1.
สันดอนทรายเป็นอันตรายต่อการเดินเรือทางทะเลมาก
มักจะพบว่าอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำและรอบ ๆ ท่าเรือ
กองทรายที่ตื้น/จมอยู่ใต้น้ำจำนวนมาก
เพราะผลของการพัดพาจากกระแสน้ำ
ทำให้ทรายมักจะล่องลอยไปมาหลายแห่ง/หลายทิศทาง
ก่อนที่จะค่อย ๆ ตกตะกอน/จมลงสู่ใต้น้ำ
กองสะสมทั้งรูปร่าง/ตำแหน่งที่ตั้ง
พอมาก ๆ เข้าก็กลายเป็นสันทราย
ก่อนพัฒนาเป็นที่ดอนใต้น้ำ หรือ สันดอนทราย
เพราะถ้าเรือชนเข้าอาจเกยตื้นพลิกคว่ำอับปางได้
การจะสร้างกระโจมไฟ/ประภาคารบนสันดอนทราย
ด้วยรากฐานที่มั่นคงสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่
ยังเป็นเรื่องที่ยากมากในยุคอดีต
เพราะเครื่องจักรกล/เครื่องมือยังไม่ทันสมัยเหมือนยุคนี้
ปัญหาของการสร้างประภาคารบนสันดอนทราย
กับปัญหาสันดอนทรายรบกวนจิตใจของ
Alexander Mitchell (1780 – 1868)
ชาวไอริชผู้ประกอบการโรงอิฐที่ประสบความสำเร็จใกล้ Belfast
ที่ Belfast มีประเพณี/ธรรมเนียมนิยม
ในเรื่องการเดินเรือที่สืบต่อกันมายาวนาน
เรื่องนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า Alexander Mitchell
คงได้ยินยินเรื่องราวโศกนาฏกรรมมากมาย
ของหลายชีวิตที่สูญหายไปในทะเล
และเรือที่อับปางจมอยู่ใต้พื้นโคลนในท้องทะเล
Alexander Mitchell จึงตัดสินใจที่จะทำอะไรบางอย่าง
เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้จงได้
แม้ว่าท่านจะไม่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรม
หรือการสร้างประภาคารมาก่อนเลย
ข้อสำคัญที่สุดคือ Alexander Mitchell
ตาบอดทั้งสองข้างด้วยในเวลานั้น
2.
ประภาคาร Thomas Point Shoal ใน Chesapeake Bay, Maryland, United States
ถูกสร้างขึ้นในปี 1875 และยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน Credit : Mark / Flickr
Alexander Mitchell เกิดเมื่อปี 1780 ใน Dublin
บุตรชายของจเรทหารบก Army Barracks ใน Ireland
ภารกิจทางการทหารของบิดาท่าน
ทำให้มีส่วนพาท่านเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ในตอนที่ท่านอายุได้ 7 ขวบ
ครอบครัวของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ Pine Hill ใกล้ Belfast
ณ ที่นั่นท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนดัง
และมีชื่อเสียงมากคือ Belfast Academy
ในระหว่างที่เรียน เลขคณิต เรขาคณิต และตรีโกณมิติ
Alexander Mitchell ก็พบว่าตนเองหลงใหลและชื่นชอบสามวิชานี้มาก
และจัดว่าเป็นคนเก่งในสามวิชานี้ด้วยเช่นกัน
สายตาของ Alexander Mitchell เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ ตอนที่ท่านโตขึ้น
ตอนท่านอายุได้ 16 ปี ท่านไม่สามารถอ่านหนังสือได้อีกต่อไป
ครอบครัวของท่านจึงได้ช่วยให้ท่านได้รับการศึกษาเป็นการส่วนตัว
