แข็งแกร่ง ล้ำสมัย! ยลโฉม ร.ล.ภูมิพลอดุลยเด เขี้ยวเล็บลำใหม่ทัพเรือไทย

กระทู้ข่าว
แข็งแกร่ง ล้ำสมัย! ยลโฉม ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช เขี้ยวเล็บลำใหม่ทัพเรือไทย

“เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” รหัสประจำเรือ 471 ประเภท “เรือฟริเกต” ถือเป็นเรือรบไทยปัจจุบันที่มีสมรรถนะสูง มีขีดความสามารถที่หลากหลาย โดยกองทัพเรือ ได้สั่งสร้างเรือฟริเกตจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) จำกัด สาธารณรัฐเกาหลี ในวงเงิน 14,600 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 4 ปี 6 เดือน โดยเพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา


ทั้งนี้ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทน “เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ซึ่งได้ปลดประจำการไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2560 หลังปฏิบัติภารกิจมาเป็นระยะเวลานานถึง 23 ปี แต่ถ้านับอายุการใช้งานตัวเรือตั้งแต่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อ 1 มิ.ย. 2517 เรือจะมีอายุการใช้งานถึง 43 ปี ซึ่งเก่าและมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สำหรับเรือฟริเกตลำนี้ มีความยาว 124.1 เมตร ความกว้าง 14.40 เมตร มีระวางขับน้ำ 3,700 ตัน สามารถปฏิบัติการทางทะเลได้ 21 วัน โดยที่ไม่ต้องรับการส่งบำรุงเลย สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 8 ความสูงคลื่น 12 เมตร ความเร็วลม 60 นอต เครื่องยนต์ 2 เครื่องยนต์ดีเซล MTU รุ่น 16V1163 M94 กำลัง 8,000 แรงม้า 1 เครื่องยนต์กังหันก๊าซ General Electric รุ่น LM2500 กำลัง 29,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต พิสัยปฏิบัติการ 4,000 ไมล์ทะเล ลูกเรือ 141 นาย




“เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” รหัสประจำเรือ 471 ประเภท “เรือฟริเกต” ถือเป็นเรือรบไทยปัจจุบันที่มีสมรรถนะสูง มีขีดความสามารถที่หลากหลาย โดยกองทัพเรือ ได้สั่งสร้างเรือฟริเกตจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) จำกัด สาธารณรัฐเกาหลี ในวงเงิน 14,600 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 4 ปี 6 เดือน โดยเพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา


ทั้งนี้ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทน “เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ซึ่งได้ปลดประจำการไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2560 หลังปฏิบัติภารกิจมาเป็นระยะเวลานานถึง 23 ปี แต่ถ้านับอายุการใช้งานตัวเรือตั้งแต่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อ 1 มิ.ย. 2517 เรือจะมีอายุการใช้งานถึง 43 ปี ซึ่งเก่าและมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน


สำหรับเรือฟริเกตลำนี้ มีความยาว 124.1 เมตร ความกว้าง 14.40 เมตร มีระวางขับน้ำ 3,700 ตัน สามารถปฏิบัติการทางทะเลได้ 21 วัน โดยที่ไม่ต้องรับการส่งบำรุงเลย สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 8 ความสูงคลื่น 12 เมตร ความเร็วลม 60 นอต เครื่องยนต์ 2 เครื่องยนต์ดีเซล MTU รุ่น 16V1163 M94 กำลัง 8,000 แรงม้า 1 เครื่องยนต์กังหันก๊าซ General Electric รุ่น LM2500 กำลัง 29,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต พิสัยปฏิบัติการ 4,000 ไมล์ทะเล ลูกเรือ 141 นาย

นาวาเอก สมิทนัท คุณวัฒน์ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เปิดเผยถึงเขี้ยวเล็บสำคัญของเรือหลวงลำนี้ ว่า เป็นเรื่องของการตรวจจับเป้าอากาศ เป้าพื้นน้ำ หรือเป้าใต้น้ำ ในระยะไกล นำมาสู่เรื่องของการพิสูจน์ทราบที่ทันสมัย มีความน่าเชื่อถือได้

และความสามารถในการโจมตีที่สามารถปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ สามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโด และอาวุธระยะไกล การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ รวมถึงสามารถบังคับสนับสนุนในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ทำให้ปัจจุบันเรือหลวงภูมิพลฯ ถือเป็นเรือที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของกองทัพเรือไทย เป็นเรือฟริเกตที่มีขีดความสามารถเทียบเท่ากับเรือรบของนานาชาติ


