ตั้งสติไว้ที่ฐานใดฐานหนึ่ง ทำให้เกิดอัตตา

สติปัฏฐาน4
คือระลึกรู้ตามความเป็นจริงทั้ง4ฐาน
ให้สัมพันธิ์กัน เห็นการเกิดดับ
ของสติทั้ง4ฐานเป็นอนัตตา
เป็นวิปัสสนาญาณ
ไปกำหนดให้รู้เฉพาะฐานใดฐานหนึ่ง
เช่นไปกำหนดให้รู้เฉพาะที่กายก็เกิดอัตตวานุปาทาน
เจตนา คิดให้ยึดมั่นถือมั่นในกาย
เกิดสังขาร เกิดวิญญาณ
เกิดการยึดมั่นถือมั่นในภพในชาติ
เป็นสักกายฑิฏฐิ
สติปัฏฐาน4คือมีสติระลึกรู้ทุกฐานให้เกิดสัมพันธิ์กัน
เป็นอินทรีย์5 เกิดเป็นสติสัมโพชฌงค์
เช่น
สติระลึกรู้กายในกายอยู่
คือรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่
ก็เป็นการรู้ที่กายในกาย
เมื่อหายใจแล้วเกิดเวทนา
เกิดอึดอัดปวดหัว ก็มีสติรู้
เป็นเวทนาในเวทนา
แล้วเกิดอารมณ์
คือธรรมารมณ์ในธรรมารมณ์
ก็มีสติรู้ว้าชอบไม่ชอบเป็นทุกข์ในเวทนานั้น
เกิดสติรู้จิตในจิต
ชอบเกิดกิเลสเป็นโมหะ เป็นโลภะ
ไม่ชอบเกิดกิเลสเป็นโทสะ
ธรรมทั้งหลายจะเกิดดับไปตามฐานทั้ง4
มีสติระลึกรู้ในฐานทั้ง4
อย่างไปบังคับให้สติระลึกรู้ที่ฐานเดียว
จะเป็นสมาธิหัวแข็ง
เป็นสติหัวดิ้อ คิดตัดรอนสติตัวอื่น
ทำให้มีสติไม่ครบทั้ง4
ไม่เกิดปัญญา
เกิดอัตตา ไม่เห็นอนัตตา
คือความเกิดดับของสติตามฐานทั้ง4
สติที่ดีต้องรู้สติทั้งภายในและภายนอกให้สมดุลย์
เกิดสตินทรีย์ ในอินทรีย์5
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่