ในขณะที่โลกใบเล็ก ๆ ของท่าน
เริ่มนำท่านไปสู่ความมืดมิดนิรันตกาลอย่างช้า ๆ
ตอนท่านอายุได้ 22 ปี ท่านกลายเป็นคนตาบอดอย่างสมบูรณ์
มีการสันนิษฐานจากว่า การมองไม่เห็นของท่าน
น่าจะมีจากการติดเชื้อไข้ทรพิษในวัยเด็ก
แม้ว่า Alexander Mitchel
จะมีความพิการทางสายตา
แต่ท่านก็เป็นคนมองโลกในแง่ดี
ท่านได้แต่งงานกับลูกสาวของเพื่อนบ้านคนหนึ่ง
แม้ว่าแม่ของท่านจะไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานครั้งนั้น
แต่ทั้งสองคนต่างมีลูกด้วยกัน 5 คน
นอกจากนี้ ท่านยังได้ก่อตั้งโรงอิฐ
ที่ประสบความสำเร็จในเขต Ballymacarrett ของ Belfast
ซึ่งทำให้ท่านมีเงินจำนวนมากจากการขายอิฐ
จนสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้หลายแห่งทั่วทั้งเมืองนั้น
Alexander Mitchel ชื่นชอบกับการสังคมมาก
ชอบการเสวนาและชอบทำกิจกรรมสังคมร่วมกับเพื่อน ๆ
เช่น
Thomas Romney Robinson นักดาราศาสตร์
George Boole นักคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง
ท่านชอบแสดงตนเหมือนเป็นคนปรกติ
ทำให้บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าท่านเป็นคนตาบอด
ท่านยังชื่นชอบเล่น
Whist กับ
ฺBackgammon กับเพื่อน ๆ
โดยมีคนคอยกระซิบข้างหูท่าน
บอกถึงแต้มของลูกเต๋าและหน้าไพ่ของท่าน
Alexander Mitchell ได้ทำโรงอิฐยาวนานกว่า 30 ปี
ในช่วงเวลานั้น ท่านมีส่วนอย่างมาก
ในการพัฒนานวัตกรรมหลายอย่าง
และพัฒนากระบวนการผลิตที่สำคัญอย่างมาก
ในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
ในปี 1832 ท่านได้วางมือจากธุรกิจโรงอิฐ
ในปีต่อมา ตอนท่านอายุได้ 52 ปี
ท่านได้รับสิทธิบัตรเสาเข็มสกรู
วิธีแก้ปัญหาของ Alexander Mitchell นั้นเรียบง่าย
แทนที่จะตอกเสาเข็มเหล็กแบบเดิม
ลงไปในชั้นโคลนอ่อนหรือดินเหนียว
เพื่อเสริมสร้างรากฐานก่อนที่จะก่อสร้างอาคาร/ประภาคาร
ท่านเปลี่ยนวิธีการใหม่ในการลงเสาเข็ม
ด้วยการใช้เสาเข็มไชดินโคลนอ่อนหรือดินเหนียวลงไป
เสาเข็มตัวแรกจะมีเกลียวสว่านก่อนจะถึงใบพัดติดอยู่ที่ปลายด้าม
ตัวใบพัดมีขนาดความกว้างราว 4 ฟุต (1.2 เมตร)
เสาจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 นิ้ว (15 เซ็นติเมตร)
ความยาวของเสาเข็มราว 20 ฟุต(6 เมตร)
นัำหนักของเสาเข็มจะช่วยเพิ่มแรงกดลงบนพื้นดิน
ขณะเดียวกันการกว้านให้หมุน/ไชลงไปในพื้นดิน
ด้วยหัวเกลียวสว่านที่นำร่องลงไปเหมือนเกลียวเหล็กขนาดยักษ์
คล้ายกับที่เปิดขวดจุกก๊อกขวดไวน์/ขวดแชมเปญ
ส่วนใบพัดช่วยในการสะบัด/กันดินถล่มลงไป
ทำให้หัวเกลียวสว่านทำงานได้ง่ายขึ้น
ถ้าความลึกมาก ๆ ค่อยต่อเชื่อมเสาให้ยาวขึ้น
เสาแต่ละต้นจะรับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน
ซึ่งเพียงพอกับการรับน้ำหนักอาคาร/ประภาคาร
เพื่อทดสอบสิ่งประดิษฐ์ของท่าน
