เที่ยวแคชเมียร์ ชิมลา มะนาลี ดาลัมศาลา ด่านวาการ์ (ตอน 2 )

กระทู้สนทนา
  ต่อจาก หัวข้อเดิม ( เขียนเกิน 10,000 คำ)
  วันที่ 4 ศรีนาคาร์ - สวนทิวลิป - โซนามาร์ค
         กินข้าวเช้าบนบ้านเรือเรียบร้อย ไกด์บอกวันนี้ไปสวนทิวลิป ซึ่งอยู่ในศรีนาคาร์ สวนนี้ถูกจัดไว้ให้คนอินเดียได้ชมระหว่างกลางมีนาคม - พฤษภาคม ทุกปี ทุกคนเฮดีใจมาก พอไปถึงจริง ๆ สวยจริง เพราะทิวลิปที่ศรีนาคาร์ จะมีถึง 60 สายพันธุ์ที่นักพฤษศาสตร์อินเดียได้วิจัยพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ ผสมพันธุ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ได้ สายพันธุ์ทิวลิปที่แข็งแรง ต้านทานโรค สีสวย เหมาะสมกับบสภาพภูมิอากาศ และยังแถมมีดอกแมกโนเลีย(จำปีฝรั่ง) สีม่วงแดงเต็มต้นเยอะมาก แถมด้วยบ๊วย ซากุระ และดอกอื่น ๆ แถมอีก
      เดินอยู่ในสวนทิวลิปแล้วแทบกระโดดเลย อยากข้ามไปแปลงโน้นมาแปลงนี้ สวยเหลือเกิน (คนเมืองร้อนคงเหมือนกันแทบทุกคน พอเห็นดอกไม้เมืองหนาวจะชอบมาก) เป็นทิวลิปต้นเตี้ย ๆ เล็ก ๆ ก้านดอกสั้นแข็งแรง ดอกใหญ่  กลีบดอกแข็งหยักสวย ไม่มีแมลงรบกวน
     
           นอกจากนี้ ยีงมีพวกแมกโนเลีย (Magnolia Soulangeana ) ออกดอกเต็มต้นสวยมาก สกุลของไม้แมกโนเลีย มีมากกว่า 210  ชนิด  มีหลากหลายสี  ถือว่าเป็นไม้โบราณ และยังมีพวก Peach  Pear  ect. 

        ออกจากสวนทิวลิปเดินทางไปโซนามาร์ค(โซนามาร์คแปลว่าทุ่งหญ้าสีทอง)ห่างจากศรีนาคาร์ 96 กม มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 2,690 ม มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยมีเทือกเขาหิมาลัยเป็นฉากหลัง เป็นแหล่งกิจกรรมสำหรับคนชอบขี่ม้า ชมทุ่งหญ้า ป่าสนและภูเขาหิมะ  ชาวอินเดียเปอร์เซียเลี้ยงม้าให้นักท่องเที่ยวขี่ แต่วันนี้ ม้ามากคนเที่ยวน้อย สงสารคนเลี้ยงม้า ทุกคนหน้าตาอมทุกข์ (น่าจะวิตกว่าวันนี้จะหาเงินได้กี่บาท) เห็นแล้วเศร้า (หรือว่าเราคิดไปเอง)
          เห็นส่วนหลังคา เขียว แดง ที่กินข้าวกลางวัน สำหรับวันนี้ พวกเราไปได้แค่ครึ่งทางขึ้นโซนามาร์คมีแต่กราเซีย ไกด์บอกทางพังขึ้นไม่ได้ กินข้าวเถอะ ขึ้นรถกลับแวะถ่ายรูปทุ่งมัสตาร์ดดีกว่า ( Mustrad คือเครื่องเทศ ชนิดหนึ่งสีเหลือง) เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับกะหล่ำดอก และพวกผักกาด ใช้เมล็ดมาป่น ผสมทำเป็นน้ำสลัด นอกจากนี้เชื่อว่ายังช่วยในการเจริญอาหาร ขับปัสสาวะ และฯลฯ
             ออกจากทุ่งมัสตาร์ดแวะชมสวน ระหว่างทาง แวะชมร้านทำพรมเปอร์เซีย (ง่วง... หลับไม่ได้ลง ถูกทิ้งไว้บนรถ นึกถึงเด็กถูกทิ้งเลยขนาดเป็นผู้ใหญ่ยังเปิดรถไม่ได้เลย...ตื่นมามองไม่เห็นใคร ) หลายคนกลับมาขึ้นรถอวดผ้าพันคอลายแคชเมียร์(...คงสวยมากซินะ...รึ...) ต่อจากนั้น ไปสวนแห่งความรัก (อีกแล้ว) ของกษัตริย์จาฮัดจีร์( Jehanjir) แห่งราชวงศ์โมกุล มอบให้มเหสีเนอร์ เจฮัน ( Nur Jehan) เพื่อพักผ่อนในฤดูร้อน มีน้ำพุ การวางภูมิทัศน์สวยงาม  ใกล้ ๆ สวนนี้มีสวนนิชาห์ท (Nishat) การตบแต่งคล้าย ๆ แต่สวนนิชาห์ทหันหน้าเข้าทะเลสาบดาล ( Dal Lake)
