ออกตัวไว้ก่อนว่าผมเป็นสาวกของพี่ Mark Minervini แบบสุดติ่งเลย
เคยทำหลายบทความสรุปไอเดียของแกลง zyo71.com มาโดยตลอด
พอมีโอกาสทำคลิป เลยตั้งใจจะสรุปแนวคิดของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี แบบสั้น ๆ ย่อ ๆ มาแชร์ให้ชมกัน
มีอยู่ 3 ตอนครับ
แกบอกว่า บ้านแกจนมากครับ จึงมีความไฝ่ฝันอยากรวย
ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
หลังจากที่ออกจากโรงเรียนมัธยม แกก็หาเงินเลี้ยงตัวเองด้วยการเป็นมือกลอง
ซึ่งเขาไม่ค่อยอยากจะเล่าถึงเรื่องนี้มากนัก แม้จะพยายามขอร้องแค่ไหนก็ตาม
แค่เพียงบอกสั้นๆว่าเคยเป็นมือกลองให้วงดนตรีหลายวง, นักดนตรีรับจ้างในห้องอัด,
และเคยปรากฎในมิวสิควิดีโอของ MTV, และยังเป็นเจ้าของห้องอัดเสียงด้วย
มิเนอร์วินีให้ความสนใจตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980 ในตอนที่ยังวัยรุ่น
หลังจากที่คิดจะเทรดแบบขำๆ ก็กลายเป็นความหลงไหล
จึงผันตัวเองมาเป็น full time trader ตัดสินใจขายสตูดิโออัดเสียงเพื่อเอาเงินมาเทรดหุ้น
จ่ายค่าเทอม หมดตัวไปอย่างน้อย 2 ครั้ง
ปี1980 เชื่อโบรคเกอร์ให้ถัวเฉลี่ยหุ้นขาลง ขาดทุนยับเยิน สูญเงินหมด
จึงมีการเปลี่ยนโบรคเกอร์ใหม่ ที่มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน
คราวนี้เลือกเล่นเฉพาะหุ้นขาขึ้น หากราคาลงต่ำกว่าราคาซื้อมาก ก็ตัดขาดทุน
แต่ปัญหาคือ อายโบรกเกอร์ ไม่กล้าสั่งให้ตัดขาดทุน ยิ่งราคาลงลึกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่กล้าโทร
สรุปก็คือ เปลี่ยนโบรก แต่ไม่กล้าตัดขาดทุน ในที่สุดก็เสียหายตามเคย
อยากเป็นนักเทรดหุ้นที่เก่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
"ความท้าทายที่สุดของผมคือ การเป็นผู้ชนะ ผมอยากเป็นอันดับหนึ่งของอะไรสักอย่าง
ผมอยากเป็นนักเทรดระดับสุดยอดของโลก ถ้าคุณสามารถเป็นคนระดับสุดยอดได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินอีกต่อไป
เพราะมันจะบินเข้ามาหาคุณทางหน้าต่างแบบง่ายๆ"
พื้นฐานกับเทคนิคอล ให้น้ำหนักกับฝั่งไหนมากกว่ากัน?