Alexander Mitchell กับ John ลูกชายวัย 19 ปีของท่าน
ได้แอบไปที่สันดอนทรายใน Belfast Lough
แล้วทดลองใช้เสาเข็มสกรูไชลงไปในพื้นโคลนอ่อน/ดินเหนียว
แล้วให้เสาเข็มสกรูโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ทิ้งไว้ทั้งคืน
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พวกท่านได้กลับไปดูผลงานอีกครั้ง
ก็พบว่าเสาเข็มสกรูยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมอย่างมั่นคง
หลังจากการทดลองที่ประสบความสำเร็จครั้งที่ 2
ท่านจึงนำผลงานประดิษฐ์ของท่านไปยัง London
แล้วยื่นคำร้องขอจดสิทธิบัตร เสาเข็มสกรู
Alexander Mitchell ต้องรอถึง 5 ปี
กว่าจะสามารถโน้มน้าวให้ Trinity House
หน่วยงานที่รับผิดชอบประภาคารของ British และ Irish
ให้ยอมรับข้อดีของสิ่งประดิษฐ์เสาเข็มสกรูของท่าน
ในปี 1838 ประภาคารที่ใช้เสาเข็มสกรูหลังแรก
ได้ถูกสร้างขึ้นที่สันดอนทราย Maplin Sands ใกล้ปากแม่น้ำ Thames
ในปี 1839 ประภาคารอีกแห่งหนึ่งที่ Morecambe Bay ก็ใช้เสาเข็มสกรู
ในปี 1910 ประภาคารในอเมริกาเหนือถึง 150 แห่ง ต่างใช้เสาเข็มสกรู
มีการใช้เสาเข็มสกรูหลายแห่งมากใน Ireland
ทุกวันนี้หลายแห่งยังคงใช้งานได้ เช่น
ใกล้กับ Dundalk Harbour Spit Bank ใน Cork
Duncanon แถวท่าเรือ Waterford
และที่ Belfast Lough ท่านได้สมทบทุนก่อสร้าง 1,200 ปอนด์
เพื่อแสดงการขอบคุณ/ตอบแทนเมืองที่ท่านทำมาหากิน
ในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ
ประภาคารนับร้อยแห่งขึ้นไป
มีการสร้างกันทั่วเกาะอังกฤษและในอเมริกาเหนือ
มีการก่อสร้างกันด้วยเสาเข็มสกรูอย่างคึกคักมากมายหลายแห่ง
Alexander Mitchell ยังชื่นชอบกับการเดินทาง
เพื่อไปดูผลงานของตนเองในสถานที่ก่อสร้าง
ในการใช้เสาเข็มสกรูก่อสร้างประภาคารหลายแห่งมาก
บางครั้งท่านจะปีนขึ้นบันไดและปีนขึ้นไปบนนั่งร้านของประภาคาร
ที่กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ โดยไม่สนใจอันตราย
บางครั้งท่านก็พลัดตกลงไปในทะเล
ผลงานและความสำเร็จของเสาเข็มสกรู
ทำให้ Alexander Mitchell ได้รับสัญญา
ผลิตเสาเข็มสกรูหลายฉบับมาก
และยังขยายผลงานเสาเข็มสกรูไปยังพื้นที่อื่น ๆ
และที่ไกลที่สุดคือ การสร้างสะพาน Bombay-Baroda ที่อินเดีย
ในปี 1860 หลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศ
เพราะถูกเรือปืนสหรัฐอเมริกาขู่บังคับให้เปิดประเทศ
จนทำให้ญี่ปุ่นมีการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ในระยะเวลาใกล้เคียงกับสยามประเทศ
ญี่ปุ่นก็มีการนำหลักการและวิธีการเสาเข็มสกรู
ไปทำการ Copy and Development
เพื่อไปใช้งานก่อสร้างบนท้องทะเลหลายแห่งมาก
ซึ่งในสมัยก่อนสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ยังไม่เข้มงวดมากเหมือนทุกวันนี้
