หลายๆ คนที่ต้องการเลือกซื้อผ้าปูที่นอนมักมีคำถามเหมือนๆ กัน
- ผ้าปูที่นอนยี่ห้อไหนใช้ดี?
- ผ้าปูที่นอน แบบไหนนอนสบาย?
- จำนวนเส้นด้ายที่ทอ ยิ่งเยอะก็ต้องยิ่งดีสิจริงไหม?
- อยากได้ผ้าปูที่นอน ถูก และ ดี มียี่ห้อไหนแนะนำบ้าง?
ในฐานะที่เป็นผู้สนใจเรื่องสิ่งทอ ชอบใช้ของคุณภาพดีที่สมราคา และ ทำงานอยู่ในวงการสิ่งทอ วันนี้ดิฉันอยากจะมาให้ความรู้เพื่อนๆ เรื่องการเลือกผ้าปูที่นอนที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเรากัน
ในปัจจุบันถ้าพูดถึงการเลือกเครื่องนอน ก็มักจะได้ยินหลายๆ คนพูดถึงจำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ ต.ร.ซม. ของผ้า แต่เคยมีใครสงสัยไหมว่า...
• จำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ ต.ร.ซม. คืออะไร?
• จำนวนเส้นด้ายมีผลต่อเนื้อผ้าอย่างไร?
• มาตรฐานในการนับเส้นด้ายคืออะไร?
ก่อนอื่นดิฉันอยากให้เข้าใจว่าจำนวนเส้นด้ายในการเลือกซื้อเครื่องนอนสำคัญ แต่ไม่ได้สำคัญที่สุด การเลือกซื้อผ้าปูที่นอนที่ดีมีปัจจัยอยู่ 4 อย่าง: 1. ชนิดของเส้นด้ายที่ต้องการใช้ 2. จำนวนเส้นด้ายที่ถูกพันรวมเข้าด้วยกัน 3. การนับจำนวนเส้นด้าย 4. วิธีการทอเส้นด้าย
1. ชนิดของเส้นด้าย:
Cotton 100% ข้อดี: ระบายอากาศดี ทนทาน ใช้นาน| ข้อเสีย: ผ้าไม่เงาเท่าวัสดุอื่น และ สัมผัสแรกจะไม่ค่อยนุ่มลื่น แต่ซักบ่อย ๆ จะนุ่ม ลื่น เย็นสบาย (ตอนนี้ผ้าปูชุดโปรดที่ใช้อยู่ ใช้มา 40 ปีแล้วผ้ายังไม่ขาด สียังขาวอยู่ ทนมาก! และ เย็นสบายสุดๆ)
Polyester ข้อดี: ผ้าเงา ไม่ยับ ราคาถูก ทนทานหรือไม่อยู่ที่คุณภาพเส้นด้าย | ข้อเสีย: ร้อนค่ะ ผ้าจะไม่ระบายอากาศได้ดีเท่าคอตตอน ค่อนข้างมีไฟฟ้าสถิต ซักไม่กี่ครั้งจะขึ้นขนง่าย สำหรับคนผิวแพ้ง่ายอาจเกิดอาการแพ้เนื่องจากใย polyester เป็นใยสังเคราะห์
Tencel หรือ
Modal ข้อดี: นุ่มลื่น เงางาม สีสวย ระบายอากาศไหมขึ้นอยู่กับวัสดุใช้ทำเส้นด้าย มีความยืดหยุ่น กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | ข้อเสีย: ราคาแพง สัมผัสผ้าจะเปลี่ยนถ้าเจออุณหภูมิร้อนเกิน หรือเย็นเกิน ซักบ่อย ๆจะขึ้นขนง่าย ไม่แนะนำให้ใส่เครื่องอบ หรือ ถ้าจะอบต้องอบในอุณหภูมิต่ำมาก
2. ความหนาแน่น และ การพันด้ายเป็นเกลียว (Ply):
ทำไมสำคัญ: เพราะความละเอียดของเนื้อผ้าอยู่ที่ความหนาแน่นของด้าย เส้นด้ายนั้นสามารถจำแนกเป็น
1 ply = ด้ายที่ปั่นออกมาจากเส้นใยโดยตรง
2 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 2 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
3 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 3 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
4 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 4 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
..... ฯลฯ
[รูปจาก:
https://www.alashancashmere.com/ply-gauge]
ดูยังไง?: ดูไม่ออก ถามคนขายไม่น่าจะรู้ สัมผัสบอกไม่ได้แต่ สิ่งนี้จะช่วยอธิบายข้อต่อไป
3. ความหนาแน่นของเส้นด้าย (Thread Count)
