Hello there!
กระทู้นี้มาพูดถึงไอเดียเรื่อง “
Fluency” หรือ “
ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา”
Main idea ของกระทู้นี้คือ “
ปัจจัยสำคัญในการเก่งภาษาในเวลาระยะสั้น (3 เดือน / 6 เดือน)”
อันดับแรกผมมีสามเรื่องที่อยากให้เข้าใจตรงกัน
1. เป็นไปไม่ได้ที่จะเก่งภาษาใน 3 เดือน (หรือ 6 เดือน) หากไม่เคยเรียนภาษานั้นมาก่อน “เลย”
2. เป็นไปไม่ได้ที่เราไม่เคยเรียน (หรืออย่างน้อย ได้ยินหรือรู้ศัพท์) ภาษาอังกฤษ “
เลย” ในชีวิตนี้
3. แต่สิ่งที่ทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้เร็ว/ช้ากว่าคนอื่นคือ “
พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” หรือ “
Solid foundation”
เก่งภาษาจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพื้นฐานที่เรามี ดังนั้นใครเจอภาษาอังกฤษมาบ่อย ก็มีโอกาสที่จะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วกว่า เป็นคอนเซปต์ง่าย ๆ ที่หลายคนเข้าใจแหละ แต่อาจจะยังเข้าใจแค่ส่วนหนึ่ง ทำให้เราไม่เห็น
ความสำคัญที่แท้จริงของพื้นฐานเหล่านี้
มันส่งผลต่อความเร็วในการเรียนภาษาของเรามาก ๆ เลยนะ
มาดูเลยดีกว่า!
_______________
การจะเก่งภาษาอังกฤษในระยะเวลาสั้น ๆ นั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมี “
พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” (solid foundation) ก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปลงคอร์สเรียนอะไรมาก่อนนะ
“
พื้นฐาน” หรือ “
Foundation” ในบริบทนี้หมายถึง
ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับในภาษานั้น ๆ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ส่วน “
ที่เอื้อต่อการเรียน” หรือ “
Solid” หมายถึง
ความเข้มข้น(ของความรู้นั้น) หรือ
ความคุ้นเคยของเรา(ที่มีต่อความรู้นั้น)
อ่านถึงตรงนี้คงเข้าใจตรงกันนะว่าเราจัด
ความรู้ทางภาษาแบ่งออกเป็นสองแบบคือ
- “
ความรู้ที่ได้มาโดยตั้งใจ” เป็นความรู้ที่ได้มาจากการตั้งใจอ่านหนังสือหรือเข้าไปเรียนในห้องเรียน (ส่วนมากจะเป็นสกิล writing กับ reading เช่นการลงคอร์สเรียน การทำข้อสอบ)
- ส่วน “
ความรู้ที่ได้มาโดยไม่ตั้งใจ” คือความรู้ที่ได้มาจากการทำกิจกรรมหนึ่งเพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่การเรียน (ส่วนมากจะเป็นสกิล listening กับ speaking เช่นฟังเพลง ดูหนัง)
ผมขอโฟกัสที่ “
ความรู้ที่เราได้รับมาโดยไม่ตั้งใจ” ว่ามันมีส่วนสำคัญอย่างไรในการเก่งภาษาอังกฤษ
_______________
ลองเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนไทยสองคนที่คุณครูยกให้พวกเขาเป็น “
คนไม่เก่งภาษาอังกฤษ” ทั้งคู่
- นาย A เป็นนักเรียน (นับถือพุทธ)
- นาย B เป็นนักเรียน (นับถือคริสต์)
ทั้งสองเป็นนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน เติบโตมาในหมู่บ้านเดียวกัน แต่ในขณะที่นาย A ใช้ชีวิตปกติ นาย B มีตารางพิเศษเพิ่มขึ้นมาในชีวิตคือ “
การไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์)”
และสมาชิกโบสถ์กว่าครึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ อังกฤษ อเมริกัน และอื่น ๆ ทำให้ทุกครั้งที่ศาสนาจารย์ (หรือบาทหลวง) ขึ้นเทศนาในโบสถ์นั้น ต้องคอยมีคนแปลหรือล่ามให้เสมอ (และคนไทยส่วนมากที่ไปโบสถ์นั้นพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย)
ทุกวันอาทิตย์นาย B ต้องไปนั่งฟังภาษาไทยหนึ่งประโยคและฟังอังกฤษอีกหนึ่งประโยคเป็นเวลา 1 - 2 ชม. เขาใช้ชีวิตแบบนี้เป็นเวลากว่าสิบปี (เพราะเขานับถือคริสต์ตั้งแต่เกิด และพ่อแม่บังคับให้ไปโบสถ์!)