ปัจจุบันเสาเข็มสกรูยังคงถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง
สำหรับการใช้งานสร้างอาคารต่าง ๆ
ตั้งแต่กระโจมไฟ งานรถไฟ การสื่อสารโทรคมนาคม
ถนนและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว
และกินพื้นที่น้อยมากในการวางเครื่องตอกเสาเข็ม
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงใช้ฐานรากจากเสาเข็มสกรู
เพราะประสิทธิภาพ ลดต้นทุนค่าแรงงานและแวลา
รวมทั้งลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
(เรื่องเสียง การสั่นสะเทือน การแตกร้าวของอาคารข้างเคียง)
การทำฐานรากในดินด้วยเสาเข็มสกรู
ทำให้มีการเคลื่อนตัวของดินน้อยลง
แบบเสาที่ต้องขุดดินออกทำฐานราก/หล่อเสาขึ้นมา
จึงไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายดินส่วนเกิน
ออกจากสถานที่ก่อสร้างมากมายนัก
จึงประหยัดค่าขนส่งและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง
ในปี 1848
Alexander Mitchell ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ
สถาบันวิศวกรโยธา Institution of Civil Engineers
ในปี 1849
ท่านได้รับเหรียญรางวัล Telford Medal
จากรายงานผลงานเสาเข็มสกรูของท่าน
ในปี 1868
ท่านมตะในวัย 88 ปีที่บ้านของท่านใกล้ Belfast
เรียบเรียง/ภาพที่มา
https://bit.ly/2JiT1R1
https://bit.ly/2Lpg9A8
https://bit.ly/2VIQvKp
3.
แบบจำลองประภาคาร Maplin ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ London’s Science Museum
4.
Seven Foot Knoll Lighthouse ใน Chesapeake Bay รัฐ Maryland ประภาคารใช้เสาเข็มสกรู
ประภาคารแห่งนี้สร้างขึ้นในปี 1997 และส่งมอบให้เป็นสมบัติของ Baltimore Maritime Museum
5.
ประภาคาร Middle Bay Lighthouse สร้างด้วยเสาเข็มสกรู
ตั้งอยู่ที่ด้านนอกชายฝั่ง Mobile รัฐ Alabama ตรงใจกลาง Mobile Bay
Credit: Harley Flowers/Flickr
6.
7.
8.
Alexander Mitchell The Blind Engineer
9.
10.
11.
12.
GoliathTech - Mobile Home Screw Pile System Installation
หมายเหตุ
ในเมืองไทยบางเจ้าเรียกว่า เข็มเหล็ก
Alexander Mitchell วิศวกรตาบอดผู้สร้างเสาเข็มสกรู
เพราะผลของการพัดพาจากกระแสน้ำ
ทำให้ทรายมักจะล่องลอยไปมาหลายแห่ง/หลายทิศทาง
ก่อนที่จะค่อย ๆ ตกตะกอน/จมลงสู่ใต้น้ำ
กองสะสมทั้งรูปร่าง/ตำแหน่งที่ตั้ง
พอมาก ๆ เข้าก็กลายเป็นสันทราย
ก่อนพัฒนาเป็นที่ดอนใต้น้ำ หรือ สันดอนทราย
เพราะถ้าเรือชนเข้าอาจเกยตื้นพลิกคว่ำอับปางได้
การจะสร้างกระโจมไฟ/ประภาคารบนสันดอนทราย
ด้วยรากฐานที่มั่นคงสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่
ยังเป็นเรื่องที่ยากมากในยุคอดีต
เพราะเครื่องจักรกล/เครื่องมือยังไม่ทันสมัยเหมือนยุคนี้
ปัญหาของการสร้างประภาคารบนสันดอนทราย
กับปัญหาสันดอนทรายรบกวนจิตใจของ