นี้คือสิ่งที่หลายๆคนพูดถึง และมองหาในการเลือกซื้อเครื่องนอน
สำคัญอย่างไร: เส้นด้ายเยอะ จะยิ่งให้สัมผัสที่นุ่ม ลื่น สบายตัว แต่ๆๆๆๆๆ คนหลายๆคนมีความเข้าใจผิดเรื่องการนับเส้นด้ายอย่างมาก เส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าโดยหลักสากลแล้วจะวัดเป็นจำนวนเส้นด้ายต่อ 1 ต.ร.นิ้ว แต่เพื่อเพิ่มจำนวนเส้นด้ายให้ดูเยอะขึ้น เครื่องนอนบางยี่ห้อจะวัดเป็น 10 ต.ร.ซม. ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าเพื่อเพิ่มจำนวนเส้นด้าย
เส้นด้ายจำนวนเท่าไหร่ถึงใช้ดี?: ตั้งแต่ 250-500เส้น/ต.ร.นิ้ว ในความเป็นจริงแล้ว 250เส้น/ต.ร.นิ้ว ก็ถือว่าดีมากแล้ว แต่ถ้าเส้นด้ายยิ่งเยอะ เนื้อผ้าก็จะยิ่งละเอียดมากขึ้น เพราะใช้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าจำนวน มากกว่า 500< เส้น/ต.ร.นิ้ว มีโอกาสสูงว่าคุณกำลังโดนการตลาดหลอกอยู่ ยิ่งถ้า 800 – 1000 เส้น/ต.ร.นิ้ว ไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะเครื่องทอผ้าทอเส้นด้ายจำนวนขนาดนั้นไม่ได้
แล้วเส้นด้าย 700/800/900/1000 เส้น/ต.ร.นิ้วมาจากไหน?: การที่เครื่องนอนบางยี่ห้ออ้างว่าสินค้าของตนมีเส้นด้ายจำนวนขนาดนั้นก็ต้องไปดูกันว่า เขาโกหกผู้บริโภคเพื่อขายสินค้าราคาถูกในราคาที่แพงไหม(เคยไหมซื้อน้ำผลไม้ 100% แต่ข้างขวดกลายเป็นน้ำผลไม้ผสม)? หรือ เขาอาจนับจำนวนเส้นด้ายในเกลียว(ply)ด้วย เพราะถ้านับ ply ด้วยจะเป็น: ด้าย 3-ply 750 เส้น = 250 เส้น(ตามจำนวนนับจริง) หรือ ด้าย 4-ply 1000 เส้น = 250 เส้น (ตามจำนวนนับจริง) เช่นในรูป
[รูปจาก:
https://www.holylamborganics.com/blogs/news/the-truth-about-thread-counts-organic-cotton]
หรือในกรณีสุดท้าย คุณต้องสังเกตด้วยว่าหน่วยวัดจำนวนเส้นด้ายนั้นนับเป็น จำนวนเส้น/ต.ร.นิ้ว หรือ จำนวนเส้น/10 ต.ร.ซม. หรือ ไม่มีหน่วยวัดเลย
มาตรฐานการนับคืออะไร?: มาตรฐานการนับสากลของสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป คือการนับจำนวนตัวด้ายเส้นหลัก (ไม่ว่าจะเป็นการพันเกลียวจากด้ายกี่เส้นจะนับเป็น 1 เส้น) ในพื้นที่ 1 ต.ร.นิ้ว ของผ้า และ เป็นมาตรฐานการนับของสถาบันพัฒนาสิ่งทอของประเทศไทยด้วย แต่เนื่องจากเมืองไทยนั้นยังไม่มีกฎหมายการค้าผูกมัดว่าต้องแจ้งจำนวนเส้นด้ายในพื้นที่ 1 ต.ร.นิ้วเท่านั้นให้แก้ผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตเครื่องนอนจึงนิยมใช้มาตรฐานการนับจำนวนเส้นด้ายของออสเตรเลีย คือการนับจำนวนเส้นด้ายภายในพื้นที่ 10 ต.ร.ซม. ของผ้าซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ใหญ่กว่าจำนวนเส้นด้ายเพื่อให้จำนวนเส้นด้ายดูเยอะ (โดยรวมแล้วจำนวนเส้นด้าย/10 ต.ร.ซม.จะเยอะกว่าเส้นด้าย/ตร.นิ้วประมาณ +24.41%) เช่นในรูปข้างล่าง
[รูปจาก:
http://www.truthaboutthreadcount.com/what-is-thread-count.html]
จะรู้ได้ยังไงว่าไม่โดนหลอกให้ซื้อสินค้าราคาเกินจริง?:
1) ดูหน่วยการนับเส้นด้ายของผ้าปูที่นอนของคุณว่าเป็น จำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ จำนวนเส้นด้าย/10 ต.ร. ซม.)
