อาจจะยาวสักหน่อย แต่ถ้าทำได้อยากให้อ่านจนจบ ผมเชื่อว่าคุณจะได้ข้อมูลทีควรรู้กลับไป
หลังจากได้ยินเรื่อง อย. ปลดล็อก ซื้อชุดตรวจคัดกรอง HIV ได้ด้วยตนเอง
ในฐานที่เป็น นักเทคนิคการแพทย์ ก็คิดอยู่หลายวันว่าควรเขียนเรื่องนี้มั้ย
จนวันนี้ก็มีลูกค้าเข้ามาถามหาซื้อชุดตรวจ HIV เพื่อไปตรวจเองทั้งที่เพิ่งเสี่ยงมาได้ประมาณ 2 วัน
แถมถามถึงการไปบริจาคเลือด เพื่อจะได้ตรวจ HIV ไปในตัว เพราะเคยทำมาแล้ว (ด้วย)
ได้ยินแล้ว สะดุ้งมั้ยล่ะครับ
ผมได้ยินก็ โอ้ !@#$@??@#!? คิดได้อย่างไร........แล้วเลือดที่คุณบริจาคไป คนได้รับเสี่ยงมั้ย คิดเอาเองเนอะ
ก่อนจะเข้าเรื่อง มาทำความเข้าใจกับการตรวจ HIV ก่อน
1. เราสามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพื่อดูว่าเราติดเชื้อหรือไม่ หลังจากเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ นี้คือความสามารถที่ชุดตรวจสามารถตรวจได้ (Gen 3 ลงไป) ณ เวลานี้ หากตรวจก่อนหน้านั้น ต่อให้ติดมาก็ตรวจไม่เจอ เพราะยังอยู่ในระยะที่เชื้อฟักตัวหรือ Window Period จึงตรวจไม่พบ
2. มีโอกาสเกิด Error จากการตรวจโดยผู้ตรวจที่อาจจะทำให้เกิด
- “ผลบวกปลอม” คือ ผลเป็นบวก แต่ความจริง ผลเป็นลบ
- “ผลลบปลอม” คือ ผลเป็นลบ แต่ความจริง ผลเป็นบวก
เกิดจากอะไรได้บ้าง เช่น ปริมาณเลือดที่ใช้มากไป น้อยไป ใช้อุปกรณ์ในการตรวจไม่ถูกต้อง ไม่อ่านผลตามเวลาที่กำหนดเพราะความรู้สึกพาไป เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์
3. มีโอกาสเกิด Error จากชุดตรวจเอง (ที่เจอคือผลบวกปลอม เพราะชุดทดสอบถูกทำมาเพื่อให้เจอก่อน แล้วสามารถทำตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลได้ แต่จะไม่เจอผลลบปลอม ในส่วนนี้เราเรียกว่า ชุดตรวจมีความไวในการตรวจ)
แน่นอนไม่มีอะไร 100% นั้นทำให้เวลานักเทคนิคการแพทย์ทำการตรวจในห้องแลบ เมื่อพบผลเป็นบวก จะมีการตรวจซ้ำให้ครบ 3 วิธีที่ผลสอดคล้องจึงจะออกผลบวกได้ (ความชุกของประเทศไทยถูก recommend ให้ตรวจยืนยันที่ 3 วิธี) เพื่อยืนยันผลการตรวจ
4. สุดท้ายต่อให้ผลออกมาเป็นลบ แต่ยังคงมีความเสี่ยง นักเทคนิคการแพทย์ก็ยังคงให้มาตรวจซ้ำหลังจากผ่านไป 1 – 2 เดือน (แล้วแต่ดุลพินิจ) นับจากการตรวจครั้งแรกไปแล้ว เพื่อป้องกันการที่เชื้อยังอยู่ในระยะฟักตัว เพราะในแต่ละตัวบุคคลเองนั้นจะผลต่อระยะฟักตัวแตกต่างกันไป
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงของ คนไข้คนหนึ่ง (ซึ่งยังมีรายอื่นอีกที่มาตรวจกับทางผม เป็นกรณีสามีภรรยาอยู่กินกันมาหลายปี ภรรยาเป็น เอดส์ แต่สามีตรวจไม่พบการติดเชื้อ HIV) ได้มาใช้บริการที่คลินิกผมให้ฟัง