โรงเก็บ ฮ. เป็นที่พักผู้ประสบภัย 100 คน

นอกจากนี้ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เรือลำดังกล่าวยังมีขีดความสามารถในเรื่องของ “การบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล” โดยเรือลำนี้สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์นำ้หนักไม่เกิน 10 ตัน เป็น “ฮ.ซีฮอว์ก” และมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สามารถนำส่งผู้ป่วยจากบนฝั่งมายังเรือ หรือจากเรือไปยังฝั่ง โดยในเรือมีห้องพยาบาลและสามารถดัดแปลงโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เป็นที่พักผู้ประสบภัยชั่วคราวได้ประมาณ 100 คน


“เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” รหัสประจำเรือ 471 ประเภท “เรือฟริเกต” ถือเป็นเรือรบไทยปัจจุบันที่มีสมรรถนะสูง มีขีดความสามารถที่หลากหลาย โดยกองทัพเรือ ได้สั่งสร้างเรือฟริเกตจากบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) จำกัด สาธารณรัฐเกาหลี ในวงเงิน 14,600 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 4 ปี 6 เดือน โดยเพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา


ทั้งนี้ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทน “เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ซึ่งได้ปลดประจำการไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2560 หลังปฏิบัติภารกิจมาเป็นระยะเวลานานถึง 23 ปี แต่ถ้านับอายุการใช้งานตัวเรือตั้งแต่เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อ 1 มิ.ย. 2517 เรือจะมีอายุการใช้งานถึง 43 ปี ซึ่งเก่าและมีระบบอาวุธและอุปกรณ์ที่ล้าสมัยแล้วในปัจจุบัน

สำหรับเรือฟริเกตลำนี้ มีความยาว 124.1 เมตร ความกว้าง 14.40 เมตร มีระวางขับน้ำ 3,700 ตัน สามารถปฏิบัติการทางทะเลได้ 21 วัน โดยที่ไม่ต้องรับการส่งบำรุงเลย สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 8 ความสูงคลื่น 12 เมตร ความเร็วลม 60 นอต เครื่องยนต์ 2 เครื่องยนต์ดีเซล MTU รุ่น 16V1163 M94 กำลัง 8,000 แรงม้า 1 เครื่องยนต์กังหันก๊าซ General Electric รุ่น LM2500 กำลัง 29,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 นอต พิสัยปฏิบัติการ 4,000 ไมล์ทะเล ลูกเรือ 141 นาย


นาวาเอก สมิทนัท คุณวัฒน์ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เปิดเผยถึงเขี้ยวเล็บสำคัญของเรือหลวงลำนี้ ว่า เป็นเรื่องของการตรวจจับเป้าอากาศ เป้าพื้นน้ำ หรือเป้าใต้น้ำ ในระยะไกล นำมาสู่เรื่องของการพิสูจน์ทราบที่ทันสมัย มีความน่าเชื่อถือได้

และความสามารถในการโจมตีที่สามารถปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ สามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้ายและโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโด และอาวุธระยะไกล การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ รวมถึงสามารถบังคับสนับสนุนในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ทำให้ปัจจุบันเรือหลวงภูมิพลฯ ถือเป็นเรือที่มีสมรรถนะสูงที่สุดของกองทัพเรือไทย เป็นเรือฟริเกตที่มีขีดความสามารถเทียบเท่ากับเรือรบของนานาชาติ


รองรับ ฮ.ซีฮอว์ก 1 ลำ ดัดแปลงโรงเก็บ ฮ. เป็นที่พักผู้ประสบภัย 100 คน

นอกจากนี้ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เรือลำดังกล่าวยังมีขีดความสามารถในเรื่องของ “การบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล” โดยเรือลำนี้สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์นำ้หนักไม่เกิน 10 ตัน เป็น “ฮ.ซีฮอว์ก” และมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สามารถนำส่งผู้ป่วยจากบนฝั่งมายังเรือ หรือจากเรือไปยังฝั่ง โดยในเรือมีห้องพยาบาลและสามารถดัดแปลงโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เป็นที่พักผู้ประสบภัยชั่วคราวได้ประมาณ 100 คน

