เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสบวชที่วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี

ก่อนผู้อ่านท่านใดที่สนใจ เจ้าของกระทู้อยากจะแนะนำอะไรสักเล็กน้อยก่อนกอ่านนะครับ
   1.  กระทู้นี้เป็นการเล่าเรื่องการบวช ขั้นตอนก่อนบวช รวมถึงกิจวัตรคร่าวๆ นะครับ ส่วนเรื่องที่เหนือขอบเขตทางโลก เช่น ผี วิชา เรื่องลี้ลับ จะไม่ขอเล่ามาผสมเด็ดขาด เพราะคนแต่ละคนเชื่อไม่เหมือนกันครับ ฟังแล้วเกิดท่านติเตียน มันจะบาปเอาปล่าวๆ
   2.   แนะนำให้ทำจิตใจเป็นกลางมาอ่าน ถือซะว่ามาอ่านฆ่าเวลา เสริมความรู้ ถ้าอ่านมาเพื่อติเตียน อะไรที่เป็นอกุศล จะบาปเอาปล่าวๆ ครับ 

     ก่อนหน้าที่จะมาบวช ตัวข้าพเจ้า ก็ไม่ได้อะไรมาก แต่ด้วยเนื่องว่าต้องบวชแล้วในเวลานี้ (หลายเหตุผล จำเป็นให้ต้องบวช รวมถึง ตัวเราเองก็คิดว่า ถึงเวลาแล้ว)  ก็ได้ทำการตกลงกับเรื่องที่จะหาวัดบวช ใจผมอยากบวชวัดใกล้ๆ แต่แม่อยากให้บวชวัดท่าซุง (ห่างจากบ้านประมาณ 300 กิโลกว่าๆ )  สุดท้าย แพ้แม่ครับ 555+ ก็เป็นอันไปบวชที่วัดนี้ ตอนนั้นความรู้ทางด้านทางธรรมน้อยครับ ประกอบกับตอนนั้นไม่เคยบวชมาก่อนจึงพยายามหากระทู้รีวิวเรื่องการบวช การปฏิบัติตนต่างๆ นานา จนเมื่อมาได้อยู่วัดจึงมีปณิธานแน่วแน่ว่า เมื่อสึกแล้วจะนำเรื่องราว มาเผยแพร่ สำหรับผู้ที่สนใจที่จะบวช ได้เข้ามาศึกษาต่อไปครับ  ^ ^  เข้าเรื่องละกัน

    เมื่อมาถึงวัดวันที่ 30 มีนาคม (ความจริงมาติดต่อที่วัดเป็นครั้งคราวหน่อยๆ แล้วครับ) ก็ได้รับเอกสารแนะนำการบวช รวมถึงการปฏิบัติตัวระหว่างก่อนการบวช ซึ่งจำแนกไว้ดังนี้ครับ
      1) ถ้าต้องการจะบวชชั่วคราว หรือที่เรียกว่า บวชสั้น ในระยะเวลา 7 , 15 , 30 , 90 วัน  ต้องมาอยู่วัดเพื่อเป็นนาคก่อนอย่างน้อย 10 วัน       
      2) ถ้าต้องการจะบวชเพื่อเอาพรรษา (จะบวชก่อนวันเข้าพรรษา)  ต้องมาอยู่วัดเพื่อเป็นนาคก่อนอย่างน้อย 3 เดือน 
   อันนี้เป็นข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะมาบวชนะครับ โดยผู้ที่มาอยู่เป็นนาค ต้องถือศีล 5  ได้อย่างปกติ หรือ 8 ได้เป็นครั้งคราว และต้องสอบมโนยิทธิให้ผ่านได้ทั้ง 3 ระดับเท่านั้น จึงจะมีสิทธิบวชในวัดได้นะครับ 
   (มโนยิทธิ  คือ  การฝึกปฏิบัติทางการนั่งกรรมฐานแบบหนึ่ง มีเป้าประสงค์เพื่อพิสูจน์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า ที่ท่านได้ตรัสไว้นั้น เป็นจริง  ทางรายละเอียดมากกว่านี้จะไม่ขอพูด เพราะมันเหนือกว่าวิชาทางโลก แนะนำให้ผู้ที่สนใจ สามารถไปฝึกได้ที่วัดจันทาราม (ท่าซุง)  ตรงวิหารแก้ว 100 เมตร ได้ด้วยตัวเอง ทางวัดมีให้ฝึกทุกวัน ช่วงเวลา 11.45 - 14.00 ต้องเข้าไปลงทะเบียนตอน 11.45 ก่อน แล้วทำการฝึกจนถึง 14.00 ครับ)  

