ใช้'กัญชา'เสี่ยงโรคจิตเวช หลงผิด-ซึมเศร้า-ประสาทหลอน
จิตแพทย์ เตือนใช้ “กัญชา” เสี่ยงกระทบโรคจิตเวช “หลงผิด ซึมเศร้า ประสาทหลอน” เด็ก-วัยรุ่นใช้ เสี่ยงเกิด “โรคจิตเภท” เพิ่ม 2 เท่าอึ้ง ต่างชาติเสรีกัญชา ทำ เด็กติดยา ปัญหาอุบัติเหตุพุ่ง
พฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.40 น.
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผอ.กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกัญชากับสุขภาพจิต ในการอบรมการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รุ่นที่ ว่า ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำว่ากัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติด ซึ่งไม่ว่าในรูปแบบใดก็ยังไม่มีที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวชในขณะนี้ ทั้งนี้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะวัยเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นแนะนำว่าควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรับรองเท่านั้น ในการให้ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นประโยชน์หรือโทษควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลจากการใช้กัญชาหรือสารสกัด หรือจากสารสังเคราะห์ และคนที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช
สำหรับข้อแนะนำมาตรการเพื่อลดปริมาณกัญชาในตลาดมืด เพิ่มโอกาสการนำกัญชามาใช้เพื่อการรักษาในทางการแพทย์ ทั้งนี้ ข้อดีในการลดอันตรายที่เกิดจากการใช้กัญชาได้ในประเทศที่มีระบบการควบคุมที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1.การให้ข้อมูลที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับกัญชา เช่น ประโยชน์ ความเสี่ยงและแนวทางในการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้กัญชา 2.การให้ความรู้ ความเข้าใจถึงรูปแบบ ปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์ และความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ใช้กัญชาในแง่การรักษา 3.การแนะนำให้ใช้กัญชาในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การเผาไหม้ เพื่อลดกระทบที่เกิดกับปอด และ 4.ห้ามการใช้กัญชาในกลุ่มเยาวชน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการใช้กัญชา เพราะการใช้กัญชาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่น เสี่ยงเกิดโรคจิตเภทเพิ่มเป็น 2 เท่า ยิ่งอายุน้อยยิ่งเสี่ยง แต่ไม่อาจสรุปได้ว่ากัญชาทำให้เกิดอาการทางจิต อาจเนื่องจากกัญชาไปกระตุ้นให้เกิดอาการในกลุ่มเสี่ยง ส่วนคนปกติอาจเกิดชั่วคราว 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้สารซีบีดีที่เป็นสารสำคัญตัวหนึ่งในกัญชา อาจจะใช้รักษาอาการทางจิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเฉพาะ
ด้าน ผศ.ดร.พญ.รัศมี สังข์ทอง หน่วบระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกเอกสารเผยเพร่ ผลของการใช้กัญชาต่อจิตประสาทในเด็กและเยาวชน โดยระบุว่า เมื่อเสพกัญชาเข้าไปในระยะแรก สารทีเอชซีจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นตัว ตื่นเต้น แต่เมื่อผ่านไป 1-2 ชั่วโมง จะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท มีโอกาสเกิดสมองเสื่อมถาวร หรือเป็นจิตเภท โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน อาการที่จะเกิดขึ้นจากการเสพ คือ อารมณ์อ่อนไหว เลื่อนลอย สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่าเริงผิดปกติ รู้สึกกังวล กลัว ไม่กล้าไว้ใจใคร ซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย ดุร้ายผิดปกติ มองเห็นภาพหลอน ควบคุมตัวเองไม่ได้ นำไปสู่ อุบัติเหตุ ปัญหาการเรียน ผลการเรียนตกต่ำ ขาดสมาธิในการเรียน ความสามารถในการเรียนรู้แย่ลงและมีปัญหาสุขภาพจิตหรือวิกลจริต สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนผสมกัญชาที่ต้องตรวจสอบก่อนบริโภค เช่น ลูกอม คุกกี้ เครื่องดื่ม โอศกรีม ช็อกโกแลต หรือบุหรี่ยัดไส้
แหล่งข่าวในแวดวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด ไม่ใช่ให้เสรีทั้งหมด เพราะจากข้อมูลในต่างประเทศที่มีการใช้น้ำมันกัญชาพบว่ามีผลกระทบทางด้านลบเช่นเดียวกัน เช่น ที่รัฐโคโรลาโด พบว่ามีปัญหาเด็กติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น มีปัญหาอุบัติเหตุทางรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตัวหลักคือกัญชา เพราะกัญชามีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคล้ม สะลึมสะลือ อีกทั้งยังพบว่าการใช้ในเด็กทำให้อัตราการเติบโตของสมองช้าลง อาชญากรรมสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศที่มีการเปิดเสรีกัญชานั้นต้องบอกว่าเป็นการเปิดเสรีภาพใต้กฎหมายที่กำหนดอายุชัดเจน มีโทษสูงมากและรุนแรงมาก แต่ปัญหากัญชาใต้ดินก็ยังมีอยู่.
https://www.dailynews.co.th/politics/706955
ใช้'กัญชา'เสี่ยงโรคจิตเวช หลงผิด-ซึมเศร้า-ประสาทหลอน
จิตแพทย์ เตือนใช้ “กัญชา” เสี่ยงกระทบโรคจิตเวช “หลงผิด ซึมเศร้า ประสาทหลอน” เด็ก-วัยรุ่นใช้ เสี่ยงเกิด “โรคจิตเภท” เพิ่ม 2 เท่าอึ้ง ต่างชาติเสรีกัญชา ทำ เด็กติดยา ปัญหาอุบัติเหตุพุ่ง
พฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.40 น.