คำถามคือ “ในความ ‘
ไม่เก่งภาษาอังกฤษ’ ของทั้งสองคนนี้ ใครมี ‘
แนวโน้ม’ ที่จะเก่งภาษาได้เร็วกว่ากัน?” (นี่ผมยังไม่ได้พูดถึงว่าใครจะเรียนได้ ‘ดี’ กว่ากันนะ ตอนนี้เอาแค่เรื่องเวลาก่อนเลย)
แน่นอนมันต้องเป็นคนที่มี solid foundation มาก่อนสิ! แล้วเราคิดว่าระหว่างสองคนนี้ ใครมี “
พื้นฐานเอื้อต่อการเรียน” มากกว่ากัน
_______________
แน่นอนว่าต้องเป็น
นาย B!
แม้นักเรียนทั้งสองคนไม่เคยคิดตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษสักครั้ง และสอบตกทั้งคู่ แต่การที่นาย B ไปนั่งในโบสถ์เพื่อฟังภาษาไทยประโยคอังกฤษประโยคทุกอาทิตย์ การที่เขาต้องทักทายคนฟิลิปปินส์หรือชาวต่างชาติคนอื่นทุกครั้งที่เจอหน้า (แม้ไม่อยากทักทาย แต่สุดท้ายฝรั่งเหล่านั้นก็เดินมาทักทายเราเองอยู่ดี ใครที่ไปโบสถ์จะรู้)
ประสบการณ์เหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานภาษาอังกฤษขึ้นมาในสมองเขาโดยไม่รู้ตัว!
พื้นฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างสำเนียงฟิลิปปินส์ อังกฤษ อเมริกัน ตั้งแต่การเลือกใช้คำศัพท์ไปจนถึงการขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำในประโยค การใช้มือช่วยในการพูดภาษาอังกฤษ ไปจนถึงพื้นฐานสกิลที่สำคัญ เช่น การแปลภาษาไทย-อังกฤษ การจัดประโยค การแปลแบบถอดความ การเลือกใช้คำศัพท์ในระดับเดียวกัน
นี่ยังไม่รวมบทเรียนศาสนา นิทานเรื่องเล่าและเพลงอีกมากมายที่เขาเคยฟัง/ร้องมาแล้วทั้งสองภาษา แม้ไม่เคยเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษสักตัว ไม่เคยออกเสียงถูกเป๊ะ ๆ สักครั้ง แต่เมื่อต้องฟัง/ร้อง/อ่านนานเข้า ๆ มันเกิดเป็นความคุ้นเคย ความประหม่ามันเริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ จนเขาสามารถไปวิ่งเล่นกับเพื่อนฝรั่งได้แม้จะคุยกันไม่รู้เรื่อง
ภาษาอังกฤษกลายเป็นเพื่อนที่แม้เขาไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็บอกเลยว่าสนิทกันพอตัว!
_______________
ประสบการณ์ในชีวิตเหล่านี้ทำให้นาย B สามารถใช้เวลา 3 เดือนสั้น ๆ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองจาก “
ระดับเริ่มต้น” (Beginner) ไปเป็น “
ระดับคล่องแคล่ว” (Fluent/Conversant) ได้ง่ายกว่านาย A หลายเท่านัก!