2) ถ้าจำนวนด้ายเยอะกว่า 400-500 เส้น/ต.ร.นิ้ว มาก มีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะระบุจำนวนเส้นด้ายเกินจริง
3) หาดูยี่ห้อที่ผ่านการรับรองจำนวนเส้นด้ายจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
4) ต้องลองจับผ้าดูหลายๆ ยี่ห้อแล้วเปรียบเทียบกันว่าเนื้อผ้าต่างกันมากไหม?
4. การทอเส้นด้าย (Weave)
การทอเส้นด้ายมีผลต่อเนื้อสัมผัส และ ความทนทานของผ้า การทอผ้าที่ทนทานที่สุดคือการทอแบบทอขัด(percale) เป็นการทอที่แน่นหนาที่สุด ซึ่งคุณอาจเคยสัมผัสมาก่อน เป็นผ้าที่จับแล้วจะรู้สึกแข็งหน่อยๆ เนื้อผ้าจะให้ความรู้สึกไม่ค่อยนุ่มลื่น และ เนื้อผ้าจะไม่ค่อยเงา (นิยมทอผ้าปูที่นอนในสมัยก่อน)
แต่ในปัจจุบันผ้าส่วนใหญ่ที่ทุกคนจะเจอคือผ้าที่ทอแบบ ทวิลล์ (Twill) และ ผ้าที่ทอแบบ ซาติน (Satin) เนื่องจากเนื้อผ้าให้สัมผัสที่นุ่มลื่นและเงากว่า ผ้าสองแบบนี้อาจมีจำนวนเส้นด้ายที่เท่ากันแต่ให้เนื้อสัมผัสต่างกันได้ เนื่องจากการทอแบบ twill เป็นการทอที่แน่นกว่า ทำให้สัมผัสผ้ารู้สึกหนา แข็ง และ คงรูปมากกว่าแต่ข้อดีคือจะขึ้นขนน้อยกว่าการทอแบบ satin ส่วนการทอแบบ satin เป็นการทอแบบหลวมกว่าจะทำให้ผ้ารู้สึกนุ่มลื่น เงามากกว่าแต่จะขึ้นขนง่ายกว่าการทอแบบ twill
ข้อมูลที่ให้ไปในวันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปใช้เลือกเครื่องนอนได้ของทุกยี่ห้อ หวังว่าข้อมูลข้างต้นที่ให้ไปจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาเครื่องนอนที่เหมาะกับความต้องการของตนในราคาที่ไม่เกินจริงต่อคุณภาพสินค้านะคะ
ถ้าสนใจอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมไปอ่านกันต่อที่ลิ้งค์ข้างล่างได้เลยคะ
[อังกฤษ]
Holy Lamb Organics
https://www.holylamborganics.com/blogs/news/the-truth-about-thread-counts-organic-cotton
Brook Living
https://www.brooklinen.com/blogs/brookliving/best-thread-count-for-sheets
Truth About Thread Counts
http://www.truthaboutthreadcount.com/what-is-thread-count.html
Authenticity 50
https://authenticity50.com/pages/thread-count
https://authenticity50.com/blogs/news/what-is-the-best-thread-count-for-bed-sheets
Allyson Brooke
https://www.allysonbrookehome.com/the-truth-about-thread-counts/
[ไทย]
Boonprapa Group
http://www.boonprapagroup.com/en/blog/16_The-number-of-yarns-is-important-to-the-qual.html
Pechdee Commodities
http://www.pechdee.com/blog-post-5.html
เลือกซื้อ ผ้าปูที่นอน แบบไหนถึงจะดี?