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. นพ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผอ.กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกัญชากับสุขภาพจิต ในการอบรมการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รุ่นที่ ว่า ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำว่ากัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติด ซึ่งไม่ว่าในรูปแบบใดก็ยังไม่มีที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวชในขณะนี้ ทั้งนี้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะวัยเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นแนะนำว่าควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรับรองเท่านั้น ในการให้ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นประโยชน์หรือโทษควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลจากการใช้กัญชาหรือสารสกัด หรือจากสารสังเคราะห์ และคนที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช
สำหรับข้อแนะนำมาตรการเพื่อลดปริมาณกัญชาในตลาดมืด เพิ่มโอกาสการนำกัญชามาใช้เพื่อการรักษาในทางการแพทย์ ทั้งนี้ ข้อดีในการลดอันตรายที่เกิดจากการใช้กัญชาได้ในประเทศที่มีระบบการควบคุมที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1.การให้ข้อมูลที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับกัญชา เช่น ประโยชน์ ความเสี่ยงและแนวทางในการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้กัญชา 2.การให้ความรู้ ความเข้าใจถึงรูปแบบ ปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์ และความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ใช้กัญชาในแง่การรักษา 3.การแนะนำให้ใช้กัญชาในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การเผาไหม้ เพื่อลดกระทบที่เกิดกับปอด และ 4.ห้ามการใช้กัญชาในกลุ่มเยาวชน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ เพื่อลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการใช้กัญชา เพราะการใช้กัญชาอย่างสม่ำเสมอในวัยรุ่น เสี่ยงเกิดโรคจิตเภทเพิ่มเป็น 2 เท่า ยิ่งอายุน้อยยิ่งเสี่ยง แต่ไม่อาจสรุปได้ว่ากัญชาทำให้เกิดอาการทางจิต อาจเนื่องจากกัญชาไปกระตุ้นให้เกิดอาการในกลุ่มเสี่ยง ส่วนคนปกติอาจเกิดชั่วคราว 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้สารซีบีดีที่เป็นสารสำคัญตัวหนึ่งในกัญชา อาจจะใช้รักษาอาการทางจิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเฉพาะ
ด้าน ผศ.ดร.พญ.รัศมี สังข์ทอง หน่วบระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ออกเอกสารเผยเพร่ ผลของการใช้กัญชาต่อจิตประสาทในเด็กและเยาวชน โดยระบุว่า เมื่อเสพกัญชาเข้าไปในระยะแรก สารทีเอชซีจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นตัว ตื่นเต้น แต่เมื่อผ่านไป 1-2 ชั่วโมง จะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท มีโอกาสเกิดสมองเสื่อมถาวร หรือเป็นจิตเภท โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน อาการที่จะเกิดขึ้นจากการเสพ คือ อารมณ์อ่อนไหว เลื่อนลอย สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่าเริงผิดปกติ รู้สึกกังวล กลัว ไม่กล้าไว้ใจใคร ซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย ดุร้ายผิดปกติ มองเห็นภาพหลอน ควบคุมตัวเองไม่ได้ นำไปสู่ อุบัติเหตุ ปัญหาการเรียน ผลการเรียนตกต่ำ ขาดสมาธิในการเรียน ความสามารถในการเรียนรู้แย่ลงและมีปัญหาสุขภาพจิตหรือวิกลจริต สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนผสมกัญชาที่ต้องตรวจสอบก่อนบริโภค เช่น ลูกอม คุกกี้ เครื่องดื่ม โอศกรีม ช็อกโกแลต หรือบุหรี่ยัดไส้
แหล่งข่าวในแวดวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด ไม่ใช่ให้เสรีทั้งหมด เพราะจากข้อมูลในต่างประเทศที่มีการใช้น้ำมันกัญชาพบว่ามีผลกระทบทางด้านลบเช่นเดียวกัน เช่น ที่รัฐโคโรลาโด พบว่ามีปัญหาเด็กติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น มีปัญหาอุบัติเหตุทางรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตัวหลักคือกัญชา เพราะกัญชามีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคล้ม สะลึมสะลือ อีกทั้งยังพบว่าการใช้ในเด็กทำให้อัตราการเติบโตของสมองช้าลง อาชญากรรมสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศที่มีการเปิดเสรีกัญชานั้นต้องบอกว่าเป็นการเปิดเสรีภาพใต้กฎหมายที่กำหนดอายุชัดเจน มีโทษสูงมากและรุนแรงมาก แต่ปัญหากัญชาใต้ดินก็ยังมีอยู่.
https://www.dailynews.co.th/politics/706955