แต่ถ้าผมจะพูดว่า “
อยากเก่งภาษาอังกฤษต้องนับถือคริสต์” ก็คงจะฟังดูสุดโต่งเกินไป
ใจความสำคัญที่ผมอยากให้ทุกคนได้ไปคือ “เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าเราจะใช้เวลานานแค่ไหนในการเก่งภาษาอังกฤษโดยไม่คำนึงถึง “
พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” เหล่านี้ได้”
และมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ว่าใครเคยลงคอร์สเรียนกับสถาบันไหนมาก่อน หรือใครเคยไปเรียนเมืองนอกมาก่อน ถึงจะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็ว แต่มันอาจรวมไปถึงศาสนาที่เรานับถืออยู่ แนวเพลวที่เราชอบฟัง หรือแม้กระทั่งภาษาที่เราใช้ในมือถือ
ประสบการณ์ในชีวิตเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนด “
ประสิทธิผล” ในการเรียนภาษา!
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ
จงล้อมรอบตัวเองด้วยภาษาอังกฤษให้ได้เยอะที่สุด (
Immerse yourself in the language as much as you can!)
_______________
หากต้องการจะเก่งภาษาอังกฤษได้ในระยะเวลาสั้น เราต้องสร้างปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด “
พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” ขึ้นมาเยอะ ๆ
อาจจะเริ่มไปโบสถ์บ้าง (ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนา!) เพื่อคุยกับฝรั่ง (หรือคุยกับคนไทยที่พูดอังกฤษ)
เริ่มฟังเพลงอังกฤษ
เริ่มดูหนังแบบ soundtrack
เริ่มเปลี่ยนตั้งค่าภาษาในโทรศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ
อะไรก็ได้! ขอแค่ลงมือทำ และอย่าหยุด โอเค๊!
'ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ'
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่:
https://www.facebook.com/MyFathersAnEnglishMan/ (Page:
พ่อผมเป็นคนอังกฤษ)
Stay knowledge-hungry
JGC.
เก่งอังกฤษจากบุญเก่า?!
กระทู้นี้มาพูดถึงไอเดียเรื่อง “Fluency” หรือ “ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา”
Main idea ของกระทู้นี้คือ “ปัจจัยสำคัญในการเก่งภาษาในเวลาระยะสั้น (3 เดือน / 6 เดือน)”
อันดับแรกผมมีสามเรื่องที่อยากให้เข้าใจตรงกัน
1. เป็นไปไม่ได้ที่จะเก่งภาษาใน 3 เดือน (หรือ 6 เดือน) หากไม่เคยเรียนภาษานั้นมาก่อน “เลย”
2. เป็นไปไม่ได้ที่เราไม่เคยเรียน (หรืออย่างน้อย ได้ยินหรือรู้ศัพท์) ภาษาอังกฤษ “เลย” ในชีวิตนี้
3. แต่สิ่งที่ทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้เร็ว/ช้ากว่าคนอื่นคือ “พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” หรือ “Solid foundation”
เก่งภาษาจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพื้นฐานที่เรามี ดังนั้นใครเจอภาษาอังกฤษมาบ่อย ก็มีโอกาสที่จะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วกว่า เป็นคอนเซปต์ง่าย ๆ ที่หลายคนเข้าใจแหละ แต่อาจจะยังเข้าใจแค่ส่วนหนึ่ง ทำให้เราไม่เห็นความสำคัญที่แท้จริงของพื้นฐานเหล่านี้
มันส่งผลต่อความเร็วในการเรียนภาษาของเรามาก ๆ เลยนะ
มาดูเลยดีกว่า!
