ข้อดี ภาพที่เห็นจะเป็นภาพเดียวกันกับภาพที่ถ่ายเสร็จ ถ้าเราปรับตั้งค่ามืดไปหรือสว่างไปเวลามองผ่าน EVF ก็จะเห็นตามนั้นเลยทำให้สามารถปรับตั้งค่าใหม่ได้ก่อนที่จะถ่าย
ข้อเสีย ถ้า EVF ที่คุณภาพไม่ดีภาพจะดูไม่สบายตา มีอาการแลคของภาพ ภาพช้า เห็นไม่ชัด
นอกจากชุดกระจกภายในกล้องแล้วอีกสิ่งที่ทำให้ dslr แตกต่างกับ mirrorless อย่างเห็นได้ชัดก็คือขนาดของกล้อง
การมีชุดกระจกมองภาพทำให้ dslr ต้องมีขนาดใหญ่กว่า mirrorless เนื่องจาก dslr ต้องเว้นพื้นที่ระหว่าง sensor กับท้ายเลนส์ไว้สำหรับกระจก ในขณะที่ mirrorless สามารถออกแบบให้ท้ายเลนส์ติดกับ sensor ได้เลยทำให้ลดขนาดกล้องไปได้เยอะ
ต่อจากชนิดของกล้องแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมาทำความรู้จักกันคือขนาดของ sensor
sensor เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของกล้อง เป็นจุดรับแสงและประมวลผลออกมาเป็นภาพที่เราเห็นกัน ขนาดของ sensor จะผันแปรโดยตรงกับราคาของกล้อง ยิ่ง sensor มีขนาดใหญ่กล้องก็ยิ่งมีราคาสูง
ขนาดของ sensor ในกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันอยู่หลักๆมี 4 ขนาด เรียงลำดับดังนี้ (จริงๆมีมากกว่า 4 ขนาดแต่จะขอกล่าวถึงแต่ขนาดที่เป็นที่นิยมในตลาดนะครับ)
1. Medium format
2. Full frame
3. APS-C
4. Micro four-third
ในอดีตสมัยกล้องฟิล์ม มาตรฐานขนาดของฟิล์มที่ใช้กันมีขนาด 35mm เราจึงยึดขนาด 35mm มาเป็นมาตรฐานของขนาด sensor ในปัจจุบัน ซึ่ง sensor ที่มีขนาด 35mm คือ sensor full frame
Meduim format คือ sensor ที่มีขนาดใหญ่กว่า full frame ส่วน APS-C คือ sensor ที่มีขนาดเล็กกว่า full frame และ Micro four third ก็จะมีขนาด sensor เล็กลงไปกว่า APS-C อีก
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ถ้านับให้ sensor full frame มีค่าเท่ากับ 1 Medium format ก็อาจจะมี ขนาด 1.5 ส่วน APS-C และ Micro four third ก็จะมีขนาดเท่ากับ 0.7 และ 0.5 ตามลำดับ
เนื่องจาก sensor medium format เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม คนที่เล่น sensor นี้คงไม่ใช่มือใหม่แล้ว ผมก็จะขอไม่กล่าวถึงนะครับ
ทีนี้ก็จะเหลือ sensor 3 ขนาดที่เราจะมาพูดถึงกัน Full frame, APS-C และ Micro four-third
ถ้าเรานับให้ sensor ขนาด 35mm ของ Full frame เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ กล้องที่ใช้ sensor ที่เล็กกว่า Full frame เราจะเรียกว่า crop sensor หรือภาษาชาวบ้านคือกล้องตัวคูณ
ทำไมต้องกล้องตัวคูณ?