แกให้น้ำหนัก 50-50 แต่ก็ไม่เคยเสี่ยงกับหุ้นที่มีพื้นฐานดีแต่ราคาไม่วิ่ง
ยินดีพิจารณาซื้อหุ้นที่พื้นฐานยังไม่ชัดเจนนักแต่ว่ามันยืนได้ดีกว่าตลาดเฉลี่ย(Relative strength) ในกลุ่ม 2% ของผู้นำตลาด
แสดงว่า เน้นกราฟก่อนพื้นฐาน แต่ก็ไม่เสี่ยงกับหุ้นเน่า และราคาต่ำๆ
- เริ่มจากการสแกนเพื่อหาหุ้นที่มีลักษณะคล้ายในอดีต
ที่หากเข้าสูตรแบบนี้แล้วมันจะมีโอกาสวิ่งแรง
- พวกมันมักจะโนเนม กว่า 80% ของทั้งหมด เพิ่งเข้าตลาดมาไม่ถึง 10 ปี
แต่จะเลี่ยงหุ้นราคาต่ำกว่า $12 ส่วนใหญ่จะซื้อตั้งแต่ $20 ขึ้น
ปรัชญาพื้นฐานคือ สร้างพอร์ตของคุณด้วยหุ้นที่ดีที่สุดที่ตลาดนำเสนอให้
และตัดขาดทุนให้เร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าคิดผิด
จะใช้คอมพิวเตอร์สแกนหยาบๆประมาณหมื่นกราฟต่อวัน
และจะจำกัดวงแคบลงดูแบบละเอียดประมาณ 800 หุ้น
ทุกคืนจะดูกราฟทั้งหมด แต่บอกเลยว่าสายตาเขาสแกนได้ไวมาก
โดยเฉลี่ยจะพบหุ้น 30-40 ตัวที่มีทรงกราฟน่าสนใจ
จากนั้นจึงลงรายละเอียดในเรื่องพื้นฐานของมัน
ถ้าเห็นว่าเข้าเกณฑ์จะซื้อในวันถัดไป
พี่มาร์ค เป็นหนึ่งในนักเทรดที่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงมาก มีวินัยสูง
หลักการเทรดคือ "ให้ความเสี่ยงมาก่อน" ตัดขาดทุนไว
แกบอกกับตัวเองว่า
"ทุกเช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการผมมองเข้าไปในกระจกและพูดกับตัวเอง ว่า
"มาร์ค..นายยังมีศักยภาพในการทำร้ายตัวเองได้อย่างสาหัสเหมือนเคยนะวันนี้"
(“Mark, you have the capacity to do serious damage to yourself today.”)
แล้วผมก็ไปทำงาน
การฝึกแบบนี้เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนให้ผมกล้ายอมรับว่าตนเองสามารถทำลายตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันยังทำให้ผมจำสี่คำที่สำคัญที่สุดในการเทรดไว้ขึ้นใจก็คือ "เคารพความเสี่ยง!"
รูปสรุปหลักการขายหุ้นออกของแกอย่างง่ายๆ
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของคนที่มีความพยายามสูงมาก
แม้ช่วงแรกจะประสบความล้มเหลว หมดตัว แต่ก็พยายามสู้ เรียนรู้จากความผิดพลาด
ให้ความสำคัญกับการลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จ
เทรดให้ได้แบบ Mark Minervini แบบสั้น ๆ ย่อ ๆ
เคยทำหลายบทความสรุปไอเดียของแกลง zyo71.com มาโดยตลอด
พอมีโอกาสทำคลิป เลยตั้งใจจะสรุปแนวคิดของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี แบบสั้น ๆ ย่อ ๆ มาแชร์ให้ชมกัน
มีอยู่ 3 ตอนครับ
แกบอกว่า บ้านแกจนมากครับ จึงมีความไฝ่ฝันอยากรวย
ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
หลังจากที่ออกจากโรงเรียนมัธยม แกก็หาเงินเลี้ยงตัวเองด้วยการเป็นมือกลอง
ซึ่งเขาไม่ค่อยอยากจะเล่าถึงเรื่องนี้มากนัก แม้จะพยายามขอร้องแค่ไหนก็ตาม
แค่เพียงบอกสั้นๆว่าเคยเป็นมือกลองให้วงดนตรีหลายวง, นักดนตรีรับจ้างในห้องอัด,
และเคยปรากฎในมิวสิควิดีโอของ MTV, และยังเป็นเจ้าของห้องอัดเสียงด้วย
มิเนอร์วินีให้ความสนใจตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980 ในตอนที่ยังวัยรุ่น
หลังจากที่คิดจะเทรดแบบขำๆ ก็กลายเป็นความหลงไหล
จึงผันตัวเองมาเป็น full time trader ตัดสินใจขายสตูดิโออัดเสียงเพื่อเอาเงินมาเทรดหุ้น
จ่ายค่าเทอม หมดตัวไปอย่างน้อย 2 ครั้ง
ปี1980 เชื่อโบรคเกอร์ให้ถัวเฉลี่ยหุ้นขาลง ขาดทุนยับเยิน สูญเงินหมด
จึงมีการเปลี่ยนโบรคเกอร์ใหม่ ที่มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน
คราวนี้เลือกเล่นเฉพาะหุ้นขาขึ้น หากราคาลงต่ำกว่าราคาซื้อมาก ก็ตัดขาดทุน
แต่ปัญหาคือ อายโบรกเกอร์ ไม่กล้าสั่งให้ตัดขาดทุน ยิ่งราคาลงลึกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่กล้าโทร
สรุปก็คือ เปลี่ยนโบรก แต่ไม่กล้าตัดขาดทุน ในที่สุดก็เสียหายตามเคย
อยากเป็นนักเทรดหุ้นที่เก่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
"ความท้าทายที่สุดของผมคือ การเป็นผู้ชนะ ผมอยากเป็นอันดับหนึ่งของอะไรสักอย่าง
ผมอยากเป็นนักเทรดระดับสุดยอดของโลก ถ้าคุณสามารถเป็นคนระดับสุดยอดได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินอีกต่อไป
เพราะมันจะบินเข้ามาหาคุณทางหน้าต่างแบบง่ายๆ"
พื้นฐานกับเทคนิคอล ให้น้ำหนักกับฝั่งไหนมากกว่ากัน?