เรียนรู้จากผู้ผลิต ตั้งเป้า ทร.ไทยต่อเรือฟริเกตใช้เอง

นาวาเอก สมิทนัท เผยต่อว่า ตั้งแต่เริ่มต่อเรือเมื่อ 4 ปีกว่าๆ นั้น กองทัพเรือได้ส่งกำลังพลชุดหนึ่งไปเรียนรู้เทคโนโลยีในการต่อเรือ เพราะว่าการต่อเรือรบขนาดใหญ่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการสร้างเรือได้ ดังนั้น จึงส่งกำลังพลไปเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายว่า อนาคตจะสามารถต่อเรือฟริเกตที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างซับซ้อนได้เองภายในประเทศ

นอกจากนี้ กองทัพเรือมีขีดความสามารถในการซ่อมเรือขนาดใหญ่อยู่แล้ว โดยมีอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ที่ จ.สมุทรปราการ มีอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ที่สัตหีบ เป็นอู่ขนาดใหญ่ สามารถซ่อมได้ถึงเรือหลวงจักรีนฤเบศร ส่วนเรือหลวงภูมิพลฯ นั้น ทางกองทัพเรือได้ทำแผนการซ่อมแล้ว โดยจะนำไปซ่อมที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช เนื่องจากมีอู่แห้งขนาดใหญ่สามารถนำเรือฟริเกตลำนี้เข้าไปซ่อมได้ โดยใช้กำลังพลไทย เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการส่งกำลังพลไปเรียนรู้ยังบริษัทผู้ผลิตมาก่อนแล้ว



คุ้มครองน่านน้ำไทย

นาวาเอก สมิทนัท กล่าวว่า สำหรับภารกิจของเรือหลวงภูมิพลฯ ที่ผ่านมา เป็นเรื่องของการฝึกกำลังพลให้มีความชำนาญในเรื่องของการใช้เรือ รวมถึงฝึกให้มีความพร้อมในการปฏิบัติการร่วมกับเรือรบลำอื่นๆ และอากาศยานของกองทัพเรือด้วย

ส่วนภารกิจต่อไป จะเป็นการปฏิบัติราชการของทัพเรือภาค การลาดตระเวนคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การคุ้มครองรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล หรือการฝึกร่วมกับต่างชาติ


ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช คนแรก!

ขณะที่ ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชคนแรก โปรไฟล์ไม่ธรรมดา เนื่องจากที่ผ่านมากว่า 20 ปี ได้ปฏิบัติการบนเรือมาแล้วหลายลำ ทั้งเรือหลวงหนองสาหร่าย เรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน ศึกษาเรื่องการรบผิวน้ำในประเทศสหรัฐฯ ครูฝึกกองการฝึกที่กองเรือยุทธการ ก่อนจะเข้ามาเป็นผู้บังคับการเรือตรวจการชายฝั่ง 101 ผู้บังคับการเรือหลวงมกุฎราชกุมาร และหัวหน้ายุทธการและข่าว ฐานทัพเรือกรุงเทพ

นาวาเอก สมิทนัท กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างเรือรบยุคเก่ากับเรือรบยุคใหม่นั้น เรือรบยุคใหม่จะมีขีดความสามารถที่ทันสมัยกว่า ใช้ระบบเน็ตเวิร์กมากขึ้น ในเรือมีอุปกรณ์เทคนิคมากมาย กำลังพลต้องมีความรู้ ความชำนาญ เพราะอุปกรณ์ระบบ Manual ต่างๆ ลดน้อยลง ซึ่งคนที่จะมาเป็นผู้การเรือได้นั้น จะต้องรู้และเข้าใจอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเรือ สามารถใช้งานได้ แต่ไม่ถึงขนาดที่ว่าชำนาญในอุปกรณ์ทุกอย่างบนเรือ เนื่องจากมีกำลังพลที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่แล้ว


“ทหารเรือทุกนายอยากจะมีโอกาสสักครั้งหนึ่งในชีวิตมาเป็นกำลังพลรับเรือ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการสอบแข่งขัน เพื่อคัดเลือกมาเป็นกำลังพลรับเรือ ส่วนผู้บังคับการเรือเป็นตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบค่อนข้างมาก ทั้งยุทโธปกรณ์ กำลังพล และภารกิจ เหนือสิ่งอื่นใด เรือลำนี้ได้รับพระราชทานชื่อเรือ สร้างความปลื้มปีติสู่กำลังพลทุกคนอย่างหาที่สุดมิได้” ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชคนแรก กล่าวอย่างภาคภูมิใจ



ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1519028

กำลังแก้ไขข้อความเพิ่มเติมอยู่ครับ จะได้อ่านได้ดีขึ้น

เพิ่มเติม ค.ห.5
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่