ความยาวโฟกัส (focal length) ของเลนส์ในตลาดที่เราเห็นกันยกตัวอย่างเช่น เลนส์ระยะ 16-35mm 24-70mm หรือ 50mm เป็นระยะที่อ้างอิงกับขนาดของ sensor full frame พูดง่ายๆก็คือถ้าเอาเลนส์อะไรก็แล้วแต่ไปประกบกับกล้อง full frame ความยาวโฟกัสที่ได้ก็จะได้ตามที่เลนส์นั้นระบุเลย ไม่ต้อง บวก ลบ คูณ หาร ทางยาวโฟกัสให้ปวดหัว
แต่ถ้าเอาเลนส์ไปประกบกับกล้องตัวคูณละ? ความยาวโฟกัสมันจะไม่ได้เป็นไปตามที่ระบุตรงหน้าเลนส์นะสิ ดังนั้น เนื่อจาก sensor มีขนาดเล็กกว่า full frame (APS-C เล็กกว่า1.5-1.6 ส่วน Micro four-third เล็กกว่า 2 ส่วน)
เวลาที่เรามองผ่านเลนส์ที่ความยาวโฟกัสเดียวกันกับ full frame ผ่านกล้องตัวคูณ จะไม่ได้มุมมองที่เท่ากันกับ full frame ดังนั้นจึงได้มีการกำหนด crop factor ขึ้นมาเพื่อเป็นการระบุว่า sensor ชนิดต่างๆของคูณด้วย crop factor เท่าใด จึงจะได้มุมมองเดียวกับ full frame
จะเห็นว่าทางยาวโฟกัสทั้งหมดจะถูกแปลงค่าไปเพื่อให้เทียบกับ sensor full frame เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
สรุปง่ายๆใน 1 บรรทัดก็คือ ถ้าเอาเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากันมาติดกับกล้อง full frame และกล้องตัวคูณ กล้องตัวคูณจะได้มุมมองที่แคบกว่า ถ้าอยากได้มุมมองที่เท่ากับ full frame ก็ต้องถอยหลังเอา
อย่างนี้ full frame ก็ต้องดีกว่านะสิ ภาพที่ได้กว้างกว่า? ก็จริงแต่ก็ไม่ทั้งหมด งานบางชนิดช่างภาพอาจจะชอบที่จะถ่ายด้วยกล้องตัวคูณมากกว่าก็ได้เช่น ตากล้องสายส่องสัตว์บางคนอาจจะชอบใช้กล้องตัวคูณมากกว่าเนื่องจากได้มุมมองที่แคบกว่า
บางคนอาจจะมีคำถามอีกว่า พี่ ถ้าผมจะเอาไปถ่าย landscape แล้วอยากได้เลนส์ช่วงกว้างๆ ผมจำเป็นต้องเล่น full frame เท่านั้นเหรอ? คำตอบคือไม่จำเป็นครับ กล้อง APS-C และ Micro four third จะมีเลนส์ที่ออกแบบออกมาเฉพาะเพื่อกล้องระบบนั้นๆโดยตรง
เมื่อคูณกลับไปเป็นทางยาวโฟกัสเดียวกับกล้อง full frame จะได้มุมกว้างที่เท่ากัน เช่น เลนส์ 10-24mm บนกล้อง APS-C เมื่อคูณ 1.5 กลับเข้าไปแล้วจะได้ทางยาวโฟกัสเท่ากับ 15-36mm เทียบกับ sensor full frame ซึ่งก็จะเป็นเลนส์มุมกว้างเช่นกัน
อีกอย่าง full frame ก็ต้องแลกมากับบอดี้ที่หนักและราคาที่แพงกว่าซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความต้องการหรืองบประมาณของแต่ละคน
ขนาดของ sensor แต่ละชนิด เมื่อเทียบกันโดยยืนจุดเดียวกัน ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน
TIPS 2
Sensor APS-C ของ Canon จะมีขนาดเล็กกว่า Nikon, Sony และ Fuji
เอาละ...หลังจากที่รู้จัก ชนิดของกล้องกับขนาดของ sensor กันแล้ว คราวนี้ก็ได้เวลาเลือกกล้องกันละ
ถ้าเราเอาชนิดของกล้องและขนาดของ sensor มาบวกกันเราก็จะได้ กล้องและยี่ห้อดังต่อไปนี้
1.DSLR Full frame - Nikon, Canon
2.Mirrorless Full frame - Nikon, Canon, Sony, Panasonic
3.DSLR APS-C - Nikon, canon
4.Mirrorless APS-C - Fuji, Sony, Canon
5.Mirrorless Micro four-third - Olympus, Panasonic
กล้องที่จะเลือกกันก็ต้องเลือกจากกล้อง 5 แบบนี้ละ (DSLR Micor four-third ไม่มีในตลาดนะครับ)
7 คำถามก่อนเลือกกล้องตัวแรก
1. จะเอาไปถ่ายอะไร?