   ที่นี้ จากระเบียบเบื้องต้นที่กล่าวมาคร่าวๆ  จะแบ่งช่วงหลักๆ คือ ตอนเป็น นาค  , ตอนเป็น พระ , + ช่วงตอนหลังสึกออกมา

P.1   การเป็น นาค 
     นาค  สำหรับผมเมื่อมาอยู่แรกๆ  ผมแอบคิดอยู่ มันเหมือน เบ้ เล็กน้อยๆ แต่เมื่ออยู่ไป อ่านหนังสือไป ศึกษาไป การเป็นนาค มันคือการฝึกตนแบบหนึ่ง ฝึกให้เราอดทน ลดมานะ ลดการถือตัว ปฏิบัติตนให้มีความบริสุทธิ์ เพื่อเตรียมพร้อมชำระจิตใจก่อนที่จะบวช เพราะว่า เราใช้ชีวิตฆราวาสมานานมาก อยู่ๆ จะให้มาบวชเลย นิสัยฆราวาสมันจะยังอยู่ อาจจะทำให้ทำผิดศีลของพระไปได้ง่ายด้วยความนิสัยเดิม จึงต้องมีการฝึกตนจากการเป็นนาคเสียก่อน
     ผมจะเล่าเป็นช่วงๆ เวลาเลยนะครับ  ต่อจากนี้จะเป็นกิจวัตรประจำวัน + เล่าเรื่อง + ตามที่จะนึกออก

     กิจวัตรประจำวันของนาคทุกคนพึงปฏิบัติ
     04.00  ตื่นนอน
     05.00  ไปที่หอฉันเพื่อจัดเตรียมอาหารให้พระฉันเช้า  (ส่วนมากจัดผลไม้ เตรียมปิ่นโตนะครับ อาหารยังไม่ได้บิณฑบาตร)
     05.30 - 06.00  ไปบิณฑบาตรครับ เวลาจะแตกต่างตามสายของพระท่านที่บิณฑบาตร  สายไหนท่านเดินไกล ท่านจะออกเดินไวหน่อย
     06.40 - 07.00   กลับจากเดินบิณฑบาตรมาช่วยจัดอาหารลงโต๊ะของพระ 
     07.00 - 07.45   กินข้าว + ล้างจานทั้งหมด
     07.45 - 08.30   อาบน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
     08.30 - 09.00   ทำวัตรเช้า
     09.00 - 10.55   ช่วยจัดอาหารเพื่อเตรียมพร้อมให้พระฉันเพลครับ (ช่วงนี้หัวหมุนมาก ในจะข้าวพระ แล้วญาติโยมที่นำอาหารมาถวายแบบต่อเนื่อง แทบไม่พักช่วงนี้ นั่งแปปๆ ลุก)
     11.00 - 11.30   กินข้าวเที่ยง แล้วเตรียมตัวไปฝึกมโนยิทธิ ( ต้องทำเวลามาก เพราะสถานที่กินข้าวกับที่ฝึกห่างเกือบ 2 กิโล ) 
     11.45 - 14.00   ฝึกมโนยิทธิ
     14.00 - 16.00   ทำความสะอาดในจุดที่ทางวัดกำหนด (ในแต่ละวันจะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยครับ วัดใหญ๋มีให้ทำเยอะแน่นอน)
     16.00 - 17.00   อาบน้ำ ซักผ้า เวลาส่วนตัวเล็กน้อย
     17.00 - 19.00   ทำวัตรเย็น + นั่งเจริญกรรมฐาน
     19.00 - 21.00   พักผ่อนตามอัธยาศัย  (แต่ถ้าช่วงใกล้บวชแล้ว เวลานี้ จะถูกแทนที่ด้วยการซ่อมท่องขานนาค และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศีลของพระ รวมถึงการฝึกห่มจีวรครับ
      21.00  เป็นต้นไป  ทางวัดจะเปิดเทปหลวงพ่อเทศน์ เป็นสัญญาณว่าได้เวลาเตรียมตัวพักผ่อนนอนหลับได้ หรือใครอยากจะนั่งสมาธิ เดินจงกลม ทำอะไรต่อก็ตามสะดวกครับ

