หัวข้อนี้เป็นเรื่องที่คนส่วนมากยังไม่ทราบ และในขณะนี้ก็ยังไม่ถูกบังคับใช้
แต่ถูกร่างเพื่อรอความคิดเห็นและบังคับใช้
ซึ่งถ้าออกมาจริงๆทุกคนก็เหมือนถูกมัดมือชกเพราะก่อนที่จะลงทุนไม่มีข้อบังคับเหล่านี้
https://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1541401898hearing_46_2561.pdf
ผมจะสรุปคร่าวๆให้ หากมีตรงไหนที่ผิดพลาดก็ช่วยกันทักท้วงและอธิบายเพิ่มเติมนะครับ
1.โดยสรุปคือบลจ.สามารถปรับ NAV ให้แพงหรือถูกกว่าปกติได้เมื่อมีการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนเกินกว่าที่กำหนด
2.คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม หากมีการซื้อหรือขายเป็นมูลค่ามากๆ
*ในข้อ 1. และ 2. นี้ ไม่ใช่เฉพาะรายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ แต่หมายความถึงมูลค่ารวมของคำสั่งในวันนั้นๆ
ซึ่งถ้ามีวันไหนก็ตามที่เราบังเอิญขายหรือซื้อพร้อมกันเยอะๆเกินลิมิตก็จะเข้าข่ายทันทีครับ
3.ให้ บลจ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มได้หากถือหน่วยลงทุนเป็นระยะสั้น
4.บลจ. สามารถกำหนดวงเงินรับซื้อคืนได้ในแต่ละวัน ง่ายๆคือ ถ้ามีคนขายเต็มโควต้าแล้ว คนที่ขายทีหลังจะไม่สามารถขายได้ครับ
5.ให้ บลจ. ขายทรัพย์สินสภาพคล่องสูง กับ สภาพคล่องต่ำในปริมาณที่เท่ากันเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง (ข้อนี้ดีครับ)
6.เป็นการปรับปรุง ให้ บลจ. สามารถระงับการขายหน่วยที่รับไว้แล้วจาก 1 วัน เป็น 7 วัน ตรงๆก็คือชะลอการขายของเราได้สูงสุด 7 วันครับ
7.ข้อนี้ผมเข้าใจว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น กองทุนสามารถจ่ายคืนหน่วยลงทุนเป็นหุ้นหรือทรัพย์สินอื่นๆที่ไม่ใช่เงินได้
แต่ต่อไปนี้จะทำแบบนี้ได้กับผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
ปล.ใครมีข้อคิดเห็นยังไงแชร์กันนะครับ ตรงไหนผมผิดก็ช่วยแก้ด้วย
...ข้อจำกัดที่ไม่เป็นธรรมที่กำลังจะเกิด เพราะกลัว LTF จะระเบิด...(ทุกคนที่ลงทุนในกองทุนควรเข้ามาดู)
แต่ถูกร่างเพื่อรอความคิดเห็นและบังคับใช้
ซึ่งถ้าออกมาจริงๆทุกคนก็เหมือนถูกมัดมือชกเพราะก่อนที่จะลงทุนไม่มีข้อบังคับเหล่านี้
https://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1541401898hearing_46_2561.pdf
ผมจะสรุปคร่าวๆให้ หากมีตรงไหนที่ผิดพลาดก็ช่วยกันทักท้วงและอธิบายเพิ่มเติมนะครับ
1.โดยสรุปคือบลจ.สามารถปรับ NAV ให้แพงหรือถูกกว่าปกติได้เมื่อมีการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนเกินกว่าที่กำหนด
2.คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม หากมีการซื้อหรือขายเป็นมูลค่ามากๆ
*ในข้อ 1. และ 2. นี้ ไม่ใช่เฉพาะรายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ แต่หมายความถึงมูลค่ารวมของคำสั่งในวันนั้นๆ
ซึ่งถ้ามีวันไหนก็ตามที่เราบังเอิญขายหรือซื้อพร้อมกันเยอะๆเกินลิมิตก็จะเข้าข่ายทันทีครับ
3.ให้ บลจ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มได้หากถือหน่วยลงทุนเป็นระยะสั้น
4.บลจ. สามารถกำหนดวงเงินรับซื้อคืนได้ในแต่ละวัน ง่ายๆคือ ถ้ามีคนขายเต็มโควต้าแล้ว คนที่ขายทีหลังจะไม่สามารถขายได้ครับ
5.ให้ บลจ. ขายทรัพย์สินสภาพคล่องสูง กับ สภาพคล่องต่ำในปริมาณที่เท่ากันเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง (ข้อนี้ดีครับ)
6.เป็นการปรับปรุง ให้ บลจ. สามารถระงับการขายหน่วยที่รับไว้แล้วจาก 1 วัน เป็น 7 วัน ตรงๆก็คือชะลอการขายของเราได้สูงสุด 7 วันครับ
7.ข้อนี้ผมเข้าใจว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น กองทุนสามารถจ่ายคืนหน่วยลงทุนเป็นหุ้นหรือทรัพย์สินอื่นๆที่ไม่ใช่เงินได้
แต่ต่อไปนี้จะทำแบบนี้ได้กับผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น
ปล.ใครมีข้อคิดเห็นยังไงแชร์กันนะครับ ตรงไหนผมผิดก็ช่วยแก้ด้วย