- ผ้าปูที่นอนยี่ห้อไหนใช้ดี?
- ผ้าปูที่นอน แบบไหนนอนสบาย?
- จำนวนเส้นด้ายที่ทอ ยิ่งเยอะก็ต้องยิ่งดีสิจริงไหม?
- อยากได้ผ้าปูที่นอน ถูก และ ดี มียี่ห้อไหนแนะนำบ้าง?
ในฐานะที่เป็นผู้สนใจเรื่องสิ่งทอ ชอบใช้ของคุณภาพดีที่สมราคา และ ทำงานอยู่ในวงการสิ่งทอ วันนี้ดิฉันอยากจะมาให้ความรู้เพื่อนๆ เรื่องการเลือกผ้าปูที่นอนที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเรากัน
ในปัจจุบันถ้าพูดถึงการเลือกเครื่องนอน ก็มักจะได้ยินหลายๆ คนพูดถึงจำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ ต.ร.ซม. ของผ้า แต่เคยมีใครสงสัยไหมว่า...
• จำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ ต.ร.ซม. คืออะไร?
• จำนวนเส้นด้ายมีผลต่อเนื้อผ้าอย่างไร?
• มาตรฐานในการนับเส้นด้ายคืออะไร?
ก่อนอื่นดิฉันอยากให้เข้าใจว่าจำนวนเส้นด้ายในการเลือกซื้อเครื่องนอนสำคัญ แต่ไม่ได้สำคัญที่สุด การเลือกซื้อผ้าปูที่นอนที่ดีมีปัจจัยอยู่ 4 อย่าง: 1. ชนิดของเส้นด้ายที่ต้องการใช้ 2. จำนวนเส้นด้ายที่ถูกพันรวมเข้าด้วยกัน 3. การนับจำนวนเส้นด้าย 4. วิธีการทอเส้นด้าย
1. ชนิดของเส้นด้าย:
Cotton 100% ข้อดี: ระบายอากาศดี ทนทาน ใช้นาน| ข้อเสีย: ผ้าไม่เงาเท่าวัสดุอื่น และ สัมผัสแรกจะไม่ค่อยนุ่มลื่น แต่ซักบ่อย ๆ จะนุ่ม ลื่น เย็นสบาย (ตอนนี้ผ้าปูชุดโปรดที่ใช้อยู่ ใช้มา 40 ปีแล้วผ้ายังไม่ขาด สียังขาวอยู่ ทนมาก! และ เย็นสบายสุดๆ)
Polyester ข้อดี: ผ้าเงา ไม่ยับ ราคาถูก ทนทานหรือไม่อยู่ที่คุณภาพเส้นด้าย | ข้อเสีย: ร้อนค่ะ ผ้าจะไม่ระบายอากาศได้ดีเท่าคอตตอน ค่อนข้างมีไฟฟ้าสถิต ซักไม่กี่ครั้งจะขึ้นขนง่าย สำหรับคนผิวแพ้ง่ายอาจเกิดอาการแพ้เนื่องจากใย polyester เป็นใยสังเคราะห์
Tencel หรือ Modal ข้อดี: นุ่มลื่น เงางาม สีสวย ระบายอากาศไหมขึ้นอยู่กับวัสดุใช้ทำเส้นด้าย มีความยืดหยุ่น กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | ข้อเสีย: ราคาแพง สัมผัสผ้าจะเปลี่ยนถ้าเจออุณหภูมิร้อนเกิน หรือเย็นเกิน ซักบ่อย ๆจะขึ้นขนง่าย ไม่แนะนำให้ใส่เครื่องอบ หรือ ถ้าจะอบต้องอบในอุณหภูมิต่ำมาก
2. ความหนาแน่น และ การพันด้ายเป็นเกลียว (Ply):
ทำไมสำคัญ: เพราะความละเอียดของเนื้อผ้าอยู่ที่ความหนาแน่นของด้าย เส้นด้ายนั้นสามารถจำแนกเป็น
1 ply = ด้ายที่ปั่นออกมาจากเส้นใยโดยตรง
2 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 2 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
3 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 3 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
4 ply = เส้นด้ายที่ได้จากการนำด้าย 4 เส้นมาพันเกลียวรวมเป็น 1 เส้น
..... ฯลฯ
[รูปจาก: https://www.alashancashmere.com/ply-gauge]
ดูยังไง?: ดูไม่ออก ถามคนขายไม่น่าจะรู้ สัมผัสบอกไม่ได้แต่ สิ่งนี้จะช่วยอธิบายข้อต่อไป
3. ความหนาแน่นของเส้นด้าย (Thread Count)
นี้คือสิ่งที่หลายๆคนพูดถึง และมองหาในการเลือกซื้อเครื่องนอน