     จะเห็นว่า ดูจากคร่าวๆ กิจวัตรประจำวันของนาคแทบจะไม่มีเวลาว่างเลยครับ ยิ่งเวลาใกล้งานใหญ่อะไรมากๆ นี้ก็จะยุ่งจนแทบไม่มีเวลาอาบน้ำซักผ้าเลยครับ แต่พอเราคิดได้ว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ก็เป็นการบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว มันรู้สึกเหมือนว่า เหนื่อยเท่าไรก็ยินดีที่จะทำครับ

ที่นี้เจาะรายละเอียดพร้อมภาพกัน 
     04.00  ตื่นนอน
         เวลา 04.00  ทางวัดจะเปิดเทปหลวงพ่อเทศน์ ซึ่งมันเหมือนอัตโนมัติของร่าวกาย คือตื่นโดยทันที ฟันงเทศน์จนจบก็แปลงฟัน ล้างหน้าล้างตา ปั่นจักรยานไปหอฉัน
     05.00  ไปที่หอฉันเพื่อจัดเตรียมอาหารให้พระฉันเช้า  (ส่วนมากจัดผลไม้ เตรียมปิ่นโตนะครับ อาหารยังไม่ได้บิณฑบาตร)
          ตามนั้นครับไม่มีอะไรมาก ทำเสร็จก่อนเวลาก็พักกินน้ำ สูดอากาศยามเช้าได้    
ตัวอย่าง อันนี้จัดไว้สำหรับพระเดินสายเรือข้ามฟากครับ อุปกรณ์ประมาณนี้

     05.30 - 06.00  ไปบิณฑบาตรครับ เวลาจะแตกต่างตามสายของพระท่านที่บิณฑบาตร  สายไหนท่านเดินไกล ท่านจะออกเดินไวหน่อย
          การบิณฑบาตรของวัดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 6 สายครับ (อาจจะคลาดเคลื่อนได้นะครับ)
               1)  สายเหนือ  เป็นสายที่เดินไปทางเหนือของวัดแล้ว เดินตรงมาที่หอฉันครับ เป็นการเดินทางเส้นตรงระยะไกล พอสมควร 4 ประมาณ 3  กิโลเมตร
               2)  สายใต้  เป็นสายที่เดินไปทางใต้ของวัด ระยะทางไกลพอๆ กับสายเหนือ แต่จะมีการเดินทางเข้าไปในผิวทางขรุขระในหมู่บ้านบางช่วง 
อันนี้การบิณฑบาตรสายใต้ครับ เดินยาวๆ 

               3)  สายปราสาททองคำ  ข้อมูลสายนี้ไม่ค่อยทราบครับ ไม่มีโอกาสได้ไปเดิน 
               4)  สายใกล้  ตามชื่อครับ เป็นสายที่เดินใกล้สุด เน้นผ่านหน้าวัดเพื่อให้ญาติโยมใส่บาตร ส่วนมากจะให้พระที่พรรษาเยอะๆ หรือที่อายุ           ท่านมากๆ แล้วเป็นผู้เดิน
               5)  สายเรือข้ามฟาก  เจ้าของกระทู้ตอนเป็นนาคชอบไปสายนี้ที่สุด ได้นั่งเรือข้ามฟาก ออกค่อนข้างไว และเดินไกลมาก อาจจะ 4 กิโลกว่าๆ พระท่านก็เดินไวมาก แต่บรรยากาศมันดีมาก มันหาไม่ได้ที่เมืองเลย มันคือธรรมชาติมากๆ ครับ
นั่งเรือข้ามฝาก พระท่านเป็นคนพายให้ครับ
บรรยากาศดีสุดๆ ครับ 

     06.40 - 07.00   กลับจากเดินบิณฑบาตรมาช่วยจัดอาหารลงโต๊ะของพระ 
เมื่อพระท่านบิณฑบาตรเสร็จ นาคจะนำกับข้าวทั้งหมดมา ให้พระเวรจัดอาหาร ช่วยท่านจัดการอาหารนำลงใส่ปิ่นโต และคัดแยกไว้เป็นอาหารสำหรับฉันตอนเพลด้วยครับ