คำถามสำคัญ เพราะถ้าซื้อกล้องมาไม่ตรงกับความต้องการที่จะนำไปถ่ายนี่เผลอๆจะขี้เกียจพกกล้องออกไปถ่ายเอา
ถ้าจะเอาไปถ่ายแฟน ถ่ายรูปลูก หรือขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้วอยากมีกล้องถ่ายรูปเก็บไว้
ถ้าแบบนี้กล้องอะไรก็ได้ครับเรื่องขนาดคงไม่มีผลเท่าไร เลือกตามเงื่อนไขข้อถัดๆไปได้เลย
แต่ถ้าบอกว่า จะเอาไปเข้าป่า trekking ไกลๆ เดินนานๆ หรือเป็นคนที่ไม่ชอบพกอะไรหนักๆ เดินเล่นไป หยิบกล้องขึ้นมาถ่ายไปแบบนี้ไป mirrorless เถอะครับ อย่าแบก DSLR ไปให้หนักเลย
2.งบประมาณ
จะซื้อกล้องควรต้องมีงบประมาณไว้ส่วนนึง ผมว่าควรเริ่มที่สักประมาณ 20,000-25,000 บาท จะได้กล้องที่คุณภาพดีและราคากำลังเหมาะ เหลือเงินซื้ออุปกรณ์เสริมได้อีกนิดหน่อย
ถ้าจะถูกกว่านั้นก็ได้ แต่อาจจะเป็นกล้องที่ออกมานานแล้วหรือกล้องมืองสอง สำหรับคนที่เริ่มใหม่ ถ้าไม่มีความรู้อะไรเลยอย่าเลือกกล้องมือสองเลยครับ ยกเว้นจะมีคนที่รู้จักกล้องดีไปช่วยเลือกให้
3.ระบบเลนส์ที่จะเอาไปใช้งาน
ดูว่าชนิดของกล้องและยี่ห้อที่เราจะซื้อมีเลนส์ช่วงที่เราต้องการในราคาที่รับได้ไหม เช่นถ้าจะเอาไปถ่ายคอนเสิร์ตศิลปินที่ชอบก็อาจจะอยากได้เลนส์ที่ซูมได้ไกลๆ ก็ลองเลือกดูเลนส์ก่อนว่ายี่ห้อนั้นๆมีเลนส์ที่ตรงความต้องการเราไหม
ถ้าเป็นสาย landscape อยากได้เลนส์มุมกว้างๆ ก็เลือกดูเลนส์มุมกว้างที่ราคารับได้
4.การจับถือ
ข้อนี้สำคัญที่สุดในความเห็นผม ไปลองจับของจริงดูครับว่าจับถนัดมือไหม บางคนบอกอยากได้กล้อง mirrorless เบาๆ ถือง่ายๆ แต่เวลาใช้จริงอาจจะบอกผมจับไม่ถนัดเลยพี่ มันเล็กไป
เลือกกล้องที่รู้สึกว่าเราหยิบขึ้นมาถ่ายแล้วโอเคกับมัน ไม่หนักไปไม่เบาไป จับแล้วถนัดมือ จะทำให้เราหยิบออกไปถ่ายบ่อยๆ ช่วงเริ่มต้นการออกไปถ่ายให้เยอะที่สุดเป็นสิ่งสำคัญครับ ยิ่งถ่ายเยอะก็ยิ่งพัฒนาฝีมือได้เร็ว
5. Lens kit
กล้องทุกตัวจะมีเลนส์ที่ติดมากับกล้อง เป็นเลนส์ที่ทางผู้ผลิตคิดไว้แล้วว่าเลนส์ตัวนี้เหมาะกับกล้องตัวนี้ กล้องยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นกันเลนส์ที่มากับกล้องก็อาจจะต่างกัน แต่ก็ถือเป็น เลนส์ kit เหมือนกัน
เลนส์ kit โดยส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์ zoom (เลนส์ที่สามารถปรับซูมระยะทางยาวโฟกัสได้) ที่มีทางยาวโฟกัสกว้างสุดที่ประมาณ 24-28mm เและยาวสุดปรมาณ 70-80mm เมื่อเทียบบน sensor full frame
เลนส์ kit จริงๆก้อเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปแล้ว ถ้าเลนส์ kit ที่ดีหน่อยก็ใช้ตัวเดียวเที่ยวทั่วไทยได้เลย ลองดูเลนส์ kit ของกล้องที่เราสนใจไว้ด้วยครับว่าเหมาะกับการใช้งานไหม
เริ่มต้นใหม่แนะนำว่าลองใช้เลนส์ kit ไปสักพักก่อนจะได้รู้ว่าเลนส์ kit ตอบโจทย์การใช้งานของเราได้ไหม ถ้าไม่ได้ ไม่ได้ตรงจุดไหน รูรับแสงแคบไปทำให้ถ่ายในที่มืดยากหรือ ช่วงซูมสั้นไป อยากได้ช่วงซูมที่ยาวกว่านี้
ถ้าเรารู้ขีดจำกัดของเลนส์ kit ที่ให้เราไม่ได้แล้วจะได้รู้ว่าเลนส์ตัวต่อไปที่จะซื้อเพื่อตอบโจทย์การใช้งานคือเลนส์อะไร