สัก 5 – 6 ปีก่อนมี ชาย คนหนึ่งมาตรวจเลือดเช็ค HIV เราก็จะถามประวัติ เพื่อทราบถึงความเสี่ยง ว่าทำไมถึงมาตรวจ ได้ความว่า ภรรยาเค้าเสียชีวิตด้วย “เอดส์” คืออยู่กินกันมาหลายปีจนมีลูก มารู้ว่าเป็น เอดส์ ตอนภรรยาเสียชีวิต ก็ถามกลับไปว่าแล้วเคยตรวจมาก่อนหน้านี้หรือไม่ เค้าบอกว่า “เคย” ทั้งไปบริจาคเลือด ทั้งไปตรวจเอง แต่ทั้งหมดที่ผ่านมา ผลเป็นลบ หรือไม่ติดเชื้อ (ในใจ ร้องเชี้ย หนักมาก!!!!!!!! ตอนได้ยินว่า อาศัยตรวจโดยการบริจาคเลือด และตกใจมากที่ได้ยินว่าไม่พบเชื้อ) ก็เลยถามว่าทำไมถึงมาตรวจกับทางผม ถ้าเคยตรวจแล้วผลเป็นลบ เค้าบอกว่าเค้าไม่มั่นใจ เพราะอยู่กับภรรยามาหลายปี อย่างไรก็ควรติด ตรวจมาหลายที่ บริจาคเลือดก็แล้ว ก็ไม่เจอ ก็เลยลองมาที่ผม
ได้ยินแบบนี้ เรื่องแรกที่ต้องแจ้งคนไข้คือ หยุดการตรวจโดยการบริจาคเลือด เพราะต่อให้เค้าไม่พบ แต่ไม่ได้ความว่าเลือดที่เค้าบริจาคนั้น จะไม่มีเชื้อ หรือจะไม่ติดไปกับผู้รับเลือด และได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นหากยังไม่ชัดเจนในผลการตรวจ หลังจากนั้นได้ทำการตรวจ ซึ่งก็ไม่พบ ทางผมก็ได้นัดให้เค้ามาตรวจตามกำหนดอีก 1-2 ครั้งตามระยะเวลา สุดท้ายก็ไม่พบผลเป็นบวก แล้วเค้าก็หายไป
จากที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นว่า การตรวจ HIV นั้นต้องมีความชำนาญ มีความรู้ในการทำชุดทดสอบ และมีวิจารณญาณ ในการแปลผล ทีนี้เราลองมาคิดดูว่าหากคนทั่วไปทำการทำทดสอบจะเป็นอย่างไร
ตัวอย่างหากได้ผลลบปลอม จาก
- ใส่เลือดไม่ได้ปริมาณตามที่กำหนด ไม่ชำนาญ
- ใจร้อนอยากรู้ผลเลย
- ไปซื้อมาตรวจเองโดยที่ยังอยู่ในระยะฟักตัว คือยังไม่ถึงเวลาแต่จะ ตรวจก่อน แล้วได้ผลลบปลอม เจ้าตัวจะรู้หรือไม่ นอกจากดีใจว่าไม่เป็น แล้วออกไปมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป
ตัวอย่างหากได้ผลบวกปลอม
- ใส่เลือดไม่ได้ตามปริมาณที่กำหนด ไม่ชำนาญ
- ไม่อ่านตามกำหนดเวลา ขึ้นผลจางๆ ไม่แน่ใจ แล้วเครียดจนตัดสินใจในบางอย่าง
ทั้ง 2 กรณีนี้ หากเป็นการพบกับแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ จะมีการพูดคุยให้คำแนะนำได้ แต่ถ้านำไปตรวจเอง การต้องเผชิญปัญหานี้เจ้าตัวจะปฏิบัติอย่างไร หรือรู้ได้อย่างไร กรณีผลบวกปลอมถ้าไม่จิตตกก็ดีไป โดยปกติก็คงไปตรวจซ้ำต่อไป แต่ถ้าหากผลเป็นลบละ ผมไม่อยากคิดเลย
ส่วนตัวอยากบอกว่าไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เลย เพราะกังวลเรื่องการแพร่ระบาดมาก และไม่ได้เป็นการช่วยลดการแพร่เชื้อเลย ในทางกลับกันอาจเป็นการเพิ่มการแพร่เชื้อจากการที่ตรวจเองแล้วไม่พบเชื้อ สุดท้ายคิดไปเองว่าตัวเองไม่ติด
เพราะอะไร............
