ตามดูมาตั้งแต่ภาคแรก ด้วยความชื่นชมในทุกสิ่ง ทั้งการเขียนบทที่ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ด้วยการขอคำปรึกษา
ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง การตัดต่อ การถ่ายทำที่สนุก ชวนติดตาม และการแสดงของนักแสดงทุกคน และภาค 2
ก็ทำออกมาได้ดีมาก ไม่ผิดหวังเลย
ความสนุกหลักๆที่ได้ดูคือการได้เห็นปัญหาตัวเราเองในเด็กๆทั้ง5 คน ถึงแม้จะไม่เข้มข้นเท่า
- พีท เราเองอาจจะไม่ได้ลงไปร้องกรี๊ด ทึ้งผมตัวเองเวลาไม่ได้ดั่งใจ (Temper trantrum) มีการแสดงออก พฤติกรรม
ที่ดีตามที่สังคมขัดเกลา แต่ลึกลงไปข้างในใจเราก็แอบเห็นตัวเรากรี๊ดอยู่ในใจเหมือนกันเวลาโกรธ ถูกขัดใจ
- บุ๊ค (Gaming addiction) เราก็มานั่งดูตัวเราว่าเราเองก็มีติดทำอะไรบางอย่างเหมือนกัน ถึงมันจะไม่ทำให้เราเสียงาน
เสียการแต่ก็หมดเงินไปไม่ใช่น้อย เคยคิดไหมว่ามันเกิดจากเราเครียด ไม่ประสบผลสำเร็จในเรื่องหลักๆเช่น การงาน
การเรียน ความรัก การไม่เป็นที่ยอมรับ จนต้องไปแสวงหาคุณค่า ความสุขจากสิ่งอื่น
- ใบพัด ถึงแม้เราจะไม่ได้ขาดทักษะการเข้าสังคมขนาดเด็ก Autistic แต่คนไม่น้อยในสังคมก็ปัญหาในการเข้าสังคม
บางคนยอมตามมากเกินไปเพื่อให้ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจนไม่เป็นตัวเอง บางคนเก็บตัว เข้าสังคมไม่เก่ง ก็โดน
แกล้งก็มี
- ไออุ่น (Gender creative) ความหลากหลายทางเพศ การไม่ได้เป็นตามเพศสภาพของตัวเอง การมีความแตกต่างจาก
สิ่งที่สังคมคาดหวัง อาจจะต้องเจ็บปวด โดนแกล้งโดนว่าต่างๆนานา จากคนที่ไม่เข้าใจ
- วีหนึ่ง (Perfectionism) อันนี้แย่สุด แก้ยาก เพราะตัวเอง สังคมรอบข้างจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหา เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องดี
มิหนำซ้ำยังสนับสนุนด้วยคำชม ความคาดหวัง ทำให้เราเป็นทุกข์ กดดัน เครียด
- ครูกร บางคนแสวงหาการยอมรับที่มากเกินไป จนบางทีมองข้ามสิ่งเดิมๆที่ดีอยู่แล้ว เพียงเพราะต้องการให้มีผลงานที่
เป็นลายเซ็นของตัวเอง
- ครูพรรณี บางคนเป็นพวกอนุรักษ์นิยมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน เราเองก็มองความคิดเรานะว่าเวลามีโครงการ
อะไรใหม่ๆ เราร่วมมือดีหรือไม่อยากเปลี่ยนอะไรที่มีอยู่เดิม โดยการหาเหตุผล ข้อเสีย มาคัดค้านไหม
ฉากที่เสียน้ำตา
- ตอนที่บุ๊คระบายความรู้สึกกับครูทราย ซึ่งถ่ายวีดีโอไว้ ว่าทั้งพ่อและแม่ไม่มีใครต้องการเขา
- ความคิดของวีหนึ่งที่ไม่ได้พูดออกมา ว่าเครียดแค่ไหนที่ทำในสิ่งที่แม่ คนที่ตัวเองรักคาดหวังไม่ได้
- การเปิดปิดไฟเพราะคิดถึงแม่ของใบพัด ความเศร้าที่แสดงออกทางสีหน้าไม่ได้มันบีบคั้นใจเราสุดๆ