     07.00 - 07.45   กินข้าว + ล้างจานทั้งหมด
     07.45 - 08.30   อาบน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
     08.30 - 09.00   ทำวัตรเช้า
         การทำวัตรของวัดนี้ จะเน้นให้ญาติโยมทั้งหลายได้ร่วมกันทำวัตรด้วย เพื่อเป็นบุญแก่ทุกท่าน  ดังนั้นเวลาทำวัตรเช้ากับเย็นอาจจะแปลกๆ จากวัดอื่นบ้าง และเวลาในการสวดจะนานกว่าเดิมสักหน่อยครับ
     09.00 - 10.55   ช่วยจัดอาหารเพื่อเตรียมพร้อมให้พระฉันเพลครับ (ช่วงนี้หัวหมุนมาก ในจะข้าวพระ แล้วญาติโยมที่นำอาหารมาถวายแบบต่อเนื่อง แทบไม่พักช่วงนี้ นั่งแปปๆ ลุก)
     11.00 - 11.30   กินข้าวเที่ยง แล้วเตรียมตัวไปฝึกมโนยิทธิ ( ต้องทำเวลามาก เพราะสถานที่กินข้าวกับที่ฝึกห่างเกือบ 2 กิโล ) 
     11.45 - 14.00   ฝึกมโนยิทธิ
     14.00 - 16.00   ทำความสะอาดในจุดที่ทางวัดกำหนด (ในแต่ละวันจะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยครับ วัดใหญ๋มีให้ทำเยอะแน่นอน)
ชุดแนะนำถ้ามาบวชช่วงเมษา เตรียมไว้เถอะครับ มันร้อนเอาหลังแดง คอแดงเป็นแถบๆ 

     16.00 - 17.00   อาบน้ำ ซักผ้า เวลาส่วนตัวเล็กน้อย
     17.00 - 19.00   ทำวัตรเย็น + นั่งเจริญกรรมฐาน
     19.00 - 21.00   พักผ่อนตามอัธยาศัย  (แต่ถ้าช่วงใกล้บวชแล้ว เวลานี้ จะถูกแทนที่ด้วยการซ่อมท่องขานนาค และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศีลของพระ รวมถึงการฝึกห่มจีวรครับ
ตอนใกล้บวช ก็จะเปลี่ยนเวลาว่างตรงนี้ เป็นซ้อมขานนาค คุยเรื่องศีลพระ ข้อปฏิบัติต่างๆ กับพระอาจารย์ครับ  รวมถึงเตรียมสถานที่การบวชด้วยตัวเอง 
เพราะว่าวัดนี้ ไม่ได้จ้างใครเท่าไรครับ มีอะไรก็ทำกันเอง พระท่านทำกันเอง อย่างเวลาผมจะบวช พวกเต้นให้คนมาพัก เก้าอี้ โต๊ะไว้วางของ เกือบทุกอย่าง ต้องมากางเอง ขนเอง ยกเอง ร่วมด้วยกับพระท่านครับ  อย่างภาพด้านบน ก่อนมานั่ง ก็มาช่วยเตรียมสถานที่กับพระท่านเองเหมือนกัน
ฝึกห่มผ้าครับ  ห่มคลุม ห่มเฉียง ห่มดอง  แรกๆ ก็ไม่คล่องครับ แต่ฝึกๆ เอาก็ พอเอาตัวรอดได้

      21.00  เป็นต้นไป  ทางวัดจะเปิดเทปหลวงพ่อเทศน์ เป็นสัญญาณว่าได้เวลาเตรียมตัวพักผ่อนนอนหลับได้ หรือใครอยากจะนั่งสมาธิ เดินจงกลม ทำอะไรต่อก็ตามสะดวกครับ

อันนี้ก็เป็นกิจวัตรคร่าวๆ ครับ ทุกอย่างเมื่อมีงานด่วนเข้า อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  ตอนต่อไปจะเล่าถึงการมาบวชเป็นพระ ว่า จะมีอะไรแตกต่างไป อย่างไร รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจนะครับ 

 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่