คุณคิดว่าคนไปซื้อชุดตรวจ HIV ถ้าไม่เสี่ยงแล้วจะซื้อมาตรวจทำไม แล้วแน่ใจได้แค่ไหนว่าการทำการทดสอบด้วยตัวเองนั้นถูกต้องตามหลักการ
หากเราอยากลดการติดเชื้อ ควรลดการแพร่เชื้อ หรือหาทางรักษารึเปล่า
หรือให้เข้าถึงการตรวจ HIV ในวงกว้างแบบตรวจสอบไม่ได้ว่าการตรวจนั้น ได้มาตรฐานหรือไม่
ยังไม่นับเรื่องการกำจัดขยะติดเชื้อ เช่น เข็มที่ใช้ หรือเลือดที่ตรวจนั้นถูกกำจัดอย่างไร เพราะอย่าลืมว่า
“คนที่เลือกจะซื้อชุดตรวจมาใช้ คือคนที่มีความเสี่ยง”
“จะมีซักกี่คนที่ไม่เสี่ยง แล้วซื้อมาตรวจ”
คิดยังไง เมื่อ อย. ปลดล็อก ซื้อชุดตรวจคัดกรอง HIV ได้ด้วยตนเอง
หลังจากได้ยินเรื่อง อย. ปลดล็อก ซื้อชุดตรวจคัดกรอง HIV ได้ด้วยตนเอง
ในฐานที่เป็น นักเทคนิคการแพทย์ ก็คิดอยู่หลายวันว่าควรเขียนเรื่องนี้มั้ย
จนวันนี้ก็มีลูกค้าเข้ามาถามหาซื้อชุดตรวจ HIV เพื่อไปตรวจเองทั้งที่เพิ่งเสี่ยงมาได้ประมาณ 2 วัน
แถมถามถึงการไปบริจาคเลือด เพื่อจะได้ตรวจ HIV ไปในตัว เพราะเคยทำมาแล้ว (ด้วย)
ได้ยินแล้ว สะดุ้งมั้ยล่ะครับ
ผมได้ยินก็ โอ้ !@#$@??@#!? คิดได้อย่างไร........แล้วเลือดที่คุณบริจาคไป คนได้รับเสี่ยงมั้ย คิดเอาเองเนอะ
ก่อนจะเข้าเรื่อง มาทำความเข้าใจกับการตรวจ HIV ก่อน
1. เราสามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HIV เพื่อดูว่าเราติดเชื้อหรือไม่ หลังจากเสี่ยงมาแล้วอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ นี้คือความสามารถที่ชุดตรวจสามารถตรวจได้ (Gen 3 ลงไป) ณ เวลานี้ หากตรวจก่อนหน้านั้น ต่อให้ติดมาก็ตรวจไม่เจอ เพราะยังอยู่ในระยะที่เชื้อฟักตัวหรือ Window Period จึงตรวจไม่พบ
2. มีโอกาสเกิด Error จากการตรวจโดยผู้ตรวจที่อาจจะทำให้เกิด
- “ผลบวกปลอม” คือ ผลเป็นบวก แต่ความจริง ผลเป็นลบ
- “ผลลบปลอม” คือ ผลเป็นลบ แต่ความจริง ผลเป็นบวก
เกิดจากอะไรได้บ้าง เช่น ปริมาณเลือดที่ใช้มากไป น้อยไป ใช้อุปกรณ์ในการตรวจไม่ถูกต้อง ไม่อ่านผลตามเวลาที่กำหนดเพราะความรู้สึกพาไป เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์