              ได้เวลาสมควรกลับมาบ้านเรือ (คืนนี้คืนสุดท้ายที่บ้านเรือแล้ว)ไกด์บอกว่ากลับไปลงเรือชมตลาดน้ำ  เราลงเรือกัน  4  คนพอเรือพายไปยังไม่ถึงกลางทางก็จะมีเรือมาประกบ ขายสินค้าต่าง ๆ ( Saffron มาหลอนอีกแล้ว ) เครื่องประดับ   Paper  Mache เพียบเราไม่ได้ซื้อ  มีให้แวะบ้านที่ขายด้วย เราพร้อมใจกันไม่ขึ้นจากเรือ  กลับบ้านดีกว่า  คืนนี้คงมีตลาดการค้าอย่างคึกคักแน่นอน เพราะเป็นคืนสุดท้าย  ว่าแล้วยังไม่ทันเอากระเป๋าเก็บเลย พ่อค้ามาหาแล้ว  ว่าไปอยากซื้อจังเห็นหน้าก็ใจหล่นแล้ว  .....แต่ก็โชคดีมีลูกทัวร์บ้านอื่นมารุม เลยรอดตัว ต้องทำตัวเป็นกองเชียร์พวกลูกยุลูกดันให้เพื่อนเสียตังค์ซื้อแล้วกั้น...(ก็เขาอยากได้ก็ต้องหนับหนุน...) แต่สุดท้ายพ่อค้าก็ชนะเราได้ตุ๊กตาเป็ดแสนสวย (หรือขี้เหร่...นะ) มา 1. ต้ว( 200 INR) สงครามการค้ายังมีต่ออีก. ตอนเช้า. final market ปรากฏว่าผลที่สุด Saffron ก็ชนะ มีคนซื้ออย่างภูมิใจว่าถูก (เอาที่สบายใจเลยพี่ ...ไม่ว่ากั้น..) และมีหลายคนได้ผ้าพันคอลายแคชเมี้ยร์ แคชเมียร์ ด้วยความภูมิใจอีกหลายผืน (..ดีใจด้วยนะพ่อค้า )
      วันที่  5  ศรีนาคาร์- จันดิการ์-ชิมลา 
        พรุ่งนี้ต้องตื่นเช้าอีกแล้ว ต้องไปสนามบินศรีนาคาร์เพื่อบินไปจันดิการ์ (Chandigarh Airport)โดยสายการบิน Indigo สนามบินศรีนาคาร์ถือว่าเป็นสนามบินในประเทศที่เข้มมาก จะตรวจสแกนทุกอย่างตั้งแต่ประตูทางเข้าสนามบิน จนถึงตัวสนามบินเลย สิ่งที่ต้องพร้อมคือน้ำหนักกระเป๋าไม่เกิน  15 Kg ตั๋วบิน (electronic ticket) passport  เพื่อไปเมืองชิมลา ( Shimla) ถึงในสนามบินแล้วประตูทางเข้ายังไม่เปิดอีก ผู้โดยสารนั่งรอหนาวสั่นรับลมอยู่ด้านข้างหน้าประตู  ทหารเดินไปมาเนื่องจากใกล้ชายแดนปากีสถาน ความเข้มมากกว่าปกติ ก่อนถึงเวลาบินประมาณ   2   ชั่วโมงเคาน์เตอร์เปิด รีบไป check in โหลดกระเป๋า เมื่อได้ boarding pass  แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจก tag  flight ติดกระเป๋าหิ้วทุกใบที่ขึ้นเครื่อง  จากนั้นต้อง scan  กระเป๋าขึ้นเครื่องที่มี tag ติดทุกใบ ถ้าปลอดภัยเจ้าหน้าที่จะ stamp (ประทับตรา) บน  tag  ถ้าของใครไม่ถูก stamp  ต้องถูกรื้อค้นเทกระจาด (กระเป๋า)  และตอบคำถามเจ้าหน้าที่ทำให้เสียเวลา มีหลายคนโดนเท (ห้ามพวกหมูทั้งหลาย หมูแห้ง หมูหยองอย่านำไปเลย...อาหารกินได้  ถ้ารักจะเที่ยว) อีกอย่างหางตั๋วของ boarding ห้ามทิ้ง ห้ามหายเพราะเวลาเครื่องลง เดินออกจากเครื่องบินจะตรวจอีก...   