เราดูใน YouTube จนทัน ติดตามการแก้ปัญหาของนักจิตวิทยาแล้วชอบมากๆ
- สิ่งที่ยากที่สุด คือ การทำให้คนคนนึงยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา และอยากแก้ไขปัญหา
- ไม่ใช้ความรุนแรงจัดการความรุนแรง เหมือนเคสน้องพีท เพราะบางครอบครัวอาจจัดการพฤติกรรม
กรี๊ดของพีทด้วยความรุนแรง จริงอยู่ที่อาจจัดการพฤติกรรมที่แสดงออกได้ แต่เด็กก็เก็บกดไปแสดงออก
ทางอื่นที่ไม่ดี สู้แก้ที่ต้นเหตุไม่ได้ ในเคสนี้แก้โดย ‘เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง’ ก่อนค่อยจัดการอารมณ์ตัวเอง
- ทั้ง I message ทั้ง เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง จะทำได้ต้องมีสติและฝึกฝนอย่างมาก
- การโดนแกล้ง จะเห็นว่าครูทรายจะไม่เน้นที่คนแกล้งเลย ทั้งเคสใบพัดและไออุ่น คือเน้นให้เราจัดการ
ที่ตัวเอง
ชอบที่ครูทรายสอนไออุ่น. ‘ ใครจะคิดยังไงกับเรา เราไม่จำเป็นต้องหาคำตอบ แค่ถามตัวเราว่ารู้สึก
ยังไงที่คนกระทำแบบนี้ (เหมือนวิปัสสนาเลยนะ) เราเปลี่ยนวิธีคิดคนอื่นไม่ได้ แต่เรารับมือได้นะ’
รอติดตามต่อไปค่ะ อยากดูวิธีแก้ไขปัญหาวีหนึ่ง
ให้กำลังใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้ทุกคนนะคะ จริงๆรัฐบาลน่าเข้ามาช่วย ให้งบด้วย เหมือนเรียน
หนังสือผ่านละครเลย สนุกด้วย ได้ความรู้ด้วย
วัยแสบ ‘ละครที่ดูแล้ว เหมือนตัวเองได้รับการทำจิตบำบัด’ จนต้องไปแสวงหาคุณค่า ความสุข
ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง การตัดต่อ การถ่ายทำที่สนุก ชวนติดตาม และการแสดงของนักแสดงทุกคน และภาค 2
ก็ทำออกมาได้ดีมาก ไม่ผิดหวังเลย
ความสนุกหลักๆที่ได้ดูคือการได้เห็นปัญหาตัวเราเองในเด็กๆทั้ง5 คน ถึงแม้จะไม่เข้มข้นเท่า
- พีท เราเองอาจจะไม่ได้ลงไปร้องกรี๊ด ทึ้งผมตัวเองเวลาไม่ได้ดั่งใจ (Temper trantrum) มีการแสดงออก พฤติกรรม
ที่ดีตามที่สังคมขัดเกลา แต่ลึกลงไปข้างในใจเราก็แอบเห็นตัวเรากรี๊ดอยู่ในใจเหมือนกันเวลาโกรธ ถูกขัดใจ
- บุ๊ค (Gaming addiction) เราก็มานั่งดูตัวเราว่าเราเองก็มีติดทำอะไรบางอย่างเหมือนกัน ถึงมันจะไม่ทำให้เราเสียงาน
เสียการแต่ก็หมดเงินไปไม่ใช่น้อย เคยคิดไหมว่ามันเกิดจากเราเครียด ไม่ประสบผลสำเร็จในเรื่องหลักๆเช่น การงาน
การเรียน ความรัก การไม่เป็นที่ยอมรับ จนต้องไปแสวงหาคุณค่า ความสุขจากสิ่งอื่น
- ใบพัด ถึงแม้เราจะไม่ได้ขาดทักษะการเข้าสังคมขนาดเด็ก Autistic แต่คนไม่น้อยในสังคมก็ปัญหาในการเข้าสังคม
บางคนยอมตามมากเกินไปเพื่อให้ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มจนไม่เป็นตัวเอง บางคนเก็บตัว เข้าสังคมไม่เก่ง ก็โดน
แกล้งก็มี