_______________
การจะเก่งภาษาอังกฤษในระยะเวลาสั้น ๆ นั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมี “พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” (solid foundation) ก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปลงคอร์สเรียนอะไรมาก่อนนะ
“พื้นฐาน” หรือ “Foundation” ในบริบทนี้หมายถึงความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับในภาษานั้น ๆ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ส่วน “ที่เอื้อต่อการเรียน” หรือ “Solid” หมายถึงความเข้มข้น(ของความรู้นั้น) หรือความคุ้นเคยของเรา(ที่มีต่อความรู้นั้น)
อ่านถึงตรงนี้คงเข้าใจตรงกันนะว่าเราจัดความรู้ทางภาษาแบ่งออกเป็นสองแบบคือ
- “ความรู้ที่ได้มาโดยตั้งใจ” เป็นความรู้ที่ได้มาจากการตั้งใจอ่านหนังสือหรือเข้าไปเรียนในห้องเรียน (ส่วนมากจะเป็นสกิล writing กับ reading เช่นการลงคอร์สเรียน การทำข้อสอบ)
- ส่วน “ความรู้ที่ได้มาโดยไม่ตั้งใจ” คือความรู้ที่ได้มาจากการทำกิจกรรมหนึ่งเพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่การเรียน (ส่วนมากจะเป็นสกิล listening กับ speaking เช่นฟังเพลง ดูหนัง)
ผมขอโฟกัสที่ “ความรู้ที่เราได้รับมาโดยไม่ตั้งใจ” ว่ามันมีส่วนสำคัญอย่างไรในการเก่งภาษาอังกฤษ
_______________
ลองเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนไทยสองคนที่คุณครูยกให้พวกเขาเป็น “คนไม่เก่งภาษาอังกฤษ” ทั้งคู่
- นาย A เป็นนักเรียน (นับถือพุทธ)
- นาย B เป็นนักเรียน (นับถือคริสต์)
ทั้งสองเป็นนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน เติบโตมาในหมู่บ้านเดียวกัน แต่ในขณะที่นาย A ใช้ชีวิตปกติ นาย B มีตารางพิเศษเพิ่มขึ้นมาในชีวิตคือ “การไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์)”
และสมาชิกโบสถ์กว่าครึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์ อังกฤษ อเมริกัน และอื่น ๆ ทำให้ทุกครั้งที่ศาสนาจารย์ (หรือบาทหลวง) ขึ้นเทศนาในโบสถ์นั้น ต้องคอยมีคนแปลหรือล่ามให้เสมอ (และคนไทยส่วนมากที่ไปโบสถ์นั้นพูดภาษาอังกฤษได้ด้วย)
ทุกวันอาทิตย์นาย B ต้องไปนั่งฟังภาษาไทยหนึ่งประโยคและฟังอังกฤษอีกหนึ่งประโยคเป็นเวลา 1 - 2 ชม. เขาใช้ชีวิตแบบนี้เป็นเวลากว่าสิบปี (เพราะเขานับถือคริสต์ตั้งแต่เกิด และพ่อแม่บังคับให้ไปโบสถ์!)
คำถามคือ “ในความ ‘ไม่เก่งภาษาอังกฤษ’ ของทั้งสองคนนี้ ใครมี ‘แนวโน้ม’ ที่จะเก่งภาษาได้เร็วกว่ากัน?” (นี่ผมยังไม่ได้พูดถึงว่าใครจะเรียนได้ ‘ดี’ กว่ากันนะ ตอนนี้เอาแค่เรื่องเวลาก่อนเลย)
แน่นอนมันต้องเป็นคนที่มี solid foundation มาก่อนสิ! แล้วเราคิดว่าระหว่างสองคนนี้ ใครมี “พื้นฐานเอื้อต่อการเรียน” มากกว่ากัน
_______________
แน่นอนว่าต้องเป็นนาย B!
แม้นักเรียนทั้งสองคนไม่เคยคิดตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษสักครั้ง และสอบตกทั้งคู่ แต่การที่นาย B ไปนั่งในโบสถ์เพื่อฟังภาษาไทยประโยคอังกฤษประโยคทุกอาทิตย์ การที่เขาต้องทักทายคนฟิลิปปินส์หรือชาวต่างชาติคนอื่นทุกครั้งที่เจอหน้า (แม้ไม่อยากทักทาย แต่สุดท้ายฝรั่งเหล่านั้นก็เดินมาทักทายเราเองอยู่ดี ใครที่ไปโบสถ์จะรู้)
ประสบการณ์เหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานภาษาอังกฤษขึ้นมาในสมองเขาโดยไม่รู้ตัว!