 
        
       เมื่อถึงสนามบินจันดิการ์ ( เมือง Chandigarh เป็นเมืองหลวงของรัฐ  Punjab ) เปลี่ยนรถTempo ( Benz Tempo)  ของเมืองนี้ สมาชิกแต่ละคันเหมือนเดิมจ้า  ไกด์แจ้งวันนี้กินอาหารกลางวันภัตราคารจีน (ดีใจจัง) ได้เข้าในเมืองไปกินข้าว เดินทางต่อไป Shimla  ระหว่างเส้นทางไป shimla ผ่านทางเรียบแม่น้ำ เลาะข้างภูเขา  (คนอินเดียขับรถเก่งมาก หลบกันได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นทางแสนแคบ ทางโค้งไม่ต้องพูดถึงการเข้าโค้ง ทางชัน พี่บังทำได้โหมด ) ระยะทางจากจันดิการ์ถึงชิมลา  113 km แต่เวลาที่ใช้เดินทางประมาณ  5-6  ชั่วโมง  มีแวะร้านอาหารริมทางทดลองจิบชาอินเดีย ( garam chai  การัมจาย  มั้ง ได้ยินคนพูด) เป็นชาที่ชงใส่เครื่องเทศและนมสด มีกลิ่นเฉพาะ  รสชาติไม่หวานมาก บางคนไม่ชอบกลิ่น แต่เรากินได้ ถือว่าทดลอง  (เรามาเมืองตาลิ่วต้องลิ่วตาตาม)  อาหารว่างเป็นข้าวผัด บนเส้นทางจะมีการซ่อมแซมทำให้รถขับผ่านต้องมีหยุดรอกัน เดินทางต่อถึงที่พักเกิอบ  2  ทุ่ม ได้กินข้าวซะที.....สิ่งปลูกสร้างอยู่ริมไหล่เขา (ไม่กลัวดินสไลด์กันบ้างรึ...) โรงแรมที่ไปพักยังอยู่ริมเขาเลย ขับรถเข้าไปได้ถือว่าปราบเซียน....
     ชิมลา  เมืองแห่งภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าหนาแน่น อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,600 ม ชื่อ shimla เป็นชื่อของเทพธิดา Shyamla เป็นร่างอวตารของเจ้าแม่กาลี ทำให้ภูเขาแต่ละลูกสวยงาม บ้านเรือนในเมืองนี้สร้างตามไหล่เขา ดูสวยงามแปลกตา  ฤดูหนาวอุณภูมิติดลบ เมืองชิมลาประชากรหนาแน่นกว่าแคชเมียร์
วันที่ 6 วัดหนุมาน  คูรีฟ (Kufri) มะนาลี ( Manali)
        ตื่นเช้าไกด์บอกว่าวันนี้ไปวัดหนุมาน (Hanuman Temple) อยู่บนยอดเขา Jakhu มีความสูง 2,500 ม เหนือระดับน้ำทะเล บนยอดเขามีมุมมอง เมืองชิมลาที่สวยงาม  จากโรงแรมต้องใช้รถเล็กที่เล็กมาก ขนาดรถ March บ้านเราขับไปส่งที่ใกล้ที่สุดของวัดหนุมาน (หนุมานมีความสูง 33 ม) เมื่อไปถึงเดินขึ้นบันไดไปแต่ให้ระวังลิงแย่งหมวก แว่นตา 
       กลับลงจากวัดหนุมานขึ้นรถ กลับไปโรงแรม ไปเปลี่ยนรถเป็นรถ Tempo  เดินทางไป หมู่บ้านคูฟรี ( Kufri ) ห่างจากโรงแรมไป 18  กม มีความสูง 2,620  ม  เหนือระดับน้ำทะเลเป็นแหล่งรวมการเล่นกีฬาฤดูหนาว เส้นทางค่อนข้างหฤโหด ขากลับมีรถติด (ถนนพัง เมื่อคืนฝนตก )
 
 