แกให้น้ำหนัก 50-50 แต่ก็ไม่เคยเสี่ยงกับหุ้นที่มีพื้นฐานดีแต่ราคาไม่วิ่ง
ยินดีพิจารณาซื้อหุ้นที่พื้นฐานยังไม่ชัดเจนนักแต่ว่ามันยืนได้ดีกว่าตลาดเฉลี่ย(Relative strength) ในกลุ่ม 2% ของผู้นำตลาด
แสดงว่า เน้นกราฟก่อนพื้นฐาน แต่ก็ไม่เสี่ยงกับหุ้นเน่า และราคาต่ำๆ
- เริ่มจากการสแกนเพื่อหาหุ้นที่มีลักษณะคล้ายในอดีต
ที่หากเข้าสูตรแบบนี้แล้วมันจะมีโอกาสวิ่งแรง
- พวกมันมักจะโนเนม กว่า 80% ของทั้งหมด เพิ่งเข้าตลาดมาไม่ถึง 10 ปี
แต่จะเลี่ยงหุ้นราคาต่ำกว่า $12 ส่วนใหญ่จะซื้อตั้งแต่ $20 ขึ้น
ปรัชญาพื้นฐานคือ สร้างพอร์ตของคุณด้วยหุ้นที่ดีที่สุดที่ตลาดนำเสนอให้
และตัดขาดทุนให้เร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าคิดผิด
จะใช้คอมพิวเตอร์สแกนหยาบๆประมาณหมื่นกราฟต่อวัน
และจะจำกัดวงแคบลงดูแบบละเอียดประมาณ 800 หุ้น
ทุกคืนจะดูกราฟทั้งหมด แต่บอกเลยว่าสายตาเขาสแกนได้ไวมาก
โดยเฉลี่ยจะพบหุ้น 30-40 ตัวที่มีทรงกราฟน่าสนใจ
จากนั้นจึงลงรายละเอียดในเรื่องพื้นฐานของมัน
ถ้าเห็นว่าเข้าเกณฑ์จะซื้อในวันถัดไป
พี่มาร์ค เป็นหนึ่งในนักเทรดที่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงมาก มีวินัยสูง
หลักการเทรดคือ "ให้ความเสี่ยงมาก่อน" ตัดขาดทุนไว
แกบอกกับตัวเองว่า
"ทุกเช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการผมมองเข้าไปในกระจกและพูดกับตัวเอง ว่า
"มาร์ค..นายยังมีศักยภาพในการทำร้ายตัวเองได้อย่างสาหัสเหมือนเคยนะวันนี้"
(“Mark, you have the capacity to do serious damage to yourself today.”)
แล้วผมก็ไปทำงาน
การฝึกแบบนี้เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนให้ผมกล้ายอมรับว่าตนเองสามารถทำลายตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันยังทำให้ผมจำสี่คำที่สำคัญที่สุดในการเทรดไว้ขึ้นใจก็คือ "เคารพความเสี่ยง!"
รูปสรุปหลักการขายหุ้นออกของแกอย่างง่ายๆ
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของคนที่มีความพยายามสูงมาก
แม้ช่วงแรกจะประสบความล้มเหลว หมดตัว แต่ก็พยายามสู้ เรียนรู้จากความผิดพลาด
ให้ความสำคัญกับการลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จ