สำคัญอย่างไร: เส้นด้ายเยอะ จะยิ่งให้สัมผัสที่นุ่ม ลื่น สบายตัว แต่ๆๆๆๆๆ คนหลายๆคนมีความเข้าใจผิดเรื่องการนับเส้นด้ายอย่างมาก เส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าโดยหลักสากลแล้วจะวัดเป็นจำนวนเส้นด้ายต่อ 1 ต.ร.นิ้ว แต่เพื่อเพิ่มจำนวนเส้นด้ายให้ดูเยอะขึ้น เครื่องนอนบางยี่ห้อจะวัดเป็น 10 ต.ร.ซม. ซึ่งมีพื้นที่มากกว่าเพื่อเพิ่มจำนวนเส้นด้าย
เส้นด้ายจำนวนเท่าไหร่ถึงใช้ดี?: ตั้งแต่ 250-500เส้น/ต.ร.นิ้ว ในความเป็นจริงแล้ว 250เส้น/ต.ร.นิ้ว ก็ถือว่าดีมากแล้ว แต่ถ้าเส้นด้ายยิ่งเยอะ เนื้อผ้าก็จะยิ่งละเอียดมากขึ้น เพราะใช้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าจำนวน มากกว่า 500< เส้น/ต.ร.นิ้ว มีโอกาสสูงว่าคุณกำลังโดนการตลาดหลอกอยู่ ยิ่งถ้า 800 – 1000 เส้น/ต.ร.นิ้ว ไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะเครื่องทอผ้าทอเส้นด้ายจำนวนขนาดนั้นไม่ได้
แล้วเส้นด้าย 700/800/900/1000 เส้น/ต.ร.นิ้วมาจากไหน?: การที่เครื่องนอนบางยี่ห้ออ้างว่าสินค้าของตนมีเส้นด้ายจำนวนขนาดนั้นก็ต้องไปดูกันว่า เขาโกหกผู้บริโภคเพื่อขายสินค้าราคาถูกในราคาที่แพงไหม(เคยไหมซื้อน้ำผลไม้ 100% แต่ข้างขวดกลายเป็นน้ำผลไม้ผสม)? หรือ เขาอาจนับจำนวนเส้นด้ายในเกลียว(ply)ด้วย เพราะถ้านับ ply ด้วยจะเป็น: ด้าย 3-ply 750 เส้น = 250 เส้น(ตามจำนวนนับจริง) หรือ ด้าย 4-ply 1000 เส้น = 250 เส้น (ตามจำนวนนับจริง) เช่นในรูป
[รูปจาก: https://www.holylamborganics.com/blogs/news/the-truth-about-thread-counts-organic-cotton]
หรือในกรณีสุดท้าย คุณต้องสังเกตด้วยว่าหน่วยวัดจำนวนเส้นด้ายนั้นนับเป็น จำนวนเส้น/ต.ร.นิ้ว หรือ จำนวนเส้น/10 ต.ร.ซม. หรือ ไม่มีหน่วยวัดเลย
มาตรฐานการนับคืออะไร?: มาตรฐานการนับสากลของสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป คือการนับจำนวนตัวด้ายเส้นหลัก (ไม่ว่าจะเป็นการพันเกลียวจากด้ายกี่เส้นจะนับเป็น 1 เส้น) ในพื้นที่ 1 ต.ร.นิ้ว ของผ้า และ เป็นมาตรฐานการนับของสถาบันพัฒนาสิ่งทอของประเทศไทยด้วย แต่เนื่องจากเมืองไทยนั้นยังไม่มีกฎหมายการค้าผูกมัดว่าต้องแจ้งจำนวนเส้นด้ายในพื้นที่ 1 ต.ร.นิ้วเท่านั้นให้แก้ผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตเครื่องนอนจึงนิยมใช้มาตรฐานการนับจำนวนเส้นด้ายของออสเตรเลีย คือการนับจำนวนเส้นด้ายภายในพื้นที่ 10 ต.ร.ซม. ของผ้าซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ใหญ่กว่าจำนวนเส้นด้ายเพื่อให้จำนวนเส้นด้ายดูเยอะ (โดยรวมแล้วจำนวนเส้นด้าย/10 ต.ร.ซม.จะเยอะกว่าเส้นด้าย/ตร.นิ้วประมาณ +24.41%) เช่นในรูปข้างล่าง
[รูปจาก: http://www.truthaboutthreadcount.com/what-is-thread-count.html]
จะรู้ได้ยังไงว่าไม่โดนหลอกให้ซื้อสินค้าราคาเกินจริง?:
1) ดูหน่วยการนับเส้นด้ายของผ้าปูที่นอนของคุณว่าเป็น จำนวนเส้นด้าย/ต.ร.นิ้ว หรือ จำนวนเส้นด้าย/10 ต.ร. ซม.)