        หลังจากนั้น ได้เดินทางกลับ ( 1.30  h) ถีงโรงแรม กินข้าวกลางวัน  เดินทางต่อไป มะนาลี (ระยะทาง 247  km สูง 2,000 m เหนือระดับน้ำทะเล) ช่วงบ่าย เส้นทางริมแม่น้ำและภูเขาเป็นสถานที่ยอดนิยมในการเล่นกีฬาล่องแก่งของชาวอินเดีย แต่พอเห็นแล้วก็หวาดเสียวขา น้ำค่อนข้างเชื่ยวและโขดหินเกะกะไปหมด การเดินทางไปมะนาลีครั้งนี้ถือว่าหฤโหดมาก เพราะออกจากชิมลาช่วงบ่าย กว่าจะถึงที่พัก  ( Life Style Hotel)  00.24 น ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า  12  ชั่วโมง นั่งรถกันมาอย่างกระแทกกระทั้น (เส้นทางกำลังก่อสร้าง) เมื่อยขบทั้งตัว (...นั่งเบาะท้ายด้วย) หัวสั่นหัวคลอนมา 3 แสนครั้ง มีหวาดเสียวอีก 7  พันครั้ง ใจเต้นตุ๊บตั๊บ ล่วงผลุบลงไปในเหว แต่พี่บังก็กระชากรถหลีกหลบ รถบรรทุก รถบัส รถที่สวนมาได้อย่างสบาย ๆ แค่รถวิ่งไต่เขาริมหน้าผา (นึกถึงรถไต่ถังไว้ ...รู้จักกันไหม..ถือว่าเป็นการท่องเที่ยวแบบ extreme แล้วกัน + ในทัวร์แล้วจร้า.ถือว่าเป็น special  option ก่อนไปทำประกันด้วยนะ..หวังดี...)  กลางคืนมองไม่เห็นทาง (...หลับตาเสียเถิดนะคนดี...นึกถึงเพลงอีกแล้ว..) หลับ ๆ ตื่น ๆ ไป เถอะ หากเกิดอะไรขึ้นก็ไม่ต้องตื่นเลยนับว่าดี... ไม่ต้องกินข้าวเย็น (ใครจะกินก็ได้ โรงแรมจัดไว้ แต่เราขอ bye นอนดีกว่า) แต่ระหว่างทางก่อนถึงที่พักแวะกินข้าว ( อาหารบ่าย เพราะอาจถึงที่พักดึก  แต่ก็ดึกจริง ๆ ) อย่างไรก็ตามขอขอบคุณรถคันนี้ คนขับรถ และเพื่อนร่วมทริป รวมทั้งไกด์ด้วยค่ะ...ที่พามาถึงจุดหมาย..(Thank you for destiny..)
วันที่ 7  มะนาลี - วัดฮินดู - Local  Market
           มะนาลี (Manali) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐหิมาจัน ( Himachal Pradesh ) ทางตอนเหนือของอินเดีย ตั้งอยู่ในหุบเขาซอกเขาเล็กของเทือกเขาหิมาลัย ในเมืองนี้เต็มไปด้วยสวนแอปเปิล ที่พักของเราก็ตั้งอยู่ในสวนแอปเปิลกำลังออกดอก กินได้เมื่อไรเจอกัน (ต้องมาใหม่อีกครั้งในรอบ 1 ปีนี้ เพราะเสียดายค่า visa...คิดผิดไหม...คิดใหม่ได้นะ..) ว่าแล้วก็มีการถ่ายรูปสมาชิกรถ กันซะหน่อย...

            วันนี้เป็นวันสงกรานต์  (...เหมือนกับได้ยินเพลงสงกรานต์..)  พออยู่ต่างถิ่น แวบหนึ่งก็จะคิดถึงบ้าน เช้านี้ไกด์บอกตามสบาย ๆ หน่อย วันนี้พาเที่ยวที่มะนาลี ไปสถานที่เล่นกีฬาภูเขาหิมะ (ต่อตอน  3)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่