Alexander Mitchell (1780 – 1868)
ชาวไอริชผู้ประกอบการโรงอิฐที่ประสบความสำเร็จใกล้ Belfast
ที่ Belfast มีประเพณี/ธรรมเนียมนิยม
ในเรื่องการเดินเรือที่สืบต่อกันมายาวนาน
เรื่องนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า Alexander Mitchell
คงได้ยินยินเรื่องราวโศกนาฏกรรมมากมาย
ของหลายชีวิตที่สูญหายไปในทะเล
และเรือที่อับปางจมอยู่ใต้พื้นโคลนในท้องทะเล
Alexander Mitchell จึงตัดสินใจที่จะทำอะไรบางอย่าง
เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้จงได้
แม้ว่าท่านจะไม่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรม
หรือการสร้างประภาคารมาก่อนเลย
ภารกิจทางการทหารของบิดาท่าน
ทำให้มีส่วนพาท่านเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ในตอนที่ท่านอายุได้ 7 ขวบ
ครอบครัวของท่านได้ย้ายไปอยู่ที่ Pine Hill ใกล้ Belfast
ณ ที่นั่นท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนดัง
และมีชื่อเสียงมากคือ Belfast Academy
ในระหว่างที่เรียน เลขคณิต เรขาคณิต และตรีโกณมิติ
Alexander Mitchell ก็พบว่าตนเองหลงใหลและชื่นชอบสามวิชานี้มาก
และจัดว่าเป็นคนเก่งในสามวิชานี้ด้วยเช่นกัน
สายตาของ Alexander Mitchell เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ ตอนที่ท่านโตขึ้น
ตอนท่านอายุได้ 16 ปี ท่านไม่สามารถอ่านหนังสือได้อีกต่อไป
ครอบครัวของท่านจึงได้ช่วยให้ท่านได้รับการศึกษาเป็นการส่วนตัว
ในขณะที่โลกใบเล็ก ๆ ของท่าน
เริ่มนำท่านไปสู่ความมืดมิดนิรันตกาลอย่างช้า ๆ
ตอนท่านอายุได้ 22 ปี ท่านกลายเป็นคนตาบอดอย่างสมบูรณ์
มีการสันนิษฐานจากว่า การมองไม่เห็นของท่าน
น่าจะมีจากการติดเชื้อไข้ทรพิษในวัยเด็ก
แม้ว่า Alexander Mitchel
จะมีความพิการทางสายตา
แต่ท่านก็เป็นคนมองโลกในแง่ดี
ท่านได้แต่งงานกับลูกสาวของเพื่อนบ้านคนหนึ่ง
แม้ว่าแม่ของท่านจะไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานครั้งนั้น
แต่ทั้งสองคนต่างมีลูกด้วยกัน 5 คน
นอกจากนี้ ท่านยังได้ก่อตั้งโรงอิฐ
ที่ประสบความสำเร็จในเขต Ballymacarrett ของ Belfast
ซึ่งทำให้ท่านมีเงินจำนวนมากจากการขายอิฐ
จนสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้หลายแห่งทั่วทั้งเมืองนั้น
Alexander Mitchel ชื่นชอบกับการสังคมมาก
ชอบการเสวนาและชอบทำกิจกรรมสังคมร่วมกับเพื่อน ๆ
เช่น Thomas Romney Robinson นักดาราศาสตร์
George Boole นักคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง
ท่านชอบแสดงตนเหมือนเป็นคนปรกติ
ทำให้บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าท่านเป็นคนตาบอด
ท่านยังชื่นชอบเล่น Whist กับ ฺBackgammon กับเพื่อน ๆ
โดยมีคนคอยกระซิบข้างหูท่าน
บอกถึงแต้มของลูกเต๋าและหน้าไพ่ของท่าน