พื้นฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างสำเนียงฟิลิปปินส์ อังกฤษ อเมริกัน ตั้งแต่การเลือกใช้คำศัพท์ไปจนถึงการขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำในประโยค การใช้มือช่วยในการพูดภาษาอังกฤษ ไปจนถึงพื้นฐานสกิลที่สำคัญ เช่น การแปลภาษาไทย-อังกฤษ การจัดประโยค การแปลแบบถอดความ การเลือกใช้คำศัพท์ในระดับเดียวกัน
นี่ยังไม่รวมบทเรียนศาสนา นิทานเรื่องเล่าและเพลงอีกมากมายที่เขาเคยฟัง/ร้องมาแล้วทั้งสองภาษา แม้ไม่เคยเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษสักตัว ไม่เคยออกเสียงถูกเป๊ะ ๆ สักครั้ง แต่เมื่อต้องฟัง/ร้อง/อ่านนานเข้า ๆ มันเกิดเป็นความคุ้นเคย ความประหม่ามันเริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ จนเขาสามารถไปวิ่งเล่นกับเพื่อนฝรั่งได้แม้จะคุยกันไม่รู้เรื่อง
ภาษาอังกฤษกลายเป็นเพื่อนที่แม้เขาไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็บอกเลยว่าสนิทกันพอตัว!
_______________
ประสบการณ์ในชีวิตเหล่านี้ทำให้นาย B สามารถใช้เวลา 3 เดือนสั้น ๆ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองจาก “ระดับเริ่มต้น” (Beginner) ไปเป็น “ระดับคล่องแคล่ว” (Fluent/Conversant) ได้ง่ายกว่านาย A หลายเท่านัก!
แต่ถ้าผมจะพูดว่า “อยากเก่งภาษาอังกฤษต้องนับถือคริสต์” ก็คงจะฟังดูสุดโต่งเกินไป
ใจความสำคัญที่ผมอยากให้ทุกคนได้ไปคือ “เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าเราจะใช้เวลานานแค่ไหนในการเก่งภาษาอังกฤษโดยไม่คำนึงถึง “พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” เหล่านี้ได้”
และมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ว่าใครเคยลงคอร์สเรียนกับสถาบันไหนมาก่อน หรือใครเคยไปเรียนเมืองนอกมาก่อน ถึงจะเก่งภาษาอังกฤษได้เร็ว แต่มันอาจรวมไปถึงศาสนาที่เรานับถืออยู่ แนวเพลวที่เราชอบฟัง หรือแม้กระทั่งภาษาที่เราใช้ในมือถือ
ประสบการณ์ในชีวิตเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนด “ประสิทธิผล” ในการเรียนภาษา!
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ จงล้อมรอบตัวเองด้วยภาษาอังกฤษให้ได้เยอะที่สุด (Immerse yourself in the language as much as you can!)
_______________
หากต้องการจะเก่งภาษาอังกฤษได้ในระยะเวลาสั้น เราต้องสร้างปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด “พื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียน” ขึ้นมาเยอะ ๆ
อาจจะเริ่มไปโบสถ์บ้าง (ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนา!) เพื่อคุยกับฝรั่ง (หรือคุยกับคนไทยที่พูดอังกฤษ)
เริ่มฟังเพลงอังกฤษ
เริ่มดูหนังแบบ soundtrack
เริ่มเปลี่ยนตั้งค่าภาษาในโทรศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ
อะไรก็ได้! ขอแค่ลงมือทำ และอย่าหยุด โอเค๊!
'ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ'
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่: https://www.facebook.com/MyFathersAnEnglishMan/ (Page: พ่อผมเป็นคนอังกฤษ)
Stay knowledge-hungry
JGC.