7 ขั้นตอนในการเชื่อมโยงเราท์เตอร์ 2 ตัว สำหรับเครือข่ายภายในบ้าน

กระทู้ข่าว

ขณะที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามบ้านเรือนส่วนใหญ่ใช้เราท์เตอร์แค่ตัวเดียวนั้น การนำเราท์เตอรัตัวที่สองมาใช้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้

 - การอัพเกรดเครือข่ายแบบใช้สายเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ไร้สาย
 - การขยายบริเวณครอบคลุมของสัญญาณไร้สายของเครือข่ายในบ้าน ให้เข้าถึงจุดอับสัญญาณ
 - ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายไปยังอุปกรณ์ที่ใช้สายเชื่อมต่อ ที่อยู่ห่างไกลจากเราท์เตอร์ตัวแรก
 - ใช้สร้างเครือข่ายย่อยภายในบ้าน เพื่อสตรีมวิดีโอร่วมกับอุปกรณ์อื่น โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมต่อของอุปกรณ์กลุ่มอื่นๆ

ซึ่งการนำเราท์เตอร์ตัวที่สองมาใช้นั้น มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. หาตำแหน่งของเราท์เตอร์ตัวที่สอง
เมื่อติดตั้งเราท์เตอร์ตัวใหม่ ให้ตั้งไว้ใกล้พีซีที่ใช้วินโดวส์ หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่นำมาใช้ตั้งค่าเบื้องต้นได้ ซึ่งเราท์เตอร์ทั้งแบบใช้สายและไร้สายนั้นเหมาะกับการตั้งค่าจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตมากที่สุด จากนั้นจึงสามารถย้ายเราท์เตอร์ไปยังตำแหน่งถาวรจุดอื่นได้

2. เชื่อมต่อกับเราท์เตอร์อีกตัวผ่านสายเคเบิล -  เราท์เตอร์ตัวใหม่ที่ไม่มีความสามารถในการสื่อสารแบบไร้สายนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ตัวเดิมผ่านสายเคเบิลแบบอีเธอร์เน็ต ด้วยการเชื่อมต่อปลายสายเคเบิลด้านหนึ่งเข้ากับพอร์ตอัพลิงค์ (หรือบางครั้งจะเขียนบนเครื่องว่า “WAN” หรือ “Internet”) ของเราท์เตอร์ตัวใหม่ แล้วเชื่อมต่อสายอีกปลายด้านหนึ่งไปยังพอร์ตว่างพอร์ตไหนก็ได้บนเราท์เตอร์ตัวเดิม ที่ไม่ใช่พอร์ตอัพลิงค์

3. การเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ไร้สายตัวที่สอง -  เราท์เตอร์ไวเลสสำหรับใช้ตามบ้านนั้นสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้ผ่านสายเคเบิลแบบอีเธอร์เน็ตแบบเดียวกับเราท์เตอร์แบบใช้สาย นอกจากนี้ก็สามารถเชื่อมต่อเราท์เตอร์ทั้งสองตัวผ่านสัญญาณไร้สายได้ด้วย แต่สำหรับการตั้งค่าส่วนใหญ่แล้ว เราท์เตอร์ตัวที่สองมักทำหน้าที่ได้แค่เป็นแอคเซสพอยต์ที่คอยกระจายสัญญาณ แทนที่จะเป็นเราท์เตอร์ ดังนั้นเราท์เตอร์ตัวที่สองจำเป็นต้องถูกตั้งค่าในโหมด Client เพื่อให้ใช้ประโยชน์ด้านเราท์ติ้งได้อย่างเต็มที่ แต่โหมดนี้มักไม่ซัพพอร์ตในเราท์เตอร์รุ่นที่ใช้ตามบ้านทั่วไป

4. ตั้งค่าช่องสัญญาณไวไฟสำหรับเราท์เตอร์ตามบ้านแบบไวเลส - ถ้าเราท์เตอร์ทั้งสองตัวเป็นไวเลสแล้ว สัญญาณไวไฟจากทั้งสองตัวอาจรบกวนซึ่งกันและกันได้ง่าย จนกระทบการเชื่อมต่อ จึงควรตั้งค่าแชนแนลให้แตกต่างกัน เช่น ตัวแรกใช้แชนแนล1 หรือ 6 ส่วนตัวที่สองใช้แชนแนล11 เป็นต้น

5. การตั้งค่าไอพีบนเราท์เตอร์ตัวที่สอง เราท์เตอร์ที่ใช้ตามบ้านนั้นมักมีที่อยู่ไอพีแบบดีฟอลต์ที่ตั้งค่ามาตั้งแต่แรก ซึ่งไอพีดีฟอลต์ของเราท์เตอร์ตัวที่สองนี้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรนอกจากอยากที่จะตั้งค่าให้เป็นสวิตช์บนเครือข่าย หรือแอคเซสพอยต์แทน

6. ใช้เราท์เตอร์ตัวที่สองเป็นสวิตช์หรือแอคเซสพอยต์ - วิธีก่อนหน้านี้เป็นการทำเพื่อรองรับการแบ่งเครือข่ายย่อยภายในเครือข่ายในบ้าน ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมอุปกรณ์บางตัว เช่น การบังคับโพลิซีเพิ่มเติมในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแต่นอกจากนี้ก็สามารถเอาเราท์เตอร์ตัวที่สองตั้งค่าเป็นสวิตช์บนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต หรือแอคเซสพอยต์ได้ด้วยเช่นกัน โดยไม่ได้แบ่งเครือข่ายแยก

7. ตั้งค่าเราท์เตอร์ตัวที่สองไม่ให้แบ่งเครือข่าย - การตั้งค่าให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์แทนนั้น ให้เสียบสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตไปยังพอร์ตว่างพอร์ตไหนก็ได้บนเราท์เตอร์ตัวใหม่แทนการเสียบพอร์ตอัพลิงค์ แล้วเชื่อมต่อกับพอร์ตว่างนอกจากพอร์ตอัพลิงค์ของเราท์เตอร์ตัวเดิมเช่นกัน

 ที่มา : Lifewire
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่