Alexander Mitchell ได้ทำโรงอิฐยาวนานกว่า 30 ปี
ในช่วงเวลานั้น ท่านมีส่วนอย่างมาก
ในการพัฒนานวัตกรรมหลายอย่าง
และพัฒนากระบวนการผลิตที่สำคัญอย่างมาก
ในเชิงอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
ในปี 1832 ท่านได้วางมือจากธุรกิจโรงอิฐ
ในปีต่อมา ตอนท่านอายุได้ 52 ปี
ท่านได้รับสิทธิบัตรเสาเข็มสกรู
วิธีแก้ปัญหาของ Alexander Mitchell นั้นเรียบง่าย
แทนที่จะตอกเสาเข็มเหล็กแบบเดิม
ลงไปในชั้นโคลนอ่อนหรือดินเหนียว
เพื่อเสริมสร้างรากฐานก่อนที่จะก่อสร้างอาคาร/ประภาคาร
ท่านเปลี่ยนวิธีการใหม่ในการลงเสาเข็ม
ด้วยการใช้เสาเข็มไชดินโคลนอ่อนหรือดินเหนียวลงไป
เสาเข็มตัวแรกจะมีเกลียวสว่านก่อนจะถึงใบพัดติดอยู่ที่ปลายด้าม
ตัวใบพัดมีขนาดความกว้างราว 4 ฟุต (1.2 เมตร)
เสาจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 6 นิ้ว (15 เซ็นติเมตร)
ความยาวของเสาเข็มราว 20 ฟุต(6 เมตร)
นัำหนักของเสาเข็มจะช่วยเพิ่มแรงกดลงบนพื้นดิน
ขณะเดียวกันการกว้านให้หมุน/ไชลงไปในพื้นดิน
ด้วยหัวเกลียวสว่านที่นำร่องลงไปเหมือนเกลียวเหล็กขนาดยักษ์
คล้ายกับที่เปิดขวดจุกก๊อกขวดไวน์/ขวดแชมเปญ
ส่วนใบพัดช่วยในการสะบัด/กันดินถล่มลงไป
ทำให้หัวเกลียวสว่านทำงานได้ง่ายขึ้น
ถ้าความลึกมาก ๆ ค่อยต่อเชื่อมเสาให้ยาวขึ้น
เสาแต่ละต้นจะรับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน
ซึ่งเพียงพอกับการรับน้ำหนักอาคาร/ประภาคาร
เพื่อทดสอบสิ่งประดิษฐ์ของท่าน
Alexander Mitchell กับ John ลูกชายวัย 19 ปีของท่าน
ได้แอบไปที่สันดอนทรายใน Belfast Lough
แล้วทดลองใช้เสาเข็มสกรูไชลงไปในพื้นโคลนอ่อน/ดินเหนียว
แล้วให้เสาเข็มสกรูโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ทิ้งไว้ทั้งคืน
เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พวกท่านได้กลับไปดูผลงานอีกครั้ง
ก็พบว่าเสาเข็มสกรูยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมอย่างมั่นคง
หลังจากการทดลองที่ประสบความสำเร็จครั้งที่ 2
ท่านจึงนำผลงานประดิษฐ์ของท่านไปยัง London
แล้วยื่นคำร้องขอจดสิทธิบัตร เสาเข็มสกรู
Alexander Mitchell ต้องรอถึง 5 ปี
กว่าจะสามารถโน้มน้าวให้ Trinity House
หน่วยงานที่รับผิดชอบประภาคารของ British และ Irish
ให้ยอมรับข้อดีของสิ่งประดิษฐ์เสาเข็มสกรูของท่าน
ในปี 1838 ประภาคารที่ใช้เสาเข็มสกรูหลังแรก
ได้ถูกสร้างขึ้นที่สันดอนทราย Maplin Sands ใกล้ปากแม่น้ำ Thames
ในปี 1839 ประภาคารอีกแห่งหนึ่งที่ Morecambe Bay ก็ใช้เสาเข็มสกรู
ในปี 1910 ประภาคารในอเมริกาเหนือถึง 150 แห่ง ต่างใช้เสาเข็มสกรู
มีการใช้เสาเข็มสกรูหลายแห่งมากใน Ireland
ทุกวันนี้หลายแห่งยังคงใช้งานได้ เช่น
ใกล้กับ Dundalk Harbour Spit Bank ใน Cork
Duncanon แถวท่าเรือ Waterford