3. มีโอกาสเกิด Error จากชุดตรวจเอง (ที่เจอคือผลบวกปลอม เพราะชุดทดสอบถูกทำมาเพื่อให้เจอก่อน แล้วสามารถทำตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลได้ แต่จะไม่เจอผลลบปลอม ในส่วนนี้เราเรียกว่า ชุดตรวจมีความไวในการตรวจ)
แน่นอนไม่มีอะไร 100% นั้นทำให้เวลานักเทคนิคการแพทย์ทำการตรวจในห้องแลบ เมื่อพบผลเป็นบวก จะมีการตรวจซ้ำให้ครบ 3 วิธีที่ผลสอดคล้องจึงจะออกผลบวกได้ (ความชุกของประเทศไทยถูก recommend ให้ตรวจยืนยันที่ 3 วิธี) เพื่อยืนยันผลการตรวจ
4. สุดท้ายต่อให้ผลออกมาเป็นลบ แต่ยังคงมีความเสี่ยง นักเทคนิคการแพทย์ก็ยังคงให้มาตรวจซ้ำหลังจากผ่านไป 1 – 2 เดือน (แล้วแต่ดุลพินิจ) นับจากการตรวจครั้งแรกไปแล้ว เพื่อป้องกันการที่เชื้อยังอยู่ในระยะฟักตัว เพราะในแต่ละตัวบุคคลเองนั้นจะผลต่อระยะฟักตัวแตกต่างกันไป
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงของ คนไข้คนหนึ่ง (ซึ่งยังมีรายอื่นอีกที่มาตรวจกับทางผม เป็นกรณีสามีภรรยาอยู่กินกันมาหลายปี ภรรยาเป็น เอดส์ แต่สามีตรวจไม่พบการติดเชื้อ HIV) ได้มาใช้บริการที่คลินิกผมให้ฟัง
สัก 5 – 6 ปีก่อนมี ชาย คนหนึ่งมาตรวจเลือดเช็ค HIV เราก็จะถามประวัติ เพื่อทราบถึงความเสี่ยง ว่าทำไมถึงมาตรวจ ได้ความว่า ภรรยาเค้าเสียชีวิตด้วย “เอดส์” คืออยู่กินกันมาหลายปีจนมีลูก มารู้ว่าเป็น เอดส์ ตอนภรรยาเสียชีวิต ก็ถามกลับไปว่าแล้วเคยตรวจมาก่อนหน้านี้หรือไม่ เค้าบอกว่า “เคย” ทั้งไปบริจาคเลือด ทั้งไปตรวจเอง แต่ทั้งหมดที่ผ่านมา ผลเป็นลบ หรือไม่ติดเชื้อ (ในใจ ร้องเชี้ย หนักมาก!!!!!!!! ตอนได้ยินว่า อาศัยตรวจโดยการบริจาคเลือด และตกใจมากที่ได้ยินว่าไม่พบเชื้อ) ก็เลยถามว่าทำไมถึงมาตรวจกับทางผม ถ้าเคยตรวจแล้วผลเป็นลบ เค้าบอกว่าเค้าไม่มั่นใจ เพราะอยู่กับภรรยามาหลายปี อย่างไรก็ควรติด ตรวจมาหลายที่ บริจาคเลือดก็แล้ว ก็ไม่เจอ ก็เลยลองมาที่ผม
ได้ยินแบบนี้ เรื่องแรกที่ต้องแจ้งคนไข้คือ หยุดการตรวจโดยการบริจาคเลือด เพราะต่อให้เค้าไม่พบ แต่ไม่ได้ความว่าเลือดที่เค้าบริจาคนั้น จะไม่มีเชื้อ หรือจะไม่ติดไปกับผู้รับเลือด และได้ให้คำแนะนำในเบื้องต้นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นหากยังไม่ชัดเจนในผลการตรวจ หลังจากนั้นได้ทำการตรวจ ซึ่งก็ไม่พบ ทางผมก็ได้นัดให้เค้ามาตรวจตามกำหนดอีก 1-2 ครั้งตามระยะเวลา สุดท้ายก็ไม่พบผลเป็นบวก แล้วเค้าก็หายไป