2) ถ้าจำนวนด้ายเยอะกว่า 400-500 เส้น/ต.ร.นิ้ว มาก มีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะระบุจำนวนเส้นด้ายเกินจริง
3) หาดูยี่ห้อที่ผ่านการรับรองจำนวนเส้นด้ายจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
4) ต้องลองจับผ้าดูหลายๆ ยี่ห้อแล้วเปรียบเทียบกันว่าเนื้อผ้าต่างกันมากไหม?
4. การทอเส้นด้าย (Weave)
การทอเส้นด้ายมีผลต่อเนื้อสัมผัส และ ความทนทานของผ้า การทอผ้าที่ทนทานที่สุดคือการทอแบบทอขัด(percale) เป็นการทอที่แน่นหนาที่สุด ซึ่งคุณอาจเคยสัมผัสมาก่อน เป็นผ้าที่จับแล้วจะรู้สึกแข็งหน่อยๆ เนื้อผ้าจะให้ความรู้สึกไม่ค่อยนุ่มลื่น และ เนื้อผ้าจะไม่ค่อยเงา (นิยมทอผ้าปูที่นอนในสมัยก่อน)
แต่ในปัจจุบันผ้าส่วนใหญ่ที่ทุกคนจะเจอคือผ้าที่ทอแบบ ทวิลล์ (Twill) และ ผ้าที่ทอแบบ ซาติน (Satin) เนื่องจากเนื้อผ้าให้สัมผัสที่นุ่มลื่นและเงากว่า ผ้าสองแบบนี้อาจมีจำนวนเส้นด้ายที่เท่ากันแต่ให้เนื้อสัมผัสต่างกันได้ เนื่องจากการทอแบบ twill เป็นการทอที่แน่นกว่า ทำให้สัมผัสผ้ารู้สึกหนา แข็ง และ คงรูปมากกว่าแต่ข้อดีคือจะขึ้นขนน้อยกว่าการทอแบบ satin ส่วนการทอแบบ satin เป็นการทอแบบหลวมกว่าจะทำให้ผ้ารู้สึกนุ่มลื่น เงามากกว่าแต่จะขึ้นขนง่ายกว่าการทอแบบ twill
ข้อมูลที่ให้ไปในวันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปใช้เลือกเครื่องนอนได้ของทุกยี่ห้อ หวังว่าข้อมูลข้างต้นที่ให้ไปจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาเครื่องนอนที่เหมาะกับความต้องการของตนในราคาที่ไม่เกินจริงต่อคุณภาพสินค้านะคะ
ถ้าสนใจอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมไปอ่านกันต่อที่ลิ้งค์ข้างล่างได้เลยคะ
[อังกฤษ]
Holy Lamb Organics
https://www.holylamborganics.com/blogs/news/the-truth-about-thread-counts-organic-cotton
Brook Living
https://www.brooklinen.com/blogs/brookliving/best-thread-count-for-sheets
Truth About Thread Counts
http://www.truthaboutthreadcount.com/what-is-thread-count.html
Authenticity 50
https://authenticity50.com/pages/thread-count
https://authenticity50.com/blogs/news/what-is-the-best-thread-count-for-bed-sheets
Allyson Brooke
https://www.allysonbrookehome.com/the-truth-about-thread-counts/
[ไทย]
Boonprapa Group
http://www.boonprapagroup.com/en/blog/16_The-number-of-yarns-is-important-to-the-qual.html
Pechdee Commodities
http://www.pechdee.com/blog-post-5.html