และที่ Belfast Lough ท่านได้สมทบทุนก่อสร้าง 1,200 ปอนด์
เพื่อแสดงการขอบคุณ/ตอบแทนเมืองที่ท่านทำมาหากิน
ในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ
ประภาคารนับร้อยแห่งขึ้นไป
มีการสร้างกันทั่วเกาะอังกฤษและในอเมริกาเหนือ
มีการก่อสร้างกันด้วยเสาเข็มสกรูอย่างคึกคักมากมายหลายแห่ง
Alexander Mitchell ยังชื่นชอบกับการเดินทาง
เพื่อไปดูผลงานของตนเองในสถานที่ก่อสร้าง
ในการใช้เสาเข็มสกรูก่อสร้างประภาคารหลายแห่งมาก
บางครั้งท่านจะปีนขึ้นบันไดและปีนขึ้นไปบนนั่งร้านของประภาคาร
ที่กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ โดยไม่สนใจอันตราย
บางครั้งท่านก็พลัดตกลงไปในทะเล
ผลงานและความสำเร็จของเสาเข็มสกรู
ทำให้ Alexander Mitchell ได้รับสัญญา
ผลิตเสาเข็มสกรูหลายฉบับมาก
และยังขยายผลงานเสาเข็มสกรูไปยังพื้นที่อื่น ๆ
และที่ไกลที่สุดคือ การสร้างสะพาน Bombay-Baroda ที่อินเดีย
ในปี 1860 หลังจากที่ญี่ปุ่นเปิดประเทศ
เพราะถูกเรือปืนสหรัฐอเมริกาขู่บังคับให้เปิดประเทศ
จนทำให้ญี่ปุ่นมีการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ในระยะเวลาใกล้เคียงกับสยามประเทศ
ญี่ปุ่นก็มีการนำหลักการและวิธีการเสาเข็มสกรู
ไปทำการ Copy and Development
เพื่อไปใช้งานก่อสร้างบนท้องทะเลหลายแห่งมาก
ซึ่งในสมัยก่อนสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ยังไม่เข้มงวดมากเหมือนทุกวันนี้
ปัจจุบันเสาเข็มสกรูยังคงถูกใช้กันอย่างกว้างขวาง
สำหรับการใช้งานสร้างอาคารต่าง ๆ
ตั้งแต่กระโจมไฟ งานรถไฟ การสื่อสารโทรคมนาคม
ถนนและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว
และกินพื้นที่น้อยมากในการวางเครื่องตอกเสาเข็ม
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงใช้ฐานรากจากเสาเข็มสกรู
เพราะประสิทธิภาพ ลดต้นทุนค่าแรงงานและแวลา
รวมทั้งลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
(เรื่องเสียง การสั่นสะเทือน การแตกร้าวของอาคารข้างเคียง)
การทำฐานรากในดินด้วยเสาเข็มสกรู
ทำให้มีการเคลื่อนตัวของดินน้อยลง
แบบเสาที่ต้องขุดดินออกทำฐานราก/หล่อเสาขึ้นมา
จึงไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายดินส่วนเกิน
ออกจากสถานที่ก่อสร้างมากมายนัก
จึงประหยัดค่าขนส่งและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง
ในปี 1848
Alexander Mitchell ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ
สถาบันวิศวกรโยธา Institution of Civil Engineers
ในปี 1849
ท่านได้รับเหรียญรางวัล Telford Medal
จากรายงานผลงานเสาเข็มสกรูของท่าน
ในปี 1868
ท่านมตะในวัย 88 ปีที่บ้านของท่านใกล้ Belfast
เรียบเรียง/ภาพที่มา
https://bit.ly/2JiT1R1
https://bit.ly/2Lpg9A8
https://bit.ly/2VIQvKp