จากที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นว่า การตรวจ HIV นั้นต้องมีความชำนาญ มีความรู้ในการทำชุดทดสอบ และมีวิจารณญาณ ในการแปลผล ทีนี้เราลองมาคิดดูว่าหากคนทั่วไปทำการทำทดสอบจะเป็นอย่างไร
ตัวอย่างหากได้ผลลบปลอม จาก
- ใส่เลือดไม่ได้ปริมาณตามที่กำหนด ไม่ชำนาญ
- ใจร้อนอยากรู้ผลเลย
- ไปซื้อมาตรวจเองโดยที่ยังอยู่ในระยะฟักตัว คือยังไม่ถึงเวลาแต่จะ ตรวจก่อน แล้วได้ผลลบปลอม เจ้าตัวจะรู้หรือไม่ นอกจากดีใจว่าไม่เป็น แล้วออกไปมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป
ตัวอย่างหากได้ผลบวกปลอม
- ใส่เลือดไม่ได้ตามปริมาณที่กำหนด ไม่ชำนาญ
- ไม่อ่านตามกำหนดเวลา ขึ้นผลจางๆ ไม่แน่ใจ แล้วเครียดจนตัดสินใจในบางอย่าง
ทั้ง 2 กรณีนี้ หากเป็นการพบกับแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ จะมีการพูดคุยให้คำแนะนำได้ แต่ถ้านำไปตรวจเอง การต้องเผชิญปัญหานี้เจ้าตัวจะปฏิบัติอย่างไร หรือรู้ได้อย่างไร กรณีผลบวกปลอมถ้าไม่จิตตกก็ดีไป โดยปกติก็คงไปตรวจซ้ำต่อไป แต่ถ้าหากผลเป็นลบละ ผมไม่อยากคิดเลย
ส่วนตัวอยากบอกว่าไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เลย เพราะกังวลเรื่องการแพร่ระบาดมาก และไม่ได้เป็นการช่วยลดการแพร่เชื้อเลย ในทางกลับกันอาจเป็นการเพิ่มการแพร่เชื้อจากการที่ตรวจเองแล้วไม่พบเชื้อ สุดท้ายคิดไปเองว่าตัวเองไม่ติด
เพราะอะไร............
คุณคิดว่าคนไปซื้อชุดตรวจ HIV ถ้าไม่เสี่ยงแล้วจะซื้อมาตรวจทำไม แล้วแน่ใจได้แค่ไหนว่าการทำการทดสอบด้วยตัวเองนั้นถูกต้องตามหลักการ
หากเราอยากลดการติดเชื้อ ควรลดการแพร่เชื้อ หรือหาทางรักษารึเปล่า
หรือให้เข้าถึงการตรวจ HIV ในวงกว้างแบบตรวจสอบไม่ได้ว่าการตรวจนั้น ได้มาตรฐานหรือไม่
ยังไม่นับเรื่องการกำจัดขยะติดเชื้อ เช่น เข็มที่ใช้ หรือเลือดที่ตรวจนั้นถูกกำจัดอย่างไร เพราะอย่าลืมว่า
“คนที่เลือกจะซื้อชุดตรวจมาใช้ คือคนที่มีความเสี่ยง”
“จะมีซักกี่คนที่ไม่เสี่ยง แล้วซื้อมาตรวจ”