- ไออุ่น (Gender creative) ความหลากหลายทางเพศ การไม่ได้เป็นตามเพศสภาพของตัวเอง การมีความแตกต่างจาก
สิ่งที่สังคมคาดหวัง อาจจะต้องเจ็บปวด โดนแกล้งโดนว่าต่างๆนานา จากคนที่ไม่เข้าใจ
- วีหนึ่ง (Perfectionism) อันนี้แย่สุด แก้ยาก เพราะตัวเอง สังคมรอบข้างจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหา เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องดี
มิหนำซ้ำยังสนับสนุนด้วยคำชม ความคาดหวัง ทำให้เราเป็นทุกข์ กดดัน เครียด
- ครูกร บางคนแสวงหาการยอมรับที่มากเกินไป จนบางทีมองข้ามสิ่งเดิมๆที่ดีอยู่แล้ว เพียงเพราะต้องการให้มีผลงานที่
เป็นลายเซ็นของตัวเอง
- ครูพรรณี บางคนเป็นพวกอนุรักษ์นิยมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน เราเองก็มองความคิดเรานะว่าเวลามีโครงการ
อะไรใหม่ๆ เราร่วมมือดีหรือไม่อยากเปลี่ยนอะไรที่มีอยู่เดิม โดยการหาเหตุผล ข้อเสีย มาคัดค้านไหม
ฉากที่เสียน้ำตา
- ตอนที่บุ๊คระบายความรู้สึกกับครูทราย ซึ่งถ่ายวีดีโอไว้ ว่าทั้งพ่อและแม่ไม่มีใครต้องการเขา
- ความคิดของวีหนึ่งที่ไม่ได้พูดออกมา ว่าเครียดแค่ไหนที่ทำในสิ่งที่แม่ คนที่ตัวเองรักคาดหวังไม่ได้
- การเปิดปิดไฟเพราะคิดถึงแม่ของใบพัด ความเศร้าที่แสดงออกทางสีหน้าไม่ได้มันบีบคั้นใจเราสุดๆ
เราดูใน YouTube จนทัน ติดตามการแก้ปัญหาของนักจิตวิทยาแล้วชอบมากๆ
- สิ่งที่ยากที่สุด คือ การทำให้คนคนนึงยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา และอยากแก้ไขปัญหา
- ไม่ใช้ความรุนแรงจัดการความรุนแรง เหมือนเคสน้องพีท เพราะบางครอบครัวอาจจัดการพฤติกรรม
กรี๊ดของพีทด้วยความรุนแรง จริงอยู่ที่อาจจัดการพฤติกรรมที่แสดงออกได้ แต่เด็กก็เก็บกดไปแสดงออก
ทางอื่นที่ไม่ดี สู้แก้ที่ต้นเหตุไม่ได้ ในเคสนี้แก้โดย ‘เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง’ ก่อนค่อยจัดการอารมณ์ตัวเอง
- ทั้ง I message ทั้ง เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง จะทำได้ต้องมีสติและฝึกฝนอย่างมาก
- การโดนแกล้ง จะเห็นว่าครูทรายจะไม่เน้นที่คนแกล้งเลย ทั้งเคสใบพัดและไออุ่น คือเน้นให้เราจัดการ
ที่ตัวเอง
ชอบที่ครูทรายสอนไออุ่น. ‘ ใครจะคิดยังไงกับเรา เราไม่จำเป็นต้องหาคำตอบ แค่ถามตัวเราว่ารู้สึก
ยังไงที่คนกระทำแบบนี้ (เหมือนวิปัสสนาเลยนะ) เราเปลี่ยนวิธีคิดคนอื่นไม่ได้ แต่เรารับมือได้นะ’
รอติดตามต่อไปค่ะ อยากดูวิธีแก้ไขปัญหาวีหนึ่ง
ให้กำลังใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับละครเรื่องนี้ทุกคนนะคะ จริงๆรัฐบาลน่าเข้ามาช่วย ให้งบด้วย เหมือนเรียน
หนังสือผ่านละครเลย สนุกด้วย ได้ความรู้ด้วย